อาการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ทำให้อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อกระดูก ปวดหลัง รักษาและป้องกันได้หรือไม่ เยื่อบุหัวใจอักเสบ โรคหัวใจอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด

เยื่อบุหัวใจอักเสบ ( Infective endocarditis ) คือ ภาวะเนื้อเยื่อบุหัวใจอักเสบ จากการติดเชื้อโรคที่หัวใจและลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อต่างๆ มีไข้สูง หนาวสั่น มีผื่นแดงตามแขนขา ปวดหลังและปัสสาวะเป็นเลือด

ผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหัวใจที่มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคนี้ ดังนั้น ผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคหัวใจรูมาติก โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม จำเป็นต้องเฝ้าระวังการเกิดโรคนี้

ประเภทของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับโรคนี้สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ โรคเยื้อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ และ โรคเยื้อบุหัวใจอักเสบจากการไม่ติดเชื้อ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีโอกาสพบได้มากขึ้น กลุ่มเสี่ยงคือเพศชาย อายุ 50 ปีขึ้นไป
  • โรคเยื่อบุหัวใจอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อ พบน้อยมากและการวินิจฉัยโรคจะทำได้ยากมาก ส่วนมากจะเสียชีวิตและจะทราบหลังจากการเสียชีวิต โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ทั้งชายและหญิง

สาเหตุการเกิดโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

การติดเชื้อแบคทีเรียรวมถึงเชื้อโรคอื่นๆ หากปล่อยให้เชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด เลือดเสียไหลเวียนเข้าถึงหัวใจ สามารถทำให้เกิดภาวะเยื่อบุหัวใจ หรือ ลิ้นหัวใจ อักเสบได้ ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน ซึ่งกลุ่มคนที่ต้องเฝ้าระวังโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ มีดังนี้

  • ผู้ป่วยลิ้นหัวใจผิดปกติ
  • ผู้ป่วยที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม
  • กลุ่มคนที่มีความพิการของหัวใจแต่กำเนิด
  • กลุ่มคนที่มีการใส่เครื่องมือทางการแพทย์เข้าไปที่หัวใจ เช่น เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ ( Pacemaker )

อาการผู้ป่วยโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ 

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อในเลือด เมื่อเลือดเสียสูบฉีดไปยังอวัยวะต่างๆในร่างกายทำให้เกิดอาการอักเสบทั่วร่างกาย และแสดงออกในทุกอวัยะ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะอาการของโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ รายละเอียด ดังนี้

  • มีอาการอ่อนเพลีย
  • ลักษณะของสีผิวซีดเซียว
  • ไม่อยากรับประทานอาหาร เบื่ออาหาร
  • ผอม หรือ น้ำหนักตัวลดมาก
  • มีอาการปวดทั่วร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง และ ปวดตามข้อกระดูก
  • มีไข้สูง ร่วมกับอาการหนาวสั่น
  • ผิวหนังผิดปรกติ มีผื่นแดงขึ้นตามแขนขา
  • ปัสสาวะผิดปรกติ โดย ปัสสาวะออกมาเป็นเลือด

แนวทางการวินิจฉัยโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะสังเกตุจากอาการผิดปรกติของร่างกาย การตรวจร่างกาย ซักประวัติการรักษาโรค การเพาะเชื้อจากเลือดในรายที่ป่วยเป็นชนิดที่มาจากการติดเชื้อ การอัลตราซาวด์หัวใจ สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อโรค การวินิจฉัยโรคค่อนข้างยาก อาจจะทราบสาเหตุของโรคหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต จากการชันสูตรศพ

การรักษาโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรค เนื่องจากสาเหตุของโรคมาจากการติดเชื้อโรคในกระแสเลือด การให้ยาฆ่าเชื้อทางหลอดเลือด รวมกับการรักษาโดยการประคับประครองอาการอื่นของโรคตามอาการ จึงเป็นแนวทางการรักษาโรคนี้ และ ให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายหลังจากการฆ่าเชื้อโรคในกระแสเลือด จึงเป็นแนวทางการรักษาที่ดีที่สุด

การป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันภาวะการเกิดเยื้อบุหัวใจอักเสบ สามารถป้องกันได้จากการป้องกันการติดเชื้อโรค ไม่ใหเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบ มีดังนี้

  • หมั่นดูแลสุขอนามัยพื้นฐาน ให้สิ่งแวดล้อมรอบตัวสะอาด และ หลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บต่างๆ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ไม่เสพสารเสพติด ไม่สูบบุหรี่ และ ไม่ดื่มสุรา

เยื่อบุหัวใจอักเสบ อาการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อบุหัวใจหรือลิ้นหัวใจ ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อกระดูก ปวดหลัง แนวทางการรักษาโรคนี้ทำอย่างไร และ สามารถป้องกันได้หรือไม่ 

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เนื้องอกร้ายที่กระเพาะปัสสาวะ อาการปวดหลังเหมือนปวดไต ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะมีเลือดปน มะเร็งกระเพาะปัสสาวะรักษาและป้องกันการเกิดโรคอย่างไรมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ ฉี่เป็นเลือด

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ( Urinary bladder cancer ) โรคมะเร็งที่เกิดกับกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากความผิดปกติของการแบ่งเซลล์ที่เนื้อเยื่อกระเพาะปัสสาวะจนเกิดเป็นก้อนเนื้อ ขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆจนเต็มกระเพาะปัสสาวะ และ ลุกลามไปอวัยวะอื่นๆ ทางต่อมน้ำเหลืองและกระแสโลหิต ซึ่งกระเพาะปัสสาวะทำหน้าที่กักเก็บน้ำสำหรับขับถ่ายออกจากร่างกาย ร่างกายมนุษย์สามารถเก็บน้ำสำหรับขับถ่ายได้ไม่เกิน 300 ซีซี โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะเกิดในประชากรไทยบ่อย พบติดหนึ่งในสิบของมะเร็งในคนไทย พบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป และ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับ สาเหตุของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ วิทยาการทางการแพทย์ยังไม่สารมารถทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจนได้ แต่เราสามารถระบุปัจจัยต่างๆที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ มีดังนี้

  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ในกลุ่มคนที่มีประวัติคนในครอบครัวมีประวัตโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคสูงกว่ากลุ่มคนทั่วไป
  • การมีพยาธิใบไม้ในเลือด ซึ่งพยาธิใบไม้จะวางไข่ในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการระคายเคือง
  • การสูบบุหรี่
  • การสัมผัสสารเคมีต่างๆ เช่น สีย้อมผ้า เคมีในอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมยาง และ อุตสาหกรรมสายไฟฟ้า
  • การรับการรักษาโรคด้วยการทำเคมีบำบัด

อาการโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับอาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ จะแสดงอาการผิดปรกติที่ไต ระบบการปัสสาวะ เช่น แสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะมีเลือด และ ปวดหลังบริิเวณไต ซึ่งอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆตามระยะของการเกิดดชโรค ซึ่งอาการของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สามารถสังเกตุอาการเบื้องต้น ได้ดังนี้

  • มีอาการปวดหลัง ลักษณะคล้ายอาการปวดของผู้ป่วยโรคไต
  • เจ็บท้อง โดย เจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • ระบบปัสสาวะผิดปรกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย แสบเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะมีเลืิอดปน เป็นต้น  

ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับ โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ สามารถแบ่งระยะของโรคมะเร็งชนิดนี้ ได้ 4 ระยะ เหมือนโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ รายละเอียดดังนี้

  1. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะแรก เกิดเซลล์ก้อนเนื้อขนาดเล็ก เฉพาะที่เยื่อบุผนังกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอัตราการรอดตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะแรก อยู่ที่ร้อยละ 80
  2. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่สอง เซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามมายังกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอัตราการรอดตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะที่สองอยู่ที่ร้อยละ 70
  3. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะที่สาม เซลล์มะเร็งเกิดการลุกลามมายังเนื้อเยื่อรอบๆอวัยวะของกระเพาะปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมาก ช่องคลอด เป็นต้น ซึ่งอัตราการรอดตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะที่สามอยู่ที่ร้อยละ 20 ถึง 60
  4. โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะระยะสุดท้าย เซลล์มะเร็ง ลุกลามไปทั่วช่องท้อง รวมถึง ต่อมน้ำเหลือง ปอด และ กระดูก ซึ่งอัตราการรอดตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายไม่ถึงร้อยละ 20

การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ไม่มีการตรวจคัดกรอง เพราะ ผู้ป่วยมักไม่แสดงอาการจนกว่าจะเกิดระยะของโรคที่รุนแรง แนวทางการวินิจฉัยโรค สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เริ่มจา การตรวจประวัติการรักษา ประวัติพันธุกรรม การตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด CT scan หรือ MRI ช่องท้อง การตรวจกระดูก เป็นต้น

การรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับแนวทางการรักษามะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ต้องใช้หลายวิธีร่วมกันในการรักษา เช้น การผ่าตัด การฉายรังสี และ การรักษาด้วยเคมีบำบัด โดยรายละเอียดการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มีดังนี้

  • การจี้กระแสไฟฟ้าที่กระเพาะปัสสาวะ วิธีรักษาแบบนี้ใช้เครื่องมือพิเศษ ซึ่งต้องรักษาร่วมกับการใช้เคมีบำบัด
  • การผ่าตัด โดยการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะออก
  • การฉายรังสี ใช้รังสีฉายทั้งก่อนและหลังผ่าตัด เพื่อให้เซลล์มะเร็งหยุดการเจริญเติบโต
  • การใช้เคมีบำบัด เป็นยารับประทานเพื่อทำลายเซลล์มะเร็ง วิธีนี้สามารถทำได้ในผู้ป่วยที่มีร่างกายแข็งแรง และ การรักษาด้วยวิธีนี้มีผลข้างเคียงต่างๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ผมร่วง เม็ดเลือดขาวต่ำ เลือดออกง่าย เป็นต้น

การป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำหรับการป้องกันโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นเรื่องยาก เนื่องจากโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด สิ่งที่สามารถทำได้ คือ การป้องกันปัจจัยเสี่ยงของโรคที่สามารถควบคุมได้ มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • งดสูบบุหรี่
  • เลิกดื่มสุรา
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารเคมีต่างๆ
  • หมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำปี

โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งที่เกิดกับกระเพาะปัสสาวะ อาการปวดหลังเหมือนปวดไต ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะมีเลือดปน มะเร็งกระเพาะปัสสาวะรักษาอย่างไร แนวทางการป้องกันการเกิดโรค

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย