เกลือ Salt สมุนไพร วัตถุดิบสำคัญในการทำอาหาร เพิ่มรสชาติ ช่วยถนอมอาหาร เกลือมีค่ามากในสมัยโบราณ สมุนไพร การรักษาโรค ร่างกายมนุษย์ต้องการเกลือในปริมาณที่เหมาะสม

เกลือ เกลือหิน สมุนไพร

ในธรรมชาติ เกลือจะก่อตัวเป็นผลึก เรียก เกลือหิน เกลือพบว่ามีจำนวนมากมหาสารในทะเล เกลือเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตสัตว์ ซึ่งใช้ในปรุงรสหาง่ายที่สุด นิยมใช้ถนอมอาหารด้วย เป็นวัตถุดิบหลักในการปรุงอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ต้ม ผัด แกง ประโยชน์ของเกลือมีมากมาย เกลือหิน พบมากในภาคอีสาน ซึ่งเป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่า น้ำทะเลที่เคยไหลท่วมภาคอีสานและได้ถูกปิดกั้นด้วยเทือกเขาจากการยกตัวของเทือกเขาภูพานทางตอนกลางของภาคอีสาน ซึ่งได้ทำให้เกิดการแบ่งดินแดนอีสานเป็น 2 ส่วน ทำให้พบแร่เกลือหิน และแร่โปแตชชนิดคาร์นัลไลท์ จำนวนมาก บริเวณที่พบแร่เกลือหินและแร่โปแตช มีลักษณะเป็นแอ่งคล้าย ๆ ก้นกระทะ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แอ่ง คือ

  • แอ่งเหนือ หรือ แอ่งสกลนคร (Sakonnakhon Basin) อยู่ทางตอนเหนือ ของ ที่ราบสูงโคราช คลุมพื้นที่ของ จังหวัดอุดรธานี หนองคาย สกลนคร และนครพนม เป็นเนื้อที่ประมาณ 17,000 ตารางกิโลเมตร
  • แอ่งใต้ หรือ แอ่งโคราช (Khorat Basin) อยู่ทางตอนใต้ ของที่ราบสูงโคราช คลุมพื้นที่ของจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ และบุรีรัมย์ เป็นเนื้อที่ ประมาณ 33,000 ตารางกิโลเมตร

สายเคมีที่พบในเกลือ ประกอบด้วย โซเดียมคลอไรด์ ( Sodium Chlorid e) โปแตสเชียม ( Potassium ) แมกเนเชียม (  Magnesium ) และ แคลเซียม ( Calcium ) โซเดียมก็จะถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกาย ซึ่งผลต่อปริมาณน้ำในร่างกาย เกลือจะถูกขับออกนอกร่างกายผ่านทางการทำงานของไต ทางปัสสาวะ และ เหงื่อ เกลือเป็นสารสำคัญในการสร้างกรดของร่างกาย

คุณสมบัติของเกลือ

  • สีของเกลือ ส่วนมากเกลือจะมีลักษณะ ใส ไม่มีสี เกลือที่มีสีก็มีเช่นกัน เช่น เกลือสีเหลือง ( โซเดียมโครเมต ) เกลือสีส้ม ( โพแทซเซียมไดโครเมต ) เกลือสีฟ้า ( คอปเปอร์ซัลเฟตเพนตะไฮเดรต ) เกลือสีม่วง ( โฟแทซเซียมเปอร์แมงกาเนต ) เกลือสีเขียว ( นิคเกิลคลอไรด์เฮกซะไฮเดรต ) เกลือสีขาว ( โซเดียมคลอไรด์ ) เกลือไม่มีสี ( แมกนีเซียมซัลเฟตเฮปตะไฮเดรต ) และ เกลือสีดำ ( แมงกานีสไดออกไซด์ )
  • รสชาติของเกลือ เกลือจะมีรสเค็ม
  • กลิ่นของเกลือ เกลือไม่มีกลิ่น แต่เป็นกรดและเบสอ่อนๆ
ประโยชน์จากการกินเค็ม
  • ช่วยปรับระดับความดันโลหิต ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  • ช่วยเพิ่มรสชาติอาหาร ช่วยเจริญอาหาร ทำให้เพิ่มความอยากรับประทาน มากขึ้น
  • ช่วยปรับระดับเกลือแร่ในร่างกายให้เกิดความสมดุล
  • เกลือช่วยทำความสะอาด และ กำจัดคราบต่างๆได้

สรรพคุณของเกลือ

สำหรับการใช้ประโยชน์ของเกลือ ด้านการบำรุงร่างกายและ การรักษาโรคนั้น มีมากมาย เกลือมีคุณสมบัติเป็นยาเย็น รสเค็ม สรรพคุณดับร้อน ถอนพิษ ช่วยระบาย ระงับการอาเจียน แก้คอแห้ง ลดการกระหายน้ำ ช่วยให้ปัสสาวะมากขึ้น แก้ท้องผูก รักษาโรคเหงือกและฟัน แก้แมลงสัตว์กัดต่อย รักษาเลือดออกตามไรฟัน รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการคัน ใช้ล้างแผล แก้เจ็บคอ แก้ตาแดง  ป้องกันผมร่วง รักษาโรคกระเพาะ แก้เผ็ด

โทษของเกลือ

  • การกินอาหารที่มีส่วนผสมของเกลือในปริมาณที่มาก ทำให้ไตทำงานหนัก ส่งผลต่อเลือด และ ระบบการกรองของเสียออกจากร่างกาย
  • ผู้ป่วยโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ ต้องลดการกินอาหารเค็ม เพราะจำทำให้ระดับน้ำในร่างกายสูง
  • ผู้หญิงที่อยู่ช่วงก่อนมีประจำเดือน ควรงดรับประทานเกลือ เพื่อป้องกันอาการบวมน้ำและท้องอืด
  • การรับประทานอาการที่มีเกลือมากๆ ชอบกินเค็ม ทำให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานหนักขึ้น เพื่อกำจัดเกลือ ผนังกระเพาะอาหารอักเสบ เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ควรลดเกลือ หากร่างกายได้รับเกลือมากเกิน จะเพิ่มความดันโลหิตใรร่างกาย ผู้สูงอายุ และ คนที่มีผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรัง ต้องลดการกินอาหารเค็ม

เกลือ ( Salt ) คือ แร่ธาตุ ที่มีรสเค็ม สมุนไพรประเภทแร่ธาตุ เกลือ นิยมนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ทั้งด้านสมุนไพร และ การรักษาโรค ร่างกายของมนุษย์ต้องการเกลือในปริมาณที่เหมาะสม ประโยชน์และโทษของเกลือ สรรพคุณของเกลือ

แหล่งอ้างอิง

    • WHO issues new guidance on dietary salt and potassium”. WHO. 31 January 2013.
    • กรมทรัพยากรธรณี 2548. โครงการศึกษาปัจจัยทางธรณีวิทยาที่ทำให้เกิดดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ. 2547 สำนักทรัพยากรแร่ กรมทรัพยากรธรณี 277 หน้า.
    • เจริญ เพียรเจริญ. 2515. แหล่งเกลือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ข่าวารสารกรมทรัพยากรธรณี กรมทรัพยากรธรณี.
    • เด่นโชค มั่นใจ. 2545. ทบทวนงานศึกษาธรณีวิทยา บริเวณที่ราบสูง โคราช รายงานสัมมนา ภาควิชาเทคโนโลยีธรณี คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
    • ธวัช จาปะเกษตร์ 1985. การสำรวจแร่เกลือหินและโพแทชภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย Proceedings of the Conference on Geology and Mineral Resources Development of the Northeast, Thailand. Department of Geotechnology, Khon Kaen University, 26-29 November, Khon Kaen, Thailand.
    • พิทักษ์ รัตนจารุรักษ์. 2542. แหล่งแร่เกลือหินในประเทศไทย. วารสารเศรษฐธรณีวิทยา ปีที่ 1 ฉบับที่ 10.
    • พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

จุนสี คอปเปอร์ซัลเฟต เกลือที่เกิดจากสนิมทองแดง เป็นผลึกสีนํ้าเงิน ประโยชน์ของจุนสี รักษาแผล รักษาเหงือกและฟัน กำจัดหูด รักษาคออักเสบ รักษาแผลในตา ใช้ชุบทองแดง

จุนสี สมุนไพร สมุนไพรไทย

จุนสี หรือ คอปเปอร์ซัลเฟต สูตรทางเคมี คือ CuSO4  มีชื่อเรียกต่างๆของจุนสี เช่น หินเขียว ต๋าฮ้วง Bluestone เป็นต้น จุนสีเป็นสารประกอบของทองแดง กำมะถัน และ ออกซิเจน เกลือจุนสี นั้นพบได้หลายรูปแบบมีสีฟ้าสด มีประโยชน์เป็นสารปราบวัชพืช สารกำจัดสัตว์และแมลงรบกวน สารฆ่าเชื้อรา

จุนสี พบได้ในธรรมชาติ พบในเหมืองทองแดง ผลึกจุนสี ใช้โลหะทองแดง หรือ สนิมทองแดง ทำปฏิกิริยากับกรดกำมะถัน คนทั่วไปจึงมักเข้าใจผิดว่า จุนสี คือ สนิมทองแดง จุนสี เป็นของดี และ บริสุทธิ์ไม่มีสิ่งเจือปน จุนสีที้เปลี่ยนเป็นสีขาวจะเรียก จุนสีสะตุ การผลิตจุนสีในเชิงอุตสาหกรรมทำได้โดยนำโลหะทองแดงไปทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริกเข้มข้น หรือนำคอปเปอร์ออกไซด์ไปทำปฏิกิริยากับกรดซัลฟิวริกเจือจาง

สรรพคุณของจันสี

จุนสี มี รสเปรี้ยว ฝาด และเย็น ตามตำรายาโบราณ ได้ใช้ประโยชน์จากจุนสี ดังนี้

  • จุนสีผสมกับขี้ผึ้ง ใช้กัดหัวหูด ใช้ทารักษาแผลหนอง
  • จุนสีละลายน้ำอ่อนๆ ใช้หยอดตา รักษาแผลในตา นำมาอมแก้โรคเหงือกและฟัน รักษาอาการปากเปื่อย รักษาคออักเสบ ทำให้อาเจียนขับสานพิษ

โทษของจุนสี

การใช้จุนสีเป็นยารักษาโรคนัั้น ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากอาจทำให้เกิดพิษต่อร่างกายได้ การกินจุนสีผสมน้ำทำให้อาเจียน หากกินมากเกินไปเป็นอันตราต่อร่างกายได้

จุนสี หรือ คอปเปอร์ซัลเฟต คือ เกลือปรกติชนิดหนึ่งเกิดจากสนิมทองแดง ลักษณะเป็นผลึกสีนํ้าเงิน ประโยชน์ของจุนสี รักษาแผลหนอง รักษาโรคเหลือกและฟัน กำจัดหูด รักษาคออักเสบ รักษาแผลในตา นอจจากนั้นใช้ในการชุบทองแดง ฆ่าลูกนํ้า ปราบวัชพืช สารกำจัดสัตว์และแมลง ฆ่าเชื้อรา

แหล่งอ้างอิง

  • Varghese, J. N.; Maslen, E. N. (1985). “Electron density in non-ideal metal complexes. I. Copper sulphate pentahydrate”. Acta Crystallogr. B. 41 (3): 184–190. doi:10.1107/S0108768185001914.
  • Haynes, p. 4.62
  • Rumble, John, บ.ก. (2018). CRC Handbook of Chemistry and Physics (ภาษาอังกฤษ) (99th ed.). CRC Press, Taylor & Francis Group. p. 5-179. ISBN 9781138561632.
  • Anthony, John W.; Bideaux, Richard A.; Bladh, Kenneth W.; Nichols, Monte C., บ.ก. (2003). “Chalcocyanite” (PDF). Handbook of Mineralogy. Vol. V. Borates, Carbonates, Sulfates. Chantilly, VA, US: Mineralogical Society of America. ISBN 978-0962209741.
  • Haynes, p. 10.240
  • Kokkoros, P. A.; Rentzeperis, P. J. (1958). “The crystal structure of the anhydrous sulphates of copper and zinc”. Acta Crystallographica. 11 (5): 361–364. doi:10.1107/S0365110X58000955.
  • Bacon, G. E.; Titterton, D. H. (1975). “Neutron-diffraction studies of CuSO4 · 5H2O and CuSO4 · 5D2O”. Z. Kristallogr. 141 (5–6): 330–341. Bibcode:1975ZK….141..330B. doi:10.1524/zkri.1975.141.5-6.330.
  • NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. “#0150”. National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
  • Cupric sulfate. US National Institutes of Health
  • ชยันต์ พิเชียรสุนทร และ วิเชียร จีรวงศ์. คู่มือเภสัชกรรมแผนไทยเล่ม 4 เครื่องยาธาตุวัตถุ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 2556.หน้า 42-43
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย