ลำไย ผลไม้ยอดนิยม ผลรสหวาน มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ต้นลำไยเป็นอย่างไร สรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผล บำรุงผิวพรรณ เป็นต้น โทษของลำไย เป็นอย่างไรลำไย ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของลำไย

ต้นลำไย ภาษาอังกฤษ เรียก Longan ชื่อวิทยาศาสตร์ของลำไย คือ Dimocarpus longan Lour. มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย รวมถึงประเทศไทย ซึ่งแหล่งปลูกลำไยในประเทศไทย คือ จังหวัดเชียงใหม่ และ ลำพูน สำหรับชื่ออื่นๆของลำไย เช่น บ่าลำไย กุ้ยหยวน กุ้ยอี้  เป็นต้น

สายพันธุ์ของลำไย

ต้นลำไยมีหลายสายพันธุ์ที่ปลูกเพื่อบริโภค ซึ่งสายพันธ์ลำไยมีมากถึง 26 สายพันธุ์ แต่สายพันธ์ที่นิยมปลูกในปะเทศไทย มี 6 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ลำไยกะโหลก ลำไยกระดก ลำไยกะลา ลำไยสายน้ำผึ้ง ลำไยเถา และ ลำไยขาว โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • ลำไยกะโหลก ( ลำไยพันธุ์ดี ) เป็น สายพันธุ์ลำไย มีผลขนาดใหญ่ มีเนื้อหนารสหวาน แบ่งย่อยได้เป็น ลำไยสีชมพู ลำไยตลับนาค ลำไยเบี้ยวเขียว ลำไยอีแดง ลำไยอีดอ ลำไยอีดำ ลำไยอีแห้ว ลำไยอีเหลือง ลำไยพวงทอง ลำไยเพชรสาครทวาย ลำไยปู่มาตีนโค้ง เป็นต้น
  • ลำไยกระดูก หรือ ลำไยพื้นเมือง ( ลำไยป่า ) เป็นพันธุ์พื้นเมือง มีการอนุรักษ์ไว้ ถึงแม้ว่าจะไม่นิยมปลูก ลักษณะะ ทรงพุ่มออกกว้างใบหนาทึบ ผลขนาดเล็กมีน้ำมาก เนื้อน้อยรสไม่หวาน มีน้ำตาลแค่ประมาณ 13.75% ขึ้นทั่วไปปลูกง่าย แต่เหลือให้เห็นน้อย เพราะ ไม่นิยมปลูก เนื่องจาก ไม่ได้ราคา มีหลายพันธุ์ย่อยแต่มักเรียกรวมกันว่าลำไยพื้นเมือง
  • ลำไยกะลา หรือ ลำไยธรรมดา ผลขนาดปานกลาง เนื้อหนาค่อนข้างกว่าลำไยพันธุ์กระดูก เนื้อกรอบบางมีปริมาณน้ำมาก ให้ผลค่อนข้างดก
  • ลำไยสายน้ำผึ้ง มีลักษณะคล้ายลำไยธรรมดา แต่มีเนื้อสีเหลืองอ่อน เนื้อมีรสดีอร่อย กลิ่นหอมกรอบ เมล็ดขนาดเล็ก
  • ลำไยเถา หรือ ลำไยเครือ ( ลำไยชลบุรี ) เป็นลำไยไม้ต้นรอเลื้อย ลำต้นไม่มีแก่นแข็งจึงพันเข้ากับรั้วหรือหลักยึด ผลขนาดเล็ก เมล็ดขนาดโตกว่าลำไยบ้าน เนื้อหุ้มเมล็ดค่อนข้างบางมีเนื้อน้อย รสชาติมีกลิ่นฉุนคล้ายกำมะถัน จึงนิยมปลูกไว้ประดับมากกว่ารับประทาน ชอบขึ้นตามป่าเขาที่มีไม้ใหญ่
  • ลำไยขาว เป็นลำไยสายพันธุ์โบราณที่หายาก เชื่อว่าเคยสูญพันธุ์ไปแล้วจากประเทศไทย แต่ในปี พ.ศ. 2554 ได้มีการตามหาและ ตอนกิ่งเพื่อขยายพันธุ์อีกครั้งหนึ่ง มีผลขนาดเล็กกว่าลำไยทั่วไป เปลือกสีน้ำตาลอ่อนจนเกือบขาว เนื้อมีสีขาวใส เมล็ดลักษณะลีบ รสค่อนข้างหวาน

ประโยชน์ของลำไย

ลำไยนิยมใช้ประโยชน์จากผลลำไย นำมารับประทานเป็นอาหาร มีกากใยอาหารและมีรสหวาน นำมาใช้ประโยชน์มากมาย ซึ่งมีงานวิจัยศึกษาลำไย บ่งชี้ว่าลำไยสามารถใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง เพิ่มวิตามินซี ประโยชน์ช่วยในการบำรุงผิว ให้สดใส อ่อนกว่าวัย และ เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการแก่ก่อนวัย นอกจากใช้รับประทานผลสดเป็นผลไม้ รสชาติอร่อย ทำเป็นน้ำลำไย เพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย ดับกระหาย คลายร้อยได้ดี แปรรูปทำเป็นอาหารได้ เช่น ข้าวเหนียวเปียกลำไย ลำไยลอยแก้ว วุ้นลำไย แยมลำไย เป็นต้น นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้หลากหลาย เช่น ลำไยกระป๋อง ลำไยอบแห้ง น้ำลำไย แยมลำไย เป็นต้น ส่วนเนื้อไม้สีแดงของต้นลำไย สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องประดับ

ลักษณะของต้นลำไย

ต้นลำไย เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ สามารถปลูกได้ในพื้นที่มีความสูง 300 ถึง 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล สามารถขยายพันธ์โดยการตอนกิ่ง การเพาะเมล็ดพันธ์ โดยลักษณะของต้นลำไย มีดังนี้

  • ลำต้นลำไย ลำต้นความสูงประมาณ 30–40 ฟุต เปลือกลำต้นขรุขระมีสีน้ำตาลหรือสีเทา
  • ใบลำไย เป็นใบประกอบ ใบเรียงตัวสลับตามกิ่งก้าน ใบเป็นทรงรี ปลายใบแหลม ฐานใบค่อนข้างป้าน สีเขียวเข้ม เรียบ ขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบเป็นคลื่นเล็กน้อย
  • ดอกลำไย ต้นลำไยออกดอกเป็นช่อ มีก้านดอกยาวมักพบช่อดอกตรงปลายกิ่ง ดอกลำไยมีสีขาว หรือ สีขาวออกเหลือง
  • ผลลำไย ลักษณะกลม เปลือกผลดิบมีสีเขียว ส่วนผลสุกจะเป็นสีน้ำตาล เปลือกผลค่อนข้างเรียบ มีเนื้อผลสีขาวใส ฉ่ำน้ำ รสหวาน
  • เมล็ดลำไย ลักษณะกลม อยู่แกนกลางของผลลำไย สีดำมัน แข็งมาก สามารถนำมาขยายพันธ์ได้

การปลูกลำไย

ต้นลำไย สายพันธุ์ที่มีความต้องการของตลาด คือ สายพันธุ์ดอ หรือ พันธุ์สีชมพู เบี้ยวเขียวและแห้ว ปราศจากโรค ได้จากการตอนกิ่ง พื้นที่เหมาะสำหรับปลูกลำไย เป็นดินร่วนปนทราย มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีระบบการระบายน้ำดี ค่าความเป็นกรด-ด่าง คือ 5.5-6.5 มีการกระจายตัวของฝนดี ความสูงจากระดับน้ำทะเล ไม่เกิน 1,000 เมตร ระยะปลูก 8×8 เมตร หรือ 10×10 เมตร โรคของลำไย ที่ต้องระวัง ได้แก่ โรคราน้ำฝน หรือ โรคผลเน่า โรคใบไหม้ โรครากเน่าและโคนเน่า และโรคพุ่มไม้กวาด

คุณค่าทางอาหารของลำไย

สำหรับการรับประทานลำไยเป็นอาหารสามารถรับประทานผลลำไยเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของลำไยขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 60 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 15.14 กรัม กากใยอาหาร 1.1 กรัม ไขมัน 0.12 กรัม โปรตีน 1.31 กรัม วิตามินบี 1 0.031 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.14 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.3 มิลลิกรัม วิตามินซี 84 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 1 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.13 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.052 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 21 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.05 มิลลิกรัม

สรรพคุณของลำไย 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากลำไยในการรักษาโรค และ บำรุงร่างกาย นิยมใช้ประโยชน์จากราก เปลือกลำต้น ใบ เมล็ด ดอกและผลของลำไย โดยสรรพคุณของลำไย สมุนไพร มีดังนี้

  • ใบลำไย สรรพคุณบรรเทาอาการไข้หวัด รักษาโรคมาลาเรีย รักษาโรคริดสีดวงทวาร รักษาแผลหนอง
  • เมล็ดลำไย สรรพคุณใช้รักษาแผลเน่าเปื่อย บรรเทาอาการคัน ช่วยขับปัสสาวะ แก้ปวด รักษาแผลอักเสบ รักษาแผลหนอง ช่วยสมานแผล รักษากลากเกลื้อน
  • เปลือกของลำต้นสรรพคุณรักษาอาการท้องร่วง แก้อ่อนเพลีย รักษาแผลน้ำร้อนลวก
  • รากลำไย สรรพคุณรักษาอาการตกขาว ช่วยขับพยาธิ
  • ดอกลำไย สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่วในไต
  • ผลลำไย สรรพคุณบำรุงม้าม บำรุงเลือดลม บำรุงหัวใจ บำรุงร่างกาย รักษาอาการนอนไม่หลับ อาการอ่อนเพลีย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ สามารถช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็งได้ เพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วยลดการเสื่อมสลายของข้อเข่า บำรุงประสาทและสมอง ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยลดอาการปวดจากข้ออักเสบ ช่วยให้นอนหลับสบาย และ ช่วยให้เจริญอาหาร ทำให้กินข้าวได้มากขึ้น เหมาะสำหรับคนที่ร่างกายซูบผอม ต้องการเพิ่มน้ำหนักตัว

โทษของลำไย 

การรับประทานลำไยมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการร้อนใน หรือ แผลในช่องปาก และ ตาแฉะน้ำตาไหล ดังนั้น ควรรับประทานแต่พอดีพอเหมาะ และ ผู้ที่มีอาการเจ็บคออยู่แล้ว มีอาการไอมีเสมหะ มีหนองเป็นแผลอักเสบ ไม่ควรรับประทานลำไย เพราะ การปลอกลำไยรับประทาน จะทำให้เนื้อลำไยด้านใน สัมพัสกับเปลือกด้านนอก ซึ่งอาจจะมีเชื้อโรคต่างๆอยู่ จึงเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ ในระบบทางเดินหายใจ และ ทางเดินอาหาร

ลำไย สมุนไพร ผลไม้ยอดนิยม ผลรสหวาน มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ลักษณะของต้นลำไยเป็นอย่างไร สรรพคุณของลำไย เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผล บำรุงผิวพรรณ เป็นต้น โทษของลำไย เป็นอย่างไร

มะเร็งลำไส้ใหญ่ หากมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกแบบเรื้อรัง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุและการรักษาทำอย่างไรมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ( colon cancer ) คือ ภาวะการเกิดเนื้อร้ายที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และ อวัยวะเกี่ยวกับการดูดซึมสารอาหารเพื่อไปเลี้ยงร่างกายมีปัญหา โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของประชากรไทย ซึ่งพบว่าอัตราการเกิดโรคเพศชายมากกว่าเพศหญิง และ พบมากในคนอายุ 55 ปีขึ้นไป

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ยังไม่สามารถทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจนได้ แต่เกิดจากปัจจัยต่างๆที่กระทบต่อลำไส้ใหญ่ ซึ่งเราสามารถสรุปปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้ดังนี้

  • ความผิดปรกติของเนื้อเยื่อร่างกาย การกลายพันธุ์ของยีนจนไม่สามารถควบคุมการทำงานของเซลล์ร่างกาย จนเกิดการเจริญเติบโตเป็นเซลล์มะเร็ง
  • พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ที่นิยมรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และ มีกากใยอาหารต่ำ
  • พันธุกรรม ในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  • อายุ คนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีโอกาศเกิดโรคนี้สูง
  • การอักเสบของลำไส้แบบเรื้อรัง
  • การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะแสดงให้เห็นถึงความผิดปรกติภายในช่องท้อง และ ระบบขับถ่าย ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของอาการผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้ดังนี้

  • ระบบขับถ่ายทำงานผิดปรกติ เช่น ท้องผูก หรือ ท้องเสีย ซึ่งเป็นแบบเรื้อรังไม่หายขาด
  • อุจจาระผิดปรกติ โดยอุจจาระเป็นเลือด และ รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด ปวดอุจจาระบ่ายๆ
  • มีอาการปวดท้อง แน่นอึดอัดเหมือนมีแก๊สในท้อง
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • น้ำหนักตัวลงโดยไม่มีสาเหตุ ทั้งๆที่รับประทานอาหารได้ปรกติ

ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะแสดงอาการของโรคเป็น 4 ระยะ และ จะเพิ่มความรุนแรงของโรคมากขึ้นเรื่อยๆ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 4 รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก ในระยะนี้มีก้อนเนื้อขนาดเล็ก แต่ยังไม่ลุกลามที่ถึงผนังสำไส้ ซึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะนี้โอกาสหายได้ถึง ร้อยละ 75 ถึง 80
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่สอง ในระยะนี้จะมีก้อนเนื้อลุกลามออกมาถึงเยื่อหุ้มชั้นนอกผนังลำไส้ ซึึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะนี้ มีโอกาสการรักษาให้หายได้ถึง ร้อยละ 40 ถึง 70
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่สาม ในระยะนี้เซลล์มะเร็งลุกลามไปที่ระบบน้ำเหลือง ที่อยู่ใกล้ลำไส้ใหญ่ ซึึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะนี้ มีโอกาสการรักษาให้หายได้ถึง ร้อยละ 20 ถึง 60
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะสุดท้าย ในระยะนี้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายทั่วร่างกายผ่านระบบน้ำเหลืองและระบบเลือด ซึึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะนี้ มีโอกาสการรักษาให้หายได้ถึง ร้อยละ 10

การวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับแนวทางการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถตรวจได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อ การส่องกล้องตรวจ และ การเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูช่องท้อง

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีหลายวิธีซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบเซลล์มะเร็งเร็ว โดยการรักษาใช้การผ่าดัด ร่วมกับการทำเคมีบำบัด และ การฉายแสง รายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซี่งแพทย์จะตัดชื้นเนื้อส่วนที่เป็นมะเร็งออก
  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด ( Chemotherapy ) หรือ คีโม เป็นการใช้ยารับประทานเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย ซึ่งการคีโมจะใช้รักษาหลังการผ่าตัด
  • การฉายรังสี ( Radiation Therapy ) โดยการฉายรังสีเข้าไปบริเวณที่มีก้อนมะเร็ง เพื่อช่วยลดขนาดของก้อนเนื้องอกเล็กลงวิธีนี้จะใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ควบคู่กับการรักษาด้วยเคมีบำบัด

ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีดังนี้

  • อาการผมร่วง ตัวซีด คลื่นไส้อาเจียน
  • มีภาวะเกร็ดเลือดต่ำ แผลจะหายช้า และ ติดเชื้อโรคได้ง่าย
  • เกิดการระคายเคืองผิวหนังบริเวณช่องท้อง
  • ส่งผลโดยตรงต่อการขับถ่าย เนื่องจากลำไส้ใหญ่ถูกตัดให้สั้นลง

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทางการแพทย์ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน ซึ่งสิ่งที่สามารถทำได้ คือ การหลีกเลี้ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคที่เราสามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีดังนี้

  1. ขับถ่ายให้เป็นเวลา
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  4. พักผ่อนให้เพียงพอ
  5. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  6. พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด หากิจกรรมต่างๆเพื่อทำให้ไม่เครียด

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หากมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกแบบเรื้อรัง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุของโรคนี้เกิดจากอะไร แนวทางการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย