สารส้ม ใช้แกว่งในบ่อเก็บน้ำให้สิ่งสกปรกตกตะกอน ใช้กำจัดกลิ่นตัวโดยเฉพาะใต้วงแขน ดับกลิ่นได้ นิยมใช้ดองผักเพื่อให้ผักดองมีความกรอบ มีพิษในการกินค่อนข้างน้อย

สารส้ม Alumen

ประเภทของสารส้ม

สำหรับ สารส้ม มาจากภาษาละติน คำว่า Alumen แปลว่า สารที่ทำให้หดตัว เป็นเกลือเชิงซ้อน ที่มีธาตุอะลูมิเนียม และ ซัลเฟต เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งประเภทของสารส้มสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท ประกอบด้วย

  • อะลูมิเนียมซัลเฟต ซึ่งสารส้มประภทนี้มีลักษณะเป็นก้อนผงสีขาว
  • โพแทสเซียมอะลั่ม ซึ่งสารส้มประเภทนี้มีลักษณะเป็นผลึกใสไม่มีสี
  • แอมโมเนียมอะลั่ม ซึ่งสารส้มประเภทนี้มีลักษณะเป็นผลึกใสไม่มีสี

ลักษณะของสารส้ม

สารส้มมีลักษณะเป็นผลึกใส สีขาว ไม่มีกลิ่น รสฝาด สามารถบดเป็นผงสีขาวได้ สารส้ม ลักษณะคล้ายน้ำตาลกรวด หากดูไม่ละเอียด ก็แยกไม่ออก องค์ประกอบทางเคมีของสารส้ม เป็นเกลือซัลเฟตของอะลูมิเนียม มี 2 ชนิด คือ เกลือโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (K2SO4.Al2(SO4)3.24 H2O และ เกลือแอมโมเนียมอะลูมิเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4.Al2(SO4)3.24 H2O

คุณสมบัติของสารส้ม

  • ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
  • ไม่เปื้อนเสื้อผ้า
  • ปลอดภัยต่อร่างกายไม่ทำให้รูขุมขนอุดตัน
  • ไม่ซึมเข้าร่างกาย
  • ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  • ไม่เสื่อมสภาพคงทนต่อสภาพแวดล้อม

สรรพคุณของสารส้ม

สำหรับประโยชน์ของสารส้ม ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ตามตำราแพทย์แผนไทย สมุนไพร บอกว่า สารส้มมีรสฝาด เปรี้ยว ช่วยสมานแผล แก้ระดูขาว รักษาหนองใน รักษาแผลหนองเรื้อรัง ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับนิ่ว รักษาปอดอักเสบ ช่วยฟอกเลือด รักษาอาการเหงือกบวม รักษาแผลในปากลำคอ ช่วยห้ามเลือด ทำให้หนองแห้ง บรรเทาอาการไอ ทำให้ชุ่มคอ ขับเสมหะ

ประโยชน์ของสารส้ม

สำหรับการใช้ประโยชน์ของสารส้ม นอกจากใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกายแล้ว สารส้มสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆอีก มีรายลเอียด ดังนี้

  • ใช้ระงับกลิ่นตัว โดนใช้สารส้มแกว้งในน้ำ ใช้ผ้าชุบน้ำที่แกว่งสารส้ม เช็ดตามตัว ช่วยดับกลิ่นตัวได้
  • ใช้ชุบไส้ตะเกียง ทำให้ไม่มีควัน
  • ใช้ดับกลิ่นคาวของอาหาร โดยใช้สารส้มล้าปลา
  • ใช้ถนอมอาหาร สารส้มแกว่งในน้ำช่วยให้ ถั่วงอก พริก สดตลอดเวลา หรือ ใช้เป็นสารกันบูด โดยใช้สารสมผสมแป้งเปียก ช่วกันอาหารบูด
  • ทำให้น้ำใส โดยใช้สารส้มแกว่งในน้ำ
  • ทำให้สีติดผ้าและกระดาษ ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษ และ การย้อมสีผ้า
  • ช่วยให้พริกขี้หนูดูสดใส เก็บไว้ได้หลายวัน โดยการนำพริกขี้หนูแช่ในน้ำสารส้มสักพัก แล้วนำมาผึ่งไว้ ก่อนทานก็ควรล้างพริกเสียก่อน
  • นำสารส้มมาทาส้นเท้า ช่วยป้องกันส้นเท้าแตกได้
  • ป้องกันยุงกัน น้ำสารส้มนำมาทาผิวป้องกันอาการคันจากยุงกัดได้

โทษของสารส้ม

สำหรับการใช้ประโยชน์ของสารส้ม หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมจะเกิดประโชยน์ ซึ่งโทษของสารส้ม มีรายละเอียด ดังนี้

  • สารส้ม มีฤทธิ์เป็รพิษ หากกินเข้าไป จะทำให้คลื่นไส้อาเจียน ปวดหัว
  • การกินน้ำที่มีสารส้ม ทำให้ร่างกายดูดซึมอลูมิเนียมแพร่กระจายเข้าสู่ระบบเลือด ปอด ตับ กระดูก และ สมอง อาจทำให้ไตเสื่อมได้ สารส้มที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำดื่ม อาจทำให้เกิดอาการอาเจียน ท้องร่วง ทำลายเนื้อเยื่อของประสาทได้

แหล่งอ้างอิง

  • นิตยสารชีวจิต ฉบับวันที่ 1 สิงหาคม 2550
  • ผู้จัดการออนไลน์, คำให้สัมภาษณ์ นพ.นิพนธ์ โพธิ์พัฒนชัย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 12 พฤศจิกายน 2555

ตะไคร้ นิยมนำมาประกอบอาหาร ต้นตะไคร้เป็นอย่างไร สรรพคุณของตะไคร้ เช่น ช่วยเจริญอาหาร ลดความดัน แก้ปวดท้อง ลดไข้ โทษของตะไคร้เป็นอย่างไรตะไคร้ สมุนไพร สรรพคุณของตะไคร้

ตะไคร้ สมุนไพร เป็นไม้ล้มลุกวงศ์เดียวกันกับหญ้า มีอายุมากกว่า 1 ปี มีถิ่นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว มาเลเชีย อินโดนีเชีย เป็นต้น เป็นพืชที่มีสารอาหารและวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก

ตะไคร้ ภาษาอังกฤษ เรียก Lemon grass ชื่อวิทยาศาสตร์ของตะไคร้ คือ Cymbopogon citratus (DC.) สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของตะไคร้ เช่น คาหอม ไคร จะไคร เชิดเกรย หัวสิงไค เหลอะเกรย ห่อวอตะโป เฮียงเม้า เป็นต้น ตะไคร้สามารถพบได้ทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งตะไคร้ที่นิยมปลูก มี 6 ชนิด คือ ตะไคร้หอม ตะไคร้ต้น ตะไคร้กอ ตะไคร้น้ำ ตะไคร้หางนาค และ ตะไคร้หางสิงห์

ประโยชน์ของตะไคร้ นอกจากนำมาเป็นอาหารและทำยา ยังสามารถนำตะไคร้มาใช้ประโยชน์ได้จากกลิ่นเฉพาะตัวได้ เช่น ทำเครื่องดื่ม นำน้ำมันหอมระเหยมาเป็นส่วยประกอบของยานวด ทำน้ำยาหมักผมบำรุงเส้นผม นำมาทำเป็นยากันยุง เป็นต้น

ลักษณะของต้นตะไคร้ 

ต้นตะไคร้ เป็นพืชล้มลุกที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว อายุเกิน 1 ปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำ และ แยกหน่อ ลักษณะของต้นตะไคร้ มีดังนี้

  • ลำต้น ลักษณะลำต้นตั้งตรง รูปทรงกระบอก ความสูงประมาณ 30-60 เซ็นติเมตร โคนลำต้นมีกาบใบหุ้มหนา ผิวเรียบ และมีขนอ่อนปกคลุม
  • ใบ ลักษณะของใบตะไค มี 3 ส่วน คือ ก้านใบ หูใบ และใบ ซึ่งใบตะไคร้เป็นใบเดี่ยว มีสีเขียว เรียวยาว ขอบใบคม ผิวใบสากมือ และมีขนปกคลุม
  • ดอกตะไคร้ ลักษณะดอกออกเป็นช่อ มีก้านช่อดอกยาว และมีก้านช่อดอกย่อยเรียงเป็นคู่ๆ ในแต่ละคู่จะมีใบประดับรองรับ มีกลิ่นหอม ดอกมีขนาดใหญ่คล้ายดอกอ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้

สำหรับการบริโภคตะไคร้เป็นอาหาร นิยมใช้ส่วยของลำต้น ซึ่งจะมีกลิ่นหอม รสเผ็ดร้อน นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของตะไคร้ ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง  143 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 1.2 กรัม ไขมัน 2.1 กรัม คาร์โบไฮเดรต 29.7 กรัม กากใยอาหาร 4.2 กรัม แคลเซียม 35 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 2.6 มิลลิกรัม วิตามินเอ 43 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.05 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม ไนอาซิน 2.2 มิลลิกรัม และ วิตามินซี 1 มิลลิกรัม

น้ำมันหอมระเหยจากใบและลำต้นของตะไคร้ มีสารซิทราล ( Citral ) มากที่สุดประมาณร้อยละ 75 นอกจากนั้นยังประกอบด้วย ทรานซ์ไอโซซิทราล ( Trans-isocitral ) ไลโมเนน ( Limonene ) ยูจีนอล ( Eugenol ) ลินาลูล ( Linalool ) เจอรานิออล ( Geraniol ) คาริโอฟิวลีนออกไซด์ ( Caryophyllene oxide ) เจอรานิล อะซิเตท ( Geranyl acetate ) 6-เมทิล 5-เฮพเทน-2-วัน ( 6-Methyl 5-hepten-2-one ) 4-โนนาโนน ( 4-Nonanone ) เมทิลเฮพทีโนน ( Methyl heptennone ) ซิโทรเนลลอล ( Citronellol ) ไมร์ซีน ( Myrcene ) และ การบูร ( Camphor )

สรรพคุณของตะไคร้ 

สำหรับการใช้ประโชยน์จากตะไคร้ ในด้านการบำรุงร่างกายและรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ทั้งต้น เหง้า ราก ลำต้น และ ใบ สรรพคุณของตะไคร้ มีรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของตะไคร้ สรรพคุณแก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ เจริญอาหาร ขับเหงื่อ ไล่แมลง
  • เหง้านตะไคร้ สรรพคุณรักษาโรคผิวหนัง รักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับปัสสาวะ ลดความดันสูง
  • ใบตะไคร้ สรรพคุณแก้กษัยเส้น ช่วยลดความดันโลหิตสูง ลดไข้
  • รากตะไคร้ สรรพคุณลดไข้ ปวดท้อง แก้ท้องเสีย
  • ลำต้นตะไคร้ สรรพคุณช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร บำรุงเส้นผม
  • น้ำมันตะไคร้ สรรพคุณช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก ไล่แมลง

น้ำตะไคร้

สำหรับการทำน้ำตะไคร้ สามารถทำได้ โดย เตรียมตะไคร้สด 1 ต้น ต่อ 1 แก้ว นำมาล้างน้ำให้สะอาด ทุบให้แตก เพื่อให้น้ำมันหอมระเหยออกมา นำมาหั่นเป็นท่อน เพื่อง่ายต่อการต้ม หากต้องการเพิ่มกลิ่นหอมมากขึ้น สามารถเพิ่มใบเตย ประมาณ 3 ใบ มัดรวมกัน แล้วใส่เพิ่มขณะต้มได้ ตั้งน้ำเดือน ใส่ตะไคร้หั่นที่เตรียมไว้ เคี่ยวจนได้น้ำสีเขียวออกมา ตั้งทิ้งไว้พออุ่น แนะนำดื่มเลย จะดีต่อสุขภาพมากที่สุด แต่หากไม่ชินกับรส สามารถเติมน้ำตาลได้ตามชอบ

โทษของตะไคร้

สำหรับการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ ต้องเลือกใช้อย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม มีข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากตะไคร้ มีดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ ไม่ควรนำมารับประทาน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองช่องปากและลำคอ ทำให้เกิดอาการอาเจียน และ หากกินมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ อย่างไรก็ตามการรับประทานตะไคร้สดๆไม่มีรายงานว่ามีอันตราย แต่การรับประทานในประมาณที่มากเกินไปก็ไม่เป็นที่นิยมเช่นกัน

ตะไคร้ เป็นพืชตระกูลหญ้า ตะไคร้เป็นพืชที่เจริญเติบโตง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงถึง 1 เมตร มีลำต้นที่แท้จริงประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มไปด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมนำมาปลูกเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกกันโดยทั่วไป

แหล่งอ้างอิง

  • https://th.wikipedia.org/wiki/ตะไคร้
  • “Cymbopogon citratus information from NPGS/GRIN”. www.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-20. สืบค้นเมื่อ 2008-03-02.
  • https://puechkaset.com/ตะไคร้
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย