ตะลิงปลิง สมุนไพร รสเปรี้ยว ต้นตะลิงปลิงเป็นอย่างไร สรรพคุณหลากหลาย เช่น บำรุงเลือด บำรุงผิวพรรณ บำรุงกระดูก บำรุงระบบประสาท โทษของตะลิงปลิงมีอะไรบ้างตะลิงปลิง ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณของตะลิงปลิง

ต้นตะลิงปลิง ภาษาอังกฤษ เรียก  Bilimbi ชื่อวิทยาศาตร์ของตะลิงปลิง คือ Averrhoa bilimbi L. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะลิงปลิง เช่น มูงมัง กะลิงปริง ลิงปลิง ลิงปลิง ปลีมิง บลีมิง มะเฟืองตรน หลิงปลิง เป็นต้น ตะลิงปลิง เป็นพืชในเขตร้อนและมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศบราซิล ซึ่งตะลิงปลิงนิยมปลูกทั่วไป เพื่อใช้รับประทานผลตะลิงปลิงเป็นอาหาร

ประโยชน์ของตะลิงปลิง ใช้เป็นอาหารรับประทานยามว่าง นำมาจิ้มพริกเกลือรับประทาน หรือ ทำมาเป็นส่วนประกอบอาหารประเภทแกง จะให้รสเปรี้ยว เพิ่มความอร่อย หากนพมาตากแห้ง สามารถใช้ทำชา ชงเป็นเครื่องดื่มดับกระหาย บำรุงร่างกาย ส่วนใบและราก สามารถนำมาทำผลิตภัณฑ์รักษาสิว ใช้พอกหน้า ทำให้หน้าใส

ลักษณะของต้นตะลิงปลิง 

ต้นตะลิงปลิง เป็นพันธ์ไม้ขนาดเล็กในประเทศเขตร้อน มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนในลุ่มแม่น้ำอะเมซอลของประเทศบราซิล สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การตอนกิ่ง และ การเสียบยอด ลักษณะของต้นตะลิงปลิง มีดังนี้

  • ลำต้นตะลิงปลิง ลำต้นมัขนาดเล็ก ความสูงของต้นประมาณ 5 – 15 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาล แต่ผิวเปลือกลำต้นเรียบ เนื้อไม้ไม่แข็ง ค่อนข้างเปราะ กิ่งหักง่าย
  • ใบตะลิงปลิง ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบสีเขียวอ่อน ใบมีขุยนุ่มปกคลุม ลักษณะรูปใบคล้ายรูปหอก ใบเป็นมัน ปลายใบแหลม
  • ดอกตะลิงปลิง ลักษณะดอกออกเป็นช่อ มีช่อหลายๆช่อ ออกดอกตามกิ่งและลำต้น กลีบดอกสีแดงเข้ม
  • ผลตะลิงปลิง ลักษณะกลมยาวปลายมน ผิวของผลเรียบ สีเขียว และผลสุกแล้วจะกลายเป็นสีเหลืองและมีรสเปรี้ยว

คุณค่าทางโภชนาการของตะลิงปลิง

การบริโภคตะลิงปลิงเป็นอาหาร นิยมรับประทานผลของตะลิงปลิง ซึ่งผลตะลิงปลิงให้รสเปรี้ยว โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลตะลิงปลิง ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 0.61 กรัม เบต้า แคโรทีน 0.035 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.010 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.026 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.302 มิลลิกรัม วิตามินซี 15.5 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 3.4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.01 มิลลิกรัม และ ธาตุฟอสฟอรัส 11.1 มิลลิกรัม

สรรพคุณของตะลิงปลิง

ตะลิงปิง มีสรรพคุณมากมาย ที่เกี่ยวข้องกับหลายระบบของร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบขับถ่าย ระบบขับพิษ ระบบภูมิคุ้มกัน สรรพคุณต่างๆ ได้แก่

  • บำรุงระบบย่อยอาหาร ทำให้รับประทานได้มากขึ้น เจริญอาหาร
  • แก้อาการร้อนใน ช่วยแก้พิษ ช่วยดับกระหายจากการเสียน้ำ จากอาการร้อน
  • ช่วยขับเหงื่อ โดยผสมกับพริกไทย รับประทาน
  • ฟอกโลหิตโดยการรับประทานผลตะลิงปลิง
  • สามารถนำมาใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน เพิ่มวิตามินซีให้กับร่างกาย
  • สามารถใช้รักษาคางทูม โดยใช้ใบนำมาพอก
  • ใช้ผลมาทำเป็นยาลดไข้ได้
  • กรณีมีไข้ขึ้น สามารถใช้รากของตะลิงปลิงมาดับพิษร้อนของไข้ได้ดี
  • นำดอก และ ผล มาใช้ชงเป็นชาดื่ม สามารถช่วยแก้อาการไอ อาการคันคอ อาการเคืองคอ ได้ดี
  • นำผลมาใช้เป็นยาละลายเสมหะ ยาแก้เสมหะเหนียวข้น ยาแก้น้ำลายเหียว ทำให้ชุ่มคอได้ดี
  • นำผล และราก มาทำเป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ป้องกันโรคกระเพาะอาหาร โรคกรดไหลย้อนได้ดี
  • ใช้รากแก้อาการเลือดออก ที่กระเพาะอาหาร และ ลำไส้ กรณีเกิดการอักเสบ จนแสบร้อนท้อง
  • ใช้รากรักษาอาการอักเสบของลำไส้ แสบลำไส้ ปวดท้อง ปวดลำไส้
  • รักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคซิฟิลิส
  • ลดอาการปวดจากโรคริดสีดวงทวาร ช่วยทำให้อาการปวดลดลง ขณะอุจจาระ
  • ลดอาการปวดมดลูก โดยใช้ผลของตะลิงปลิง
  • ในผู้ป่วยโรคเกาต์ สามารถใช้ส่วนราก บรรเทาอาการปวดของโรคเกาต์ ปวดตามข้อต่างๆ ลดการสะสมของผลึกยูริกได้ดี
  • ใช้รักษาโรครูมาตอยด์ อาการข้อปวด ปุ่มรูมาตอยด์ โดยใช้ส่วนใมาทำเป็นยา
  • ใช้ผลหรือราก เพื่อใช้สมานแผล ใช้ลดการไหลของเลือด
  • ใช้ใบลดอาการแพ้ อาการคัน อาการบวมแดง โดยนำใบมาต้มอาบ
  • สรรพคุณลดระดับน้ำตาลและไขมัน ในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ดี
  • ผลของน้ำตะลิงปลิงมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิดได้ดี

สูตรน้ำตะลิงปลิง นำตะลิงปลิงประมาณครึ่งกิโลกรัม มาล้างให้สะอาด ตากแห้งเพื่อที่จะสามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ต้มน้ำตาล 2 ถ้วย โดยเติมน้ำประมาณ 3 ถ้วยครึ่ง นำตะลิงปลิงเข้าเครื่องปั่นรวมกับน้ำเชื่อม แต่อย่าให้ล้น ปั่นรวมกัน กรองด้วยผ้าขาวบางเอาเฉพาะน้ำ นำมาดื่มโดยเติมเกลือ เติมน้ำเปล่า ตามชอบ

โทษของตะลิงปลิง

เนื่องจากตะลิงปลิงเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว การกินอาหารที่มีเปรี้ยวจัด อาจส่งเสียกระทบต่อสุขภาพของฟัน ทำให้ฟันกันกล่อนง่าย ทำให้เกิดอาการท้องร่วง ท้องเสีย

มะยม ( star gooseberry ) พืชมงคล ผลไม้รสเปรี้ยว ต้นมะยมเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมะยม สรรพคุณเป็นยาระบาย แก้เจ็บคอ บำรุงเหงือกและฟัน โทษของมะยม มีอะไรบ้างมะยม สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นมะยม ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ในทางการแพทย์นิยมใช้มะยมตัวผู้ ในการนำมาทำยารักษาโรค เป็นส่วนของ ใบและราก มะยม ภาษาอังกฤษ เรียก Star gooseberry ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะยม คือ Phyllanthus acidus (L.) Skeels เป็นพืชในตระกูลมะขามป้อม ชื่อรียกอื่นๆของมะยม เช่น หมากยม หมักยม ยม เป็นต้น

มะยมในประเทศไทย

ประเทศไทย มีความเชื่อว่า มะยมเป็นพืชมงคล ให้ปลูกในทางทิศตะวันตกของบ้าน เชื่อว่าช่วยป้องกันสิ่งไม่ดี คำว่า มะยม ออกเสียงคล้ายคำว่า นิยม ต้นมะยม สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน ผลมะยม นิยมนำมาทำอาหารรับประทานมากมาย เช่น รับประทานผลสด นำมาแช่อิ่ม หรือ เชื่อม เป็นต้น

ลักษณะของต้นมะยม

ต้นมะยม เป็นพืชยืนต้นขนาดกลาง นิยมปลูกตามบ้านทั่วไป มะยมสามารถขยายพันธ์ โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของมะยม มีดังนี้

  • ลำต้นมะยม มีความสูงประมาณ 10 เมตร ลำต้นกลม ผิวลำต้นขลุขละ เป็นลูกคลื่น ลำต้นแตกกิ่งจำนวนมาก
  • ใบมะยม เป็นใบใบประกอบ ออกใบตามกิ่งก้านเรียงสลับจำนวนมาก ลักษณะใบเรียวรี ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียว ใบเรียบ
  • ดอกมะยม ออกเป็นช่อ โดยดอกแทงออกตามกิ่งและลำต้น กลีบดอกคล้ายไตสีเขียวหรือสีแดง
  • ผลมะยม ลักษณะกลมแบน ลักษณะเป็นแฉกๆมนๆ เหมือนดวงดาว แตัไม่แหลม ผลอ่อนมะยมสีเขียว ผลแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลมีรสเปรี้ยว
  • เมล็ดมะยม ลักษณะคล้ายพูผล เมล็ดแข็ง ภายในผลจะมีเมล็ดผลละเมล็ด เนื้อเมล็ดแข็งมาก

คุณค่าทางโภชนาการของมะยม

สำหรับการบริโภคมะยม นิยมรับประทานผลมะยม มีรสเปรี้ยว นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของผลมะยม มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลมะยมสด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 33 แคลอรี่ โดยสารอาหารที่สำคัญในผลมะยม ประกอบด้วย กากใยอาหาร คาร์โบไฮเดรต 6.40 กรัม โปรตีน 0.90 กรัมไขมัน 0.40 กรัม  แคลเซียม 32 มิลลิกรัม  ฟอสฟอรัส 31 มิลลิกรัม  ธาตุเหล็ก 0.50 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 200 มิลลิกรัม โซเดียม 2 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.03 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.02 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 28 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะยม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะยม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ผล ใบ และ ราก โดย สรรพคุณของมะยม มีดังนี้

  • ผลมะยม สรรพคุณแก้ไอ ขับเสมหะ ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน เป็นยาระบาย ช่วยขับถ่าย รักษาเชื้อราที่ผิวหนัง แก้อาการคัน ช่วยให้ผิวขาว ป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ร่ายกาย เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค กระตุ้นการยากกินอาหาร ช่วยเจริญอาหาร
  • ใบมะยม สรรพคุณช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง แก้ผื่นคันตามผิวหนัง บำรุงตับ ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ ช่วยบำรุงผิวพรรณ  ช่วยให้ผิวพรรณสดใส ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น บำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง
  • รากมะยม สรรพคุณเป็นยาระบาย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับเหงื่อ ช่วยทำให้อาเจียน ช่วยลดความอยากกินเหล้า

โทษของมะยม

ในมะยมมีน้ำยาง ซึ่งมีความเป็นพิษ อาจทำให้ปวดท้อง ปวดศีรษะ มีอาการง่วงซึม และ รากมะยม สรรพคุณทำให้อาเจียน หากเกิดอาการอาเจียนอย่างรุนแรง อาจทำให้ร่างกายขาดน้ำ เป็นอันตรายต่อร่างกายได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย