กระชาย สมุนไพร ฉายา โสมไทย นิยมนำเหง้ากระชายมาทำยาและอาหารรับประทาน สรรพคุณบำรุงร่างกาย ขับเหงื่อ อยู่ในสูตรยาสมุนไพรโบราณมากมาย ต้นกระชายเป็นอย่างไรกระชาย สมุนไพร โสมไทย

ต้นกระชาย ภาษาอังกฤษ เรียก Fingerroot ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ Boesenbergia pandurata (Roxb. ) Schitr สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ ขิงทราย ขิงแดง ขิงกระชาย กะแอน จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ เป๊าะสี่ ระแอน เป๊าะซอเร้าะ ขิงจีน เป็นต้น กระชาย มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ประโยชน์ของกระชาย รากกระชายเป็นแหล่งสะสมสารอาหารมากมาย เรียกว่า นมกระชาย รากกระชายมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว กระชายนิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหาร หลากหลายชนิด ทั้งน้ำพริกแกง แกง ผัด ซึ่งคุณสมบัติหนึ่งของกระชายชวยดับกลิ่นคาวของอาหาร นอกจากนั้นในตำรายาแผนโบราณ ใช้รักษาปากเป็นแผล ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ เป็นต้น สำหรับกระชายนั้นมี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลือง ส่วนกระชายที่นิยมใช้กัน คือ กระชายเหลือง และกระชายดำ

ชนิดของกระชาย

สำหรับกระชาย ทีนิยมปลูกกัน มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายดำ ลักษะณะของเนื้อหัวกระชายจะมีสีดำ รสเผ็ดร้อน
  • กระชายแดง ลักษณะทั่วไปเหมือนกันกับกระชายเหลือง แต่จะแตกต่างกันตรงเหง้าและเนื้อด้านในของเหง้า โดยเนื้อจะมีสีเหลืองแกมส้ม
  • กระชายเหลือง ลักษณะของกระชายเหลือง เนื้อด้านในของหัวกระชาย มีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาทำอาหาร

ลักษณะของต้นกระชาย 

ต้นกระชาย เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน คล้ายกับ ขิง ข่า ขมิ้น สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อ ลักษณะของต้นกระชาย มีดังนี้

  • เหง้ากระชาย อยู่ใต้ดิน เหง้าสั้น แตกหน่อได้ รูปทรงกระบอกยาว ปลายเรียว ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
  • ใบกระชาย ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบแทงออกมาจากเหง้ากระชาย ใบทรงรียาว โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม มีขอบเรียบ สีเขียว
  • ดอกกระชาย ลักษณะดอกเป็นช่อ ก้านดอกแทงออกมาจากเหง้ากระชาย มีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน ๆ ดอกเป็นรูปหอกกลีบเลี้ยงมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูอ่อน
  • ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย

สำหรับการรับประทานกระชายนิยมรับประทานส่วนเหง้าเป็นอาหาร นักโภชนากการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระชาย ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 2 กรัม ไขมันอิ่มตัว 0.2 กรัม โพแทสเซียม 415 มิลลิกรัม โซเดียม 13 กรัม คาร์โบไฮเดรต 17.8 กรัม วิตามินบี6 ร้อยละ 8 วิตามินซี ร้อยละ 8 โปรตีน 1.8 กรัม และ น้ำตาล 1.7 กรัม

สรรพคุณของกระชาย 

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระชายด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากเหง้ากระชาย ใบกระชาย และ น้ำมันกระชาย สรรพคุณของกระชาย มีดังนี้

  • ใบกระชาย สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้โลหิตเป็นพิษ รักษาแผลปากเปื่อย ช่วยถอนพิษ
  • น้ำมันกระชาย สรรพคุณรักษาเชื้อราที่หนังศีรษะ
  • เหง้ากระชาย สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้เวียนหัว เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกระดูก ปรับความสมดุลย์ของฮอร์โมนร่างกาย บำรุงสมอง ลดความดัน รักษาแผลปากเปื่อย แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืด แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงตับ บำรุงไต ช่วยขับระดู ช่วยขับน้ำคาวปลา แก้ปวดเมื่อย ช่วยต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย รักษาแผลฝี ป้องกันเชื้อรา

วิธีเตรียมน้ำกระชายสำหรับดื่ม 

น้ำกระชายนอกจากจะใช้ดื่มดับกระหายได้ดี ก็ยังมีประโยชน์ต่อร่างกาย รักษาโรคต่างๆได้ มีวิธีการเตรียมดังนี้

  • นำกระชายเหลืองส่วนรากและเหง้า มาล้างน้ำให้สะอาด ตัดแต่งรากที่รุงรังออก ตัดส่วนหัวและส่นท้ายทิ้งไป โดยขูดเปลือกออกล้างน้ำสะอาดอีกรอบ
  • นำมาหั่นเป็นแว่น เพื่อให้ง่ายต่อการปั่นละเอียดต่อไป
  • นำมาปั่นในเครื่องปั่นและผสมกับน้ำเปล่าต้มสุก ปั่นจนละเอียด
  • เทใส่ผ้าขาวบาง หรือ กระชอน หากน้ำกระชายไม่ไหลสามารถเติมน้ำอุ่นเพิ่มได้ คั้นเอาเฉพาะน้ำเท่านั้น
  • เก็บรักษาในตู้เย็นใช้สำหรับดื่ม สามารถเก็บรักษาได้เป็นเดือน
  • เวลาดื่มให้ผสมน้ำมะนาวและน้ำผึ้งนิดหน่อยเพื่อให้ง่ายต่อการดื่ม สามารถดื่มได้ตามใจชอบ

โทษของกระชาย

ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกระชาย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ไม่ควรกินกระชายจำนวนมาก และ ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากได้ เนื่องจากกระชายมีฤทธิ์ร้อน
  • การกินกระชายในปริมาณมาก ทำให้เกิดปัญหาเหงือกร่น และ ภาวะใจสั่นได้
  • กระชาย มีผลต่อการทำงานของตับ ผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ ไม่ควรกินกระชายในประมาณมาก

กระชาย ขิงจีน สมุนไพรไทย ฉายา โสมไทย นิยมปลูกเพื่อนำมาทำอาหารรับประทาน คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาระบาย โทษของกระชายมีอะไรบ้างกระชาย สมุนไพร สรรพคุณของกระชาย

กระชาย พืชตระกูลขิง นิยมปลูกกันในประเทศจีนและประเทษเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กระชาย ( Chinese ginger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระชาย คือ Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. ชื่อเรียกอื่นๆของกระชาย เช่น  ว่านพระอาทิตย์  กระชายดำ  กะแอน ขิงทราย ละแอน ขิงจีน เป็นต้น

ชนิดของกระชาย

สำหรับกระชาย ทีนิยมปลูกกัน มี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • กระชายดำ ลักษะณะของเนื้อหัวกระชายจะมีสีดำ รสเผ็ดร้อน
  • กระชายแดง ลักษณะทั่วไปเหมือนกันกับกระชายเหลือง แต่จะแตกต่างกันตรงเหง้าและเนื้อด้านในของเหง้า โดยเนื้อจะมีสีเหลืองแกมส้ม
  • กระชายเหลือง ลักษณะของกระชายเหลือง เนื้อด้านในของหัวกระชาย มีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว นิยมนำมาทำอาหาร

ต้นกระชาย โดยทั่วไป มี3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และ กระชายเหลือง สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู หัวของกระชาย สะสมสารอาหารมากมาย ส่วนนี้เรียกว่า นมกระชาย นำมาใช้เป็นเครื่องแกง คุณสมบัติช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ได้ดี

กระชายที่นิยมนำมาใช้ทำอาหารรับประทาน คือ กระชายเหลือง และ กระชายดำ ปัจจุบันกระชายดำ กำลังเป็นที่นิยม ด้านสมุนไพรสรรพคุณด้านการบำรุงร่างกาย

ลักษณะของต้นกระชาย

ต้นกระชาย พืชล้มลุก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวทั้งต้น นิยมนำมาใช้เหง้า หรือ หัวกระชายมารับประทาน การขยายพันธุ์กระชาย ใช้การแตกหน่อ กระชายชอบดินที่ร่วนซุย และ ระบายน้ำได้ดี รายละเอียดของต้นกระชาย มีดังนี้

  • เหง้ากระชาย อยู่ใต้ดิน ลักษณะอวบ ทรงกระบอก ทรงไข่ค่อนข้างยาว ความยาวประมาณ 10 เซนติเมตร เหง้ากระชายเป็นกระจุก ผิวด้านนอกสีน้ำตาลอ่อน เนื้อมีสีเหลือง กลิ่นหอม
  • ใบกระชาย เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะใบเป็นทรงรียาว ใบยาวประมาณ 50 เซนติเมตร โคนใบมน ปลายใบเรียวแหลม
  • ดอกกระชาย กระชายออกดอกเป็นช่อ มีสีขาว หรือ สีขาวอมชมพูอ่อน ๆ ลักษณะเป็นรูปหอก
  • ผลกระชาย ผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย

การใช้ประโยชน์จากกระชาย นิยมใช้เหง้ากระชายมาทำอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของเหง้ากระชายขนาด 100 กรัม พบว่ามี สารอาหารสำคัณ ประกอบด้วย ไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว โซเดียม โพแทสเซียม คาร์โบไฮเดรต กากใยอาหาร น้ำตาล โปรตีน วิตามินบี6 วิตามินซี แคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม เป็นต้น

สรรพคุณของกระชาย

ประโยชน์ของกระชาย สามารถใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย สำหรับสรรพคุณของกระชายส่วนต่างๆทั้ง ใบกระชาย หัวกระชาย รายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าของกระชาย มีรสเผ็ด ร้อน ขม แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้บิด แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
  • ใบของกระชาย ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆได้

ตำรายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร

โทษของกระชาย

ข้อควรระวังในการใช้ประโยชน์จากกระชาย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ไม่ควรกินกระชายจำนวนมาก และ ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดแผลร้อนในที่ปากได้ เนื่องจากกระชายมีฤทธิ์ร้อน
  • การกินกระชายในปริมาณมาก ทำให้เกิดปัญหาเหงือกร่น และ ภาวะใจสั่นได้
  • กระชาย มีผลต่อการทำงานของตับ ผู้ป่วยเกี่ยวกับตับ ไม่ควรกินกระชายในประมาณมาก

กระชาย หรือ ขิงจีน พืชพื้นบ้าน สมุนไพรไทย ฉายา โสมไทย คุณค่าทางโภชนาการของกระชาย สรรพคุณของกระชาย ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาระบาย โทษของกระชายมีอะไรบ้าง พืชสวนครัว พืชเศรษฐกิจ นิยมปลูกเพื่อนำมาทำอาหารรับประทาน

แหล่งอ้างอิง

  • “The Plant List: A Working List of All Plant Species”. สืบค้นเมื่อ 25 January 2014.
  • ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549
  • “สำเนาที่เก็บถาวร”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-25. สืบค้นเมื่อ 2014-08-08.
  • กระชาย ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • ลีนา ผู้พัฒนพงศ์ ,2530
  • คณะทำงานรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผักในโครงการหนูรักผักสีเขียว
  • ภานุทรรศน์,2543
  • กรรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข,2542
  • แพทย์หญิงเพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ ,2541
  • พรพรรณ ,2543
  • อบเชย วงศ์ทอง ,2544
  • อาหารจากสมุนไพร อร่อย สุขภาพดี. กทม. แม่บ้าน. มปป.หน้า 94
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย