สารส้ม ใช้แกว่งในบ่อเก็บน้ำให้สิ่งสกปรกตกตะกอน ใช้กำจัดกลิ่นตัวโดยเฉพาะใต้วงแขน ดับกลิ่นได้ นิยมใช้ดองผักเพื่อให้ผักดองมีความกรอบ มีพิษในการกินค่อนข้างน้อย

สารส้ม Alumen

ประเภทของสารส้ม

สำหรับ สารส้ม มาจากภาษาละติน คำว่า Alumen แปลว่า สารที่ทำให้หดตัว เป็นเกลือเชิงซ้อน ที่มีธาตุอะลูมิเนียม และ ซัลเฟต เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งประเภทของสารส้มสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ประกอบด้วย

  • อะลูมิเนียมซัลเฟต ซึ่งสารส้มประภทนี้มีลักษณะเป็นก้อนผงสีขาว
  • โพแทสเซียมอะลั่ม ซึ่งสารส้มประเภทนี้มีลักษณะเป็นผลึกใสไม่มีสี
  • แอมโมเนียมอะลั่ม ซึ่งสารส้มประเภทนี้มีลักษณะเป็นผลึกใสไม่มีสี

ลักษณะของสารส้ม

สารส้มมีลักษณะเป็นผลึกใส สีขาว ไม่มีกลิ่น รสฝาด สามารถบดเป็นผงสีขาวได้ สารส้ม ลักษณะคล้ายน้ำตาลกรวด หากดูไม่ละเอียด ก็แยกไม่ออก องค์ประกอบทางเคมีของสารส้ม เป็นเกลือซัลเฟตของอะลูมิเนียม มี 2 ชนิด คือ เกลือโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (K2SO4.Al2(SO4)3.24 H2O และ เกลือแอมโมเนียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4.Al2(SO4)3.24 H2O

คุณสมบัติของสารส้ม

  • ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
  • ไม่เปื้อนเสื้อผ้า
  • ปลอดภัยต่อร่างกายไม่ทำให้รูขุมขนอุดตัน
  • ไม่ซึมเข้าร่างกาย
  • ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  • ไม่เสื่อมสภาพคงทนต่อสภาพแวดล้อม

สรรพคุณของสารส้ม

สำหรับประโยชน์ของสารส้ม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ตามตำราแพทย์แผนไทย สมุนไพร บอกว่า สารส้มมีรสฝาด เปรี้ยว ช่วยสมานแผล แก้ระดูขาว รักษาหนองใน รักษาแผลหนองเรื้อรัง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับนิ่ว รักษาปอดอักเสบ ช่วยฟอกเลือด รักษาอาการเหงือกบวม รักษาแผลในปากลำคอ ช่วยห้ามเลือด ทำให้หนองแห้ง บรรเทาอาการไอ ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ

ประโยชน์ของสารส้ม

สำหรับการใช้ประโยชน์ของสารส้ม นอกจากใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกายแล้ว สารส้มสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆอีก มีรายลเอียด ดังนี้

  • ใช้ระงับกลิ่นตัว โดนใช้สารส้มแกว้งในน้ำ ใช้ผ้าชุบน้ำที่แกว่งสารส้ม เช็ดตามตัว ช่วยดับกลิ่นตัวได้
  • ใช้ชุบไส้ตะเกียง ทำให้ไม่มีควัน
  • ใช้ดับกลิ่นคาวของอาหาร โดยใช้สารส้มล้าปลา
  • ใช้ถนอมอาหาร สารส้มแกว่งในน้ำช่วยให้ ถั่วงอก พริก สดตลอดเวลา หรือ ใช้เป็นสารกันบูด โดยใช้สารสมผสมแป้งเปียก ช่วกันอาหารบูด
  • ทำให้น้ำใส โดยใช้สารส้มแกว่งในน้ำ
  • ทำให้สีติดผ้าและกระดาษ ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ และ การย้อมสีผ้า
  • ช่วยให้พริกขี้หนูดูสดใส เก็บไว้ได้หลายวัน โดยการนำพริกขี้หนูแช่ในน้ำสารส้มสักพัก แล้วนำมาผึ่งไว้ ก่อนทานก็ควรล้างพริกเสียก่อน
  • นำสารส้มมาทาส้นเท้า ช่วยป้องกันส้นเท้าแตกได้
  • ป้องกันยุงกัน น้ำสารส้มนำมาทาผิวป้องกันอาการคันจากยุงกัดได้

โทษของสารส้ม

สำหรับการใช้ประโยชน์ของสารส้ม หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะเกิดประโชยน์ ซึ่งโทษของสารส้ม มีรายละเอียด ดังนี้

  • สารส้ม มีฤทธิ์เป็รพิษ หากกินเข้าไป จะทำให้คลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว
  • การกินน้ำที่มีสารส้ม ทำให้ร่างกายดูดซึมอลูมิเนียมแพร่กระจายเข้าสู่ระบบเลือด ปอด ตับ กระดูก และ สมอง อาจทำให้ไตเสื่อมได้ สารส้มที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำดื่ม อาจทำให้เกิดอาการอาเจียน ท้องร่วง ทำลายเนื้อเยื่อของประสาทได้

แหล่งอ้างอิง

  • นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 สิงหาคม 2550
  • ผู้จัดการออนไลน์, คำให้สัมภาษณ์ นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 12 พฤศจิกายน 2555

มะละกอ พืชท้องถิ่น สมุนไพร นิยมรับประทานผลมะละกอเป็นอาหาร สรรพคุณของมะละกอ เช่น ช่วยบำรุงระบบขับถ่าย บำรุงผิวพรรณ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ โทษของมะละกอมีอะไรบ้างมะละกอ สมุนไพร ผลไม้ สรรพคุณของมะละกอ

ต้นมะละกอ ภาษาอังกฤษ เรียก papaya ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะละกอ คือ Carica papaya L. สำหรับชื่อเรียกอื่ืนๆของมะละกอ เช่น ก้วยลา แตงต้น มะก้วยเทศ มะเต๊ะ ลอกอ และ บักหุ่ง เป็นต้น ต้นมะละกอ มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำอะเมซอล ปัจจุบันมะละกอมีหลายสายพันธ์ เช่น มะละกอแขกดำ มะละกอแขกดำดำเนิน มะละกอแขกหลอด มะละกอปากช่อง มะละกอแขกนวล มะละกอสายน้ำผึ้ง มะละกอจำปาดะ มะละกอโซโล มะละกอฮอลแลนด์ เป็นต้น

ประโยชน์ของมะละกอ

สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย โดยหลักๆนำผลมะละกอมาทำเป็นอาหารรับประทาน รับประทานผลมะละกอดิบ เช่น แกงส้ม ส้มตำ ส่วนผลมะละกอสุกใช้เป็นอาหารยามว่าง รับประทานเป็นผลไม้ รสหวานอร่อย ผลมะละกอช่วยบำรุงร่างกาย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยให้สุขภาพแข็งแรง นอกจากนั้นผลมะละกอนำมาแปรรูปอาหารในรูปแบบสินค้าอุตสาหกรรม เช่น มะละกอแช่อิ่ม มะละกอแผ่น แยมมะละกอ มะละกอเชื่อม ซอสมะละกอ เยลลี่มะละกอ มะละกอแช่อิ่ม มะละกอสามรส มะละกอดอง มะละกอผง เป็นต้น ยางมะละกอ มีเอนไซม์ชื่อPapain ซึ่งมีคุณสมบัติย่อยโปรตีนได้ และที่สำคัญ มะละกอนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เช่น ครีมบำรุงผิว สบู่ มาร์กหน้า เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะละกอ

ต้นมะละกอ เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น สามารถปลูกได้ในดินทุกสภาพดิน ไม่ชอบน้ำขัง สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นมะละกอ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นมะละกอ ลำต้นมะละกอตั้งตรง ลักษณะกลม ความสูงประมาณ 3 เมตร ลำต้นอวบน้ำ ไม่มีแก่นลำต้น ลำต้นมีน้ำยางสีขาว
  • ใบมะละกอ ลักษณะใบเดี่ยว ก้านใบยาว ขอบใบหยัก ฟันเลื่อย ใบมะละกอมีขนอ่อนๆ ผิวใบสากมือ สีเขียว ก้านใบของมะละกอ มีลักษณะกลม บวมน้ำ ออกมาจากข้อของลำต้น
  • ดอกมะละกอ ลักษณะดอกเป็นช่อ สีขาวนวล กลิ่นหอม ออกดอกออกตามซอกใบ
  • ผลมะละกอ ลักษณะเรียวยาว ปลายผลแหลม ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ผลดิบมะละกอเป็นสีเขียว ส่วนผลสุกมะละกอเป็นสีส้มเมล็ดของผลดิบสีขาว เมล็ดของผลสุกมีสีดำ

คุณค่าทางอาหารของมะละกอ

สำหรับการรับประทานมะละกอเป็นอาหาร นิยมรับประทานทั้งผลมะละกอดิบและผลมะละกอสุก นักโภชนาการได้ศุกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะละกอดิบ ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 43 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.82 กรัม น้ำตาล 7.82 กรัม กากใยอาหาร 1.7 กรัม ไขมัน 0.26 กรัม โปรตีน 0.47 กรัม วิตามินเอ 47 ไมโครกรัม เบตาแคโรทีน 274 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 89 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.023 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.357 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.191 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.038 มิลลิกรัม วิตามินบี9 38 ไมโครกรัม วิตามินซี 62 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.3 มิลลิกรัม วิตามินเค 2.6 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.25 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 21 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.04 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 182 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 8 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม และ ไลโคปีน 1,828 ไมโครกรัม

ยางมะละกอ มีเอนไซม์โปรตีน 4 ชนิด คือ papain , chymopapain A และ B และ papaya peptidase A  โดย เอนไซม์ chymopapain เป็นเอนไซม์ที่พบมากที่สุดในยางมะละกอ ทนความร้อนและทนต่อสภาพความเป็นกรดได้ดี ทำให้เนื้อมีความนุ่ม เอนไซม์ในยางมะละกอส่วนมากพบที่ใบก้านและผลดิบ

สรรพคุณของมะละกอ

สำหรับมะละกอนั้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ได้ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์จาก ผลมะละกอ ยางมะระกอ และ รากมะละกอ สรรพคุณของมะละกอ มีดังนี้

  • ผลมะละกอดิบ สรรพคุณบำรุงสายตา ช่วยบำรุงเหงือกและฟัน บำรุงน้ำนม ช่วยขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมัน ช่วยขับพยาธิ
  • ผลมะละกอสุก สรรพคุณแก้ท้องผูก ช่วยบำรุงระบบขับถ่าย เป็นยาระบาย
  • ยางมะละกอ สรรพคุณช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับถ่ายพยาธิ
  • รากของมะละกอ สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว

โทษของมะละกอ

สำหรับผู้ที่รับประทานมะละกอสุกติดต่อกันเป็นจำนวนมาก เป็นเวลานาน อาจทำให้สารมีสีพวก carotenoid ไปสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้ผิวมีสีเหลือง

  • ยางมะละกอ มีสารพาเพน มีความเป็นพิษต่อทารกในครรภ์ อาจทำให้เกิดภาวะพิการแต่กำเนิดได้ สตรีมีครรภ์ไม่ควรระวังการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของยางมะละกอ
  • ผลมะละกอสุกมีความหวาน สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไม่ควรรับประทานมะละกอสุกมากเกินไป อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น
  • ยางมะละกอ มีสารพาเพน และ สารลาเท็กซ์ อาจทำให้เกิดอาการแพ้ได้ใยบางคน
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย