ฝีในสมอง Brain abscess การติดเชื้อที่สมองจนเกิดฝี เกิดจากการสำลักหรือรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ความรุนแรงสูง ปวดหัว มีอาการชัก หมดสติ สูญเสียการควบคุมร่างกายโรคฝีที่สมอง โรคฝีในสมอง โรคติดเชื้อ โรคสมอง

โรคฝีสมอง ( Brain abscess ) คือ ภาวะการติดเชื้อในสมองจนทำให้เกิดฝี โรคชนิดนี้เป็นโรคอันตรายมีความรุนแรงของโรคสูง การติดเชื้อภายในสมองและเนื้อเยื่อใกล้เคียง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้ารุกรานร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อม เข้าสู่สมองทางช่องทางต่างๆ ซึ่งเชื้อที่พบบ่อยสุด คือ สเตรปโตคอคคัส เป็นเชื้อโรคที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิต โรครุนแรงพบในเด็กได้มากกว่าผู้ใหญ่ เด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหูน้ำหนวก โรคหัวใจพิการ ส่วนผู้ใหญ่มักป่วยจากการที่สมองได้รับการกระทบกระเทือน จากการเกิดอุบัติเหตุ ทำให้เกิดการติดเชื้อที่สมองและเกิดเป็นฝี โรคนี้ลักษณะการใกล้เคียงกับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สาเหตุการเกิดโรคฝีในสมอง

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อที่สมองจนทำให้เกิดฝี มาจากการติดเชื้อ ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อมีหลายช่องทาง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ติดเชื้อโดยตรงจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือ เกิดการติดเชื้อหลังจากที่ผ่าตัด
  • ติดเชื้อจากอวัยวะอื่นและลามเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่สมองจึงทำให้เกิดฝีที่สมอง
  • อาการป่วยจากภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำ
  • ภาวะโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

อาการของโรคฝีในสมอง

สำหรับการแสดงอาการของฝีในสมอง จะแสดงอาการผิดปรกติที่หัวและการทำงานของร่างกายโดยรวม เช่น มีไข้ ปวดหัวอย่างรุนแรง มีหนองออกจากหู ชัด คลื่นไส้อาเจียน สายตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง ซึ่งอาการของโรคนี้ แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ การแสดงอาการจากการติดเชื้อที่ศรีษะ และ อาการจากการติดเชื้อจากเนื้อสมองถูกกดทับ โดยรายละเอียด ดังนี้

อาการฝีในสมองจากการติดเชื้อในศีรษะ ผู้ป่วยจะมีไข้ และเพิ่มอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง

อาการฝีในสมองจากการถูกกดทับของเนื้อสมอง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน การรับรู้ลดลง ชา และ ชัก ตลอดจนการติดต่อสื่อสาร ความจำเสื่อม ความแจ่มชัดของสายตาลดลง สายตาแคบ ตามัว เดินเซ และ สมองเสื่อม

การตรวจวินิจฉัยโรคฝีในสมอง

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะตรวจดูจากอาการ ตรวจประวัติการรักษา สังเกตุอาการ ตรวจร่างกาย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ ทำเอ็มอาร์ไอ เจาะนํ้าไขสันหลังส่งตรวจเพาะเชื้อ และส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองบริเวณที่เป็นฝี

การรักษาโรคฝีในสมอง

แนวทางการรักษาโรคฝีในสมอง ต้องตรวจหาตำแหน่งของฝี และ ขนาด จากนั้นจะกำจัดเอาก้อนฝี หรือ ระบายออกหนองออก โดยการใช้ยาปฏิชีวนะตามที่พบในก้อนฝีนั้น การให้ยาต้านเชื้อที่ติดจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จนฝีหายโดยจะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ตลอดเวลา แต่หากฝีไม่หาย ต้องใช้การผ่าตัดเพื่อเอาฝีออก และ ต้องรักษาด้วยการควบคุมเชื้อโรค เพื่อยับยั้งไม่ให้กลับมาเกิดโรคฝีในสมองซ้ำอีกครั้ง

การป้องกันการเกิดโรคฝีในสมอง

สำหรับโรคฝีในสมองเกิดจากการติดเชื้อที่สมอง ดังนั้นแนวทางการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การป้องกันภาวะการติดเชื้อโรคทั้งหมด โดยให้รักษาความสะอาดขั้นพื้นฐาน เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อศีรษะ

 

โรคฝีในสมอง ( Brain abscess ) ภาวะการติดเชื้อที่สมองจนเกิดฝี เกิดจากการสำลักหรือรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ความรุนแรงของโรคสูง ผู้ป่วยมักปวดหัว มีอาการชัก หมดสติ สูญเสียการควบคุมร่างกาย แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร 

เนื้องอกในสมอง การเกิดเนื้องอกที่สมอง ส่งผลต่อประสาทและสมอง อาการปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง สูญเสียการควบคุม การรักษาเนื้องอกในสมองทำอย่างไร
เนื้องอกในสมอง โรคสมอง โรคเนื้องอก โรคไม่ติดต่อ

โรคเนื้องอกในสมอง คือ ภาวะการเกิดเนื้องอกที่สมอง ส่งผลประทบต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง โรคนี้สามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย มีความแตกต่างจากโรคมะเร็งในสมอง เป็นโรคร้ายแรงในอดีต ซึ่งปัจจุบันสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยมาก ผลแทรกซ้อนจากการรักษาน้อย อาการบาดเจ็บของสมองลดลง พักฟื้นได้ในระยะสั้น

ชนิดของเนื้องอกในสมอง

สำหรับเนื้องอกในสมอง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ เนื้องอกของสมอง และเนื้องอกในสมองที่มาจากอวัยะอื่นๆ รายละเอียด ดังนี้

  • เนื้องอกของสมองเอง แบ่งได้อีก 2 ชนิด คือ เนื้องอกชนิดดี และ เนื้องอกชนิดไม่ดี ซึ่งคือ เนื้องอกมะเร็งสมองนั่นเอง
  • เนื้องอกของสมองที่กระจายมาจากอวัยวะอื่น เป็นลักษณะของการแพร่กระจายของมะเร็งจากอวัยวะอื่นๆ

สาเหตุการเกิดจากโรคเนื้องอกในสมอง

สาเหตุของการเกิดเนื้องอกในสมองยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทีให้เกิดเนื้องอกในสมอง โดยมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

  • พันธุกรรม ผู้ป่วยที่มีญาติพ่อแม่พี่น้องป่วยโรคนี้มักจะมีความเสี่ยงการเกิดเนื้องอกในสมองมากกว่าผู้ที่ไม่มีญาติเคยป่วยโรคนี้ ทั้งนี้ถึงแม้จะมีญาติคนใกล้ชิดเคยป่วยโรคนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะป่วยโรคนี้เสมอไป เพียงแต่มีความเสี่ยงมากขึ้น
  • เซลล์ในสมองเอง ที่มีการแบ่งตัวมากผิดปกติจนมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • การรับการแพร่ของมะเร็งมากจากอวัยวะอื่น จนลามไปถึงสมองจนเกิดเป็นเนื้องอก ซึ่งการรักษาเมื่อผ่าตัดแล้วจะต้องทำการรักษาการลุกลามของมะเร็งโดย การทำเคมีบำบัด และการฉายรังสีเพิ่มเติม

อาการผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมอง

อาการของเนื้องอกในสมองขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ชนิดของเนื้องอก และ ขนาดของเนื้องงอก ซึ่งบางคนอาจไม่แสดงอาการใดๆ และ อาจพบเนื้องอกหลังเข้ารับการตรวจร่างกาย แต่อาการของเนื้องอกในสมองจะแสดงอาการเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง โดยรวม ซึ่งสังเกตุอาการ ได้ดังนี้

  • อาการปวดหัวอย่างรุนแรง โดยปวดเป็นระยะ ต่อเนื่องกัน อาการปวดโดยไม่เคยเป็นมาก่อน ปวดติดต่อกันหลายสัปดาห์ ปวดขณะนอนหลับกลางดึก
  • อาการแขนขาอ่อนแรง อาการชา อาการจะหนักขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งไม่สามารถขยับแขนขาได้
  • อาการหน้าเบี้ยว หนังตาตก ปากเบี้ยว ไม่สามารถบังคับได้
  • อาการกระตุกชัก โดยที่ไม่เคยมีอาการมาก่อน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ไม่สามารถควบคุมได้ อยู่นอกเหนือการควบคุม

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง มี 4 ระยะ เหมือนกับการเกิดมะเร็ง ซึ่งในการดูแลผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง จะไม่แบ่งระยะของมะเร็ง แต่จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่สามารถผ่าตัดรักษาได้ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่ไม่สามารถผ่าตัดรักษาได้ และ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่รักษาแล้วลับมาเป็นซ้ำ

การตรวจวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง แพทย์จะการตรวจร่างกาย ตรวจประวัติการรักษา สอบถามอาการป่วย การตรวจโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การตรวจโดยทำเอนอาร์ไอ เพื่อระบุตำแหน่งขนาดของเนื้องอกเพื่อวางแผนการรักษา

การรักษาโรคเนื้องอกในสมอง

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเนื้องอกในสมอง ใช้การผ่าตัด รังสีรักษา และ เคมีบำบัด ซึ่งแพทย์เลือกแนวทางการรักษาตามความเหมาะสมของปัจจัยต่างๆ โดยแนวทางการรักษาโรคเนื้องอกในสมอง มีรายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด โดยอยู่ตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้องอก หากขนาดไม่ใหญ่มาก และไม่มีการขยายรวมทั้งไม่มีผลต่อการทำงานของสมอง อาจจะรักษาโดยการประคับประคองอาการ แต่หากมีการขยายขนาดและกดทับสมองจนทำให้สมองทำงานผิดปกติหรือทำงานบกพร่อง จะต้องผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้ออก
  • การฉายรังสีและเคมีบำบัด หากก้อนเนื้องอกนั้นเป็นชนิดที่เกิดจากเซลล์มะเร็ง เมื่อทำการผ่าตัดออกแล้วจะต้องทำการรักษายับยั้งการลุกลาม โดยการใช้เคมีรักษาและรังสีรักษา ซึ่งจะมีอาการข้างเคียงจากการรักษา เช่น คลื่นไส้ อาเจียนผมร่วง ผิวหนังอักเสบ ประสิทธิภาพการรักษาจะขึ้นกับระยะของโรคมะเร็งขณะรักษา

การป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง เนื่องจากโรคนี้ยังไม่สามารถหาสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจนได้ ซึ่งการป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง จึงควรดูแลร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ แนวทางการป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง มีดังนี้

  • การสังเกตุอาการของตนเอง และคนรอบข้างที่ป่วย หากอาการผิดปกติตามที่กล่าวข้างต้นจะต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย หากพบเนื้องอกได้เร็วเท่าไหร่ก็จะมีโอกาสหายมากขึ้น
  • รับประทาอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ดืมน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ผ่อนคลาย ลดความเครียดจากกิจกรรมต่างๆ
  • หลีกเลี่ยงการรับสารพิษต่างจากสิ่งแวดล้อม

โรคเนื้องอกในสมอง คือ การเกิดเนื้องอกที่สมอง ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง ลักษณะอาการ ปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง สูญเสียการควบคุมระบบประสาท แนวทางการรักษาเนื้องอกในสมองทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย