มะเร็งเม็ดเลือดขาว Leukemia ลูคีเมีย อาการเลือดกำเดาไหลบ่อย ติดเชื้อง่าย เหงื่อออกตอนกลางคืน ฟกช้ำง่าย อ่อนเพลีย การรักษาและแนวทางการป้องกันต้องทำอย่างไรมะเร็งเม็ดเลือดขาว ลูคีเมีย โรคมะเร็ง รักษาลูเคีเมีย

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) เรียกอีกชื่อว่า ลูคีเมีย คือ มะเร็งที่เกิดกับเม็ดเลือดขาว ซึ่งมีหน้าที่ช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค  โรคนี้จัดว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงสูง สามารถรักษาให้หายขาดได้ ซึ่งมะเร็งเม็ดเลือดขาวสามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มีอยู่ 2 ชนิด คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน และ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง

ชนิดของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

สำหรับลักษณะของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว สามารถแบ่งได้ 4 ชนิด 2 ลักษณะ ตามลักษณะของอาการของโรค คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน และ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง รายละเอียดดังนี้

  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ไมอิลอยด์ ( Acute Myelogenous Leukemia ) เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่พบบ่อยที่สุด เกิดมากกับผู้ใหญ่
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ลิมโฟไซติก ( Acute Lymphocytic Leukemia ) เป็นมะเร็งที่พบมากในเด็กเล็ก แต่ก็สามารถพบในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน หากเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดนี้สามารถรักษาให้ขาดได้ หากได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง ไมอิลอยด์ ( Chronic Myelogenous Leukemia ) พบว่าเกิดกับผู้ใหญ่ และ แสดงอาการเพียงเล็กน้อย หรือ ไม่แสดอาการผิดปรกติเลย จนถึงระยะที่รุนแรงจึงแสดงอาการให้เห็น
  • มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง ลิมโฟไซติก ( Chronic Lymphocytic Leukemia ) เป็นมะเร็งที่พบมากในผู้สูงอายุ ซึ่งผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการผิดปรกติให้เห็น จนถึงระยะที่รุนแรงจึงแสดงอาการให้เห็น

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว 

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค แต่เกิดจากจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นผิดปกติ ส่งผลให้ระบบการสร้างเม็ดเลือดปกติของไขกระดูกผิดปรกติ ทำให้เกล็ดเลือดและเม็ดเลือดแดงมีจำนวนลดน้อยลง ระบบภูมิต้านทานโรคจึงผิดปรกติ มีอาการต่างๆกระทบทั่วร่างกาย เนื่องจากร่างกายทุกอวัยวะต้องการการหล่อเลี้ยงของเลือด เราไม่ทราบสาเหตุของการเพิ่มขึ้นของเซลล์เม็ดเลือดขาว แต่สามารถสรุปปัจจัยต่างๆที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น รายละเอียด ดังนี้

  • ภาวะการติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัส HTLV-1 เป็นต้น
  • การได้รับสารเคมีต่างๆ เช่น สารกัมมันตรังสี เป็นต้น
  • ภาวะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับผู้ป่วยที่มีญาติพ่อแม่พี่น้องเคยมีประวัติป่วยโรคนี้ มีโอกาศป่วยโรคนี้มากกว่าผู้อื่น

อาการโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

สำหรับการแสดงอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว จะแสดงอาการแตกต่างกันตามชนิดของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว แต่สามารถสังเกตุอาการของโรคมะเร้งเม็ดเลือดขาว ได้ดังนี้

  • มีไข้สูง หนาวสั่น ติดเชื้อโรคง่าย และ เหงือออกมากเวลากลางคืน
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการปวดตามตัว โดยเฉพาะกระดูก เมื่อกดบริเวณกระดูกจะเจ็บมาก
  • มีอาการบวมโตบริเวณคอและรักแร้ ซึ่งเป็นอาการของต่อมน้ำเหลืองบวมโต
  • มีอาการบวมบริเวณตับ หรือ ม้าม
  • ผิวหนังฟกช้ำง่าย และ เลือดกำเดาไหลบ่อย
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว และชัก

อาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะแสดงอาการเจ็บปวดทรมาน เนื่องจาก เม็ดเลือดขาวเป็นส่วนหนึ่งของการหล่อเลี้ยงอวัยวะทั่วร่างกาย เช่น สมอง หัวใจ ปอด ระบบทางเดินอาหาร ไต อัณฑะ เป็นต้น

แนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

สำหรับการวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว แพทย์จะใช้การการตรวจร่างกายทั่วไป ซักประวิติการรักษาโรคและประวัติทางพันธุกรรม การตรวจเลือด การตรวจไขกระดูก และ การตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวในปัจจุบัน สามารถรักษาให้หายขาดได้โดยการปลูกถ่ายไขกระดูก แต่ แนวทางการรักษาใช้หลายวิธีร่วมกัน ประกอบด้วย การใช้เคมีบำบัด การฉายรังสี การปลูกถ่ายไขกระดูก และ การใช้ยารักษาตรงเป้าหมาย ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ รายละเอียด ดังนี้

  • การใช้เคมีบำบัด เป็นการให้ยาหลายชนิดร่วมกัน แต่การรักษาด้วยยวิธีนี้ทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ผทร่วง ตัวซีด เลือดออกง่ายเกร็ดเลือดต่ำ เป็นต้น
  • การฉายรังสี สามารถใช้ได้เฉพาะกรณีมะเร็งเม็ดเลือดขาาวที่อวัยวะที่สำคัญ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวที่สมอง
  • การปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นการรักษาเมื่อไม่สามารถใช้วิธีอื่นได้ วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายสูง สามารถรักษาให้หายได้ แต่ไม่สามารถรับประกันว่าจะรักษาได้
  • การใช้ยารักษาตรงเป้าหมาย วิธีนี้ค่ารักษาแพง และอาจทำให้เกิดอาการเลือดออกง่าย

การป้องกันมะเร็งเม็ดเลือดขาว

สำหรับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน จึงไม่มีแนวทางป้องกันที่ได้ผล สิ่งที่สามารถทำได้คือ การดูแลร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ และ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงจากการรับสารพิษต่างๆ หลีกเลี่ยงการเข้าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับกัมตรังสี

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ( Leukemia ) ลูคีเมีย เลือดกำเดาไหลบ่อย ติดเชื้อง่าย เหงื่อออกตอนกลางคืน ฟกช้ำง่าย อ่อนเพลีย เป็นอาการหนึ่งของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว สามารถรักษาได้ สาเหตุของโรค และ แนวทางการรักษาต้องทำอย่างไร

โรคมะเร็งตับ อาการมีก้อนเนื้อที่ชายโครงด้านขวา ปวดท้อง ท้องบวม ตาเหลือง อ่อนเพลีย อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งตับ แนวทางการรักษาและป้องกันมะเร็งตับทำอะไรได้บ้างโรคมะเร็งตับ มะเร็ง การรักษามะเร็งตับ โรคไม่ติดต่อ

โรคมะเร็งตับ ( liver cancer ) เป็นภาวะการเกิดเนื้อร้ายที่ตับ เป็นโรคที่มีความรุนแรงทำให้เสียชีวิตได้ ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดมะเร็งที่ชัดเจน พบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง โรคมะเร็งตับที่พบมากในคนไทย เป็น มะเร็งตับ ที่เรียกว่า เอชซีซี ( HCC , hepatocellular carcinoma ) มักพบในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป โรคมะเร็งตับ สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ โรคมะเร็งตับที่เกิดจากตัวเนื้อเยื่อตับเอง และ โรคมะเร็งตับที่เกิดจากการแพร่กระจายมาจากมะเร็งที่อวัยวะอื่น โดยทั่วไป

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งตับ

สำหรับมะเร็งตับเกิดจากเซลล์ที่ตับเกิดการกลายพันธุ์ จนส่งผลให้เซลล์ที่ตับเจริญเติบโตอย่างผิดปกติ เนื้องอก แต่สาเหตุของการเกิดโรคยังไม่สามารถระบุสาเหตุทัี่ชัดเจนได้ แต่สามารถบอกถึงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งตับได้ มีดังนี้

  • ภาวะป่วยโรคเกี่ยวกับตับ เช่น โรคตับอักเสบ โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคตับแข็ง โรคไขมันพอกตับ โรคเบาหวาน เป็นต้น
  • การดื่มสุรา การดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์มากเกินไป
  • การสัมผัสสารอะฟลาท็อกซิน ( Aflatoxins ) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากเชื้อรา
  • การสูบบุหรี่
  • การได้รับสารเคมีอันตรายกลุ่มยากำจัดวัชพืช เช่น สารไวนิล คลอไรด์ ( Vinyl Chloride ) และ สารหนู ( Arsenic )
  • การใช้ยากลุ้มยา อนาโบลิคเสตียรอยด์ ( Anabolic steroids ) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายซึ่งนักกีฬาชอบใช้เพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อ

อาการโรคมะเร็งตับ

สำหรับโรคมะเร็งตับมักจะไม่แสดงอาการของโรคในระยะแรก ซึ่งมักจะแสดงอาการของโรคเมื่อเกิดความร้ยแรงแล้ว ซึ่งลักษณะอาการของโรคมะเร็งตับ สามารถสังเกตุอาการ ได้ดังนี้

  • น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • เบื่ออาหาร ไม่อยากรับประทานอาหาร และ อิ่มง่ายถึงแม้ว่ารับประทานเพียงเล็กน้อย
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เจ็บท้อง โดยเจ็บท้องส่วนบนด้านขวา และช้องท้องบวม มีก้อนบริเวณชายโครงด้านขวา
  • ผิวพรรณผิดปรกติ ผิวเหลืองซีด คันตามผิวหนัง และ ตาเหลือง
  • อุจจาระผิดปรกติ อุจจาระมีสีซีด
  • มีไข้ และ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย

ระยะของโรคมะเร็งตับ

สำหรับโรคมะเร็งตับ สามารถแบ่งระยะของโรค ได้ 4 ระยะ คือ ระยะที่หนึ่ง ถึง ระยะที่สี่ ซึ่งอาการของโรคจะแรงขึ้นเรื่อยๆตามระยะของโรค รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งตับระยะแรก จะเกิดก้อนเนื้อขนาดเล็กที่ตับ แต่ไม่แสดงอาการของโรค
  • มะเร็งตับระยะที่สอง ก้อนเนื้อที่ตับมาปริมารมากขึ้น และ มีขนาดใหญ่ขึ้น และ มีการลุกลามมากขึ้น
  • มะเร็งตับระยะที่สาม ลักษณะก้อนเนื้อที่ตับมีขนาดใหญ่มากขึ้น และ ลุกลามไปสู่เนื้อเยื่อของอวัยวะข้างเคียง สามารถแพร่กระจายไปยังระบบน้ำเหลืองและกระแสเลือดได้
  • มะเร็งตับระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็งเกิดการแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดและกระจายไปทั่วร่างกาย เข้าสู่อวัยะต่างๆที่สำคัญตของร่างกาย ผู้ป่วยจะเจ็บปวดมาก และ เสียชีวิตในที่สุด

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ

แนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะซักถามประวัติ และ การตรวจช่องท้องด้วยการอัลตราซาวด์ การเอกซเรย์ การเจาะเลือด และ การตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อดูเซลล์ว่าเป็นเซลล์มะเร็งหรือไม่

การรักษาโรคมะเร็งตับ

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งตัย สามารรักษาได้หากสามารถตรวจสอบพบในระยะแรกๆ สามารถรักษาได้โดยการ ผ่าตัด การเปลี่ยนตับ การฉายรังสี การทำเคมีบำบัด และ การให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง แต่การพิจารณาการรักษาขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆและความพร้อมในการรักษาของผู้ป่วย

  • การผ่าตัด ( Surgical Resection ) หากพบเซลล์มะเร็งในระยะเริ่ม สามารถผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อส่วนที่มีมะเร็งออก การผ่าตัดแบบนี้อาจไม่ปลอดภัย
  • การผ่าตัดเปลี่ยนตับ การเปลี่ยนตับใหม่ต้องได้รับบริจาค และ ตับต้องสามารถเข้ากับร่างกายผู้ป่วยได้ การรักษาวิธีนี้มีความเสี่ยงการต่อต้านตับใหม่ของร่างกายสูง
  • การฉายรังสี ( Radiation Therapy ) เพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง และ ทำให้เนื้องอกหดตัวเล็กลง ซึ่งการฉายรังสี อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อตับและอวัยวะรอบข้างตับได้ ร่างกายอาจมีอาการอ่อนล้า คลื่นไส้อาเจียน
  • การทำเคมีบำบัด ( Chemotherapy ) เป็นการรับประทาน หรือ ฉีดยาเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง การทำเคมีบำบัดนี้ผู้ป่วยจะเกิดผลกระทบต่อร่างกายหลายส่วน เช่น ฟกช้ำง่าย อ่อนเพลีย คลื่นไส้และอาเจียน ผมร่วง ขาบวม เจ็บปาก และ ท้องเสีย
  • การให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง ( Targeted Drug Therapy ) เป็นวิธีการรักษาด้วยยา เพื่อชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับ โดยเจาะจงที่เซลล์มะเร็งตับ

การป้องกันโรคมะเร็งตับ

สำหรับการป้องกันการเกิดมะเร็งที่ตับไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค ซึ่งสิ่งที่ทำได้ คือ การลดความเสี่ยงทุกอย่างที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคมะเร็งตับ รายละเอียด ดังนี้

  • รักษาโรคตับให้หายขาด เนื่องจากโรคตับหากเกิดอาการเรื้อรังมีโอกาสทำให้เกิดโรคมะเร็งตับได้
  • เลิกดื่มสุรา
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ลดไขมัน แป้ง เพิ่ม กากใย ผัก พลไม้ให้มากขึ้น
  • มั่นตรวจสุขภาพร่ากายประจำปี
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย