พยาธิในช่องคลอด ทริโคโมแนส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์พบมากในผู้หญิง คันในช่องคลอด แสบตอนปัสสาวะ ตกขาวผิดปกติ ตกขาวสีเหลืองเขียว มีกลิ่นเหม็น รักษาอย่างไร

พยาธิช่องคลอด โรคติดต่อ โรคติดเชื้อ

พยาธิในช่องคลอด ( Trichomoniasis หรือ Trich ) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย ซึ่งพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว Trichomonas vaginalis  โรคนี้ผู้ป่วยส่วนมากไม่แสดงอาการ และจะแสดงอาการเพียลร้อยละ 30 โรคนี้ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ควรรีบรักษา เพราะสามารถติดต่อสู่คู่นอนได้

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมีหลายปัจจัย ที่สำคัญคือ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อโรค ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการติดโรคนี้ ได้แก่ เปลี่ยนคู่นอนบ่อย คนที่มีประวัติในการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ คทที่มีประวัติในการเป็นโรคพยาธิในช่องคลอดมาก่อน และ คนที่ใช้สิ่งของร่วมกับคนที่มีเชื้อโรค

โรคพยาธิช่องคลอดไม่ได้เกิดกับเพศหญิงเท่านั้น สามารถเกิดกับเพศชายได้ ซึ่งเพศชายหากติดเชื้อจะมีอาการแสบเมื่อปัสสาวะ อาการคัน ระคายเคือง ที่ปลายอวัยวะเพศ เพราะ ติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะ เป็นโรคที่ไม่อันตราย ถึงกับทำให้เสียชีวิต แต่จะกระทบการดำรงชีวิตมาก เพราะ จะมีความรำคาญใจ ส่งผลต่อ สุขภาพจิตของผู้หญิง และ ผู้ชาย ที่ได้รับเชื้อ และยังสามารถเป็นพาหะ นำเชื้อไปติดผู้อื่นต่อได้อีกด้วย

สาเหตุของการเกิดโรคพยาธิในช่องคลอด

สาเหตุของโรคนี้มาจากการติดเชื้อโปรโตซัว Trichomonas vaginalis ซึ่งสามารถติดได้จากการมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่ป้องกัน (การสวมถุงยาอนามัย) การมีเพศสัมพันธ์ ทางปาก ทวารหนัก ไม่รักษาความสะอาด ในจุดซ่อนเร้น และสุขภาพโดยรวมอ่อนแอ ขาดการออกกำลังกาย รับประทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ครบ 5 หมู่

อาการผู้ป่วยโรคพยาธิในช่องคลอด

อาการของโรคพยาธิในช่องคลอดนั้นจะแสดงอาการที่อวัยวะเพศและจุกซ่อนเร้น มีอาการตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงอาการอักเสบขั้นรุนแรง ผู้ป่วยบางรายจะแสดงอาการป่วยต่างๆภายใน 28 วันหลังจากได้รับเชื้อติดเชื้อ บางรายแสดงอาการหลังจากนั้นและบางรายอาจมีอาการแบบเป็นๆหายๆ ได้ ซึ่งอาการต่างๆ สามารถแสดงได้ดังนี้

  • ตกขาวผิดปรกติ ตกขาวเป็นสีเหลือง สีเขียวหรือสีเทา
  • มีกลิ่นเหม็นมาจากช่องคลอด
  • มีอาการคัน และแสบภายในช่องคลอดหรือบริเวณช่องคลอด
  • ปวดเวลามีเพศสัมพันธ์
  • รู้สึกระคายเคืองหรือแสบขณะปัสสาวะ

การตรวจวินิจฉัยโรคพยาธิในช่องคลอด

สำหรับการวินิจฉัยโรค เริ่มจากการตรวจประวัติการรักษา การพูดคุย ซักประวัติ พฤติกรรมทางเพศ ที่อยู่อาศัย สภาพความเป็นอยู่ทั่วไป ตรวจร่างกายเบื้องต้น ตรวจหาโรคติดต่อทางเพศอื่นๆเพิ่มเติม เช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบ โรคหูด โรคเริม โรคโลน โรคหนองใน โรคซิฟิลิส โรคแผลริมอ่อน และ ตรวจภายใน เก็บตัวอย่างตกขาว ตรวจหาพยาธิ ในห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันเชื้อได้ถูกตัว จะได้วางแผนการรักษาที่ถูกต้อง

การรักษาโรคพยาธิในช่องคลอด

การรักษาโรคพยาธิในช่องคลอด สามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยการรับประทานยาต่อเนื่อง 7-10 วัน ใช้ยาฆ่าพยาธิ มีสองชนิด คือ Metronidazole และ Tinidazole แต่ถึงแม้จะได้รับการรักษาจนหายขาดแล้ว ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้

การป้องกันโรคพยาธิในช่องคลอด

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคนี้ สามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

  • เมื่อรู้สึกแสบขณะปัสสาวะ แสบปลายองคชาต หรือ ตกขาวมากผิดปกติ มีกลิ่นเหม็น คันช่องคลอด รีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย อย่าปล่อยเรื้อรัง
  • รักษาความสะอาด ชุดชั้นใน เสื้อผ้า อย่าใส่ซ้ำ
  • ทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นด้วยสบู่ ทุกครั้งที่อาบน้ำ
  • สวมทุกยางอนามัย ทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์
  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย งดมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
  • รักษาสุขภาพเบื้องต้น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • ไม่หมกมุ่นเรื่องทางเพศมากเกินไป หากิจกรรมอื่นๆทำ เช่น จิตอาสา รวมกลุ่มออกกำลังกาย ค่ายอาสา เข้าวัดทำบุญ

มะเร็งปากมดลูก สตรีอายุ 45 ปีขึ้นไปเสี่ยงต่อโรค ควรตรวจคัดกรอง มักเกิดจากติดเชื้อไวรัส HPV อาการตกขาวผิดปรกติ ตกขาวมีหนองปน ตกขาวมีเลือดปน เจ็บตอนมีเพศสัมพันธ์มะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็ง โรคของสตรี

มะเร็งปากมดลูก ( Cervical cancer ) คือ มะเร็งที่เกิดบริเวณปากมดลูกของสตรี โดยลักษณะของอาการ ตกขาวคล้ายหนอง มีเลือดออกจากช่องคลอดผิดปกติ มีเลือดหลังมีเพศสัมพันธ์ โดยไม่มีอาการป่วย มะเร็งชนิดนี้มักเกิดกับสตรีอายุ 45 ปีขึ้นไป สตรีอายุ 25 – 49 ปี ควรรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 3 ปี สำหรับสตรีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกๆ 5 ปี

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV ( Human Papilloma virus ) จากการมีเพศสัมพันธ์  แต่นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก มีดังนี้

  • กรรมพันธุ์
  • การมีลูกหลายคน
  • การขาดสารอาหาร
  • การกินยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน
  • การสูบบุหรี่
  • โรคเอดส์
  • พฤติกรรมการชอบเปลี่ยนคู่นอน และ การมีเพศสัมพันธุ์ตั้งแต่เด็ก

อาการโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูก จะแสดงอาการที่ท้องน้อย และ อวัยวะเพศ ลักษณะการตกขาวผิดปรกติ อาการเจ็บปวดต่างๆที่บริเวณท้องน้อยและอวัยวะเพศ ซึ่งสัญญาณเตือนของอาการต่างๆมักจะเกิดขึ้นเมื่อมะเร็งเริ่มเข้าสู่ระยะลุกลามแล้ว สามารถสรุปลักษณะอาการของโรค ได้ดังนี้

  • มีเลือดออกจากช่องคลอดทั้งๆที่ไม่ได้เป็นประจำเดือน
  • มีประจำเดือนนานผิดปกติ
  • ตกขาวมากผิดปกติ ตกขาวมีกลิ่นเหม็น
  • เจ็บเวลามีเพศสัมพันธุ์
  • ปวดหลัง และ ปวดก้นกก
  • ปัสสาวะผิดปกติ

ระยะของโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับระยะของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก มี 4 ระยะเหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ ซึ่งความรุนแรงของอาการจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยรายละเอียดดังนี้

  • โรคมะเร็งปากมดลูก ระยะแรก ซึ่งระยะนี้ไม่พบคามผิดปกติอย่างชัดเจน พบเซลล์มะเร็งบริเวณปากมดลูก และ ยังไม่ลุกลาม
  • โรคมะเร็งปากมดลูก ระยะที่2 ในระยะนี้เซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามจากปากมดลูกไปยังช่องคลอด
  • โรคมะเร็งปากมดลูก ระยะที่3 ในระยะนี้เซลล์มะเร็งลุกลามเข้าสู่ผนังอุ้งเชิงกราน ไททับท่อไตส่งผลต่อการทำงานของไต
  • โรคมะเร็งปากมดลูก ระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็งลุกลามไปอวัยวะต่างๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ ตับ ปอด สมอง เข้าสู่ระบบน้ำเหลือง และ เลือด เป็นระยะอันตราย

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจคัดกรองโรคได้ โดยการตรวจแป๊ปสเมียร์ (Pap smear) ปีละ 1 ครั้ง โดยการป้ายเซลล์จากปากมดลุกแล้วนำมาป้ายลงกระจก สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ 50-60% หากต้องสงสัยจะมีการตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก

สำหรับแนวทางการรักษาโรคสามารถใช้การผ่าตัด การรักษาด้วยการฉายรังสี และ การรักษาด้วยเคมีบำบัด ซึ่งการรักษาอยู่ในดุลย์พินิจของแพทย์ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและอาการป่วย ผู้ป่วยมะเร็งระยะแรกจะใช้วิธีการรักษาเป็นการผ่าตัดร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัด ส่วนผู้ป่วยที่มีการลุกลามของมะเร็งที่มากขึ้นมักใช้วิธีการฉายแสงรังสีรักษาร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัด มีรายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด เป็นการผ่าตัดบางส่วนของปากมดลูก ผ่าตัดแบบ Cone Biopsy และ Laser Therapy
  • การฉายรังสีรักษา (Radiotherapy)
  • เคมีบำบัด (Chemotherapy)

การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก 

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก เนื่องจากสาเหตุส่วนใหญ่ของโรคจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี เป็นไวรัสจากการมีเพศสัมพันธ์ การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุด แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ และ เข้ารับวัคซีนเอชพีวี
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย ไม่เปลี่ยนคู่นอนหลายคู่
  • ป้องกันทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เช่น ใช้ถุงยางอนามัย
  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธุ์ก่อนวัยอันควร

โรคมะเร็งปากมดลูก โรคของสตรีอายุ 45 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรอง มักเกิดจากติดเชื้อไวรัส HPV อาการตกขาวผิดปรกติ ตกขาวมีหนองปน ตกขาวมีเลือดปน เจ็บตอนมีเพศสัมพันธ์ สัญญานเตือนการเกิดโรค การรักษาและแนวทางป้องกันทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย