อาการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ทำให้อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อกระดูก ปวดหลัง รักษาและป้องกันได้หรือไม่ เยื่อบุหัวใจอักเสบ โรคหัวใจอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด

เยื่อบุหัวใจอักเสบ ( Infective endocarditis ) คือ ภาวะเนื้อเยื่อบุหัวใจอักเสบ จากการติดเชื้อโรคที่หัวใจและลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อต่างๆ มีไข้สูง หนาวสั่น มีผื่นแดงตามแขนขา ปวดหลังและปัสสาวะเป็นเลือด

ผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหัวใจที่มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคนี้ ดังนั้น ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคหัวใจรูมาติก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม จำเป็นต้องเฝ้าระวังการเกิดโรคนี้

ประเภทของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับโรคนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ โรคเยื้อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ และ โรคเยื้อบุหัวใจอักเสบจากการไม่ติดเชื้อ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีโอกาสพบได้มากขึ้น กลุ่มเสี่ยงคือเพศชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป
  • โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อ พบน้อยมากและการวินิจฉัยโรคจะทำได้ยากมาก ส่วนมากจะเสียชีวิตและจะทราบหลังจากการเสียชีวิต โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ทั้งชายและหญิง

สาเหตุการเกิดโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

การติดเชื้อแบคทีเรียรวมถึงเชื้อโรคอื่นๆ หากปล่อยให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด เลือดเสียไหลเวียนเข้าถึงหัวใจ สามารถทำให้เกิดภาวะเยื่อบุหัวใจ หรือ ลิ้นหัวใจ อักเสบได้ ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน ซึ่งกลุ่มคนที่ต้องเฝ้าระวังโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ มีดังนี้

  • ผู้ป่วยลิ้นหัวใจผิดปกติ
  • ผู้ป่วยที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม
  • กลุ่มคนที่มีความพิการของหัวใจแต่กำเนิด
  • กลุ่มคนที่มีการใส่เครื่องมือทางการแพทย์เข้าไปที่หัวใจ เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ( Pacemaker )

อาการผู้ป่วยโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ 

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อในเลือด เมื่อเลือดเสียสูบฉีดไปยังอวัยวะต่างๆในร่างกายทำให้เกิดอาการอักเสบทั่วร่างกาย และแสดงออกในทุกอวัยะ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ รายละเอียด ดังนี้

  • มีอาการอ่อนเพลีย
  • ลักษณะของสีผิวซีดเซียว
  • ไม่อยากรับประทานอาหาร เบื่ออาหาร
  • ผอม หรือ น้ำหนักตัวลดมาก
  • มีอาการปวดทั่วร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง และ ปวดตามข้อกระดูก
  • มีไข้สูง ร่วมกับอาการหนาวสั่น
  • ผิวหนังผิดปรกติ มีผื่นแดงขึ้นตามแขนขา
  • ปัสสาวะผิดปรกติ โดย ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด

แนวทางการวินิจฉัยโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะสังเกตุจากอาการผิดปรกติของร่างกาย การตรวจร่างกาย ซักประวัติการรักษาโรค การเพาะเชื้อจากเลือดในรายที่ป่วยเป็นชนิดที่มาจากการติดเชื้อ การอัลตราซาวด์หัวใจ สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อโรค การวินิจฉัยโรคค่อนข้างยาก อาจจะทราบสาเหตุของโรคหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต จากการชันสูตรศพ

การรักษาโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรค เนื่องจากสาเหตุของโรคมาจากการติดเชื้อโรคในกระแสเลือด การให้ยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือด รวมกับการรักษาโดยการประคับประครองอาการอื่นของโรคตามอาการ จึงเป็นแนวทางการรักษาโรคนี้ และ ให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายหลังจากการฆ่าเชื้อโรคในกระแสเลือด จึงเป็นแนวทางการรักษาที่ดีที่สุด

การป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันภาวะการเกิดเยื้อบุหัวใจอักเสบ สามารถป้องกันได้จากการป้องกันการติดเชื้อโรค ไม่ใหเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ มีดังนี้

  • หมั่นดูแลสุขอนามัยพื้นฐาน ให้สิ่งแวดล้อมรอบตัวสะอาด และ หลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บต่างๆ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ไม่เสพสารเสพติด ไม่สูบบุหรี่ และ ไม่ดื่มสุรา

เยื่อบุหัวใจอักเสบ อาการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อกระดูก ปวดหลัง แนวทางการรักษาโรคนี้ทำอย่างไร และ สามารถป้องกันได้หรือไม่ 

การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ ทำให้เจ็บทรวงอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย แนวทางการรักษาและป้องกันโรค ทำอย่างไรกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคหัวใจ โรคติดเชื้อ โรคหัวใจอักเสบ
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ( myocarditis ) คือ ภาวะการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนมากพบว่าเกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ parvovirus B19 แต่สามารถเกิดจากการติดเชื้อโรคอื่นๆได้ ไม่ว่าจะ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เช่น Borrelia burgdorferi ( โรคไลม์ ) หรือ Trypanosoma cruzi  โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ทางการแพทย์ เรียก Myocarditis หรือ Inflammatory cardiomyopathy พบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป มีอาการของโรครุนแรง เสียชีวิตได้

สาเหตุการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับภาวะการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดจากการติดเชื้อโรค เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือ พยาธิ เมื่อร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น โรคเอสแอลอี โรครูมาตอยด์ โรคไข้รูมาติก เป็นต้น ทำให้ร่างกายได้รับเชื้อโรคง่าย เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายหัวใจ ทำให้เกิดการอักเสบ ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ ส่งผลต่อการทำงานของปอด ทำให้เกิดปอดบวมน้ำ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จะทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ซึ่งสามารถสรุปสาเหตุของการติดเชื้อได้ดังนี้

  • การได้รับสารพิษพวก สารหนู สารตะกั่ว ควันรถยนต์การกระทบกระเทือนโดยตรงที่กล้ามเนื้อหัวใจ
  • เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวทำร้าย เรียกว่า สารภูมิต้านทานร่างกาย หรือ แอนติบอดี้ ( Antibody )
  • การติดเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เป็นสาเหตุจากโรคต่างๆ เช่น ไวรัสไข้หวัดใญ่ ไวรัสหัดเยอรมัน ไวรัสเอชไอวี แบคทีเรียวัณโรค
  • การติดเชื้อโรคจากพยาธิ
  • การติดเชื้อรา
  • การแพ้ยาปฏิชีวนะ
  • ถูกสัตว์มีพิษกัด เช่น งู ผึ้ง หรือ แมลงต่างๆ

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จะเกิดอาการอักเสบทั่วร่างกายไม่ได้อักเสบเฉพาะหัวใจ ซึ่งเป็นผลจากการไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย สามารถสังเกตุอาการของโรค ได้ดังนี้

  • มีไข้สูงและหนาวสั่น
  • เหนื่อยล้า
  • ปวดหัว
  • ปวดกล้ามเนื้อ และ ปวดตามข้อกระดูก
  • เจ็บคอ
  • มีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว ท้องร่วง
  • เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว
  • มีอาการไอ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ริมฝีปาก และ เล็บมือ มีสีม่วง
  • มือ เท้า และ ข้อเท้าบวม

การตรวจวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคนอกจากดูลักษณะอาการของโรค แพทย์จะทำการซักประวัติการรักษาโรค จากนั้นตรวจโรค โดย การตรวจเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การทำเอมอาร์ไอ และ การตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ควรรีบส่งคนไข้ไปโรงพยาบาลทันทีเพ่ือรับการรักษา แพทย์วินิจฉัยได้โดยจะมีการฟังเสียงหัวใจเต้นผิดปกติ ( echocardiography ) เอกซเรย์พบหัวใจโต คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ และตรวจเลือดพร้อมกับให้การรักษาในทันที การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยเบื้องต้นแพทย์จะรักษาจากต้นแต่ของโรค คือ การให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุของโรค ร่วมกับประคับประครองอาการต่างๆ

การป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยจัยต่างๆที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ และ ดื่มสุรา
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ใส่เครื่องมือป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เพือป้องกันการติดเชื้อโรค

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ( Myocarditis ) การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ ทำให้เจ็บทรวงอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย แนวทางการรักษาและป้องกันโรค ทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย