ถั่วเขียว สมุนไพร นิยมรับประทานเมล็ดถั่วเขียวเป็นอาหาร ลักษณะของต้นถั่วเขียว คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว สรรพคุณช่วยขับร้อน บำรุงสายตา ลดความดันโลหิต โทษของถั่วเขียวถั่วเขียว สมุนไพร ธัญพืช สรรพุคณถุ่วเขียว

ต้นถั่วเขียว ภาษาอังกฤษ เรียก Green bean ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเขียว คือ Vigna radiata (L.) R.Wilczek สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเขียว เช่น ถั่วจิม ถั่วมุม ถั่วทอง เป็นต้น ถั่วเขียว นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน เมนูอาหารที่มีถั่วเขียวเป็นส่วนประกอบ เช่น เต้าส่วน ถั่วทอง ขนมข้าวเกรียบอ่อน เป็นต้น

ลักษณะของต้นถั่วเขียว
ต้นถั่วเขียว พืชล้มลุก เป็นพืชอายุสั้น เพียงหนึ่งปี  ต้องการน้ำน้อย และ ทนแล้งได้ดี ระยะเวลาปลุกเพื่อได้ผลผลิต ประมาณ 60 วัน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล้ดพันธ์ และ สามารถปลูกได้ตลอดปี ลักษณะของต้นถั่วเขียว มีดังนี้

  • ลำต้นของถั่วเขียว ลักษณะลำต้นตั้งตรง เป็นเหลี่ยม เป็นพุ่ม ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร กิ่งก้านแตแขนง มีขนปกคลุม
  • ใบถั่วเขียว ลักษณะเป็นใบประกอบ ขึ้นสลับกันตามลำต้น ลักษณะใบคล้ายรูปไข่ ปลายใยแหลม ใบมมีขนปกคลุม
  • ดอกถั่วเขียว ลักษณะดอกเป็นช่อ ขึ้นตามมุมใบ และ ปลายยอด กลีบดอกเป็นสีเหลือง หรือ สีขาว
  • ฝักถั่วเขียว ลักษณะเป็นฝัก ยาวกลม ภายในฝักมีเมล็ด ฝักอ่อนเป็นสีเขียว ฝักแก่เป็นสีน้ำตาล
  • เมล็ดถั่วเขียว ลักษณะกลมรี แข็ง เปลือกผิวเมล็ดเรียบ เมล็ดสีเขียว เนื้อในเป็นสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเขียว

สำหรับการบริโภคถั่วเขียวเป็นอาหาร มีการใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว ทั้งเมล็ดดิบ และ เมล็ดต้มสุก ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของเมล็ดถั่วเขียว ได้ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 347 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 62.62 กรัม น้ำ 9.05 กรัม น้ำตาล 6.6 กรัม กากใยอาหาร 16.3 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 23.86 กรัม วิตามินบี1 0.621 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.233 มิลลิกรัม วิตามินบี3 2.251 มิลลิกรัม วิตามินบี5 1.91 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.382 มิลลิกรัม วิตามินบี 9 625 ไมโครกรัม วิตามินซี 4.8 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.51 มิลลิกรัม วิตามินเค 9 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 132 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 6.74 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 189 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 1.035 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 367 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,246 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 2.68 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดถั่วเขียวต้ม ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 105 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 19.15 กรัม น้ำ 72.66 กรัม น้ำตาล 2 กรัม กากใยอาหาร 7.6 กรัม ไขมัน 1.15 กรัม โปรตีน 7.02 กรัม วิตามินบี1 0.164 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.061 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.577 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.41 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.067 มิลลิกรัม วิตามินบี9 159 ไมโครกรัม วิตามินซี 1 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.15 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.7 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.4 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 48 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.298 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 99 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 266 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.84 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นิยมใช้ประโยชน์จากเมล็ดถั่วเขียว โดย สรรพคุณของถั่วเขียว มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงกล้ามเนื้อ เสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยในการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ช่วยผลิตโปรตีน และการหดตัวของกล้ามเนื้อ[5]
  • ช่วยบำรุงเลือดและหลอดเลือด และ บำรุงหัวใจ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
  • ช่วยเจริญอาหาร
  • ช่วยควบคุมน้ำหนัก
  • บำรุงข้อและกระดูก บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ป้องกันโรคกระดูกพรุน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยทำให้ร่างกายเย็น แก้ร้อนใน แก้อาการกระหายน้ำ
  • บำรุงสมอง ช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยทำให้สมองทำงานได้ฉับไวมากขึ้น
  • ช่วยบำรุงสายตา รักษาตาอักเสบ
  • ช่วยรักษาโรคคางทูม
  • ช่วยลดอาการอาเจียน ช่วยขับของเหลวออกจากร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ป้องกันโรคท้องผูก แก้ลำไส้อักเสบ
  • บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาไตอักเสบ
  • บำรุงผิวพรรณและรักษาโรคผิวหนัง ช่วยแก้ผดผื่นคัน
  • รักษาแผล ลดอาการอักเสบและบวม รักษาฝี
  • ช่วยขับสารพิษตกค้างในร่างกาย

โทษของถัวเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากถั่วเขียว หรือ การรับประทานถั่วเขียว มีข้อควรระวังในการรับประทานถั่วเขียว ดังนี้

  • การรับประทานถั่วเขียวทำให้ท้องอืด ไม่ควรกินถั่วเขียวมากเกินไป
  • การรับประทานถั่วเขียวมากเกินไป อาจทำให้แป้งในร่างกายสูง และ เปลี่ยนเป็นไขมัน ทำให้เกิดไขมันสะสมในร่างกายเกินขนาด
  • สำหรับผุ้ป่วยดรคเก๊าท์ ไม่ควรรับประทานถั่วเขียว เนื่องจากมีสารพิวรีน ( Purine ) อาจทำให้เกิดอาการของข้ออักเสบได้

ถั่วเหลือง น้ำเต้าหู้ทำมาจากเมล็ดถั่วเหลือง ต้นถั่วเหลืองเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณลดคอเรสเตอรัล ช่วยลดน้ำตาลในเลือด โทษของถั่วเหลืองถั่วเหลือง สมุนไพร พืชตระกูลถั่ว สรรพคุณของถั่วเหลือง

ต้นถั่วเหลือง ภาษาอังกฤษ เรียก Soybean ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเหลือง คือ Glycine max (L.) Merr. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของถั่วเหลือง เช่น ถั่วแระ ถั่วพระเหลือง ถั่วแม่ตาย มะถั่วเน่า ถั่วเน่า ถั่วหนัง เถ๊าะหน่อ ตบยั่ง อาทรึ่ม โชยุ โซยาบีน อึ่งตั่วเต่า และ เฮ็กตั่วเต่า เป็นต้น

ถั่วเหลืองได้รับฉายาว่า ราชาแห่งถั่ว จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ ผู้ผลิตถั่วเหลืองที่สำคัญที่สุดของโลก คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา รองลงมา คือ ประเทศบราซิลและจีน การปลูกถั่วเหลืองแพร่หลายในประเทศเขตร้อนและเขตอบอุ่น

ถั่วเหลืองในประเทศไทย

การปลูกถั่วเหลืองในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีการปลูกครั้งแรกเมื่อใด สันนิษฐานว่ามาจากชาวจีนที่มาอาศัยหรือค้าขายในประเทศไทย ปัจจุบันมีการปลูกถั่วเหลืองทั่วไป และ ได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ถั่วเหลือง จสมีถั่วเหลืองสายพันธุ์ดีเป็นจำนวนมาก มีอยู่ประมาณ 10 พันธุ์ เช่น สจ.4 สจ.5 สุโขทัย1 สุโขทัย2 สุโขทัย3 นครสวรรค์1 เชียงใหม่60 เชียงใหม่2 เชียงใหม่3 เชียงใหม่4

สำหรับสายพันธ์ถั่วเหลืองที่นิยมปลูกมากที่สุด คือ สายพันธุ์ สจ.4 สจ.5 และ เชียงใหม่60 ประเทศไทยสามารถปลูกถั่วเหลืองได้ทั้งปี อายุการเก็บเกี่ยวถั่วเหลืองประมาณ 60-110 วัน

ลักษณะของต้นถั่วเหลือง

สำหรับต้นถั่วเหลือง เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ต้นถั่วเหลือง มี 2 ประเภท คือ ถั่วเหลืองชนิดทอดยอด และ ถั่วเหลืองชนิดไม่ทอดยอด ลักษณะของต้นถั่วเหลือง มีดังนี้

  • ลำต้นต้นถั่วเหลือง ลักษณะลำต้นตั้งตรง เป็นทรงพุ่ม กิ่งก้านแตกแขนง ความสูงประมาณ 1 เมตร ลำต้นมีขนปกคลุมอยู่ทั่วไป
  • ใบถั่วเหลือง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบเป็นนรูปไข่เรียวยาว ใบมีขนสีน้ำตาลปกคลุมอยู่ทั่วใบ
  • ดอกถั่วเหลือง ลักษณะดอกออกเป็นช่อ ดอกเป็นกระจะ สีขาว กับ สีม่วง ดอกออกตามก้านใบและยอดของลำต้น กลีบดอกมีขนปกคลุม
  • ฝักถั่วเหลือง ฝักออกเป็นกลุ่มๆ ลักษณะยาวกลม ฝักมีขนสีเทาปกคลุมทั่วฝัก ฝักยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ภายในฝักมีเมล็ดประมาณ 5 เมล็ดฝักอ่อนสีเขียว ฝักสุกสีน้ำตาล
  • เมล็ดถั่วเหลือง อยู่ภายในฝักถั่วเหลือง เมล็ดลักษณะกลมรี ผิวเรียบ เมล็ดมีหลายสี เช่น เหลือง เขียว น้ำตาล

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง

สำหรับการบริโภคถั่วเหลืองนิยมรับประทานเมล็ดของถั่วเหลือง สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง นักโภชนาการได้ศึกษา มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของถั่วเหลือง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 446 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 30.16 กรัม น้ำ 8.54 กรัม น้ำตาล 7.33 กรัม กากใยอาหาร 9.3 กรัม ไขมัน 19.94 กรัม โปรตีน 36.49 กรัม ทริปโตเฟน 0.591 กรัม ทรีโอนีน 1.766 กรัม ไอโซลิวซีน 1.971 กรัม ลิวซีน 3.309 กรัม ไลซีน 2.706 กรัม เมทไธโอนีน 0.547 กรัม ซิสทีน 0.655 กรัม ฟีนิลอะลานีน 2.122 กรัม ไทโรซีน 1.539 กรัม วาลีน 2.029 กรัม อาร์จินีน 3.153 กรัม ฮิสตามีน 1.097 กรัม อะลานีน 1.915 กรัม กรดแอสพาร์ติก 5.112 กรัม กลูตามิก 7.874 กรัม ไกลซีน 1.880 กรัม โพรลีน 2.379 กรัม ซีรีน 2.357 กรัม วิตามินเอ 1 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.874 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.87 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1.623 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.793 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.377 มิลลิกรัม วิตามินบี9 375 ไมโครกรัม โคลีน 115.9 มิลลิกรัม วิตามินซี 6 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.85 มิลลิกรัม วิตามินเค 47 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 277 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 15.7 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 280 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 2.517 มิลลิกรัม
ธาตุฟอสฟอรัส 704 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 1,797 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 4.89 มิลลิกรัม

สรรพคุณของถั่วเหลือง

สำหรับการใช้ประโยชน์จากต้นถั่วเหลือง สามารถใช้ประโยชน์จาก เปลือกเมล็ด กากเมล็ด เมล็ด ใบ และ ดอก สรรพคุณของถั่วเหลือง มีดังนี้

  • เปลือกเมล็ด สรรพคุณเป็นยาบำรุงเลือด แก้ปวดศีรษะ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาแผลเปื่อย ลดอาการเหงื่อออก
  • กากเมล็ด สรรพคุณช่วยป้องกันการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด
  • ใบถั่วเหลือง สรรพคุณช่วยห้ามเลือด รักษางูกัด
  • ดอกถั่วเหลือง สรรพคุณช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็ก รักษาต้อกระจก
  • เมล็ดถั่วเหลือง สรรพคุณช่วยลดความเสี่ยงโรคความดัน ลดคอเรสเตอรัล ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด บำรุงกระดูก ช่วยขับรอน ช่วยถอนพิษ รักษาโรคโลหิตจาง รักษาตานขโมย กระตุ้นกระเพาะอาหาร แก้โรคบิด เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ท้องผูก ช่วยขับปัสสาวะ ปรับสมดุลย์ออร์โมนเพศหญิง แก้ปวดตามข้อกระดูก

โทษของถั่วเหลือง

สำหรับการบริโภคถั่วเหลือง มีข้อควรระวังในการบริโภคถั่วเหลือง ดังนี้

  • สำหรับบางคนพบว่ามีอาการแพ้ถั่วเหลือง เช่น เกิดผื่นคันหลังจากรับประทานถั่วเหลือง หากพบอาการผิดปรกติ ให้หยุดรับประทานทันที
  • ถั่วเหลืองมีโปรตีนสูง หากบริโภคมากเกินไปอาจทำให้ท้องผูก แน่นท้องได้
  • การรับประทานถั่วเหลืองเป็นประจำ อาจทำให้เกิดภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism) โดยหากพบอาการ เช่น เจ็บส้นเท้า อ่อนเพลีย อ้วนง่าย ให้หยุดการรับประทานถั่วเหลือง
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย