ว่านมหาหงส์ สะเลเต สมุนไพร ไม้มงคลเสริมอำนาจวาสนา ต้นมหาหงส์เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงกำลัง ช่วยขับลม รักษาแผล โทษของมหาหงส์มีอะไรบ้าง

ว่านมหาหงส์ สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นว่านมหาหงส์ ( Butterfly lily ) พีชตระกูลขิง ชื่อวิทยาศาสตร์ของว่านมหาหงส์ คือ  Hedychium coronarium J.Koenig ชื่อเรียกอื่นๆของว่านมหาหงส์ เช่น เลเป ลันเต ตาห่าน เหินแก้ว เหินคำ ว่านกระชายเห็น สะเลเต กระทายเหิน หางหงส์ ตาเหิน เฮวคำ  เป็นต้น

ลักษณะของต้นว่านมหาหงส์

ว่านมหาหงส์ เป็นพืชล้มลุก ชอบน้ำ ขึ้นได้ดีตามที่ลุ่มชื้น อายุยืน มีกลิ่นหอม สามารถขยายพันธ์โดยการแตกหน่อ ปลูกได้ดีในพื้นที่ที่มีแสงแดดรำไร โตเร็ว ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ และ ศัตรูพืช มักขึ้นตามพื้นที่ชื้นแฉะหรือตามชายป่าใกล้ลำธาร ลักษณะของว่านมหาหงส์ มีดังนี้

  • เหง้าของว่านมหาหงส์ เหง้าอยู่ใต้ดิน ลักษณะกลม สีเขียว เนื้อในสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
  • ลำต้นของว่านมหาหงส์ จะออกมาจากเหง้า ขึ้นตรง สูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะกลม เป็นสีเขียว
  • ใบของว่านมหาหงส์ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะคล้ายหอก ปลายแหลม ผิวใบเรียบ เป็นมัน มีสีเขียวสด
  • ดอกของว่านมหาหงส์ จะออกดอกเป็นช่อ ดอกออกจากปลายยอดของลำต้น ปลายกลีบดอกเป็นสีขาวอมสีเขียว โคนดอกเป็นสีขาว ดอกมหาหงส์ออกช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม ของทุกปี
  • ผลของว่านมหาหงส์ ลักษณะเป็นผลแห้ง ทรงกลม แตกออกได้เป็นพู

คุณค่าทางโภชนากการของว่านมหาหงส์ 

สำหรับการนำเอาว่านมหาหงส์มาใช้ประโยชน์ นั้นจะนิยมนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหย โดยได้จากการสัดจากเหง้าของว่านมหาหงส์ ลักษณะเป็นของเหลว ใส สีเหลืองอ่อน มีกลิ่นฉุน โดยในน้ำมันหอมระเหยของว่านมหาหงส์ มีสารเคมีสำคัญ ประกอบด้วย  beta-pinene , borneol , d-limonene และ linalool สามารถใช้เป็นส่วนประกอบของโลชั้นกันยุงได้ และ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมมากมาย

ประโยชน์ของว่านมหาหงส์

สำหรับว่านมหาหงส์ สามารถใช้ประโยชน์หลายด้าน ทั้งการนำเอามาทำเป็นอาหาร ยารักษาโรค และ เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่างๆ รายละเอียด ดังนี้

  • สามารถใช้เป็นอาหาร โดยนำเหง้าอ่อนของว่านมหาหงส์มารับประทาน รสชาติเผ็ดร้อนคล้ายขิง คนเหนือนิยมลวกรับประทานกับน้ำพริก
  • ดอกว่านมหาหงส์ นำมาใช้บูชาพระ
  • เหง้าว่านมหาหงส์ สามารถนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยได้ เรียก น้ำมันมหาหงส์ นำมาเป็นส่วนผสมของน้ำหอม โลชั้นทากันยุง สบู่ ครีมอาน้ำ เป็นต้น
  • น้ำมันหอมระเหยจากว่านมหาหงส์ ใช้นำมาให้กลิ่นหอม และ เป็นส่วนผสมของครีมสปาต่างๆ เช่น โลชัน โคโลญจน์ สบู่ ครีมอาบน้ำ หรือโคลนหมักตัว เป็นต้น
  • ไม้มงคล ดอกสวย ว่านมหาหงส์ ดอกจะมีกลิ่นหอมมาก โดยเฉพาะช่วงเช้าและช่วงเย็นถึงมืด และ เชื่อกันว่าว่านมหาหงส์จะช่วยเสริมอำนาจและบารมี

สรรพคุณของว่านมหาหงส์

การใช้ประโยชน์จากว่านมหาหงส์ ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สามารถใช้ประโยชน์จาก เหง้าของมหาหงส์มา ดดยรายละเอียดของสรรพคุณของว่านมหาหงส์ มีดังนี้

  • เหง้าของว่านมหาหงส์ตากแห้งนำมาบดผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาลูกกลอน ใช้ยาบำรุงกำลัง ทำยาอายุวัฒนะ แก้กษัย บำรุงไต
  • เหง้าของว่านมหาหงส์นำมาต้มดื่มช่วยแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย แก้ลมชัก
  • เหง้าของว่านมหาหงส์นำมาคั้นน้ำ สามารถรักษาแผลฟกช้ำ แผลอักเสบ และ แผลบวมได้

โทษของว่านมหาหงส์

ว่านมหาหงส์เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับขิง ที่มีฤทธิ์เผ็ดร้อน หากสัมผัสโดยไม่ใส่ถุงมือ หรือ บางคนที่ผิวบอบบาง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ แสบร้อนได้

ว่านมหาหงส์ สะเลเต พืชสมุนไพร ไม้มงคล เสริมอำนาจวาสนา ต้นมหาหงส์เป็นอย่างไร ประโยชน์ของมหาหงส์ สรรพคุณของมหาหงส์ เช่น บำรุงกำลัง ช่วยขับลม รักษาแผล โทษของมหาหงส์ มีอะไรบ้าง ทำความรู้จักกับต้นมหาหงส์

ต้นย่านาง ( Bamboo grass ) สมุนไพรพื้นบ้าน นิยมใช้ใบมาทำน้ำใบย่านาง ลักษณะของต้นย่างนาง ประโยชน์และสรรพคุณ เช่น ลดความดัน ลดน้ำตาลในเลือด โทษของย่างนาง

ย่านาง สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นย่านาง ชื่อสามัญ คือ Bamboo grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของย่านาง คือ Tiliacora triandra (Colebr.) Diels สำหรับต้นย่านางมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น  จ้อยนาง เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว ยาดนาง เป็นต้น ต้นย่านาง สามารถพบได้ตามแหล่งธรรมชาติทั่วไป ตามพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ตามป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ และ ป่าโปร่ง ต้นย่านางขยายพันธ์ง่าย โดยการปักชำ แตกหน่อ หรือ การเพาะเมล็ด เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของต้นย่านาง

ใบย่านางมีฤทธิ์เย็น เหมาะสำหรับปรับสมดุลร่างกาย สรรพคุณปรับสมดุลย์ร่างกาย บำรุงร่างกาย ลดน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความดัน สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของย่านาง นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบย่านางสดๆ ขนาด 100 กรัม พบว่าใบย่ายางขนาด 100 กรัมให้พลังงานมากถึง 95 กิโลแคลอรี

ใบย่านางขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 7.9 กรัม แคลเซียม 155 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 11 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 7.0 มิลลิกรัม  ไนอาซิน 1.4 มิลลิกรัม โปรตีน 15.5 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัส 0.24 เปอร์เซนต์ โพแทสเซียม 1.29 เปอร์เซนต์ และ แทนนิน 0.21 เปอร์เซนต์

ใบย่านางขนาด 100 กรัม มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินเอ 30625 IU วิตามินบี1 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.36 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 141 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นย่านาง

ต้นย่านาง พืชล้มลุก เป็นเถาไม้เลื้อย ปลูกง่าย พบได้ตามพื้นที่ชุ่มชื้น ของป่าต่างๆ ทั้ง ป่าผลัดใบ ป่าดงดิบ การขยายพันธ์โดยการปักชำ เพาะเมล็ด หรือ แตกหน่อ ลักษณะของต้นย่างนาง มีลักษณะดังนี้

  • ลำต้นของย่านาง มีลักษณะกลมเล็ก เหนียว สีเขียว เป็นเถา ลำต้นย่านางเกี่ยวพันกับไม้อื่น และ เถาแก่จะเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวเข้ม ลำต้นผิวค่อนข้างเรียบ
  • รากของย่านาง รากของย่านางลักษณะเป็นหัวอยู่ใต้ดิน มีขนาดใหญ่
  • ใบของย่านาง ลักษณะเป็นใบเดี่ยว เหมือนรูปไข่ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ สีเขียว เป็นมัน ในออกจากลำต้นเรียงสลับกัน
  • ดอกของย่านาง ดอกย่านางออกตามซอกใบ และ ซอกโคนก้าน ดอกออกเป็นช่อ มีขนาดเล็ก สีเหลือง ดอกของย่างน่างจะออกดอกช่วงเดือนเมษายนของทุกปี
  • ผลของย่านาง ลักษณะกลมรี สีเขียว มีขนาดเล็ก ผลแก่ของย่านาง สีเหลืองอมแดง มีเมล็ดด้านใน ลักษณะแข็ง รูปเกือกม้า

ประโยชน์ของใบย่านาง

ต้นย่างนางเป็นพืชที่ให้ออกซิเจนสูง เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ที่มีมลพิษสุง เพราะ ต้นย่านางจะช่วยเพิ่มออกซิเจน และ สร้างความร่มเย็นให้กับพื้นที่ได้ดี นอกจากนั้นประโยชน์ของย่านาง นิยมนำมาทำอาหาร ใบย่านาง เป็นส่วนประกอบของอาหาร ทำน้ำใบย่านาง

ใบย่านาง ทำให้ผมดกดำ ช่วยชะลอการเกิดผมหงอก ย่านางนิยมนำมาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น แคปซูลใบย่านาง สบู่ใบย่านาง แชมพูใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพร เป็นต้น

สรรพคุณของย่านาง

การใช้ประโยชน์จากต้นย่านาง สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก รากย่านาง และ ใบย่านาง โดยรายละเอียดของสรรพคุณของย่านาง มีดังนี้

  • รากย่านาง พืชมีรสขม สรรพคุณของรากย่านาง รักษาไข้ แก้ไข้ทับระดู แก้พิษเมา บำรุงหัวใจ บำรุงธาตุ แก้ปวดท้อง รักษาอีสุกอีใส รักษามาลาเรีย ช่วยขับพิษต่างๆ
  • ใบยางนาง พืชมีรสขม สรรพคุณช่วยรักษาอาการไข้ ช่วยชะลอวัย เป็นยาอายุวัฒนะ สร้างภูมิต้านทานโรคให้ร่างกาย ช่วยบำรุงกำลัง ลดความอ้วน ช่วยปรับสมดุลย์ร่างกาย ลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยรักษาอัมพฤกษ์ ช่วยรักษาอาการชักเกร็ง บำรุงผิวพรรณ บรรเทาอาการเวียนหัว ป้องกันโรคภูมิแพ้ รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด แก้ปวดตามตัว แก้ปวดกล้ามเนื้อ รักษาเหงือกอักเสบ ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ บำรุงสายตา ช่วยลดการนอนกรน รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคตับอักเสบ แก้ท้องเสีย แก้ท้องผูก รักษาโรคกระเพาะอาหาร รักษาลำไส้อักเสบ ช่วยรักษาปัสสาวะขัด ช่วยรักษามดลูกโต แก้ปวดมดลูก รักษาโรคต่อมลูกหมากโต รักษาอาการตกขาว ช่วยป้องกันโรคเกาต์ ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย

โทษของย่างนาง

  • น้ำใบย่างนาง น้ำสมุนไพร แต่ใบย่านางกลิ่นแรง กินยาก การทำน้ำใบย่างนาง หากไม่ปรุงรส อาจทำให้อาเจียน หรือ เกิดอาการแพ้ได้
  • การดื่มน้ำย่านาง ควรดื่มก่อนการกินอาหาร หรือ ดื่มตอนท้องว่าง
  • การดื่มน้ำใบย่านาง ควรดื่มในปริมาณที่พอดี ไม่ควรดื่มมากเกินไป
  • น้ำใบย่านาง ส่งผลต่อความสามารถในการทำงานของไต ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ไม่ควรดื่มน้ำใบย่านาง เพราะ สารอาหาร เช่น วิตามินเอ ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม ที่มีใบย่านางจะทำให้เกิดการคั่ง
  • การกินอาหารเสริมจากใบย่านาง เช่น แคปซูลใบย่านาง เครื่องดื่มสมุนไพรใบย่างนาง อาจมีสารเคมีเจือปน หากขั้นตอนการผลิตไม่ได้มาตราฐาน เพื่อความปลอดภัย ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้จะดีที่สุด
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย