ท้าวยายม่อม สมุนไพร ทำแป้งได้ สรรพคุณช่วยขับถ่าย ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการไข้ แก้พิษ ขับพิษ แก้อาการแพ้ต่างๆ ต้นเท้ายายม่อมเป็นอย่างไร ประโยชน์และโทษมีอะไรบ้างท้ายยายม่อม สมุนไพร สรรพคุณของท้าวยายม่อม

ต้นท้าวยายม่อม ภาษาอักกฤษ เรียก East Indian arrow root ชื่อวิทยาศาสตร์ของท้าวยายม่อม คือ Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze เป็นพืชในวงศ์เดียวกับกลอย ( DIOSCOREACEAE ) สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของท้าวยายม่อม คือ บุกรอ สิงโตดำ นางนวล ไม้เท้าฤาษี ว่านพญาหอกหลอก เม้ายายม่อม เป็นต้น ต้นท้าวยายม่อม พบได้ไปในประเทศเขตร้อน เช่น ทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา ไปจนถึงทวีปออสเตรเลีย สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วไปแต่พบน้อยในภาคอีสาน

ประโยชน์ของท้าวยายม่อม

สำหรับต้นท้าวยายม่อม จัดว่ามีความสำคัญทางสังคมและเศรษบกิจ สูง สามารถนำมาบริโภค และ ใช้เป็นวัตถุดิบหนึ่งของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางค์ ประโยชน์ของท้าวยายม่อม มีดังนี้

  • ประโยชน์ด้านการอาหาร นำท้าวยายม่อม มาเป็นส่วนหัวมาผสมของอาหารเพื่อสร้างความหนืดทดแทนการใช้แป้งมัน ทำให้อิ่มท้อง รวมถึงรับประทานดอกและยอดอ่อนของท้าวยายม่อมด้วย ซึ่งนิยมนำมาพัดใส่น้ำกะทิเป็นอาหารพื้นบ้าน แสนอร่อย
  • ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม ใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องสำอาง โดยนำมาใช้ทำครีมทาหน้า เพื่อให้หน้าขาว ผิวพรรณสดใส ลดสิวฝ้า รวมถึงเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตแป้งท้าวยายม่อม ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์หลายอย่าง

ลักษณะของต้นท้าวยายม่อม

ต้นท้าวยายม่อม จัดเป็นไม้ล้มลุก ซึ่งอายุหลายปี ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ หรือ การแยกหน่อ ลักษณะของต้นท้าวยายม่อม มีดังนี้

  • ลำต้นท้าวยายม่อม อยู่เหนือดินมีความสูงได้ถึง 1.5 เมตร ถึง 2 เมตร  แต่ที่ใช้ประโยชน์ คือ ส่วนหัวที่อยู่ใต้ดิน เป็นลักษระต่างๆ ที่พบมาก ได้แก่ รูปกลม กลมแบน หรือรูปรี โดยมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดประมาณ 0.5-4 นิ้ว
  • ใบท้าวยายม่อม มีลักษณะ เป็นใบขนาดใหญ่ และ เว้าลึก และ เป็นรูปลักษระคล้ายฝ่ามือ โดยที่ปลายแยกออกเป็นแฉก มี 3 แฉก
  • ดอกท้าวยายม่อม เป็นช่อ ก้านดอก มีสีม่วงอมเขียว มีลาย ช่อดอกจะมี 1-2 ช่อ กลีบรวมจะเป็นสีเขียวอมเหลือง มีสีเขียวอมม่วงเข้ม ปลายกลีบมีความแหลม โคนกลีบมีเชื่อมติดกันลักษณะเป็นหลอด
  • ผลท้าวยายม่อม เป็นผลสดมีเนื้อ รูปเกือบกลม หรือ รูปทรงรี ปลายมีความแหลมเรียว สีเขียว พบมากบริเวณที่ อยู่ใต้ร่มเงาในป่าดิบแล้งไม่มาก ป่าผลัดใบ ดินเป็นดินทราย และตามป่าชายหาด

สรรพคุณของท้าวยายม่อม

สำหรับการนำต้นท้าวยายม่อม มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เพื่อรักษาโรคและบำรุงร่างกาย ใช้ประโยชน์จากรากของท้าวยายม่อม ลำต้นท้าวยายม่อม และ หัวท้าวยายม่อม สรรพคุณของท้าวยายม่อม มีดังนี้

  • รากท้าวยายม่อม สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ลดไข้ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย
  • หัวท้าวยายม่อม สรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย  บำรุงหัวใจ แก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย รักษาแผลฝี ช่วยห้ามเลือด แก้ผื่นคัน
  • ลำต้นท้าวยายม่อม สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ลดไข้ แก้ร้อนใน

โทษของท้าวยายม่อม

สำหรับโทษของต้นท้าวยายม่อมนั้น หัวท้าวยายม่อม ไม่สามารถนำมารับประทานแบบสดๆได้ เนื่องจากมีความเป็นพิษ มีรสขมมาก ก่อนนำมาทำอาหารต้องล้างให้สะอาด หรือ ตากแห้ง ก่อนนำมาใช้ประโยชน์

สูตรแป้งท้าวยายม่อม

สำหรับคุณสมบัติของแป้งเท้ายายม่อม คือ มีความละเอียดมาก สีขาว ใสและคงรูปไม่เหลวแตกต่างจากแป้งชนิดอื่นจนสัมผัสและสังเกตุได้ ขั้นตอนการแปรรูปหัวท้าวยายม่อม นำมาทำแป้งท้าวยายม่อม มีรายละเอียด ดังนี้

  • ล้างหัวท้าวยายม่อมด้วยน้ำสะอาด และ แช่หัวท้าวยายม่อมทิ้งไว้ก่อน จากนั้นขูดเนื้อของหัวท้าวยายม่อมให้ละเอียด หรือ นำมาปั่นก็ได้ จากนั้นผสมน้ำและแยกกากและน้ำออกด้วยผ้าขาวบาง
  • นำแป้งให้ทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้แป้งตกตะกอน เทน้ำสีเหลืองที่ลอยอยู่ข้างบนทิ้ง ใส่น้ำใหม่ลงไปกวนให้เข้ากัน และทิ้งไว้อีก 1 คืน เทน้ำออก ทำแบบนี้ซ้ำไปมา 4 ครั้ง จนน้ำกว่าน้ำตกตะกอนแป้งจะใส
  • แทน้ำใสออก ให้เหลือเฉพาะเนื้อแป้ง จากนั้นนำแป้งไปตากแห้ง ก็จะได้แป้งท้าวยายม่อมที่พร้อมใช้งาน

ท้าวยายม่อม สมุนไพร ใช้เป็นแป้งได้ สรรพคุณของท้าวยายม่อม บำรุงระบบกล้ามเนื้อ ช่วยขับถ่าย ช่วยเจริญอาหาร ลดอาการไข้ แก้พิษ ขับพิษ แก้อาการแพ้ต่างๆ ลักษณะของต้นท้าวยายม่อม ประโยชน์ของท้าวยายม่อม โทษมีอะไรบ้าง

บุก บุกคางคก หัวบุกนำมาทำแป้งได้ กินแล้วไม่อ้วน ต้นบุกเป็นอย่างไร สรรพคุณช่วยลดน้ำตาลในเลือด ขับเสมหะ แก้ไอ รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โทษของบุก มีอะไรบ้างบุก สมุนไพร สรรพคุณบุก

ต้นบุกคางคก ภาษาอังกฤษ เรียก Stanley’s water-tub ชื่อวิทยาศาสตร์ของบุกคางคก คือ Amorphophallus paeoniifolius (Dennst.) Nicolson  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของบุกคางคก คือ บุกหลวง บุกหนาม เบีย เบือ บักกะเดื่อ กระบุก บุกคุงคก หัวบุก มันซูรัน  กระแท่ง บุกรอ หัววุ้น บุกอีรอกเขา เป็นต้น ต้นบุกคางคกเป็นพืชตระกูลบอน

บุกในประเทศไทย

ประเทศไทยสามารถปลูกบุกได้ทั่วไป พบได้ทุกภาค การปลูกบุกนิยมนำหัวบุกมาใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรม โดยนำเอามาผลิตแป้ง และ แปรรูปเป็นสินค้าด้านอาหารต่างๆ เช่น แผ่นบุกแห้ง ผงวุ้นบุก ผงวุ้นกลูโคแมนแนน และ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมต่างๆ นอกจากนั้นยังนำมาทำวุ้นเส้น สำหรับรับประทานได้

ลักษณะของต้นบุกคางคก

ต้นบุกคางคก เป็นพืชล้มลุก มีหัวอยู่ใต้ดิน อายุยืนยาน สามารถขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ ลักษณะของต้นบุกคางคก มีดังนี้

  • ลำต้นบุกคางคก ลักษณะตั้งตรง ลำต้นอวบน้ำ ความสูงประมาณ 1 เมตร แก่นลำต้นมีผิวขรุขระ ตัวลำต้นกลมสีเขียว มีหัวบุกอยู่ใต้ดิน ลำต้นบุกแทงออกมาจากหัวบุก หัวบุกมียาง
  • ใบบุกคางคก เป็นใบเดี่ยวใบอยู่ปลายของก้านใบ ลักษณะใบยาว ลักษณะใบแผ่ออกคล้ายร่มที่กางแล้ว ขอบใบเว้าลึก ก้านใบกลม ลักษณะกาบใบอวบน้ำ
  • ดอกบุกคางคก ออกดอกเป็นช่อ ซึ่งดอกบุกแทงขึ้นมาจากโคนลำต้น ปลายช่อดอกเป็นรูปกรวยคว่ำขนาดใหญ่ ดอกมีกลิ่นเหม็นเน่า
  • ผลบุกคางคก ลักษณะของผลเป็นทรงรียาว เนื้อนุ่ม ผลจะขึ้นเป็นช่อๆจำนวนมาก ผลอ่อนบุกสีเขียว ผลสุกของบุกสีเหลืองส้ม ภายในผลมีเมล็ด ลักษณะเมล็ดกลมรี

สารสำคัญในบุก

หัวบุก มีสารเคมีสำคัญ คือ กลูโคแมนแนน ( glucomannan ) ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายเพกติน ช่วยกำจัดเสมหะ แก้ไอ แก้พิษงู รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อน ช่วยลดน้ำตาลในเส้นเลือด ได้

สรรพคุณของบุก

สำหรับการใช้ประโยชน์จากบุก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก หัวบุก ราก และ ผล สรรพคุณของบุก มีดังนี้

  • หัวบุก สรรพคุณบำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยลดน้ำตาลในเส้นเลือด แก้ไอ ป้องกันมะเร็ง แก้ไข้ ขับเสมหะ แก้ท้องมาน ช่วยให้ประจำเดือนมาปรกติ แก้พิษงู รักษาแผลน้ำร้อนลวก รักษาแผลหนอง แก้ปวด แก้บวม ลดความอ้วน
  • รากบุก สรรพคุณรักษาริดสีดวงทวาร ช่วยขับระดูของสตรี รักษาฝี
  • ผลบุก สรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

โทษของบุก

การรับประทานบุก หรือ ใช้ประโยชน์จากบุกในการรักษาโรค มีข้อควรระวัง เนืองจากบุกมียางและมีความเป็นพิษ ต้องมีการนำมาทำให้พิษออกก่อนจึงจะไม่เกิดโทษ โทษของบุก มีดังนี้

  • ยางจากหัวบุก หากสัมผัสทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ทำให้เกิดอาการคัน หากเข้าตาทำให้แสบตา หากรุนแรงทำให้ตาบอดได้
  • การรับประทานบุกโดยไม่เอายางออกก่อน ทำให้ระคายเคืองปากได้
  • ผงวุ้นจากบุก หากกินในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้ท้องอืดได้

บุก หรือ บุกคางคก พืชท้องถิ่น หัวบุกนำมาทำแป้งได้ กินแล้วไม่อ้วน ลักษณะของต้นบุก เป็นอย่างไร สรรพคุณของบุก เช่น ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ขับเสมหะ แก้ไอ รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก โทษของบุก มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย