โรคหน้าเบี้ยว อัมพาตเบลล์ Bell’s palsy ความผิดปรกติของเส้นประสาทคู่ที่7 ทำให้ ใบหน้าผิดรูป ปากเบี้ยว ข้างใดข้างหนึ่ง พบได้ทุกเพศทุกวัย  สาเหตุและรักษาอย่างไร  

หน้าเบี้ยวครึ่งซีก อัมพาตเบลล์ โรค โรคระบบประสาท

โรคหน้าเบี้ยวBell’s palsy ) คือ ภาวะที่กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ อัมพาตชั่วขณะ สาเหตุมาจากเส้นประสาทบนใบหน้า หรือ เส้นประสาทสมอง ( Cranial Nerve ) คู่ที่ 7 ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าเกิดความผิดปกติ  ซึ่งสาเหตุของความผิดปรกติมาจากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อเริม ( Herpes simplex virus ) งูสวัด ( Herpes zoster ) ที่แฝงอยู่ในปมประสาท เมื่อร่างกายอ่อนแอทำให้เกิดภาวะความผิดปรกติของการควบคุมประสาทของใบหน้า สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย ปกติแล้วโรคนี้จะหายได้ 80% ขึ้นไป ใช้เวลาประมาณสองสัปดาห์หรือนานที่สุด สามเดือน รักษาด้วยยาและการผ่าตัด

สาเหตุของการเกิดโรคหน้าเบี้ยว 

สาเหตุมาจากเส้นประสาทบนใบหน้า หรือ เส้นประสาทสมอง ( Cranial Nerve ) คู่ที่ 7 ที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อใบหน้าเกิดความผิดปกติ โดยความผิดปรกตินั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • โรคเนื้องอกในสมอง และก้อนเนื้อไปกดทับเส้นประสาทควบคุมใบหน้า
  • เส้นประสาทคู่ที่ 7 ผิดปกติ อักเสบหรือกระทบกระเทือน
  • ความผิดปกติของก้านสมอง แต่พบเป็นส่วนน้อย
  • การติดเชื้อไวรัสเริม HSV1

กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหน้าเบี้ยว

สำหรับกลุ่มคนที่มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรค มีดังนี้

  • หญิงตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปถึง 3 เท่า โดยจะเกิดขึ้นเฉพาะระยะสามเดือนสุดท้าย และหลังคลอดบุตร
  • คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น
  • กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
  • ผู้ที่เคยเกิดอุบัติเหตุ หรือได้รับการกระทบกระเทือนทางสมอง
  • ผู้ที่มีภาวะเครียดสูง ทำงานหนัก หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ

อาการของโรคหน้าเบี้ยว

สำหรับอาการเบื้องต้นที่พบส่วนมาก คือ หลับตาได้แต่ไม่สนิทควบคุมไม่ได้ ตาแห้ง แสบตา ข้างเดียวกับที่ปากเบี้ยว ดื่มน้ำไม่ได้ มีน้ำไหลออกจากข้างปากควบคุมไม่ได้ ลิ้นรับรสได้ไม่ดีเหมือนก่อน หูอื้อข้างเดียวกับที่ปากเบี้ยว อาการของโรคนี้มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน และรุนแรงภายใน 48 ชั่วโมง ลักษณะอาการต่างๆ มีดังนี้

  • แขนขาอ่อนแรงโดยเป็นข้างเดียวกันกับปากที่เบี้ยว
  • เห็นภาพไม่ชัด เกิดภาพซ้อน
  • ทรงตัวไม่ได้ วินเวียนศีรษะ บ้านหมุน
  • กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรง ใบหน้าชา
  • ไม่สามารถยักคิ้วได้ ตาปิดไม่สนิท หนังตา และมุมปากตก รับประทานน้ำแล้วไหลออกมาจากมุมปาก
  • บางรายอาจมีอาการปวดบริเวณหลังใบหู
  • ระคายเคืองที่ตา รู้สึกตาแห้ง หรือมีน้ำตาไหล
  • รับรสชาติได้น้อยลง

การรักษาโรคหน้าเบี้ยว

สำหรับการรักษาโรคนี้นั้น โดยมากผู้ป่วยจะดีขึ้น และสามารถหายได้เองภายใน 6 เดือน แต่หากไม่ได้รับการรักษาจะมีโอกาสหายเป็นปกติประมาณเพียงร้อยละ 65 หากได้รับการรักษาจะมีโอกาสหายเป็นปกติสูงถึงร้อยละ 97 โดยการรักษา จะเป็นการให้ยารักษาโรค เช่น ให้ใช้ยาสเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบของเส้นประสาท ให้ใช้ยาฆ่าเชื้อไวรัสสำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัส

การป้องกันโรคหน้าเบี้ยว

สำหรับแนวทางการปฏิบัติตัวให้ปลอดจากการเกิดโรคหน้าเบี้ยว มีวิธีดังนี้

  • สำหรับผู้สูงอายุ ป้องกันความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน เช่น รับประทานอาหารรสไม่จัด ลดหวาน มัน เค็ม เน้นผักและผลไม้ ออกกำลังกายอย่าสม่ำเสมอ
  • สำหรับกรณีที่เกิดอาการ ถ้าหากไม่มีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย ไม่ต้องตกใจ สามารถรักษาหายได้ แต่หากมีอาการแขนขาอ่อนแรงร่วมด้วย ให้รีบพบแพทย์เพราะจะเกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต
  • ดูแลสุขลักษณะเบื้องต้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อต่างๆ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

ความดันโลหิตสูง ระดับความดันโลหิตสูงกว่าปรกติ อาการปวดหัวรุนแรง หายใจสั้น เจ็บหน้าอก เหงื่อออกมาก คลื่นไส้อาเจียน พบมากในผู้สูงอายุ ปัจจัยและการรักษาทำอย่างไรโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไม้ติดต่อ การรักษาโรคความดัน

สถานการณ์ของโรคความดันสูง มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนมนุษย์ทั่วโลกมากถึง 9.4 ล้านคน และ พบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่อายุมากกว่า 25 ปี มีมากถึร้อยละ 40 ของผู้เสียชีวิตทั้งหมด

ชนิดของโรคความดันโลหิตสูง

สำหรับโรคความดันโลหิตสูง สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ โรคความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุ และ โรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ซึ่งร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เกิดจากโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน

  • ชนิดไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ชนิดนี้ 90% ของผู้ป่วยทั้งหมด เราพบว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน แต่ทางการแพทย์เชื่อว่า น่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น อิทธิพลของเอ็นไซม์  เรนิน (Renin) และฮอร์โมนแองจิโอเท็นซิน ( Angiotensin) ที่มาจากไต สารเหล่านี้ ส่งผลต่อการทำงานของต่อมใต้สมองทำให้เกิดการบีบตัวของหลอดเลือดในร่างกาย ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูง เรียกว่า กระบวนการ Renin-Angiotensin system นอกจากนี้ เรื่องพันธุกรรม อาหารการกิน ก็ส่งผลต่อความดัยโลหิตสูงเช่นกัน
  • ชนิดทราบสาเหตุ ชนิดนี้มี10% ของผู้ป่วนโรคนี้ สามารถรู้สาเหตุของภาวะความดันดลหิตสูง

สาเหตุการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคร้ายแรงที่ไม่แสดงอาการของโรคล่วงหน้า และ เป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจน จึงไม่สามารถระบุสาเหตุที่แท้จริงของโรคได้ แต่มีปัจจัยต่างๆที่กระตุ้นให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง มีดังนี้

  • พฤติกรรมการกิน ซึ่งการกินอาหารที่เค็ม อาหารทอด อาหารที่มีไขมันสูง
  • การถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม
  • การสูบบุหรี่และดื่มสุรา
  • เป็นผลข้างเคียงจากการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคไต เป็นต้น
  • พฤติกรรมการไม่ออกกำลังกาย
  • การรับประทานยาบางชนิด โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์

อาการของโรคความดันโลหิตสูง 

อาการของโรคความดันสูง นั้นมักไม่แสดงอาการผิดปกติของร่างกายอย่างชัดเจน จะแสดงอาการเมื่อเกิดความรุนแรงของโรคซึ่งเป็นอันตราย ลักษณะอาการที่แสดงออกว่าเป็นอาการของโรคความดันโลหิตสูง คือ ปวดศีรษะรุนแรง หายใจสั้น เท้าบวม เจ็บหน้าอก เหงื่อออกมาก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว คลื่นไส้ อาเจียน เลือดกำเดาไหล หากเกิดอาการลักษณะนี้ต้องส่งตัวพบแพทย์ด่วน โรคความดันสูงเป็นฆาตกรเงียบ ( Silent Killer ) ทำให้เสียชีวิตได้อย่างกระทันหัน

ระดับความดันโลหิตปกติของร่างกาย คือ 90-119/60-79 มม.ปรอท แต่คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง คือวัดค่าความดันได้ 140/90 มม.ปรอท ขึ้นไปจะถือว่าเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ระดับความดันโลหิตที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

  • 120-139/80-89 มม.ปรอท อันตรายไม่มากควรปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การกิน การดื่ม
  • 140-159/90-99 มม.ปรอท โรคความดันโลหิตสูงระยะที่ 1
  • 160/100 มม.ปรอท โรคความดันโลหิตสูงระยะที่ 2
  • 180/110 มม.ปรอทขึ้นไประยะอันตรายมาก ต้องพบแพทย์โดยด่วน เพราะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากภาวะไต สมอง หัวใจล้มเหลว
  • 220/140 มม.ปรอทขึ้นไประยะวิฤต ต้องพบแพทย์โดยทันที

การตรวจวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง สามารถทำได้โดยการตรวจวัดระดับความดันโลหิต ตรวจไขมันในเลือด ตรวจน้ำตาลในเลือด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อดูค่าของเลือดและการทำงานของหัวใจ

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

สำหรับแนวทางการรักษาโรคความดันโลหิต สามารถรักษาได้โดยการบรรเทาอาการของโรค ร่วมกับการปรับพฤติกรรมการดำรงชีวิต ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค การพักผ่อน การออกกำลังกาย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆข้างเคียง

แนวทางการปฎิบัตตนสำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง สามารถเกิดอาการกำเริบอย่างกระทันหันได้ โดยการปรับพฤติกรรมและการดูแลตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ แนวทางการปฏิบัติตนของ

  1. ลดภาวะเครียด
  2. เลิกสูบบุหรี่และเลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยลดการกินอาหารพวกไขมันมาก ของทอด แป้ง น้ำตาล อาหารเค็ม
  6. หากมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง เท้าบวม เจ็บหน้าอก ใจสั่น เหงื่อออกมาก แขนขาอ่อนแรง ปากเบี้ยว คลื่นไส้ อาเจียน ต้องส่งตัวให้แพทย์ด่วน

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงรักษาอยาก แต่การป้องกันการเกิดโรคเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายกว่า แนวทางการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง มีดังนี้

  1. หมั่นตรวจร่างกายประจำปี
  2. ผ่อนคลาย ลดภาวะเครียดจากกิจกรรมต่างๆ
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  6. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปรกติ

โรคความดันโลหิตสูง ภาวะระดับความดันโลหิตสูงกว่าเกณฑ์ปรกติ หากมีอาการปวดศีรษะรุนแรง หายใจสั้น เจ็บหน้าอก เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ อาเจียน อาจเป็นโรคความดัน ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ ปัจจัยของการเกิดโรค การรักษาต้องทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย