มะเร็งหลอดอาหาร เซลล์เนื้อเยื่อหลอดอาหารแบ่งตัวมากผิดปกติ อาการเจ็บคอถึงลิ้นปี่ อาเจียนมีเลือดปน เสมหะมีเลือดปน การรักษาและแนวทางการป้องกันโรคทำอย่างไรมะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ โรคทางเดินอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหาร ( Esophageal cancer ) คือ การเกิดเซลล์มะเร็งที่หลอดอาหาร ส่งผลต่ออวัยวะที่ทำหน้าที่ส่งอาหารจากปากเข้าสู่กระเพาะอาหาร ซึ่งการแบ่งเซลล์ผิดปรกติหากลามไปยังอวัยวะข้างเคียง เช่น ต่อมน้ำเหลือง ระบบเลือด เป็นอันตรายถึงชีวิต โรคนี้พบว่าอัตราการเกิดโรคเพศชายมากกว่าเพศหญิง โดยเฉพาะคนอายุ 55 ปีขึ้นไป

ชนิดของมะเร็งหลอดอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหาร สามารถแบ่งชนิดของโรคตามลักษณะของเซลล์มะเร็งได้ 3 ลักษณะ คือ มะเร็งหลอดอาหารชนิดสะความัส มะเร็งหลอดอาหารชนิดอะดีโนคาร์สิโนมา และ  มะเร็งหลอดอาหารชนิดอื่น ๆ ลักษณะดังนี้

  • มะเร็งหลอดอาหาร ชนิดสะความัส ( Squamous Cell Carcinoma ) ลักษณะมะเร็งเกิดขึ้นที่ชั้นผิวของหลอดอาหาร มักเกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหารส่วนบน หรือ ส่วนกลาง เป็นชนิดของมะเร็งหลอดอาหารที่พบมากที่สุด
  • มะเร็งหลอดอาหาร ชนิดอะดีโนคาร์สิโนมา ( Adenocarcinoma ) ลักษณะมะเร็งเกิดทที่เซลล์ของต่อมผลิตเมือก มักเกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหารส่วนล่าง
  • มะเร็งหลอดอาหารชนิดอื่นๆ ลักษณะที่แตกต่างจาก 2 ลักษณะแรก แต่ไม่พบมะเร็งลักษณะนี้บ่อย

สาเหตุของมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับโรคงมะเร็งหลอดอาหาร วิทยาการทางการแพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่ทราบว่าเกิดจากการผิดปรกติของดีเอ็นเอบริเวณหลอดอาหาร แต่มีปัจจัยที่ทำให้มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร

ปัจจัยเสี่ยงต่อเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร 

สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร มีปัจจัยต่างๆที่อาจส่งผลต่อเซลล์ร่างกายผิดปรกติ ดังนี้

  • ภาวะการติดเชื้อที่หลอดอาหาร
  • การได้รับสารเคมีที่หลอดอาหารอย่างรุนแรง เช่น การดื่มน้ำกรด การดื่มยาฆ่าแมลง เป็นต้น
  • โรคกรดไหลย้อนแบบเรื้อรัง
  • พฤติกรรมการกิน เช่น รับประทานอาหารที่ผสมสารกันบูด กินอาหารที่เผ็ดจัด เป็นต้น
  • การดื่มสุรา
  • การบุหรี่
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

อาการผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหาร จะแสดงอาการของโรคที่ลำคอ เกี่ยวข้องกับการกลืนอาหาร และ อาการของโรคจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นตามระยะของการเกิดโรค สามารถสังเกตุอาการของโรคมะเร็งหลอดอาหาร ได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารลำบาก มีอาการสำลักบ่อยๆ และ มีอาการไอระหว่างรับประทานอาหาร
  • มีอาการเจ็บบริเวณลิ้นปี่ และ ลำคอ
  • มีก้อนตรงลำคอ และ มีอาการคอบวม
  • เสมหะมีปนเลือด
  • อาเจียนมีเลือดปน
  • น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าง่าย
  • เสียงแหบ

ระยะการเกิดโรคมะเร็งหลอดอาหาร

โรคมะเร็งหลอดอาหารมีระยะของการเกิดโรค เป็น 4 ระยะ เหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ ซึ่งความรุนแรงของอาการจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะของโรค รายละเอียด ดังนี้ 

  • มะเร็งหลอดอาหารระยะแรก เกิดก้อนเนื้อขนาดเล็กที่หลอดอาหาร
  • มะเร็งหลอดอาหารระยะที่สอง เซลล์มะเร็งลุกลามสู่ภายนอกหลอดอาหาร และ ต่อมน้ำเหลือง ที่อยู่ใกล้เคียง
  • มะเร็งหลอดอาหารระยะที่สาม เซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามไปสู่อวัยวะใกล้เคียง และ ต่อมน้ำเหลืองมากขึ้น
  • มะเร็งหลอดอาหารระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็งแพร่เข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง และ กระจายทั่วร่างกายทางกระแสเลือด

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งหลอดอาหาร พทย์จะทำการการตรวจประวัติการรักษาโรคและประวัติทางพันธุกรรม ตรวจร่างกายทั่วไป ส่องกล้องตรวจลำคอ ตราจเลือด X-rayปอดและช่องท้อง อัลตราซาวน์ช่องท้อง และ ตรวจกระดูก

การรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหาร

แนวทางการรักษาโรคมะเร็งหลอดอาหาร จะใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน คือ  การผ่าตัด การฉายรังสี และ การใช้เคมีบำบัด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาจากสภาพร่างกายของผู้ป่วย ในการเลือกวิธีการรักษา รายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัดเอาเซลล์มะเร็งออก ซึ่งการรักษาวิธีนี้ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดต่องให้อาหารโดยทางสายยาง
  • การฉายรังสี ใช้รังสีฉายไปที่ผนังหลอดอาหาร เพื่อให้เซลล์มะเร็งหยุดการเจริญเติบโต
  • การใช้เคมีบำบัด เป็นการใช้ยารับประทานเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง การรักษาด้วยการวิธีนี้ต้องทำร่วมกับการฉายแสง

การป้องกันโรคมะเร็งหลอดอาหาร

สำหรับโรคมะเร็งหลอดอาหาร ปัจจุบันไม่มีการตรวจคัดกรองโรค ทำให้ไม่ทราบว่าผู้ป่วยเกิดโรคมะเร็งจนกว่าจะแสดงอาการความผิดปรกติของร่างกาย สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่ทำให้เกิดโรค ที่เราสามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่รับประทานอาหารที่เผ็ดจัดๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • เลิกสุบบุหรี่
  • เลิกดื่มสุรา

มะเร็งหลอดอาหาร เกิดจากเซลล์ที่เนื้อเยื่อหลอดอาหารแบ่งตัวมากผิดปกติ อาการเจ็บคอถึงลิ้นปี่ อาเจียนมีเลือดปน เสมหะมีเลือดปน สาเหตุของโรค อาการ การรักษา และ แนวทางการป้องกันโรค ทำอย่างไร

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ระบบฮอร์โมนผิดปรกติ อาการคอบวม ไม่มีอาการเจ็บ มีไข้บ่อยๆ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจเป็นอาการของโรค แนวทางการรักษาต้องทำอย่างไรอาการคอบวม โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคฮอร์โมน โรคไม่ติดต่อ

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง Lymphoma cancer ) คือ การเกิดเซลล์มะเร็งที่ระบบต่อมน้ำเหลือง ซึ่งส่งผลต่อระบบฮอร์โมน ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานทั่วร่างกาย สามารถรักษาได้หากพบในระยะต้นๆ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค โดยอาการเบื้องตน เช่น มีไข้บ่อยๆ ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย คอบวมโตแต่ไม่เจ็บ แขนขาอ่อนแรง ท้องอืดท้องเฟ้อเรื้อรัง

ประเภทของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับประเภทของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เราสามารถแบ่งประเภทของโรคนี้ 2 ประเภท คือ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอน-ฮอดจ์กิน และ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน โดยรายละเอียด มีดังนี้

  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอน-ฮอดจ์กินNon-Hodgkin’s lymphoma ) เกิดจากเม็ดเลือดขาวชื่อ ลิมฟ์โฟไซท์  ( lymphocyte ) ชนิด B หรือชนิด T เกิดความผิดปกติ ทำให้เกิดความผิดปกติของต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่พบมากที่สุดในประเทศไทย
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินHodgkin’s lymphoma ) เกิดจากเม็ดเลือดขาวชื่อ ลิมฟ์โฟไซท์ ( lymphocyte ) ชนิด B หรือชนิด T เกิดความผิดปกติ ทำการแบ่งตัวโดยไม่สามารถควบคุมได้

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับสาเหตุของการเกิดมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลือง ยังไม่สามารถสรุปสาเหตุของการเกิดโรคได้อย่างแน่ชัดได้ แต่ นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้ เชื่อว่าเกิดจาก DNA ของเซลล์เม็ดเลือดขาว ชนิดลิมโฟไซต์ เกิดการกลายพันธุ์จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด แต่สิ่งที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เช่น สภาพสิ่งแวดล้อม ระบบภูมิต้านทานโรคของร่างกาย และ การติดเชื้อโรคต่างๆ เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับสาเหตุของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีปัจจัยต่างๆที่เป็นโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีดังนี้

  • สภาพสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วย หากเป็นแหล่งที่สะสมมลพิษต่างๆ มีโอกาสเกิดโรคมากกว่าคนทั่วไป
  • ระบบภูมิต้านทานโรคของบุคคล
  • การถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม ในกลุ่มคนที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยป่วยโรคนี้ มีโอกาสเสี่ยงเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากกว่าคนอื่น
  • ภาวะการติดเชื้อโรคอย่างเรื้อรัง เช่น โรคเอดส์ ผู้ป่วยโรคเอดส์มีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป

อาการโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง 

สำหรับอาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง จะแสดงให้เห็นความผิดปรกติที่ลำคอ เนื่องจากลำคอเป็นแหล่งของต่อมน้ำเหลืองในร่างกาย จะแสดงอาการที่ คอ รักแร้ ขาหนีบ แต่ไม่มีอาการเจ็บ ลักษณะของโรคต่อมน้ำเหลือง สามารถสังเกตุได้จากอาการ ดังนี้

  • มีไข้บ่อยๆ
  • เหงื่อออกตอนกลางคืน
  • น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ติดเชื้อง่ายและมีความรุนแรงของอาการ
  • เลือดออกง่ายและเป็นแผลง่าย

ระยะของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับอาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง สามามารถแบ่งได้ 4 ระยะ คือ ระยะทีหนึ่งถึงระยะที่สี่ ซึ่งอาการของโรคจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนเสียชีวิตในที่สุด รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะแรก อาการยังไม่ลุกลาม เป็นเฉพาะบริเวณต่อนน้ำเหลืองนั้น เช่น คอ รักแร้ อัตรารอด 80-90 เปอร์เซนต์
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่สอง อาการเริ่มลุกลามไปบริเวณใกล้เคียง อัตรารอด 70-80 เปอร์เซนต์
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะที่สาม ต่อมน้ำเหลืองใหญ่ที่ส่วนบน ใต้กระบังลม ลำคอ ขาหนีบ ติดเชื้อมะเร็ง อัตรารอด 50-70 เปอร์เซนต์
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองระยะสุดท้าย อวัยวะอื่นได้รับเชื้อมะเร็ง เช่น ตับ สมอง และเสียชีวิตในที่สุด อัตรารอด 0-50 เปอร์เซนต์

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับแนวทางการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีแนวทาง คือ สอบถามประวัติการรักษาโรค รวมถึงประวัติการเกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองของญาติพ่อแม่พี่น้อง ตรวจร่างกายทั่วไปและตัดชิ้นเนื้อของต่อมน้ำเหลืองเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ต้องใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งแนวทางการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เช่น การเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance) การใช้เคมีบำบัด (Chemotherapy) การใช้รังสีรักษา (Radiation Therapy) และ การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow Transplant) โดยวิธีการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีรายละเอียด ดังนี้

  • การเฝ้าระวังเชิงรุก ( Active Surveillance ) ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แพทย์จะใช้วิธีการติดตามอาการเป็นระยะๆ
  • การใช้เคมีบำบัด ( Chemotherapy ) ใช้ยาทางเคมีรับประทานหรือยาฉีดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งในร่างกาย
  • การใช้รังสีรักษา ( Radiation Therapy ) เป็นการใช้รังสีพลังงานสูง เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งในร่างกาย
  • การปลูกถ่ายไขกระดูก ( Bone Marrow Transplant ) การถ่ายไขกระดูกนำสเต็มเซลล์ที่ดีเซลล์ใหม่ ที่ได้มาจากการบริจาคฉีดเข้าไปในเลือดเพื่อสร้างไขกระดูกใหม่

อาการแทรกซ้อนของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับอาการต่างๆของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่างๆของร่างกาย และ แสดงอาการแทรกซ้อน ดังนี้

  • ระบบหายใจผิดปรกติ เช่น อาการไอ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก เกิดจากการกระทบต่อต่อมไทมัส เป็นระบบน้ำเหลืองตรงหน้าอก
  • ระบบสมองและสาตตาผิดปรกติ มีอาการปวดหัว มีอาการชัก เห็นภาพซ้อน ชาตามใบหน้า มีปัญหาการพูด
  • ผิวหนังผิดปรกติ เช่น มีอาการคัน มีก้อนนูนแดงใต้ผิวหนัง เป็นต้น

การป้องกันมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน การป้องกันการเกิดโรคจึงต้องป้องกันปัจจัยยเสี่ยงของการเกิดโรคที่สามารถควบคุมได้ แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีดังนี้

  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์
  • เลิดดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  • เลิกสูบบุหรี่
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย