อัญชัน สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำไปทำอาหาร โดยปกติจะใช้สีจากการต้มและคั้นน้ำของดอกเพื่อมาผสมกับแป้ง ทำขนมชั้น ทับทิมกรอบ บัวลอย นอกจากนั้นดอกก็สามารถนำมาชุบแป้งทอด

อัญชัน สมุนไพร สมุนไพรไทย

ดอกอัญชัญ มี สารแอนโทไซยานิน ( Anthocyanin ) ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต สรรพคุณของอัญชัน เช่น ขับปัสสาวะ บำรุงเส้นผม เป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงความงาม ใช้ทำเครื่องสำอางค์ แต่งสีผสมอาหารให้สีม่วง ต้นอัญชัญ ภาษาอังกฤษ คือ Butterfly pea ชื่อวิทยาศาสตร์ของอัญชัน คือ Clitore ternatea Linn ชื่ออื่นๆของอัญชัน เช่น แดงชัน เอื้องชัน เองชัญ อัญชันที่พบมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดอัญชันดอกขาวกับอัญชันดอกน้ำเงิน และ ชนิดพันธุ์ทางจะมีสีม่วง สมุนไพรประเภทไม้เลื้อย สามารถนำมาทำประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น ประกอบอาหาร ทำการมัดย้อมผ้า โดยใช้สีของอัญชันมาย้อม เป็นต้นและอย่างอื่นมากมาย

ลักษณะของต้นอัญชัน

ต้นอัญชัน จัดเป็นพืชพื้นเมือง พืชล้มลุก ประเภทไม้เลื้อย อายุสั้น มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชีย มีการแพร่พันธ์ไปในแอฟริกา ออสเตรเลีย และ อเมริกา สามารถขยายพันธ์โดยใช้เมล็ด นิยมปลูกเป็นพืชริมรั้วบ้าน ปลูกเป็นซุ้มให้ความสวยงามเป้นไม้ประดับ ลักษณะของต้นอัณชัน มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นของอัญชัน เป็นลักษณะเถาไม้เลื้อย เนื้อไม้อ่อน ลำต้นมีขนปกคลุม
  • ใบของอัญชัน ลักษณะใบประกอบแบบขนนก ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนา
  • ดอกอัญชัน ออกดอกเป็นช่อ ดอกออกเป็นดอกเดี่ยว  รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ ออกดอกตามซอกใบ ดอกอัญชันมีสีต่างๆตามแต่ละพันธ์ เช่น สีขาว สีน้ำเงิน และสีม่วง ต้นอัญชันออกดอกตลอดทั้งปี
  • ผลอัญชัน เป็นลักษณะฝัก ผลแห้งจะแตกเป็นฝักแบน ภายในมีเมล็ดสีดำ  สามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้

คุณค่าทางโภชนาการของอัญชัน

นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาสารเคมีจากต้นอัญชัน พบว่ามีสารเคมีสำคัญ ต่างๆ ดังนี้

  • สารอดีโนซีน ( adenosine ) ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
  • สารแอสตรากาลิน ( astragalin ) ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดการแข็งตัวของหลอดเลือดแดง
  • สารเคอร์เซติน (quercetin)  ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • สารแอฟเซลิน ( afzelin )
  • สารอปาราจิติน ( aparajitin )
  • กรดอราไชดิก ( arachidic acid )
  • กรดชินนามิกไฮดรอกซี ( cinnamic acid )
  • สารซิโตสเตอรอล

สรรพคุณของอัญชัน

ต้นอัญชัญ นิยมนำมาใช้ประโยชน์มากมาย นำมาเป็นอาหาร ทำยารักษาโรค ทำเครื่องสำอาง อัญชัน สามารถใช้ประโยชน์จาก ดอก เมล็ด และ ราก โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • ดอกอัญชัน สรรพคุณบำรุงเส้นผม ทำให้เส้นผมดก ดำ นุ่ม ดอกอัญชัน บำรุงเลือด บำรุงสมอง มีสารตานอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงสายตา ขับสารพิษในร่างกาย ลดน้ำตาลในเลือด นิยมนำดอกมาคั้นเอาสีน้ำเงิน มาปรุงแต่ง สีของอาหาร ขนมไทย และ ทำยาสระผม ดอกอัญชันให้สีน้ำเงินม่วง
  • เมล็ดของอัญชัญ สรรพคุณเป็นยาระบาย ทำให้คลื้นไส้อาเจียน
  • รากของอัญชัญ รากมีรสขม สรรพคุณ ช่วยขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย แก้ปวดฟัน บำรุงสายตา ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น
  • ใบของอัญชัน สรรพคุณบำรุงสายตา รักษาอาการตาแฉะ ช่วยขับปัสสาวะ ขับของเสียออกจากร่างกาย

โทษของอัญชัน

การใช้ประโยชน์จากอัญชัน ไม่ได้มีแต่ระโยชน์ หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป หรือ ใช้ผิดวิธี สามารถทำให้เกิดโทษได้ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • หากกินน้ำดอกอัญชันมากเกินไป ทำให้ไตทำงานหนักขึ้น เพราะสีน้ำเงินของดอกอัญชัน ทำให้ไตต้องขับสารสีน้ำเงินออก สำหรับผู้ป่วยโรคไต ไม่ควรกินน้ำดอกอัญชัน
  • อัญชันมีสารอดีโนซีน ( adenosine ) ช่วยกระตุ้นการเต้นของหัวใจ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ไม่ควรกินอัญชัน
  • น้ำดอกอัญชัน หากปรุงรสด้วยน้ำตาล ให้ความหวานมากเกินไป อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ทำให้เป็นโรคเบาหวาน และ โรคหลอดเลือดต่างๆได้
  • ผู้ป่วยโรคโลหิตจาง ไม่ควรกินน้ำดอกอัญชัน หรือ กินดอกอัญชัน เนื่องจาก ดอกอัญชันมีฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • ดื่มน้ำสมุนไพรดอกอัญชัน ไม่ควรดื่มในขณะอุณหภูมิร้อนจัด เนื่องจาก จะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสื่อมสภาพ ทำให้ดูดซับสารก่อมะเร็งได้ง่าย
  • การกินอาหารจากดอกอัญชัน ให้กินในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรกินติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะ อาจส่งผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี
  • ดอกอัญชันมีฤทธิ์ต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ป้องกันการแข็งตัวของเลือด ทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกาย หากกินในปริมาณมากเกินไป
  • ผู้ป่วยโรคความดันสูง ควรงดการบริโภคดอกอัญชัน เพราะ อาจทำให้หน้ามืดและหมดสติ
  • การกินดอกอัญชัน แบบสดๆ ยางของดอกอัญชันจะทำให้ระคายเคืองในลำคอ
  • เมล็ดของอัญชัน หากกินแบบสดๆ เป็นพิษทำให้คลื่นไส้อาเจียน

อัญชัน พืชสมุนไพรพื้นบ้าน ลักษณะของต้นอัญชันเป็นอย่างไร สรรพคุณของอัญชัน เช่น บำรุงผม บำรุงเลือด บำรุงสายตา นิยมนำมาแต่งสีอาหาร และ ทำน้ำสมุนไพร โทษของอัญชัน มีอะไรบ้าง ดอกอัญชันนำมาทำเครื่องสำอางค์และยาสระผมได้

แหล่งอ้างอิง

  • เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  • อัญชัน เก็บถาวร 2010-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม, ศูนย์ความรู้ด้านเกษตร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • บทความสุขภาพ, สรรพคุณและประโยชน์ของดอกอัญชัน 30 ข้อ !!, กรีนเนอรัลด์
  • รศ. ดร.วีณา เชิดบุญชาติ, อัญชัน เก็บถาวร 2010-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ศาลาสมุนไพร
  • ดอกไม้ให้คุณ,นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 38 เมษายน 2531 หน้า 111

น้ำผึ้ง น้ำหวานของดอกไม้ที่ผึ้งนำมาเก็บสะสมเป็นแหล่งอาหารของผึ้ง สรรพคุณของน้ำผึ้ง ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสมอง บำรุงเส้นผม รักษาสิว โทษของน้ำผึ้ง

น้ำผึ้ง สมุนไพร สมุนไพรไทย

น้ำผึ้ง ( Honey ) คือ น้ำหวานชนิดหนึ่ง เป็นน้ำหวานจากธรรมชาติ ได้จากแหล่งน้ำหวานตามธรรมชาติ ซึ่งผึ้งนำมาเก็บสะสมไว้ที่รังผึ้ง น้ำผึ้งจะมีกลิ่น รสชาติ และ สี ที่ต่างกันออกไปตามแหล่งของน้ำหวานที่ผึ้งนำมาสะสมไว้  น้ำผึ้งนิยมนำมาใช้เป็นสารให้ความหวานนำมาปรุงรสชาติอาหารต่างๆ น้ำผึ้งมีประวัติการบริโภคของมนุษย์มายาวนาน และถูกใช้เป็นสารให้ความหวานในอาหารและเครื่องดื่มหลายชนิด น้ำผึ้งยังมีบทบาทในศาสนาและสัญลักษณ์นิยม รสชาติของน้ำผึ้งแตกต่างกันตามน้ำหวานที่ได้มา และมีน้ำผึ้งหลายชนิดและเกรดที่สามารถหาได้ ลักษณะของน้ำผึ้ง คือ เป็นของเหลว เหนียวข้น มีรสหวาน สีเหลือง สามารถติดไฟได้

การเลือกซื้อน้ำผึ้ง

น้ำผึ้งในปัจจุบัน มีการทำน้ำผึ้งปลอม และ มีการเจือปน จนไม่ใช่น้ำผึ้งบริสุทธ์ วิธีการเลือกซื้อน้ำผึ้ง มีรายละเอียด ดังนี้

  • ให้เขย่าขวด แล้วสังเกตุดูฟองอากาศ น้ำผึ้งแท้จะมีฟองอากาศใหญ่ ลอยตัวเร็ว ไม่เห็นการแยกชั้นของน้ำผึ้ง ส่วนน้ำผึ้งปลอมจะมีฟองอากาศมาก ลอยตัวช้าและมองเห็นการแยกตัวเป็นชั้นอย่างชัดเจน
  • หยดน้ำผึ้งลงบนกระดาษทิชชู น้ำผึ้งแท้จะซึมช้ามาก ส่วนน้ำผึ้งปลอมจะซึมผ่านเร็ว
  • เอาหัวไม้ขีดไฟมาจุ่มน้ำผึ้ง แล้วนำไปจุดไฟ น้ำผึ้งแท้ จะสามารถจุดไฟติด ส่วนน้ำผึ้งปลอมจะจุดไฟไม่ติด
  • การเอาน้ำผึ้งหยดลงในแก้วใส่น้ำเย็น น้ำผึ้งแท้จะรวมเป็นก้อนจมลงก้นแก้วและค่อยละลาย ส่วนน้ำผึ้งปลอม เมื่อหยดลงน้ำแล้วจะกระจายตัวทันที
  • น้ำผึ้งแท้จะไม่ตกผลึกแต่น้ำผึ้งปลอมจะตกผลึก

คุณค่าทางโภชนากการของน้ำผึ้ง 

นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของน้ำผึ้ง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานถึง 304 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญต่างๆ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 82.4 กรัม น้ำตาล 82.12 กรัม กากใยอาหาร 0.2 กรัม โปรตีน 0.3 กรัม น้ำ 17.10 กรัม วิตามินบี1 0.038 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.121 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.068 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.024 มิลลิกรัม วิตามินบี9 2 ไมโครกรัม วิตามินซี 0.5 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.42 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 2 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 52 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 4 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.22 มิลลิกรัม

น้ำผึ้งมีส่วนผสมของน้ำตาลและสารประกอบต่างตามที่กล่าวมาข้างต้น สารอาหารต่างๆเหล่านี้ทำหน้าที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย และ ลดการเกิดโรคมะเร็ง

สรรพคุณของน้ำผึ้ง

สำหรับน้ำผึ้งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบริโภคให้ความหวานเป็นหลัก และ เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ความงามต่างๆ เช่น มาส์กหน้า สบู่ เจลล้างหน้า สครับ เป็นต้น แต่ประโยชน์ของน้ำผึ้งด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคมากมาย รายละเอียด ดังนี้

  • ช่วยให้ร่างกายสดชื่น บำรุงกำลัง ให้กระปรี้กระเปร่า เพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย ฟื้นฟูสภาพร่างกาย
  • ช่วยชะลอวัย มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ เป็นยาอายุวัฒนะ ป้องกันการเกิดมะเร็ง
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ให้ความชุ่มชื่น ผิวพรรณเปล่งปลั่ง มีน้ำมีนวลเป็นธรรมชาติ บำรุงรักษาผิวหน้า
  • ช่วยบำรุงสมอง ทำให้ความจำดี
  • ช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ช่วยเสริมสร้างเซลล์ผิวหนัง
  • ช่วยบำรุงเส้นผม ทำให้ผมนุ่มสวยเงางาม
  • ช่วยแก้คออักเสบ บำรุงเส้นเสียง แก้เสียงแหบ ลดอาการเจ็บคอ บรรเทาอาการไอ
  • ช่วยลดสิวอักเสบ รักษาสิวอุดตัน
  • ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย ทำให้อาหารบูดช้าลง ช่วยให้เก็บอาหารได้นานขึ้น
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค และ รักษาไข้หวัด
  • ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตในวัยเด็ก
  • ช่วยผ่อนคลายความเหนื่อยล้า แก้อ่อนเพลีย ช่วยฟื้นฟูอาการป่วย
  • ช่วยในควบคุมน้ำหนักและลดความอ้วน
  • ช่วยบำรุงเลือด รักษาโรคโลหิตจาง
  • ช่วยรักษาอาการเมาค้าง
  • ช่วยปรับสมดุลร่างกาย ปรับความสมดุลย์ของเลือด ปรับระดับความคัดเลือดให้คงที่
  • ช่วยให้ผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับสบาย แก้ปัญหานอนไม่หลับ
  • ช่วยบำรุงหัวใจ ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
  • ช่วยบำรุงตับ รักษาโรคเกี่ยวกับตับ
  • ช่วยรักษาตาอักเสบจากการติดเชื้อ เช่น กระจกตาอักเสบ เยื่อตาอักเสบ เป็นต้น
  • ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • รักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ
  • บรรเทาอาการท้องเสียอย่างรุนแรง
  • แก้ท้องเดิน ช่วยบำรุงลำไส้อักเสบ
  • ช่วยรักษาช่องคลอดอักเสบ
  • ช่วยบรรเทาอาการโรคริดสีดวงทวาร
  • ช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบ
  • ช่วยป้องกันการเป็นตะคริว
  • ช่วยแก้อาการท้องผูก
  • ช่วยรักษาแผล ลดการอักเสบของบาดแผล ช่วยให้แผลหายเร็ว รักษากลากเกลื้อน ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและต่อต้านจุลินทรีย์

โทษของน้ำผึ้ง

สำหรับการใช้ประโยชน์ของน้ำผึ้ง มีโทษสำหรับในกรณีที่มีอาการแพ้ หรือ กินมากเกินไปกว่าปริมาณที่เหมาะสม โทษของน้ำผึ้ง มีดังนี้

  • น้ำผึ้งมาความหวานมาก ไม่ควรรับประทานแบบสดๆ โดยไม่ผสมอะไรเลย อาจทำให้น้ำตาลในเส้นเลือดสูงเกินไป
  • สำหรับคนที่แพ้เกสรน้ำผึ้ง ไม่ควรรับประทานน้ำผึ้ง
  • เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ไม่ควรรับประทานน้ำผึ้ง อาจทำให้อาหารไม่ย่อยได้
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรจำกัดการกินน้ำผึ้ง ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม

วิธีการเก็บรักษาน้ำผึ้ง

สำหรับการเก็บรักษาน้ำผึ้งให้ได้นานขึ้น ไม่จำเป็นต้องใส่ในตู้เย็น สามารถเก็บที่ปรกติอุณหภูมิห้อง แต่การเก็บน้ำผึ้งห้ามโดนแสงแดด เพราะ จะเกิดปฎิกิริยาทำให้น้ำผึ้งเสียคุณค่าทางอาหารไป น้ำผึ้งไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 2 ปี

แหล่งอ้างอิง

  • National Honey Board. “Carbohydrates and the Sweetness of Honey” เก็บถาวร 2011-07-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Last accessed 1 June 2012.
  • Oregon State University. “What is the relative sweetness of different sugars and sugar substitutes?” เก็บถาวร 2012-11-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 1 June 2012.
  • Lansing Prescott, John P. Harley, Donald A. Klein (1999). Microbiology. Boston: WCB/McGraw-Hill. ISBN 0-697-35439-3.
  • Shapiro, Roger L.; Hatheway,, Charles; Swerdflow,, David L. (1998). “Botulism in the United States: A Clinical and Epidemiologic Review”. Annals of Internal Medicine. 129 (3): 221–8. doi:10.1059/0003-4819-129-3-199808010-00011. PMID 9696731.
  • Questions Most Frequently Asked About Sugar (PDF). American Sugar Alliance.
  • USDA Nutrient Data Laboratory “Honey.” เก็บถาวร 2015-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Last accessed 24 August 2007.
  • Martos I, Ferreres F, Tomás-Barberán F (2000). “Identification of flavonoid markers for the botanical origin of Eucalyptus honey”. J Agric Food Chem. 48 (5): 1498–502. doi:10.1021/jf991166q. PMID 10820049.
  • Gheldof N, Wang X, Engeseth N (2002). “Identification and quantification of antioxidant components of honeys from various floral sources”. J Agric Food Chem. 50 (21): 5870–7. doi:10.1021/jf0256135. PMID 12358452.
  • Beesource Beekeeping » Honey Composition and Properties. Beesource.com. Retrieved on 6 February 2011.
  • Gov.au/reports เก็บถาวร 2016-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. None. Retrieved on 9 January 2012.
  • Rainer Krell, (1996). Value-Added Products from Beekeeping (Fao Agricultural Services Bulletin). Food & Agriculture Organization of the UN. ISBN 92-5-103819-8.
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย