โรคซีพี โรคสมองพิการ ( Cerebral palsy ) ภาวะสมองพิการโดยกำเนิด ส่งผลต่อการควบคุมร่างกาย การทรงตัว และ ใบหน้าผิดรูป สาเหตุ อาการของโรค การดูแลผู้ป่วยทำอย่างไร

โรคซีพี โรคสมองพิการโดยกำเนิด การรักษาโรค

โรคซีพี หรือ โรคสมองพิการCerebral palsy ) ย่อว่า CP คือ ภาวะสมองพิการในเด็ก เป็นโรคที่เกิดตั้งแต่กำเนิด ส่งผลให้มีีความผิดปรกติอย่างชัดเจน ด้านการควบคุมร่างกาย การทรงตัว ใบหน้าผิดรูป เด็กที่เป็นโรคซีพีจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายผิดแปลก ผิดปกติจากเด็กทั่วไปสังเกตุได้ชัดเจน การขยับแขนขา การทรงตัว ใบหน้า ผิดปกติ ซึ่งส่วนมากแล้วเด็กที่เป็นโรคนี้ยังมีสติปัญญาดีปกติและมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีปัญหาสติปัญญาด้อยกว่าคนปกติ

เด็กที่เป็นโรคซีพีมักจะมีปัญหาพัฒนาการล่าช้าเมื่อเทียบกับเด็กทั่วไป โดยเฉพาะการเดิน การยืน การทรงตัว การควบคุมตนเองได้ยากเช่น น้ำลายยืด การพูดทำได้ช้า แล้วเราจะสังเกตุได้อย่างไรว่าเด็กเป็นโรคซีพีหรือไม่

การสังเกตุอาการเด็กโรคซีพี

สำหรับในวัยเด็กแรกเกิด โรคซีพีสังเกตุอาการได้ยาก ต้องอาศัยเวลาและการสังเกตุพัฒนาการของเด็ก เด็กซีพีมักมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวช้ากว่าเด็กปกติ เช่น เด็กอายุ 3 ถึง 4 เดือน แล้วคอยังไม่แข็ง มีอาการคอพับคออ่อน พัฒนาการด้านการเดินช้ากว่าเด็กปรกติ เด็ก

สาเหตุการเกิดโรคซีพี

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคซีพี มีหลายสาเหตุซึ่งเป็นการเกิดตั้งแต่ในครรภ์มารดา สามารถสรุปสาเหตุได้ดังนี้

  • การขาดออกซิเจนขณะคลอดนานเกินไป ทำให้สมองเซลล์สมองเสียหายตั้งแต่แรกคลอดส่งผลต่อการพัฒนาเมื่อโตขึ้น จนแสดงอาการผิดปกติดังที่กล่าวมา
  • การติดเชื้อสมองหลังจากคลอด เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้สมองบางส่วนถูกทำลาย และไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่มาทดแทนได้
  • การเสียหายของสมองในช่วง 2 ปีแรกหลังการเกิด เพราะการพัฒนาของสมองจะเร็วที่สุดในช่วง 2 ปีแรก หากเสียหายแต่ต้นจะทำให้การพัฒนาสมองผิดปกติไปหมด ส่งผลต่อการพัฒนาของร่างกาย
  • เมื่อสมองเสียหายแล้วไม่สามารถทำให้กลับคืนมาได้ จึงไม่สามารถสั่งการให้กล้ามเนื้อตอบสนองได้ดี เมื่อแขนขาขยับได้ไม่ดีส่งผลต่อกระดูกไม่สามารถยืดขยายได้ตามอายุ จึงทำให้ร่างกายผิดปกติ

ปัญหาของเด็กที่มีปัญหาโรคซีพี

สำหรับเด็กที่มีโรคซีพีจะมีปัญหาต่างๆมากมายที่งร่างกาย สังคม และ พัฒนาการของเด็กในด้านต่างๆ ซึ่งสามารถสรุปปัญหาของเด็กที่มีอาการโรคซีพี มีดังนี้

  • ภาวะระดับสติปัญหาต่ำกว่าปรกติ ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะมีปัญหา เช่น การมองเห็น การได้ยิน การพูดและการรับรู้ภาษา รวมทั้งอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย ดังนั้นเมื่อทำการทดสอบระดับสติปัญญา เด็กกลุ่มนี้มักจะได้ผลที่ต่ำกว่าปกติเสมอ
  • ปัญหาด้านการรับรู้ เรียนรู้และความคิด ผู้ป่วยโรคซีพีมีความสามารถในการเคลื่อนไหวที่จำกัด ทำให้การเรียนรู้สิ่งต่างๆได้น้อย ทำให้ไม่สามารถเข้าใจเรื่องต่างๆได้
  • ปัญหาด้านอารมณ์และสังคม ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะมีอาการเศร้าซึม เนื่องจากการเคลื่อนไหวไม่ได้ตามที่ต้องการ ไม่สามารถวิ่งเล่นกับเพื่อนได้ ช่วยตัวเองไม่ได้ ทำให้มีปัญหาทางอารมณ์และสังคมได้
  • อาการโรคลมชัก เราพบว่าร้อยละ 20 ถึง 50 ของผู้ป่วยโรคซีพี มักมีอาการชักร่วมด้วย
  • ปัญหาด้านการมองเห็น ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะมีความบกพร่องทางด้านการมองเห็น เช่น ตาเหล่ ไม่สามารถกลอกตาขึ้นบนพร้อมกันได้ หรือ มีตาดำกระตุก ( nystagmus ) ร่วมด้วย
  • ปัญหาด้านการได้ยิน ผู้ป่วยโรคซีพีอาจจะมีความผิดปกติของการได้ยิน เนื่องมาจากความบกพร่องของหูส่วนกลาง ทำให้เด็กได้ยินเสียงน้อยลง
  • ปัญหาด้ารการสื่อความหมาย ผู้ป่วยโรคซีพีจะมีความบกพร่องทางด้านภาษา ไม่สามารถเลียนแบบเสียง ทำให้มีความผิดปกติของการพูด ได้แก่ ไม่พูดเลย พูดช้ากว่าปกติ
  • ปัญหาด้านกระดูก ผู้ป่วยโรคซีพีมักจะพบปัญหาด้านการเคลื่อนไหว อาจพบภาวะกระดูกสันหลังคด ( scoliosis )
  • ปัญหาด้านฟันและร่องปาก ผู้ป่วยโรคซีพีมักพบปัญหาฟันผุได้บ่อย เนื่องจากการดูแลรักษาความสะอาดฟันและช่องปากทำได้ยากลำบาก ถ้าขาดการดูแลรักษาความสะอาดฟันและช่องปาก อาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายตามมาได้

อาการของโรคซีพี

อาการผิดปรกติจะเป็นตั้งแต่เกิดแต่ส่วนใหญ่แล้วพ่อแม่มักพบความผิดปกติของเด็กตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี โดยสังเกตได้จากเด็กมีท่านอนที่ผิดปกติ กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือเกร็ง ซึ่งจำเป็นต้องพาเด็กเข้ารับการตรวจรักษาทันทีเมื่อสังเกตพบความผิดปกติ โดยอาการผิดปรกติสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแข็งเกร็ง กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวเอง และ กลุ่มอาการผสมกัน ลักษณะอาการดังนี้

  • อาการโรคซีพี กลุ่มแข็งเกร็ง ( spastic ) เป็นอาการที่พบมากที่สุด คือ กล้ามเนื้อมีการตึงตัวมากกว่าปกติ อาการเกร็งทำให้ร่างกายผิดปกติ มีหลายรูปแบบ คือ
    • อาการเกร็งแบบครึ่งซีก คือ มีอาการเกร็งของแขนและขาข้างเดียวกัน ( spastic hemiplegia ) ลักษณะผิดปกติชัดเจนคล้ายผู้ใหญ่ที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก
    • อาการเกร็งครึ่งท่อน คือ มีอาการเกร็งของขาและแขนทั้งสองข้าง( spastic diplegia ) เกร็งแค่ครึ่งตัวส่วนมากพบขาเกร็งมากกว่าแขน
    • อาการเกร็งทั้งตัว คือ มีอาการเกร็งมากทั้งแขนและขาทั้งสองข้าง
  • อาการโรคซีพี กลุ่มเคลื่อนไหวเอง เป็นอาการเคลื่อนไหวเองของผู้ป่วย แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ อาการกล้ายเนื้อตึงตัวมากกว่าปรกติ และ อาการกล้ามเนื้อตึงตัวน้อยกง่าปรกติ ดังนี้
    • อาการกล้ามเนื้อตึงตัวมากกว่าปรกติ เรียก อะธีตอยด์ ( athetoid ) ทำให้ควบคุมการเคลื่อนไหวไม่ได้ บางรายคอเอียง ปากเบี้ยว
    • อาการกล้ามเนื้อตึงตัวน้อยกว่าปรกติ เรียก อะแทกเซีย ( ataxia ) ทำให้มีปัญหาการทรงตัว กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน เกิดอาการสั่นขณะเคลื่อนไหวร่างกาย
  • อาการโรคซีพี กลุ่มอาการผสมกัน ( mixed type ) คือ มีอาการทั้งเกร็ง และ กล้ามเนื้อผิดปรกติ พบมากโดยเฉพาะกลุ่มแข็งเกร็งร่วมกับกล่มที่มีการเคลื่อนไหวเกิดได้เอง

การรักษาโรคซีพี

เนื่องจากโรคนี้ไม่สามารถรักษาหายขาดได้ เพราะ เนื้อสมองเมื่อเสียไปแล้วไม่สามารถทำให้กลับมาได้ สิ่งที่ทำได้คือการฟื้นฟู การบรรเทาอาการ เช่น การที่เส้นยึด เส้นตรึง กล้ามเนื้อลีบ ควรทำหารขยับ การยืด การบริหารทุกวัน ให้กล้มเนื้อมีความยืดหยุ่น ให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองให้มากที่สุด รวมทั้งการฟื้นฟูจิตใจ การปรับตัวเข้ากับสังคม ยอมรับตนเอง และเห็นคุณค่าในตนเอง แรวทางการรักษา สามารถแบ่งตามปัญหาที่พบ ดังนี้

  • การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด จะเร่ิ่มรักษาตั้งแต่แรกเกิด ไม่มีวิธีการที่แน่นอนตายตัว ขึ้นกับลักษณะของความผิดปกติของแต่ละคน โดยโปรแกรมการรักษาจะกำหนดขึ้นในผู้ป่วยแต่ละรายเฉพาะตัว เพื่อวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์ เพื่อ ปรับและควบคุมความตึงตัวของกล้ามเนื้อให้ใกล้เคียงภาวะปกติมากที่สุด กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้รูปแบบการเคลื่อนไหวที่ปกติและสามารถรักษาสมดุลเพื่อทรงท่าอยู่ได้ และ การใช้เครื่องช่วยเพื่อจัดท่าทาง
  • การรักษาโดยใช้กิจกรรมบำบัด เช่น การฝึกการดูดกลืน การฝึกทักษะการทำกิจวัตรประจำวัน การแต่งกาย การรับประทานอาหารด้วยตนเอง การฝึกการเคลื่อนไหวของแขนและมือ
  • การรักษาเพื่อแก้ไขการพูด ฝึกให้สามารถออกแรงกล้ามเนื้อในการพูดให้สามารถพูดได้เป็นปรกติมากที่สุด
  • การรักษาด้วยยา ซึ่งมีทั้งยากินและยาฉีด โดยยาใช้รักษาเพื่อลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด เพ่ือลดความตึงของกล้ามเนื้อ เพื่อสร้างความสมดุลของข้อ ผ่าตัดกระดูก เป็นต้น ซึ่งการรักษาต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ผู้ทำการรักษาว่ามีความเหมาะสม
  • การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เสริมช่วยในการเคลื่อนไหว เช่น เฝือกอ่อนพยุงข้อเท้า ( ankle foot orthoses-AFO ) อุปกรณ์ช่วยเดิน ( walker ) รองเท้าตัด เป็นต้น

การดูแลผู้ป่วยโรคซีพี

  • เด็กควรได้รับการฟื้นฟู ทั้งทางกายภาพคือ การขยับแขนขาร่างกาย การฝึกเดิน ฝึกทำกิจวัตรประจำวันเอง การทำกายภาพบำบัด บริหารกล้ามเนื้อ การฟื้นฟูทางด้านจิตใจ การฝึกการเข้าสังคม การเตรียมความพร้อมในการเรียน การฝึกอาชีพ
  • การฟื้นฟูและฝึกต่างๆควรเริ่มตั้งแต่เด็ก ไม่ควรเกินอายุ 7 ปี เนื่องจากหลังจาก 7 ปีแล้วสมองจะเจริญได้ช้ามาก ทำให้การฝึก การฟื้นฟูที่ทำหลังจากอายุ 7 ปีจะทำได้ล่าช้ามาก
  • การดุแลเด็กที่เป็นโรคซีพีจะต้องมีการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม เช่น อุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จะต้องหยิบจับได้ง่าย ไม่มีคม ทางเดินควรมีทางลาด ไม่ควรมีสิ่งกีดขวาง เพื่อให้การเดินการขยับต่างๆทำได้อย่างปลอดภัย และให้เด็กค่อยๆปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมปกติ
  • การกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การเข้าสังคม การมีเพื่อนในวัยเดียวกัน การทำควมเข้าใจสังคมภายนอกบ้าน ควรพาเด็กออกไปพบปะผู้คน สังคมภายนอกเพื่อให้เกิดการเรียนรู้การปรับตัว
  • การฝึกพื้นฐานต่างๆ เช่น การเคี้ยวอาหาร การหยิบจับอุปกรณ์ต่างๆ การใส่เสื้อผ้าเอง การขับถ่ายเอง ควรฝึกให้เป็นตั้งแต่เด็ก ทั้งยังได้ประโยชน์จากการฝึกกล้ามเนื้ออีกด้วย

เนื้องอกในสมอง การเกิดเนื้องอกที่สมอง ส่งผลต่อประสาทและสมอง อาการปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง สูญเสียการควบคุม การรักษาเนื้องอกในสมองทำอย่างไร
เนื้องอกในสมอง โรคสมอง โรคเนื้องอก โรคไม่ติดต่อ

โรคเนื้องอกในสมอง คือ ภาวะการเกิดเนื้องอกที่สมอง ส่งผลประทบต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง โรคนี้สามารถพบได้ทุกเพศ ทุกวัย มีความแตกต่างจากโรคมะเร็งในสมอง เป็นโรคร้ายแรงในอดีต ซึ่งปัจจุบันสามารถรักษาด้วยการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยมาก ผลแทรกซ้อนจากการรักษาน้อย อาการบาดเจ็บของสมองลดลง พักฟื้นได้ในระยะสั้น

ชนิดของเนื้องอกในสมอง

สำหรับเนื้องอกในสมอง สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ เนื้องอกของสมอง และเนื้องอกในสมองที่มาจากอวัยะอื่นๆ รายละเอียด ดังนี้

  • เนื้องอกของสมองเอง แบ่งได้อีก 2 ชนิด คือ เนื้องอกชนิดดี และ เนื้องอกชนิดไม่ดี ซึ่งคือ เนื้องอกมะเร็งสมองนั่นเอง
  • เนื้องอกของสมองที่กระจายมาจากอวัยวะอื่น เป็นลักษณะของการแพร่กระจายของมะเร็งจากอวัยวะอื่นๆ

สาเหตุการเกิดจากโรคเนื้องอกในสมอง

สาเหตุของการเกิดเนื้องอกในสมองยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทีให้เกิดเนื้องอกในสมอง โดยมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

  • พันธุกรรม ผู้ป่วยที่มีญาติพ่อแม่พี่น้องป่วยโรคนี้มักจะมีความเสี่ยงการเกิดเนื้องอกในสมองมากกว่าผู้ที่ไม่มีญาติเคยป่วยโรคนี้ ทั้งนี้ถึงแม้จะมีญาติคนใกล้ชิดเคยป่วยโรคนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะป่วยโรคนี้เสมอไป เพียงแต่มีความเสี่ยงมากขึ้น
  • เซลล์ในสมองเอง ที่มีการแบ่งตัวมากผิดปกติจนมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • การรับการแพร่ของมะเร็งมากจากอวัยวะอื่น จนลามไปถึงสมองจนเกิดเป็นเนื้องอก ซึ่งการรักษาเมื่อผ่าตัดแล้วจะต้องทำการรักษาการลุกลามของมะเร็งโดย การทำเคมีบำบัด และการฉายรังสีเพิ่มเติม

อาการผู้ป่วยโรคเนื้องอกในสมอง

อาการของเนื้องอกในสมองขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ชนิดของเนื้องอก และ ขนาดของเนื้องงอก ซึ่งบางคนอาจไม่แสดงอาการใดๆ และ อาจพบเนื้องอกหลังเข้ารับการตรวจร่างกาย แต่อาการของเนื้องอกในสมองจะแสดงอาการเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง โดยรวม ซึ่งสังเกตุอาการ ได้ดังนี้

  • อาการปวดหัวอย่างรุนแรง โดยปวดเป็นระยะ ต่อเนื่องกัน อาการปวดโดยไม่เคยเป็นมาก่อน ปวดติดต่อกันหลายสัปดาห์ ปวดขณะนอนหลับกลางดึก
  • อาการแขนขาอ่อนแรง อาการชา อาการจะหนักขึ้นเรื่อยๆ จนบางครั้งไม่สามารถขยับแขนขาได้
  • อาการหน้าเบี้ยว หนังตาตก ปากเบี้ยว ไม่สามารถบังคับได้
  • อาการกระตุกชัก โดยที่ไม่เคยมีอาการมาก่อน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ไม่สามารถควบคุมได้ อยู่นอกเหนือการควบคุม

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง

ระยะของการเกิดเนื้องอกในสมอง มี 4 ระยะ เหมือนกับการเกิดมะเร็ง ซึ่งในการดูแลผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง จะไม่แบ่งระยะของมะเร็ง แต่จะแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่สามารถผ่าตัดรักษาได้ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่ไม่สามารถผ่าตัดรักษาได้ และ กลุ่มผู้ป่วยเนื้องอกในสมองที่รักษาแล้วลับมาเป็นซ้ำ

การตรวจวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคเนื้องอกในสมอง แพทย์จะการตรวจร่างกาย ตรวจประวัติการรักษา สอบถามอาการป่วย การตรวจโดยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การตรวจโดยทำเอนอาร์ไอ เพื่อระบุตำแหน่งขนาดของเนื้องอกเพื่อวางแผนการรักษา

การรักษาโรคเนื้องอกในสมอง

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเนื้องอกในสมอง ใช้การผ่าตัด รังสีรักษา และ เคมีบำบัด ซึ่งแพทย์เลือกแนวทางการรักษาตามความเหมาะสมของปัจจัยต่างๆ โดยแนวทางการรักษาโรคเนื้องอกในสมอง มีรายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด โดยอยู่ตำแหน่งและขนาดของก้อนเนื้องอก หากขนาดไม่ใหญ่มาก และไม่มีการขยายรวมทั้งไม่มีผลต่อการทำงานของสมอง อาจจะรักษาโดยการประคับประคองอาการ แต่หากมีการขยายขนาดและกดทับสมองจนทำให้สมองทำงานผิดปกติหรือทำงานบกพร่อง จะต้องผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้ออก
  • การฉายรังสีและเคมีบำบัด หากก้อนเนื้องอกนั้นเป็นชนิดที่เกิดจากเซลล์มะเร็ง เมื่อทำการผ่าตัดออกแล้วจะต้องทำการรักษายับยั้งการลุกลาม โดยการใช้เคมีรักษาและรังสีรักษา ซึ่งจะมีอาการข้างเคียงจากการรักษา เช่น คลื่นไส้ อาเจียนผมร่วง ผิวหนังอักเสบ ประสิทธิภาพการรักษาจะขึ้นกับระยะของโรคมะเร็งขณะรักษา

การป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง เนื่องจากโรคนี้ยังไม่สามารถหาสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจนได้ ซึ่งการป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง จึงควรดูแลร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคต่างๆ แนวทางการป้องกันโรคเนื้องอกในสมอง มีดังนี้

  • การสังเกตุอาการของตนเอง และคนรอบข้างที่ป่วย หากอาการผิดปกติตามที่กล่าวข้างต้นจะต้องรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย หากพบเนื้องอกได้เร็วเท่าไหร่ก็จะมีโอกาสหายมากขึ้น
  • รับประทาอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ดืมน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ผ่อนคลาย ลดความเครียดจากกิจกรรมต่างๆ
  • หลีกเลี่ยงการรับสารพิษต่างจากสิ่งแวดล้อม

โรคเนื้องอกในสมอง คือ การเกิดเนื้องอกที่สมอง ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง ลักษณะอาการ ปวดหัวอย่างรุนแรง แขนขาอ่อนแรง สูญเสียการควบคุมระบบประสาท แนวทางการรักษาเนื้องอกในสมองทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย