คุณค่าทางโภชนาการของกระถิน 200 สุขภาพ สมุนไพร โรค https://fongza.com ความรู้สมุนไพรและโรค สำหรับทุกคน Thu, 07 Nov 2024 03:54:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.4.5 กระท้อน ผลไม้ สมุนไพรไทย สรรพคุณแก้ท้องเสีย ช่วยขับลม https://fongza.com/%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%97%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%99/ Mon, 21 Oct 2019 08:35:56 +0000 https://fongza.com/?p=3766 กระท้อน นิยมทานผลกระท้อนเป็นอาหาร ต้นกระท้อนเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน สรรพคุณของกระท้อน ช่วยขับลม ขับเหงื่อ แก้อักเสบ โทษของกระท้อนเป็นอย่างไร ต้นกระท้อน ภาษาอังกฤษ เรียก Santol ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระท้อน คือ Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระท้อน เช่น สะตู สตียา สะโต เตียนล่อน สะท้อน มะติ๋น มะต้อง เป็นต้น ต้นกระท้อน เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซียและมาเลเซีย จากนั้นมีการเผยแพร่ไปยังประเทศในเขตร้อน เช่น อินเดีย เกาะบอร์เนียว หมู่เกาะโมลุกกะ และประเทศฟิลิปปินส์ กระท้อนในสังคมไทย สำหรับกระท้อนกับสังคมไทย มีการใช้ประโยชน์มาช้านาน นิยมนำผลกระท้อนมาทำอาหารรับประทาน เช่น แกงคั่ว แกงฮังเล ตำกระท้อน กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนลอยแก้ว กระท้อนดอง กระท้อนกวน กระท้อนแช่อิ่ม เยลลี่กระท้อน แยมกระท้อน น้ำกระท้อน เป็นต้น นอกจากนั้นไม้จากต้นกระท้อน สามารถใช้ประโยชน์ได้ เช่น ทำไม้กระดาน เป็นต้น สายพันธุ์กระท้อน สำหรับสายพันธุ์ของกระท้อนมีหลายสายพันธ์ แต่กระท้อนที่ได้รับความนิยมสูงสูด ได้แก่ พันธุ์อีล่า ปุยฝ้าย นิ่มนวล อินทรชิต ทับทิม ขันทอง เทพรส อีแดง รายละเอียด ดังนี้ กระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย เป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมือที่นิยมบริโภคมากที่สุด ลักษณะเด่นของกระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย คือ ผลมีรสหวาน เปลือกนิ่ม ขนาดของผลมีตั้งแต่เล็กไปถึงใหญ่ กระท้อนพันธุ์อีล่า เป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดปราจีนบุรี  ลักกษณะของกระท้อนอีล่า คือ มีผลขนาดใหญ่ เมื่อยังไม่แก่จัดจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน กระท้อนพันธุ์อีล่ามักจะสุกช้ากว่ากระท้อนทุกพันธุ์ กระท้อนพันธุ์ทับทิม เป็นกระท้อนพันธุ์ดั้งเดิมของ ตำบลตะลุง จังหวัดปราจีนบุรี ลักษณะเด่นของกระท้อนพันธุ์ทับทิม คือ ผลกลม ขนาดไม่ใหญ่มาก มีรสหวาน สีเหลืองนวล ผิวเรียบเนียนสวย เปลือกนิ่ม กระท้อนพันธุ์ทับทิม ไม่มีคนรู้จักมากนัก เนื่องจากมีชาวสวนที่ปลูกกระท้อนพันธุ์ทับทิมไม่มาก กระท้อนพันธุ์นิ่มนวล ลักษณะเด่นของกระท้อนพันธ์นิ่มนวล คือ รสหวานจัด ซึ่งเป็นสายพันธุ์กระท้อนที่นิยมบริโภคมากที่สุด เปลือกบาง เนื้อหนานิ่ม ไม่กระด้าง ผลกลมแป้น ขั้วสั้น ผิวเปลือกเรียบมีสีเหลืองอมน้ำตาล เปลือกบาง ลักษณะของต้นกระท้อน ต้นกระท้อน เป็นไม้ยืนต้น ความสูงประมาณ 30 เมตร สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระท้อน มีดังนี้ ลำต้นกระท้อน

The post กระท้อน ผลไม้ สมุนไพรไทย สรรพคุณแก้ท้องเสีย ช่วยขับลม first appeared on 200 สุขภาพน่ารู้ สมุนไพร และ การรักษาโรค.

]]>
กระท้อน นิยมทานผลกระท้อนเป็นอาหาร ต้นกระท้อนเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน สรรพคุณของกระท้อน ช่วยขับลม ขับเหงื่อ แก้อักเสบ โทษของกระท้อนเป็นอย่างไรกระท้อน ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของกระท้อน

ต้นกระท้อน ภาษาอังกฤษ เรียก Santol ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระท้อน คือ Sandoricum koetjape (Burm.f.) Merr. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระท้อน เช่น สะตู สตียา สะโต เตียนล่อน สะท้อน มะติ๋น มะต้อง เป็นต้น ต้นกระท้อน เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซียและมาเลเซีย จากนั้นมีการเผยแพร่ไปยังประเทศในเขตร้อน เช่น อินเดีย เกาะบอร์เนียว หมู่เกาะโมลุกกะ และประเทศฟิลิปปินส์

กระท้อนในสังคมไทย

สำหรับกระท้อนกับสังคมไทย มีการใช้ประโยชน์มาช้านาน นิยมนำผลกระท้อนมาทำอาหารรับประทาน เช่น แกงคั่ว แกงฮังเล ตำกระท้อน กระท้อนทรงเครื่อง กระท้อนลอยแก้ว กระท้อนดอง กระท้อนกวน กระท้อนแช่อิ่ม เยลลี่กระท้อน แยมกระท้อน น้ำกระท้อน เป็นต้น นอกจากนั้นไม้จากต้นกระท้อน สามารถใช้ประโยชน์ได้ เช่น ทำไม้กระดาน เป็นต้น

สายพันธุ์กระท้อน

สำหรับสายพันธุ์ของกระท้อนมีหลายสายพันธ์ แต่กระท้อนที่ได้รับความนิยมสูงสูด ได้แก่ พันธุ์อีล่า ปุยฝ้าย นิ่มนวล อินทรชิต ทับทิม ขันทอง เทพรส อีแดง รายละเอียด ดังนี้

  • กระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย เป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมือที่นิยมบริโภคมากที่สุด ลักษณะเด่นของกระท้อนพันธุ์ปุยฝ้าย คือ ผลมีรสหวาน เปลือกนิ่ม ขนาดของผลมีตั้งแต่เล็กไปถึงใหญ่
  • กระท้อนพันธุ์อีล่า เป็นกระท้อนพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดปราจีนบุรี  ลักกษณะของกระท้อนอีล่า คือ มีผลขนาดใหญ่ เมื่อยังไม่แก่จัดจะมีรสเปรี้ยวอมหวาน กระท้อนพันธุ์อีล่ามักจะสุกช้ากว่ากระท้อนทุกพันธุ์
  • กระท้อนพันธุ์ทับทิม เป็นกระท้อนพันธุ์ดั้งเดิมของ ตำบลตะลุง จังหวัดปราจีนบุรี ลักษณะเด่นของกระท้อนพันธุ์ทับทิม คือ ผลกลม ขนาดไม่ใหญ่มาก มีรสหวาน สีเหลืองนวล ผิวเรียบเนียนสวย เปลือกนิ่ม กระท้อนพันธุ์ทับทิม ไม่มีคนรู้จักมากนัก เนื่องจากมีชาวสวนที่ปลูกกระท้อนพันธุ์ทับทิมไม่มาก
  • กระท้อนพันธุ์นิ่มนวล ลักษณะเด่นของกระท้อนพันธ์นิ่มนวล คือ รสหวานจัด ซึ่งเป็นสายพันธุ์กระท้อนที่นิยมบริโภคมากที่สุด เปลือกบาง เนื้อหนานิ่ม ไม่กระด้าง ผลกลมแป้น ขั้วสั้น ผิวเปลือกเรียบมีสีเหลืองอมน้ำตาล เปลือกบาง

ลักษณะของต้นกระท้อน

ต้นกระท้อน เป็นไม้ยืนต้น ความสูงประมาณ 30 เมตร สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระท้อน มีดังนี้

  • ลำต้นกระท้อน เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 30 เมตร เปลือกต้นเป็นสีเทา
  • ใบกระท้อน ลักษณะเป็นใบประกอบ ใบรี ใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีส้มแดง
  • ดอกกระท้อน ลักษณะดอกเป็นช่อ ออกดอกตามซอกใบและปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นสีเหลืองนวล
  • ผลกระท้อน ลักษณะกลมแป้น ผิวของผลมีขนคล้ายกำมะหยี่ ผลอ่อนมีสีเขียว และผลมีน้ำยางสีขาว ผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ซึ่งผลแก่จะมีน้ำยางน้อยลง ภายในผลมีเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน

สำหรับการบริโภคกระท้อนจะนิยมบริโภคผลสุก นักโภชนาการไดคศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลกระท้อนขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 0.118 กรัม ไขมัน 0.1 กรัม กากใยอาหาร 0.1 กรัม ธาตุแคลเซียม 4.3 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 17.4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.42 มิลลิกรัม แคโรทีน 0.003 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.045 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.741 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 86.0 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระท้อน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระท้อน ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชนืจาก รากกระท้อน ใบกระท้อน ผลกระท้อน เปลือกผลกระท้อน และ เมล็ดของกระท้อน สรรพคุณของกระท้อน มีดังนี้

  • รากกระท้อน สรรพคุณใช้ทำเป็นยาธาตุ ช่วยแก้ปวดท้อง ช่วยแก้ท้องเสีย ช่วยขับลม
  • ใบกระท้อน สรรพคุณช่วยแก้ไข้ ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขับของเสีียออกจากร่างกาย
  • ผลกระท้อน สรรพคุณช่วยสมานแผล แก้อาการอักเสบ
  • เปลือกของผลกระท้อน สรรพคุณช่วยรักษาโรคผิวหนัง รักษากลากเกลื้อน
  • เมล็ดกระท้อน สรรพคุณมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง

โทษของกระท้อน

ผลกระท้อน มีธาตุโพแทสเซียมสูง ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไต ผู้ป่วยโรคไตไม่คสรรับประทานกระท้อนเป็นอาหาร นอกจากนั้น ในผลกระท้อนที่มีการนำมาทำอาหาร ตรวจพบว่ากระท้อนก็มีสารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์ หรือ สารฟอกขาว ปนเปื้อน หากรับประทานมากเกิดไปอาจทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย

กระท้อน สมุนไพรไทย นิยมรับประทานผลกระท้อนเป็นอาหาร ลักษณะของต้นกระท้อนเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระท้อน สรรพคุณของกระท้อน เช่น ช่วยขับลม ขับเหงื่อ แก้อักเสบ โทษของกระท้อน เป็นอย่างไร

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

The post กระท้อน ผลไม้ สมุนไพรไทย สรรพคุณแก้ท้องเสีย ช่วยขับลม first appeared on 200 สุขภาพน่ารู้ สมุนไพร และ การรักษาโรค.

]]>
กระเจี๊ยบ สมุนไพร ผักและผลไม้ ประโยชน์และโทษเป็นอย่างไร https://fongza.com/%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b8%b5%e0%b9%8a%e0%b8%a2%e0%b8%9a/ Mon, 08 Jul 2019 03:52:42 +0000 https://fongza.com/?p=3211 กระเจี๊ยบ ดอกนำมารับประทานได้ ต้นกระเจี๊ยบเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคกระเพาะอาหาร โทษของกระเจี๊ยบมีอะไรบ้าง กระเจี๊ยบ ภาษาอังกฤษ เรียก Rosella พืชตระกูลชบา ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบ คือ Hibiscus sabdariffa Linn. ชื่อเรียกอื่นๆของกระเจี๊ยบ เช่น ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง ใบส้มม่า แกงแคง ส้มปู แบลมีฉี่ แต่เพะฉ่าเหมาะ ปร่างจำบู้ ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ ส้มพอดี กระเจี๊ยบเปรี้ยว ส้มพอ เป็นต้น ต้นกระเจี๊ยบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ซูดาน มาเลเซีย และ ประเทศไทย สำหรับแหล่งปลูกกระเจี๊ยบในประเทศไทย คือปทุมธานี สมุทรสาคร นนทบุรี นครปฐม กาญจนบุรี พิจิตร  ราชบุรี สุพรรณบุรี ระยอง และ นครนายก กระเจี๊ยบ อุดมไปด้วยสารอาหารหลากหลาย เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และสารต้านอนุมูลอิสระ สรรพคุณทางยาของกระเจี๊ยบ เช่น รักษาอาการอักเสบ ต้านเชื้อโรค ลดความดันโลหิต รักษาโรคหัวใจและระบบประสาท ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบ ต้นกระเจี๊ยบ พืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตอากาศกึ่งร้อน สามารถขยายพันธุ์ ได้ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบ มีดังนี้ ลำต้นกระเจี๊ยบ ลำต้นและกิ่งมีสีม่วงแดง ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร เนื้อลำต้นอ่อน อวบน้ำ ใบกระเจี๊ยบ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ลักษณะรูปฝ่ามือ มี 3 แฉก ใบเว้าลึก ขอบใบเป็นฟันเลื่อย ใบสีเขียว ใบสากมือ ดอกกระเจี๊ยบ ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ดอกออกตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีชมพู กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยายติดกัน สีแดงเข้ม กลีบเลี้ยงหักง่าย เมื่อดอกบานเต็มที่ เส้นผ่านศูนย์กลางจะประมาณ 6 เซนติเมตร ผลกระเจี๊ยบ ลักษณะเป็นผลรีปลายแหลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดง และจะปลายดอกจะแตกเป็นแฉกๆ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล กลีบผลหนาสีแดงฉ่ำน้ำ คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบ สำหรับการบริโภคกระเจี๊ยบ นิยมรับประทานผลกระเจี๊ยบ นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภขนาการของกระเจี๊ยบ มีดังนี้ คุณค่าทางโภชนาการของผลกระเจี๊ยบแดง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 49 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต

The post กระเจี๊ยบ สมุนไพร ผักและผลไม้ ประโยชน์และโทษเป็นอย่างไร first appeared on 200 สุขภาพน่ารู้ สมุนไพร และ การรักษาโรค.

]]>
กระเจี๊ยบ ดอกนำมารับประทานได้ ต้นกระเจี๊ยบเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคกระเพาะอาหาร โทษของกระเจี๊ยบมีอะไรบ้างกระเจี๊ยบ สมุนไพร พืชสวนครัว สรรพคุณของกระเจี๊ยบ

กระเจี๊ยบ ภาษาอังกฤษ เรียก Rosella พืชตระกูลชบา ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบ คือ Hibiscus sabdariffa Linn. ชื่อเรียกอื่นๆของกระเจี๊ยบ เช่น ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง ใบส้มม่า แกงแคง ส้มปู แบลมีฉี่ แต่เพะฉ่าเหมาะ ปร่างจำบู้ ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ ส้มพอดี กระเจี๊ยบเปรี้ยว ส้มพอ เป็นต้น

ต้นกระเจี๊ยบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ซูดาน มาเลเซีย และ ประเทศไทย สำหรับแหล่งปลูกกระเจี๊ยบในประเทศไทย คือปทุมธานี สมุทรสาคร นนทบุรี นครปฐม กาญจนบุรี พิจิตร  ราชบุรี สุพรรณบุรี ระยอง และ นครนายก กระเจี๊ยบ อุดมไปด้วยสารอาหารหลากหลาย เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และสารต้านอนุมูลอิสระ สรรพคุณทางยาของกระเจี๊ยบ เช่น รักษาอาการอักเสบ ต้านเชื้อโรค ลดความดันโลหิต รักษาโรคหัวใจและระบบประสาท

ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบ

ต้นกระเจี๊ยบ พืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตอากาศกึ่งร้อน สามารถขยายพันธุ์ ได้ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบ มีดังนี้

  • ลำต้นกระเจี๊ยบ ลำต้นและกิ่งมีสีม่วงแดง ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร เนื้อลำต้นอ่อน อวบน้ำ
  • ใบกระเจี๊ยบ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ลักษณะรูปฝ่ามือ มี 3 แฉก ใบเว้าลึก ขอบใบเป็นฟันเลื่อย ใบสีเขียว ใบสากมือ
  • ดอกกระเจี๊ยบ ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ดอกออกตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีชมพู กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยายติดกัน สีแดงเข้ม กลีบเลี้ยงหักง่าย เมื่อดอกบานเต็มที่ เส้นผ่านศูนย์กลางจะประมาณ 6 เซนติเมตร
  • ผลกระเจี๊ยบ ลักษณะเป็นผลรีปลายแหลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดง และจะปลายดอกจะแตกเป็นแฉกๆ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล กลีบผลหนาสีแดงฉ่ำน้ำ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบ

สำหรับการบริโภคกระเจี๊ยบ นิยมรับประทานผลกระเจี๊ยบ นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภขนาการของกระเจี๊ยบ มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลกระเจี๊ยบแดง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 49 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 11.31 กรัม ไขมัน 0.64 กรัม โปรตีน 0.96 กรัม วิตามินเอ 14 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.011 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.028 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.31 มิลลิกรัม วิตามินซี 12 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 215 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.48 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 51 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 208 มิลลิกรัม และ ธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระเจี๊ยบ

กระเจี๊ยบ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ได้หลายส่วน ทั้ง ผล เมล็ด ดอก ใบ และ น้ำคั้นจากดอกกระเจี๊ยบ สรรพคุณของกระเจี๊ยบ มีดังนี้

  • ผลกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดคอเลสเตอรัล รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท แก้กระหายน้ำ ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด
  • เมล็ดกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดคอเลสเตอรัล บำรุงกำลัง รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ
  • น้ำกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดคอเลสเตอรัล บำรุงกำลัง ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยรักษาโรคเส้นเลือดแข็งเปราะ รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ช่วยลดไข้ ช่วยแก้ไอ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ดอกกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วบลดไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท ช่วยแก้ไอ ช่วยขับเสมหะ
  • ใบกระเจี๊ยบ สรรพคุณบำรุงกำลัง รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท ช่วยขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด ช่วยขับปัสสาวะ ใช้ล้างแผล

โทษของกระเจี๊ยบ

สำหรับข้อควรระวังในการบริโภค และ ใช้ประโยชน์จากกระเจี๊ยบ ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย มีดังนี้

  • กระเจี๊ยบ สรรพคุณเป็นยาระบาย การกินกระเจี๊ยบมากเกินไปทำให้ท้องเสียได้ สำหรับผู้ป่วยที่พึ่งพักฟื้นจากอาการท้องเสีย ไม่ควรกินกระเจี๊ยบ
  • น้ำกระเจี๊ยบที่ปรุงรสด้วยน้ำตาล อาจมีความหวานมากเกินไป ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรกินน้ำกระเจี๊ยบที่หวาน
  • กระเจี๊ยบสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดการบริโภคกระเจี๊ยบ เพื่อลดความเสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

The post กระเจี๊ยบ สมุนไพร ผักและผลไม้ ประโยชน์และโทษเป็นอย่างไร first appeared on 200 สุขภาพน่ารู้ สมุนไพร และ การรักษาโรค.

]]>