คื่นช่าย นิยมนำมาทำอาหาร ขึ้นฉ่าย คื่นไฉ่ คื่นช่าย คื่นฉ่าย คื่นไช่ ต้นคื่นฉ่ายเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยดับคาว บำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร โทษของคื่นฉ่ายมีอะไรบ้างคื่นฉ่าย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นขึ้นฉ่าย ต้นคื่นไฉ่ ต้นคื่นช่าย ต้นคื่นฉ่าย ต้นคื่นไช่ ( Celery ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของคื่นฉ่าย คือ Apium graveolens L. ชื่อเรียกอื่นของคื่นฉ่าย เช่น ผักข้าวปีน , ผักปืน , ผักปิ๋ม เป็นต้น พืชตระกูลผักชี สมุนไพรมีกลิ่นหอม นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับกลิ่นคาวอาหาร เพิ่มความหอมให้น้ำซุป

ชนิดของคื่นช่าย

ผักคื่นฉ่ายโดยทั่วไป มีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ คื่นฉ่ายฝรั่ง และ คื่นฉ่ายจีน โดยรายละเอียด ดังนี้

  • คื่นฉ่ายฝรั่ง ลักษณะต้นใหญ่ อวบน้ำ ความสูงประมาณ 60 เซนติเมตร ลำต้นสีเหลืองอมเขียว
  • คื่นฉ่ายจีน ลักษณะต้นเล็ก อวบน้ำ ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นมีสีเขียว

ลักษณะของต้นคื่นฉ่าย

ต้นขึ้นฉ่าย เป็นผักสวนครัว พืชล้มลุก มีกลิ่นหอม สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ด ลักษณะของต้นคื่นฉ่าย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นคื่นฉ่าย มีสีเขียว อวบน้ำ เนื้อลำต้นอ่อน ความสูงของต้นประมาณ 30 เซนติเมตร ภายในลำต้นกลวง
  • ใบคื่นฉ่าย ใบมีสีเขียว ลักษณะของใบเป็นใบแบบขนนก เป็นแฉกๆ ขอบใบหยัก ใบมีกลิ่นหอม
  • ดอกคื่นฉ่าย ดอกมีสีขาว ขนาดเล็ก ออกดอกเป็นช่อ
  • ผลค่ืนฉ่าย ลักษณะกลมรี สีน้ำตาล มีขนาดเล็ก ผลมีกลิ่นหอม ภายในมีเมล็ดสามารถนำไปขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของคื่นช่าย

สำหรับการบริโภคคื่นช่าย นิยมนำมาทำอาหารรับประทาน รับประทานทั้งต้น ใส่ในน้ำแกงให้กลิ่นหอม และ รสชาติของแกงที่มีเอกลักษณ์ นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของคื่นช่ายและสารต่างๆในคื่นช่าย มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของขึ้นฉ่าย ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 67 กิโลแคลอรี มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3 กรัม
น้ำตาล 1.4 กรัม กากใยอาหาร 1.6 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม น้ำ 95 กรัม ธาตุแคลเซียม 40 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.2 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 11 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 260 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 80 มิลลิกรัม  และ
ธาตุสังกะสี 0.13 มิลลิกรัม

ในคื่นช่ายขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆมากมาย ประกอบด้วย วิตามินเอ 22 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.021 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.057 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.323 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.074 มิลลิกรัม วิตามินบี9 36 ไมโครกรัม วิตามินซี 3 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม และ วิตามินเค 29.3 ไมโครกรัม

สารสำคัญที่พบในขึ้นฉ่าย คือ น้ำมันหอมระเหย ซึ่งมีสารต่างๆ ประกอบด้วย สารดี-ไลโมนีน ซีลินีน และ สารจำวพธาไลเตส นอกจากนี้ยังมีสารอื่นๆ แต่พบในปริมาณน้อย ประกอบด้วย แซนตารอล ยูเดสมอล ไดไฮโดรคาร์โวน และ กรดไขมัน

สรรพคุณของคื่นฉ่าย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากคื่นฉ่าย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น นิยมใช้ประโยชน์โดยการรับประทานทั้งต้นของคื่นช่าย โดยสรรพคุณของต้นคื่นช่าย มีดังนี้

  • ช่วยกระตุ้นให้อยากกินอาหารมากขึ้น ช่วยเจริญอาหาร
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ทำให้ระบบไหลเวียนดลหิตดี ช่วยขยายตัวของหลอดเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยปรับสมดุลของกรดและด่างในเลือด ช่วยลดความดันโลหิต ชวยลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเส้นเลือด
  • มีเบต้าแคโรทีน ช่วยป้องกันมะเร็ง
  • ช่วยลดอาการอักเสบ ช่วยรักษาโรคปวดข้อต่างๆ  อาการปวดตามปลายประสาท
  • บำรุงสมอง ช่วยให้ผ่อนคลาย ทำให้หลับสบาย ลดโอกาสการเกิดอัลไซล์เมอร์ แก้เวียนหัว ลดอาการอาเจียน
  • ช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยขับปัสสาวะ รักษานิ่ว
  • บำรุงระบบทางเดินหายใจ รักษาโรคหอบหืด ช่วยขับเสมหะ
  • ช่วยลดไข้ ช่วยขับร้อนในร่างกาย
  • บำรุงระบบาทงเดินอาหาร ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหาร รักษาโรคบิด รักษาท้องร่วง ช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในกระเพาะ
  • ช่วยขับประจำเดือน สำหรับสตรีประจำเดืนไม่มาตามปรกติ แก้อาการปวดประจำเดือน
  • ช่วยบำรุงตับและไต ลดอาการบวมน้ำ
  • รักษาโรคผิหนัง ช่วยแก้ลมพิษ รักษาผดผื่นคัน รักษาฝีฝักบัว
  • ช่วยคุมกำเนิด ลดปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย ช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์

โทษของคื่นช่าย

สำหรับการรับประทาน หรือ ใช้ประโยชน์จากคื่นช่าย มีข้อควรระวังในการรับประทานขึ้นฉ่าย ดังนี้

  • คื่ช่วยมีสรรพคุณช่วยคุมกำเนิด ลดปริมาณการสร้างอสุจิในเพศชาย ช่วยลดอัตราการตั้งครรภ์ สำหรับคนที่ต้องการมีบุตร ต้องลดการกินคื่นช่าย หรือ สารสกัดจากคื่นช่าย
  • การกินขึ้นฉ่ายในปริมาณมาก อาจจะทำให้เป็นหมันได้ เพราะ ทำให้อสุจิลดลง
  • คื่นช่ายมีน้ำมันหอมระเหย การสัมผัสต้นขึ้นฉ่าย ในคนที่มีอาการแพ้อาจทำให้เกิดผื่นคันได้
  • สารสกัดจากขึ้นฉ่าย มีสรรพคุณช่วยเร่งให้เกิดการเปลี่ยนสีิวให้มีสีน้ำตาลมากขึ้น

 

คื่นช่าย คือ ผักสวนครัว นิยมนำมาทำอาหาร ให้กลิ่นหอม เขียนได้หลายชื่อ เช่น ขึ้นฉ่าย คื่นไฉ่ คื่นช่าย คื่นฉ่าย คื่นไช่ ลักษณะของต้นคื่นฉ่ายเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยดับคาว ช่วยบำรุงเลือด ช่วยเจริญอาหาร โทษของคื่นฉ่าย มีอะไรบ้าง

กระถิน พืชพื้นเมือง นิยมกินเมล็ดกระถิน และ ยอดอ่อนกระถิน โรยในส้มตำแสนอร่อย  สรรพคุณของกระถิน เช่น บำรุงกระดูก บำรุงหัวใจ ช่วยขับลม โทษของกระถินเป็นอย่างไร

กระถิน สมุนไพร

กระถิน  จัดเป็นพืชตระกูลถั่ว เป็นพืชที่ขึ้นในประเทศเขตร้อน ถิ่นกำเนิดของกระถินอยู่ในเขตทวีปอเมริกา และ หมู่เกาะเขตมหาสมุทรแปซิฟิก ต้นกระถินขยายพันธุ์ง่าย นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร โดยเฉพาะส่วน ยอดอ่อน และ ฝักอ่อน กระถิน ชื่อสามัญ คือ White popinac ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระถิน คือ Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit ชื่อเรียกอื่ๆของกระถิน เช่น  กะเส็ดบก กะเส็ดโคก กะตง กระถินบ้าน กระถินน้อย ผักก้านถิน กระถินไทย ผักหนองบก กระถินดอกขาว กระถินหัวหงอก ตอเบา สะตอเทศ สะตอบ้าน กระถินยักษ์ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของกระถิน

กระถินนิยมนำฝักกระถินอ่อนมารับประทานเมล็ดของกระถิน และ ทานยอดอ่อนกระถินเป็นผักสด นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของยอดกระถินอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานสูงถึง 62 กิโลแคลอรี

ยอดกระถิน มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน กากอาหาร น้ำ ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก และ ธาตุฟอสฟอรัส มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย  วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี

ลักษณะของต้นกระถิน

ต้นกระถิน พืชตระกูลถั่ว เจริญเติบโตได้ดีในดินร่สนซุย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยยการเพาะเมล็ด สำหรับลักษณะของต้นกระดิน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นกระถิน ลักษณะทรงต้นเป็นเรือนยอดรูปไข่ ความสูงประมาณ 10 เมตร  เปลือกต้นกระถินมีสีเทา ลักษณะเปลือกเป็นปุ่มนูนของรอยกิ่งก้านที่หลุดร่วงไป
  • ใบกระถิน ออกเรียงสลับตามกิ่งของกระกิน ใบเป็นใบแบบขนนก มีขน ลักษณะของโคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ขอบใบมีขน
  • ดอกกระถิน ดอกมีลักษณะเป็นช่อ แบบกระจุกแน่น ออกดอกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ลักษณะเป็นรูประฆัง มีสีขาว ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนของทุกปี
  • ฝักกระถิน หรือ ผลกระถิน ออกเป็นฝัก ลักษณะแบน ภายในฝักกระถินจะมีเมล็ดเรียงตามขวางจำนวนมาก และ กระถินจะออกผลช่วงเดือนกรกฎาคมจนถึงเดือนมกราคมของทุุกปี
  • เมล็ดกระถิน จะอยู่ในฝักของกระถิน ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปไข่ แบน สีเขียว และ ลักษณะมัน

สรรพคุณของกระถิน

การใช้ประโยชน์จากกระถิน ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากกระถินได้ทุกส่วน คือ ลำต้น เปลือก ใบ ดอก เมล็ด โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เมล็ดของกระถิน คือ ส่วนที่อยู่ในฝักกระถิน เมล็ดแก่ของกระถิน เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยให้นอนหลับ ช่วยขับลม ช่วยขับระดูขาวของสตรี ช่วยบำรุงไต เมล็ดอ่อนของกระถิน บำรุงกระดูก เป็นยาถ่ายพยาธิตัวกลม ช่วยลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร
  • ฝักอ่อนของกระถิน สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงกระดูก ทำให้เจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ แก้ท้องร่วง รักษานิ่วในกระเพาะอาหาร
  • รากของกระถิน เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยขับระดู
  • ยอดอ่อนของกระถิน บำรุงกระดูก ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงสายตา บำรุงหัวใจ ช่วยเจริญอาหาร แก้กระหายน้ำ ลดการเกิดนิ่วในกระเพาะอาหาร
  • ดอกของกระถิน ช่วยบำรุงตับ
  • เปลือกของกระถิน ช่วยห้ามเลือด

โทษของกระถิน

ใบกระถินมีสารลิวซีนีนมีฤทธิ์เป็นพิษ หากกินในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ขนร่วง และ เป็นหมันได้

กระถิน พืชพื้นเมือง มีประโยชน์ด้านสมุนไพรและการรักษาโรค นิยมกินเมล็ดกระถิน และ ยอดอ่อนกระถิน สรรพคุณของกระถิน เช่น บำรุงกระดูก บำรุงหัวใจ ช่วยขับลม โรยในส้มตำแสนอร่อย โทษของกระถิน เป็นอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย