พิมเสน borneol สรรพคุณช่วยขับเหงื่อ ขับลม บำรุงหัวใจ แก้เวียนหัวหน้ามืด สมุนไพรประเภทแร่ธาตุ สารอินทรีย์ชนิดไบไซคิก สารกลุ่มเทอร์พีน ลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว กลิ่นหอมฉุน พิมเสนพบในพืช ประโยชน์ สรรรพคุณและโทษของพิมเสน

พิมเสน สมุนไพร

พิมเสน ชื่อสามัญ คือ borneol ชื่อวิทยาศาสตร์ของพิมเสน คือ Borneol camphor ชื่อเรียกอื่นๆของพิมเสน คือ พิมเสนเกล็ด ปิงเพี่ยน เหมยเพี่ยน เป็นต้น พิมเสนสรรพคุณ ช่วยขับเหงื่อ ขับลม บำรุงหัวใจ แก้เวียนหัวหน้ามืด แต่พิมเสนทำให้ระคายเคืองดวงตา ผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ และ ระบบทางเดินอาหาร ได้ พิมเสน สามารถสังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยารีดักชัน ระหว่างการบูร กับ โซเดียมบอโรไฮไดรด์

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของพิมเสน พบว่าในพิมเสรมีสารเคมี ที่มีคุณสมบัติคล้ายการบูร มีสารเคมี ประกอบด้วย d-Borneol , Humulene , Caryophyllene , Asiatic acid , Dryobalanon Erythrodiol , Dipterocarpol , Hydroxydammarenone2 มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้หลายชนิด เช่น เชื้อโรคในลำไส้ใหญ่ เชื้อราบนผิวหนัง เป็นต้น

ชนิดของพิมเสน

สำหรับพิมเสน เป็นสารเคมีที่มีลักษณะพิเศษ พิมเสนมี 2 ชนิด คือ พิมเสนที่ได้จากธรรมชาติ และ พิมเสนที่ได้จากการสังเคราะห์ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • พิมเสนที่ได้จากธรรมชาติ เรียก พิมเสนแท้ เกิดจากการระเหิดของยางของพืชตระกูลยางนา พิมเสน จะมีเนื้อแน่นกว่าการบูร และระเหิดได้ช้ากว่าการบูร คุณสมบัติติดไฟและให้แสงสว่างจ้า มีควัน ไม่มีขี้เถ้า
  • พิมเสนที่ได้จากการสังเคราะห์ เรียก พิมเสนเทียม ได้จากการสกัดจากต้นการบูรและน้ำมันสน โดยผ่านวิธีทางเคมีวิทยา จนเกิดเกร็ดสีขาว ให้คุณสมับติเหมือนพิมเสนแท้

ประโยชน์ของพิมเสน

พิมเสนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้าน สมุนไพร และ การรักษาโรค เป็นหลัก นิยมนำพิมเสนมาใส่ในหมากพลู ผสมในลูกประคบ  ยาหม่อง น้ำอบไทย ยาหอม เป็นต้น ช่วยกระตุ้นให้ระบบประสาทและสมองตื่นตัว ได้

สรรพคุณของพิมเสน

สำหรับการใช้ประโยชน์ของพิมเสน ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค มี รายละเอียด ดังนี้

  • เป็นยาเย็นออกฤทธิ์ต่อหัวใจและปอด บำรุงหัวใจ
  • ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย
  • ช่วยกระตุ้นสมอง
  • ช่วยกระตุ้นการหายใจ
  • แก้วิงเวียนหน้ามืด
  • ช่วยให้ร่างกายตื่นตัว
  • แก้ไอ
  • รักษาแผลในปาก เหงือกบวม
  • ช่วยขับเหงื่อ ขับเสมหะ
  • ช่วยขับลมทำให้เรอ ลดการจุกเสียดแน่นท้อง รักษาอาการปวดท้อง
  • รักษาบาดแผลสด แผลเนื้อร้าย
  • ฆ่าเชื้อโรคที่ผิวหนัง รักษาแผลอักเสบ ฟกช้ำ และ กลากเกลื้อน แก้ผดผื่นคัน
  • แก้ปวดบวม แก้อักเสบ

โทษของพิมเสน

สำหรับการใช้ประโยชน์จากพิมเสนมีข้อควรระวังอยู้บ้าง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • สำหรับสตรีที่อยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์ห้ามกินพิมเสน
  • การใช้พิมเสนมากเกินไป เป็นพิษต่อร่างกาย ทำให้คลื่นไส้อาเจียน

พิมเสน ( borneol ) คือ สมุนไพรประเภทแร่ธาตุ สารอินทรีย์ชนิดไบไซคิก สารกลุ่มเทอร์พีน มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาว กลิ่นหอมฉุนคล้ายการบูร พิมเสนพบในพืช ประโยชน์และสรรรพคุณของพิมเสน โทษของพิมเสน มีอะไรบ้าง

แหล่งอ้างอิง

  • Lide, D. R., บ.ก. (2005). CRC Handbook of Chemistry and Physics (86th ed.). Boca Raton (FL): CRC Press. p. 3.56. ISBN 0-8493-0486-5.
  • คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 499, พ.ศ. 2544, สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ
  • Wong, K. C.; Ong, K. S.; Lim, C. L. (2006). “Composition of the essential oil of rhizomes of Kaempferia Galanga L.”. Flavour and Fragrance Journal. 7 (5): 263–266. doi:10.1002/ffj.2730070506.
  • พิมเสน – ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • Plants containing borneol เก็บถาวร 2015-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (Dr. Duke’s Phytochemical and Ethnobotanical Databases)]
    “Chemical Information”. sun.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-11-07. สืบค้นเมื่อ 2008-03-02.
  • Material Safety Data Sheet, Fisher Scientific

บัวบก ผักพื้นบ้าน สมุนไพร ต้นบัวบกมีสรรพคุณหลากหลาย แก้อาการปวดอักเสบ บำรุงผิวพรรณ บำรุงเส้นผมและหนังศรีษะ เป็นยาเย็น ช่วยให้ร่างกายสดชื่อ นำใบมาทำน้ำใบบัวบก

บัวบก ใบบัวบก สมุนไพร

ต้นบัวบก ภาษาอังกฤษ เรียก Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urb. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของบัวบอก เช่น ผักหนอก ผักแว่น กะโต่ เป็นต้น ต้นบัวบก เป็นพื้ชท้องถิ่น นิยมนำมารับประทานเป็นผักสด อาหารที่นิยมกินบัวบกเป็นผัก เช่น ผัดไทย ผัดหมี่ หมี่กะทิ ขนมจีน ลาบ ยำ เป็นต้น ใบบัวบกนำมาคั้นทำน้ำใบบัวบก กินให้สดช่วย ช่วยแก้ช้ำใน ซึ่งบัวบกมีสรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยลดความร้อนในร่างกาย

ลักษณะของต้นบัวบก

ต้นบัวบก พืชคลุมดิน เป็นไม้เลื้อย ประเภทพืชล้มลุกขึ้นตามพื้นดิน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การแยกหน่อ ซึ่งลักษณะของต้นบัวบก มีดังนี้

  • ลำต้นของบัวบกลักษณะกลม เนื้ออ่อน มีน้ำมาก เลื้อยตามพื้นดิน
  • ใบของต้นบัวบก ใบบัวบกเป็นใบเดียว ใบออกตามข้อของลำต้นบัวบก ใบออกเป็นกระจุกๆ ลักษณะของใบคล้ายรูปไต ขอบใบมนๆ
  • ดอกบัวบก ลักษณะคล้ายร่ม ออกดอกเป็นช่อ สีม่วงอมแดง
  • ผลของบัวบก เป็นผลแห้ง ลักษณะแบนและแตก

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

สำหรับการใช้ประโยชน์การบริโภคบัวบกนิยมรับประทานใบและก้านใบเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารหลายชนิด ประกอบด้วย  วิตามินบี 1 แคลเซียม 146 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.9 มิลลิกรัม เบตาแคโรทีน 2,428 ไมโครกรัม และวิตามินซี 15 มิลลิกรัม นอกจากนั้นยังมี สารบราโมซัยด์ สารบรามิโนซัยด์ สารไตรเตอพีนอยด์ สารมาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค  และกรดอะมิโน หลายตัว เช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

สรรพคุณของบัวบก

การใช้ประโยชน์จากบัวบก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้นนิยมทั้งหมดของบัวบก ใบและก้านใบ ซึ่งสรรพคุณของบัวบก มีดังนี้

  • บำรุงผิวพรรณ ช่วยชะลอวัย คืนความอ่อนเยาว์ ทำให้หน้าตาสดใสเหมือนเป็นวัยรุ่น รักษาสิว ทำให้ผิวหน้าขาวสดใสกระจ่างใส ผิวหน้าเต่งตึงดีขึ้น
  • บำรุงสายตา ฟื้นฟูรอบดวงตา
  • บำรุงสมอง ช่วยให้ผ่อนคลาย ช่วยทำให้ความจำดีขึ้น และ ทำให้มีไหวพริบมากขึ้น คิดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะ ในผู้สูงอายุ
  • แก้อาการปวดศีรษะ รักษาอาการช้ำใน รักษาอาการบาดเจ็บจากการกระแทก
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน ลดความดันเลือด
  • ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว
  • รักษาแผล ทำให้แผลหายเร็ว เร่งการสร้างเนื้อเยื่อใหม่
  • รักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคเรื้อน โรคหัด
  • บำรุงหนังศีรษะและผม ทำให้ผมดกดำ แก้ปัญหาผมร่วง ลดผมหงอกก่อนวัย

โทษของบัวบก
สำหรับการใช้ประโยชน์จากบัวบกนั้น มีข้อควรระวังในการใช้ ซึ่งหากใช้ไม่ถูกวิธีและใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดโทษ ซึ่งโทษของบัวบก มีดังนี้

  • ใบบัวบกมีสรรพคุณทำให้ตัวเย็น จึงไม่เหมาะสำหรับคนที่มีภาวะตัวเย็น

วิธีทำน้ำใบบัวบก เลือกใบบัวบกแก่ และสามารถใช่ส่วนรากผสมเข้ามาได้ หั่นออกเป็นสองท่อน ก่อนจะเข้าเครื่องบด เพราะ ใบบัวบกจะมีความเหนียว เติมน้ำผสมกับใบบัวบกที่บดคั้นน้ำ และ นำกากที่เหลือ มาคั้นน้ำที่สองอีกครั้ง เพื่อให้ตัวยาต่างๆ ยังมีสรรพคุณครับ ใช้ผ้าขาวบาง กรองน้ำบัวบก ใช้ตาห่าง ๆได้ เพราะ หากถี่มากจะกรองยาก ทิ้งกากไป ให้รินเฉพาะน้ำส่วนใส ๆ เพื่อนำมาเพื่อดื่มเป็นยาได้ น้ำที่คั้นได้ ไม่ควรเก็บไว้นาน แต่ควรแช่เย็นเก็บไว้ จะรักษาสรรพคุณนาน กรณีไม่ชินกับรสชาติ สามารถเติมน้ำเชื่อม ผสมน้ำต้มใบเตยได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย