เกลือ Salt สมุนไพร วัตถุดิบสำคัญในการทำอาหาร เพิ่มรสชาติ ช่วยถนอมอาหาร เกลือมีค่ามากในสมัยโบราณ สมุนไพร การรักษาโรค ร่างกายมนุษย์ต้องการเกลือในปริมาณที่เหมาะสม

เกลือ เกลือหิน สมุนไพร

ในธรรมชาติ เกลือจะก่อตัวเป็นผลึก เรียก เกลือหิน เกลือพบว่ามีจำนวนมากมหาสารในทะเล เกลือเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตสัตว์ ซึ่งใช้ในปรุงรสหาง่ายที่สุด นิยมใช้ถนอมอาหารด้วย เป็นวัตถุดิบหลักในการปรุงอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ต้ม ผัด แกง ประโยชน์ของเกลือมีมากมาย เกลือหิน พบมากในภาคอีสาน ซึ่งเป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่า น้ำทะเลที่เคยไหลท่วมภาคอีสานและได้ถูกปิดกั้นด้วยเทือกเขาจากการยกตัวของเทือกเขาภูพานทางตอนกลางของภาคอีสาน ซึ่งได้ทำให้เกิดการแบ่งดินแดนอีสานเป็น 2 ส่วน ทำให้พบแร่เกลือหิน และแร่โปแตชชนิดคาร์นัลไลท์ จำนวนมาก บริเวณที่พบแร่เกลือหินและแร่โปแตช มีลักษณะเป็นแอ่งคล้าย ๆ ก้นกระทะ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แอ่ง คือ

  • แอ่งเหนือ หรือ แอ่งสกลนคร (Sakonnakhon Basin) อยู่ทางตอนเหนือ ของ ที่ราบสูงโคราช คลุมพื้นที่ของ จังหวัดอุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม เป็นเนื้อที่ประมาณ 17,000 ตารางกิโลเมตร
  • แอ่งใต้ หรือ แอ่งโคราช (Khorat Basin) อยู่ทางตอนใต้ ของที่ราบสูงโคราช คลุมพื้นที่ของจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ เป็นเนื้อที่ ประมาณ 33,000 ตารางกิโลเมตร

สายเคมีที่พบในเกลือ ประกอบด้วย โซเดียมคลอไรด์ ( Sodium Chlorid e) โปแตสเชียม ( Potassium ) แมกเนเชียม (  Magnesium ) และ แคลเซียม ( Calcium ) โซเดียมก็จะถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกาย ซึ่งผลต่อปริมาณน้ำในร่างกาย เกลือจะถูกขับออกนอกร่างกายผ่านทางการทำงานของไต ทางปัสสาวะ และ เหงื่อ เกลือเป็นสารสำคัญในการสร้างกรดของร่างกาย

คุณสมบัติของเกลือ

  • สีของเกลือ ส่วนมากเกลือจะมีลักษณะ ใส ไม่มีสี เกลือที่มีสีก็มีเช่นกัน เช่น เกลือสีเหลือง ( โซเดียมโครเมต ) เกลือสีส้ม ( โพแทซเซียมไดโครเมต ) เกลือสีฟ้า ( คอปเปอร์ซัลเฟตเพนตะไฮเดรต ) เกลือสีม่วง ( โฟแทซเซียมเปอร์แมงกาเนต ) เกลือสีเขียว ( นิคเกิลคลอไรด์เฮกซะไฮเดรต ) เกลือสีขาว ( โซเดียมคลอไรด์ ) เกลือไม่มีสี ( แมกนีเซียมซัลเฟตเฮปตะไฮเดรต ) และ เกลือสีดำ ( แมงกานีสไดออกไซด์ )
  • รสชาติของเกลือ เกลือจะมีรสเค็ม
  • กลิ่นของเกลือ เกลือไม่มีกลิ่น แต่เป็นกรดและเบสอ่อนๆ
ประโยชน์จากการกินเค็ม
  • ช่วยปรับระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • ช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร ช่วยเจริญอาหาร ทำให้เพิ่มความอยากรับประทาน มากขึ้น
  • ช่วยปรับระดับเกลือแร่ในร่างกายให้เกิดความสมดุล
  • เกลือช่วยทำความสะอาด และ กำจัดคราบต่างๆได้

สรรพคุณของเกลือ

สำหรับการใช้ประโยชน์ของเกลือ ด้านการบำรุงร่างกายและ การรักษาโรคนั้น มีมากมาย เกลือมีคุณสมบัติเป็นยาเย็น รสเค็ม สรรพคุณดับร้อน ถอนพิษ ช่วยระบาย ระงับการอาเจียน แก้คอแห้ง ลดการกระหายน้ำ ช่วยให้ปัสสาวะมากขึ้น แก้ท้องผูก รักษาโรคเหงือกและฟัน แก้แมลงสัตว์กัดต่อย รักษาเลือดออกตามไรฟัน รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการคัน ใช้ล้างแผล แก้เจ็บคอ แก้ตาแดง  ป้องกันผมร่วง รักษาโรคกระเพาะ แก้เผ็ด

โทษของเกลือ

  • การกินอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือในปริมาณที่มาก ทำให้ไตทำงานหนัก ส่งผลต่อเลือด และ ระบบการกรองของเสียออกจากร่างกาย
  • ผู้ป่วยโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ ต้องลดการกินอาหารเค็ม เพราะจำทำให้ระดับน้ำในร่างกายสูง
  • ผู้หญิงที่อยู่ช่วงก่อนมีประจำเดือน ควรงดรับประทานเกลือ เพื่อป้องกันอาการบวมน้ำและท้องอืด
  • การรับประทานอาการที่มีเกลือมากๆ ชอบกินเค็ม ทำให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานหนักขึ้น เพื่อกำจัดเกลือ ผนังกระเพาะอาหารอักเสบ เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควรลดเกลือ หากร่างกายได้รับเกลือมากเกิน จะเพิ่มความดันโลหิตใรร่างกาย ผู้สูงอายุ และ คนที่มีผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง ต้องลดการกินอาหารเค็ม

เกลือ ( Salt ) คือ แร่ธาตุ ที่มีรสเค็ม สมุนไพรประเภทแร่ธาตุ เกลือ นิยมนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ทั้งด้านสมุนไพร และ การรักษาโรค ร่างกายของมนุษย์ต้องการเกลือในปริมาณที่เหมาะสม ประโยชน์และโทษของเกลือ สรรพคุณของเกลือ

แหล่งอ้างอิง

    • WHO issues new guidance on dietary salt and potassium”. WHO. 31 January 2013.
    • กรมทรัพยากรธรณี 2548. โครงการศึกษาปัจจัยทางธรณีวิทยาที่ทำให้เกิดดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2547 สำนักทรัพยากรแร่ กรมทรัพยากรธรณี 277 หน้า.
    • เจริญ เพียรเจริญ. 2515. แหล่งเกลือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ข่าวารสารกรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี.
    • เด่นโชค มั่นใจ. 2545. ทบทวนงานศึกษาธรณีวิทยา บริเวณที่ราบสูง โคราช รายงานสัมมนา ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
    • ธวัช จาปะเกษตร์ 1985. การสำรวจแร่เกลือหินและโพแทชภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย Proceedings of the Conference on Geology and Mineral Resources Development of the Northeast, Thailand. Department of Geotechnology, Khon Kaen University, 26-29 November, Khon Kaen, Thailand.
    • พิทักษ์ รัตนจารุรักษ์. 2542. แหล่งแร่เกลือหินในประเทศไทย. วารสารเศรษฐธรณีวิทยา ปีที่ 1 ฉบับที่ 10.
    • พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

กระชาย สมุนไพร ฉายา โสมไทย นิยมนำเหง้ากระชายมาทำยาและอาหารรับประทาน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับเหงื่อ อยู่ในสูตรยาสมุนไพรโบราณมากมาย ต้นกระชายเป็นอย่างไรกระชาย สมุนไพร โสมไทย

ต้นกระชาย ภาษาอังกฤษ เรียก Fingerroot ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ Boesenbergia pandurata (Roxb. ) Schitr สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ ขิงทราย ขิงแดง ขิงกระชาย กะแอน จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ เป๊าะสี่ ระแอน เป๊าะซอเร้าะ ขิงจีน เป็นต้น กระชาย มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประโยชน์ของกระชาย รากกระชายเป็นแหล่งสะสมสารอาหารมากมาย เรียกว่า นมกระชาย รากกระชายมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว กระชายนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร หลากหลายชนิด ทั้งน้ำพริกแกง แกง ผัด ซึ่งคุณสมบัติหนึ่งของกระชายชวยดับกลิ่นคาวของอาหาร นอกจากนั้นในตำรายาแผนโบราณ ใช้รักษาปากเป็นแผล ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ เป็นต้น สำหรับกระชายนั้นมี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลือง ส่วนกระชายที่นิยมใช้กัน คือ กระชายเหลือง และกระชายดำ

ชนิดของกระชาย

สำหรับกระชาย ทีนิยมปลูกกัน มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายดำ ลักษะณะของเนื้อหัวกระชายจะมีสีดำ รสเผ็ดร้อน
  • กระชายแดง ลักษณะทั่วไปเหมือนกันกับกระชายเหลือง แต่จะแตกต่างกันตรงเหง้าและเนื้อด้านในของเหง้า โดยเนื้อจะมีสีเหลืองแกมส้ม
  • กระชายเหลือง ลักษณะของกระชายเหลือง เนื้อด้านในของหัวกระชาย มีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาทำอาหาร

ลักษณะของต้นกระชาย 

ต้นกระชาย เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน คล้ายกับ ขิง ข่า ขมิ้น สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกระชาย มีดังนี้

  • เหง้ากระชาย อยู่ใต้ดิน เหง้าสั้น แตกหน่อได้ รูปทรงกระบอกยาว ปลายเรียว ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
  • ใบกระชาย ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบแทงออกมาจากเหง้ากระชาย ใบทรงรียาว โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ สีเขียว
  • ดอกกระชาย ลักษณะดอกเป็นช่อ ก้านดอกแทงออกมาจากเหง้ากระชาย มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน ๆ ดอกเป็นรูปหอกกลีบเลี้ยงมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน
  • ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย

สำหรับการรับประทานกระชายนิยมรับประทานส่วนเหง้าเป็นอาหาร นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระชาย ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 2 กรัม ไขมันอิ่มตัว 0.2 กรัม โพแทสเซียม 415 มิลลิกรัม โซเดียม 13 กรัม คาร์โบไฮเดรต 17.8 กรัม วิตามินบี6 ร้อยละ 8 วิตามินซี ร้อยละ 8 โปรตีน 1.8 กรัม และ น้ำตาล 1.7 กรัม

สรรพคุณของกระชาย 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระชายด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากเหง้ากระชาย ใบกระชาย และ น้ำมันกระชาย สรรพคุณของกระชาย มีดังนี้

  • ใบกระชาย สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้โลหิตเป็นพิษ รักษาแผลปากเปื่อย ช่วยถอนพิษ
  • น้ำมันกระชาย สรรพคุณรักษาเชื้อราที่หนังศีรษะ
  • เหง้ากระชาย สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้เวียนหัว เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกระดูก ปรับความสมดุลย์ของฮอร์โมนร่างกาย บำรุงสมอง ลดความดัน รักษาแผลปากเปื่อย แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยขับระดู ช่วยขับน้ำคาวปลา แก้ปวดเมื่อย ช่วยต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย รักษาแผลฝี ป้องกันเชื้อรา

วิธีเตรียมน้ำกระชายสำหรับดื่ม 

น้ำกระชายนอกจากจะใช้ดื่มดับกระหายได้ดี ก็ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย รักษาโรคต่างๆได้ มีวิธีการเตรียมดังนี้

  • นำกระชายเหลืองส่วนรากและเหง้า มาล้างน้ำให้สะอาด ตัดแต่งรากที่รุงรังออก ตัดส่วนหัวและส่นท้ายทิ้งไป โดยขูดเปลือกออกล้างน้ำสะอาดอีกรอบ
  • นำมาหั่นเป็นแว่น เพื่อให้ง่ายต่อการปั่นละเอียดต่อไป
  • นำมาปั่นในเครื่องปั่นและผสมกับน้ำเปล่าต้มสุก ปั่นจนละเอียด
  • เทใส่ผ้าขาวบาง หรือ กระชอน หากน้ำกระชายไม่ไหลสามารถเติมน้ำอุ่นเพิ่มได้ คั้นเอาเฉพาะน้ำเท่านั้น
  • เก็บรักษาในตู้เย็นใช้สำหรับดื่ม สามารถเก็บรักษาได้เป็นเดือน
  • เวลาดื่มให้ผสมน้ำมะนาวและน้ำผึ้งนิดหน่อยเพื่อให้ง่ายต่อการดื่ม สามารถดื่มได้ตามใจชอบ

โทษของกระชาย

ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกระชาย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ไม่ควรกินกระชายจำนวนมาก และ ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากได้ เนื่องจากกระชายมีฤทธิ์ร้อน
  • การกินกระชายในปริมาณมาก ทำให้เกิดปัญหาเหงือกร่น และ ภาวะใจสั่นได้
  • กระชาย มีผลต่อการทำงานของตับ ผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ ไม่ควรกินกระชายในประมาณมาก
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย