มะกรูด สมุนไพรพื้นบ้าน ประโยชน์หลากหลาย นิยมเป็นส่วนประกอบในอาหาร ต้นมะกรูดเป็นอย่างไร สรรพคุณของมะกรูด บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด แก้เวียนหัว โทษของมะกรูดมะกรูด สมุนไพร สรรพคุณของมะกรูด สมุนไพรไทย

ต้นมะกรูด ภาษาอังกฤษ เรียก Kaffir lime ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะกรูด คือ Citrus hystrix DC. จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับตระกูลส้ม สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะกรูด เช่น มะขู มะขุน มะขูด ส้มกรูด ส้มมั่วผี เป็นต้น มะกรูดมีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด มะกรูดสามารถพบได้ทั่วไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย นิยมปลูกไว้ใช้ประโยชน์ในครัวเรือน เช่น ประกอบอาหาร ใช้ดับกลิ่นอับเหม็น ใช้ทำน้ำมันหอมระเหย และ ใช้เป็นสมุนไพรประจำบ้าน

ประโยชน์ของมะกรูด นอกจากมะกรูดจะเป็นสมุนไพร ยังมีประโยชน์ด้านต่างๆอีกมากมาย เช่น ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารไทย ต่างๆมากมาย ประกอบอาหารโรยหน้า ดับกลิ่นคาว ได้แก่ ต้มยำ แกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ ห่อหมก ทอดมัน โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง ใช้ดับกลิ่นคาวในอาหาร ประเภทเนื้อปลาได้ดี

มะกรูดใช้ไล่แมลง เช่น มอด และ มดในข้าวสาร น้ำมันหอมระเหยในรูปแบบแคปซูลเพื่อใช้ไล่แมลงและหนอนสำหรับเกษตรกร โดยเมื่อนำแคปซูลมาไว้บริเวณใกล้ต้นไม้ แล้วรดน้ำ แคปซูลจะละลาย โดยไม่เป็นพิษต่อคนและพืช แต่ไล่หนอนศัตรูพืชได้ดี เปลือกของมะกรูดมาใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง เช่น สบู่ แชมพูมะกรูดหรือยาสระผมมะกรูด ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงและแมลง ใช้เพื่อดับกลิ่นเท้าเหม็น มีกลิ่นอับเชื้อรา โดยนำมะกรูด ขิง ข่า เกลือ อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาต้มรอให้อุ่นสักนิดแล้วแช่เท้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที

มะกรูดในประเทศไทย

มะกรูดในประเทศไทยมีการใช้ประโยชน์หลากหลายทั้งในด้านการบริโภคและด้านอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และ เครื่องสำอางค์

ผิวมะกรูดเป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศ ใช้เป็นส่วนผสมของพริกแกงหลายชนิด น้ำมะกรูดถูกนำมาใช้เป็นเครื่องดื่มและการปรุงรสชาติของอาหาร สรรพคุณให้รสเปรี้ยวและดับกลิ่นคาว

การใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และเครื่องดื่ม ใบมะกรูดมักถูกนำไปใช้เป็นสารกันเสียในผลิตภัณฑ์อาหารและยังทำให้เกิดความอยากรับประทานอาหาร ส่วนน้ำมะกรูดและผิวของผลมะกรูด ส่วนมากจะใช้ปรุงรสชาติและแต่งกลิ่นอาหาร และการใช้มะกรูดในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง สามารถใช้ประโยชน์ในการบำรุงหนังศีรษะ และกระตุ้นการงอกของรากผม และช่วยขจัดรังแค มะกรูดถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์แชมพู

ลักษณะของต้นมะกรูด

ต้นมะกรูด เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก เนื้อไม้เป็นเนื้อแข็ง สมารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ การทาบกิ่ง การตอนกิ่ง ลักษณะของต้นมะกรูด มึดังนี้

  • ลำต้นมะกรูด ลักษณะเป็นพุ่ม เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาลอ่อน แตกกิ่งก้านจำนวนมาก กิ่งของมะกรูดมีหนามแหลมยาว
  • ใบมะกรูด ลักษณะเป็นใบประกอบ ออกเป็นใบเดี่ยว ใบมะกรูดลักษณะหนา เรียบ ผิวมัน สีเขียว ใบมีกลิ่นหอม
  • ดอกมะกรูด ลักษณะดอกเป็นช่อ มีสีขาว ดอกออกบริเวณส่วนยอดและตามซอกใบ กลีบดอกสีขาว มีขนปกคลุม
  • ผลมะกรูด คล้ายผลส้มซ่า ขนาดใหญ่กว่าลูกมะนาวเล็กน้อย เปลือกผลค่อนข้างหนา ผิวเปลือกสีเขียวเข้ม ผิวผลขรุขระเป็นลูกคลื่น

คุณค่าทางโภชนาการของมะกรูด

การนำมะกรูดมารับประทานเป็นอาหาร สามารถใช้ประโชยน์ได้หลากหลาย ทั้ง ใบมะกรูด ผลมะกรูด และ น้ำมะกรูด ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของมะกรูดส่วนต่างๆ มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบมะกรูด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 171 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 6.8 กรัม ไขมัน 3.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.0 กรัม กากใยอาหาร 8.2 กรัม แคลเซียม 1672 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.8 มิลลิกรัม วิตามินเอ 303 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.35 มิลลิกรัม ไนอาซิน 1.0 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 20 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของผิวผลมะกรูด ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 21.3 กรัม โปรตีน 2.8 กรัม ไขมัน 1.1 กรัม กากใยอาหาร 3.4 กรัม แคลเซียม 322 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.7 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.13 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 115 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของน้ำมะกรูด ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 10.8 กรัม โปรตีน 0.6 กรัม ไขมัน 0 กรัม แคลเซียม 20 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.02 มิลลิกรัม วิตามินบี2 58 มิลลิกรัม และวิตามินซี 55 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะกรูด 

สำหรับมะกรูดในด้านบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากผลมะกรูด ใบมะกรูด รากมะกรูด และ ลำต้นมะกรูด ซึ่งสรรพคุณของมะกรูด มีรายละเอียด ดังนี้

  • ผลมะกรูด สรรพคุณแก้วิงเวียนศรีษะ ช่วยขับพยาธิ บำรุงกำลัง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ บำรุงเลือด ช่วยขับระดู ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้แก้ไอ ขับเสมหะ
  • ใบมะกรูด สรรพคุณช่วยขับลม แก้อาเจียน
  • รากมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียด บำรุงเลือด
  • ลำต้นมะกรูด สรรพคุณแก้จุกเสียด บำรุงเลือด

โทษของมะกรูด

น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด หากใช้กับผิวหนังในปริมาณที่มาก ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสง เพราะอาจทำให้เกิดพิษกับผิวหนังได้ ส่วนน้ำมะกรูดมีความเป็นกรดสูง ไม่ควรรับประทานขณะท้องว่าง เพราะ อาจทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหารได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ส้มโอ ผลไม้แสนอร่อย พืชเศรษฐกิจ ต้นส้มโอ คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ สรรพคุณของส้มโอ เช่น ขับสารพิษในร่างกาย บำรุงสายตา บำรุงกำลัง โทษของส้มโอมีอะไรบ้างส้มโอ ผลไม้ สมุนไพร สรรพคุณส้มโอ

ต้นส้มโอ ภาษาอังกฤษ เรียก Pomelo ชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มโอ คือ Citrus maxima (Burm.) Merr. เป็นพืชตระกูลส้ม  สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของส้มโอ เช่น มะขุน มะโอ (เหนือ) โกร้ยตะลอง (ภาษาเขมร)  ลีมาบาลี (ยะลา) และ สังอู (กะเหรี่ยง) เป็นต้น ส้มโอ มีต้นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจัดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย

ส้มโอในประเทศไทย

ส้มโอ เป็นพืชชนิดหนึ่ง นิยมรับประทานผลส้มโอเป็นผลไม้ จัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกส้มโอเชิงพาณิชย์เพื่อบริโภคภายในประเทศ สำหรับการปลูกส้มโอในประเทศไทยในช่วงแรกๆ มีการปลูกบริเวณที่ราบลุ่มรอบๆแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมากมีการแพร่กระจายการปลูกทั่วภาคกลาง ประเทศไทยถือว่าเป็นที่มีการปลูกส้มโอที่มากที่สุดในโลก และ มีสายพันธ์ส้มโอที่มีมากที่สุดในโลกเช่นกัน แหล่งปลูกส้มโอของประเทศไทยในปัจจุบัน คือ จังหวัดชุมพร นครปฐม นครศรีธรรมราช เชียงใหม่ และ เชียงราย

สายพันธุ์ส้มโอ

ประเทศไทยเป็นแหล่งปลูกส้มโอ และ มีสายพันธ์ส้มโอที่หลากหลาย ซึ่งแหล่งปลูกส้มโอที่สำคัญ คือ ที่ราบลุมภาคกลาง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม สำหรับสายพันธ์ส้มโอที่นิยมปลูกทางการค้า มี 7 สายพันธ์ ประกอบด้วย ส้มโอทับทิมสยาม ส้มโอทองดี ส้มโอขาวน้ำผึ้ง ส้มโอขาวใหญ่ ส้มโอขาวพวง ส้มโอขาวแตงกวา ส้มโอท่าข่อย และ ส้มโอปัตตาเวีย รายละเอียด ดังนี้

  • ส้มโอสายพันธุ์ทับทิมสยาม เป็นส้มโอที่ปลูกมากในจังหวัดนครศรีธรรมราช ลักษณะพิเศษ คือ เนื้อส้มโอสีแดงเข้ม รสหวาน กลิ่นหอม เนื้อนุ่ม เปลือกบาง
  • ส้มโอสายพันธุ์ทองดี เป็นส้มโอที่ปลูกมากในจังหวัดนครปฐม ลักษณะพิเศษ คือ ผลโต กลม ไม่มีจุก รสหวาน ฉ่ำน้ำ เนื้อเป็นสีชมพู
  • ส้มโอสายพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ลักษณะพิเศษ คือ ผลใหญ่ กลมสูง และ ก้นเรียบ
  • ส้มโอสายพันธุ์ขาวใหญ่ เป็นส้มโอที่นิยมปลูกในจังหวัดสมุทรสงคราม ลักษณะพิเศษ คือ เนื้อขาวอมเหลือง รสเปรี้ยวอมหวานมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีเมล็ดน้อย
  • ส้มโอสายพันธุ์ขาวพวง สายพันธ์นี้เป็นสายพันธ์ดังเดิม ลักษณะพิเศษ คือ ผลกลม มีจุกสูง ผิวเรียบ สีเปลือกเขียวอ่อนอมเหลือง และ มีเมล็ดน้อย
  • ส้มโอสายพันธุ์ขาวแตงกวา เป็นส้มโอที่นิยมปลูกในจังหวัดชัยนาท ลักษณะพิเศษ คือ ผลขนาดกลาง กลมแป้น เปลือกบาง และ เนื้อสีขาว
  • ส้มโอสายพันธุ์ท่าข่อย เป็นส้มโอสายพันธ์พื้นเมืองของจังหวัดพิจิตร
  • ส้มโอสายพันธุ์ปัตตาเวีย เป็นส้มโอของทางภาคใต้

ความเชื่อเกี่ยวกับส้มโอ
ส้มโอ เป็นผลไม้ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องถิ่น เนื่องจากส้มโอจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีความอุดมณ์สมบรู์ ดินดี น้ำดี จึงมีการนำส้มโอมาเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชิวิต รวมถึงพิธีกรรมต่างๆในสังคม เช่น พิธีไหว้พระจันทร์ของชาวจีน จะใช้ส้มโอเป็นเครื่องเซ่นไหว้สำคัญ นอกจากนั้น ส้มโอ เป็นสัญลักษณ์แทนศีรษะของชาวจีนที่เสียชีวิตในการกู้ชาติ อีกด้วย

ลักษณะของต้นส้มโอ

ต้นส้มโอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง นิยมรับประทานผลส้มโอเป็นอาหาร สำหรับการขยายพันธ์ส้มโอสามารถใช้การเพาะเมล็ดพันธ์ การติดตา การตอนกิ่ง และ การเสียบกิ่ง ลักษณะของต้นส้มโอ มีดังนี้

  • ลำต้นส้มโอ ลักษณะของลำต้นเป็นทรงไม่แน่นอน เหลี่ยมบ้าง กลมบ้าง ความสูงของลำต้นประมาณ 10 เมตร แตกกิ่งก้านมากมาย มีขนปกคลุมตามลำต้น ลำต้นเป็นทรงพุ่ม เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลอมเทา เนื้อไม้ค่อนข้างเหนียว
  • ใบส้มโอ ลักษณะเป็นใบเลี้ยงคู่ เรียงสลับกันตามกิ่ง ใบส้มโอมีขนาดใหญ่ สีเขียวเข้ม ใบหนา และเป็นมัน รูปร่างคล้ายรูปไข่ยาว ปลายใบมน และ ใบมีรอยเว้าตรงกลางเป็นรูปหัวใจ ขอบใบหยักเล็กน้อย มีขนนุ่มปกคลุม
  • ดอกส้มโอ ลักษณะเป็นช่อ ออกดอกเดี่ยว ดอกออกบริเวณปลายกิ่งอ่อน ดอกมีขนาดใหญ่ กลีบดอกสีขาว กลีบดอกมีรูปหอก กลีบดอกหนา ดอกส้มโอจะออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคมของทุกปี
  • ผลส้มโอ เจริญเติบโตจากดอกส้มโอ ผลส้มโอสามารถเก็บผลผลิดประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคมของทุกปี ลักษณะผลค่อนข้างกลม ผลมีขนาดใหญ่ ผลอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนผลสุกมีสีเขียวอมเหลือง เปลือกของผลหนา มีต่อมน้ำมันจำนวนมาก  ส่วนเนื้อผลแบ่งออกเป็นกลีบๆเรียงติดกันเป็นวงกลม ภายในกลีบจะฉ่ำน้ำให้รสหวานอมเปรี้ยว
  • เมล็ดส้มโอ อยู่ในผลส้มโอ เมล็ดส้มโอลักษณะแบน เปลือกเมล็ดมีสีเขียวอมเหลือง และเป็นร่องลึก

คุณค่าทางโภชนาการของส้มโอ

สำหรับการรับประทานส้มโอเป็นอาหาร นิยมรับประทานเนื้อของผลส้มโอ นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของส้มโอขนาด 100 กรัม พบว่า ให้พลังงานมากถึง 38 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.62 กรัม กากใยอาหาร 1 กรัม ไขมัน 0.04 กรัม โปรตีน 0.76 กรัม วิตามินบี1 0.034 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.22 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.036 มิลลิกรัม วิตามินซี 61 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 4 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.11 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 6 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.017 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 17 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 216 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.08 มิลลิกรัม

สรรพคุณของส้มโอ

สำหรับการใช้ประโยชน์จากส้มโอ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ผลส้มโอ เปลือกส้มโอ ใบส้มโอ รากส้มโอ เมล็ดส้มโอ และ ดอกส้มโอ สรรพคุณของส้มโอ ดังนี้

  • ผลส้มโอ สรรพคุณช่วยขับสารพิษในร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเหงือและฟัน แก้เมาสุรา แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม
  • เปลือกส้มโอ สรรพคุณแก้ไอ แก้เวียนหัว ขับเสมหะ ช่วยให้เลือดไหลเวียนดี แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยขับลม แก้อาการคัน รักษาโรคผิวหนัง รักษาฝี ช่วยต้านเชื้อโรค
  • ใบส้มโอ สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปวดบวม
  • รากส้มโอ สรรพคุณแก้ไข้หวัด แก้ไอ แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยต้านเชื้อโรค
  • เมล็ดส้มโอ สรรพคุณแก้ไข้หวัด แก้ไอ แก้จุกเสียดแน่นท้อง แก้ปวดท้อง ช่วยต้านเชื้อโรค
  • ดอกส้มโอ สรรพคุณช่วยขับเสมหะ ช่วยขับลม แก้ปวดท้อง

โทษของส้มโอ 

สำหรับส้มโอ เปลือกส้มโอมีน้ำมันมาก ไม่สามารถรับประทานได้ หากน้ำมันหอมระเหยเข้าตาทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา หากรับประทานทำให้เกิดอาการเวียดศรีษะ อาเจียนได้ รวมถึงเมล็ดส้มโอ มีความขมมาก หากรับประทานเข้าไปอาจทำให้อาเจียนได้

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย