กานพลู สมุนไพร สรรพคุณเด่นแก้ปวดฟัน ระงับกลิ่นปาก แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ต้นกานพลูเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์ สรรพคุณและโทษของกานพลูมีอะไรบ้างกานพลู สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นกานพลู ( Clove ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกานพลู คือ Syzygium aromaticum (L.) Merr. & L.M.Perry กานพลู คือ พืชตระกลูชมพู่ เป็นไม้ยืนต้น สรรพคุณหลากหลาย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว แหล่งปลูกและส่งออกกานพลู คือ ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินเดีย ประเทศปากีสถาน และประเทศศรีลังกา เป็นต้น

ลักษณะของต้นกานพลู

สำหรับ ต้นกานพลู จัดเป็นไม้ยืนต้น เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศอินโดนีเซีย และ ประเทศแถบเอเชียกลาง ดอกกานพลูตากแห้ง นิยมนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย โดยเฉพาะบำรุงเหงือกและฟัน ลักษณะของต้นกานพลู มีดังนี้

  • ลำต้นกานพลู เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ลำต้นมีความสูงประมาณ 20 เมตร ลักษณะของต้นกานพลูเป็นพุ่มทรงกรวยคว่ำ เปลือกลำต้นเรียบ มีสีน้ำตาลอ่อน เปลือกกานพลูมีต่อมน้ำมัน
  • ใบกานพลู ลักษณะเป็นใบเดี่ยว มีก้านใบเรียวเล็ก ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ใบมีความมันวาว
  • ดอกกานพลู ลักษณะเป็นช่อดอก โดยดอกกานพลูแทงออกจากปลายยอด และ ง่ามใบ ดอกกานพลูแตกแขนงเป็นกระจุกๆ กลีบดอกเป็นรูปสามเหลี่ยม มีต่อมน้ำมัน
  • ผลกานพลู พัฒนามาจากดอกกานพลู เป็นผลเดี่ยว ในผลกานพลูมีเมล็ด เป็นทรงไข่ ผลแก่กานพลูมีสีแดงเข้ม

กานพลูในประเทศไทย

สำหรับการปลูกกานพลูในประเทศไทย พบว่าสามารถปลูกได้เฉพาะเพียงบางพื้นที่เท่านั้น และ การปลูกกานพลูในประเทศไทย มีน้อยมาก ความต้องการใช้กานพลูนั้นนิยมใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องเทศในอาหาร ปัจจุบันประเทศไทยต้องนำเข้ากานพลูเป็นหลัก ปริมาณการนำเข้ากานพลูมากกว่า 100 ตันต่อปี ประเทศที่ส่งกานพลูเข้ามาขายในประเทศไทย คือ ประเทศอินโดนีเชีย

สำหรัยการพลูด้านการรักษาโรค ตำรายาสมุนไพรของไทย เลือกใช้ดอกกานพลูแห้ง ในการนำมาดองเหล้า ใช้แก้ปวดฟัน หรือ นำดอกกานพลูแห้งมาชงน้ำเพื่อดื่ม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม นอกจากนั้น นำกานพลูผสมน้ำใช้ทำยาบ้วนปากช่วยระงับกลิ่นปาก

คุณค่าทางโภชนาการของกานพลู

น้ำมันกานพลู คือ น้ำมันที่สกัดได้จากกานพลู ซึ่งมีสรรพคุณในาการยับยั้งการเจริญของ Lactococcus garvieae ซึ่งในน้ำมันกานพลู มี สารeugenol มีสรรพคุณป้องการการเกิดโรคโลหิตจาง ฆ่าเชื้อรา มีฤทธิ์เร่งการขับน้ำดี นำมันกานพลู นำมาเป็นส่วนผสมของอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น นำไปผสมน้ำยาบ้วนปาก นำมาใช้เป็นยาดับกลิ่นไล่ยุง นำมาแต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม ขนม ทำสบู่ และ ทำยาสีฟัน

สำหรับสารเคมีต่างในกานพลู พบว่ามีหลากหลาย และ สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ซึ่ง สามารถสรุป สารเคมีต่างๆในกานพลูส่วนต่างๆ ดังนี้

  • ใบกานพลู มี Eugenol 94.4 % และ β-caryophyllene 2.9 %
  • ดอกการพลู มี Eugenol 72-90 % Eugenyl acetate 2-2.7 %  β-caryophyllene 5-12 %  และ trans-β-caryophyllene 6.3-12.7 %

สรรพคุณของกานพลู

ประโยชน์ของกานพลู ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ดอกกานพลู เปลือกลำต้นกานพลู ใบกานพลู และ น้ำมันกานพลู โดย สรรคุณของกานพลู มีดังนี้

  • ดอกกานพลู สามารถใช้รักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง แก้ปวดฟัน ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง รักษาหู บรรเทาอาการไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย รักษาโรคหืด ขับเสมหะ บำรุงเหงือกและฟัน รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน และ ช่วยดับกลิ่นปาก
  • เปลือกต้นกานพลู สามารถแก้ปวดท้อง แก้ท้องเสีย ช่วยขับลม
  • ใบกานพลู สามารถช่วยรักษาอาการปวดท้อง
  • น้ำมันกานพลู สามารถช่วยขับลม แก้ปวดท้อง แก้ปวดฟัน มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคต่างๆ

โทษของกานพลู

การนำกานพลูมาใช้ประโยชน์ นั้นต้องนำมาใช้ประโยชน์อย่างถูกวิธี ซึ่งหากนำกานพลูมาบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป จะส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยโทษของกานพลู สามารถสรุป ได้ดังนี้

  • สำหรับสตรีมีครรภ์ และ สตรีอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร ห้ามใช้กานพลู เพราะ กานพลูทำให้เกิดอันตรายมีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • สาร eugenol ที่พบในดอกการพลู ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ ไม่ควรใช้น้ำมันกานพลูในปริมาณที่มากเกินไป
  • น้ำมันกานพลู หากนำมาใช้รักษาอาการปวดฟัน หรือ นำมาบ้วนปากเพื่อระงับกลิ่นปากโดยตรง อาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเหงือกและเยื่อบุในช่องปากได้

กานพลู สมุนไพรกลิ่นหอม สรรพคุณเด่นแก้ปวดฟัน ระงับกลิ่นปาก แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ลักษณะของต้นกานพลู คุณค่าทางโภชนาการของกานพลู ประโยชน์และสรรพคุณของกานพลู มีอะไรบ้าง โทษของกานพลู เป็นอย่างไร ต้นกานพลู

เตย สมุนไพรในครัวเรือน ใบเตยนิยมนำมาทำอาหาร แต่งกลิ่นและสีอาหาร ต้นเตยเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภนาการ ประโยชน์และสรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด บำรุงหัวใจ โทษของใบเตย

เตย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นเตย หรือ ต้นเตยหอม ( Pandan leaves ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของเตย คือ Pandanus amaryllifolius Roxb. ชื่อเรียกอื่นๆของเตย เช่น ใบส้มม่า ส้มตะเลงเครง ส้มปู ส้มพอดี ผักเก็งเค็ง เป็นต้น ต้นเตย มีถิ่นกำเนิดในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศอินเดีย ทวีปแอฟริกา และ ทวีปออสเตรเลีย ชอบขึ้นตามพื้นที่ชุ่ม ริมลำน้ำ ใบเตยกับคนไทย จัดว่าเป็นพืชสวครัวที่ขาดไม่ได้ อาหารไทยนิยมใช้ใบเตยมาทำอาหาร ให้สีสวยงาม และ กลิ่นหอม

ชนิดของเตย

สำหรับชนิดของต้นเตยสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ เตยหนาม และ เตยไม่มีหนาม โดยรายละเอียด ดังนี้

  • เตยหนาม เรียกว่า ต้นลำเจียก หรือ เตยทะเลลำ ไม่นิยมนำใบมาทำอาหาร แต่นิยมใช้ใบนำมาทำเครื่องจักสาน
  • เตยไม่มีหนาม เรียกว่า เตย หรือ เตยหอม ไม่มีดอก ใบเตยมีกลิ่นหอม นิยมนำมาใช้ทำอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร และ แต่งสีอาหาร

ลักษณะของต้นเตย

ต้นเตย เป็นพืชล้มลุก สามารถขึ้นได้ดีในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นแต่ไม่มีน้ำท่วมขัง ต้นเตยสามารถขยายพันธ์ได้โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นเตย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นเตย ลักษณะของลำต้นเป็นทรงกลม เป็นข้อๆ สั้นๆ โผล่ขึ้นมาจากดิน โคนของลำต้นแตกรากแขนง เพื่อเป็นรากค้ำจุนลำต้นสามารถแตกหน่อได้
  • ใบเตย ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ใบเรียวยาว ใบออกมาจากข้อของลำต้น ใบสีเขียว ผิวใบเรียบ มีกลิ่นหอม เนื้อใบหนา

เตยในประเทศไทย

ใบเตยหอม เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย อาหารไทยนิยมใช้ใบเตยมาประกอบอาหาร โดยการนำมาแต่งกลิ่นและสีของอาหาร โดยใบเตยจะให้สีเขียวแบบธรรมชาติ ทุกท้องถิ่นของประเทศไทยจะมาขายใบเตยตามตลาด ใบเตยมักนำมาใช้ประโยชน์ทั้งในรูปแบบ ใบสดและใบแห้ง ใบเตยมีขายในรูปใบแช่แข็ง ส่งออกไปหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ เวียดนาม พม่า จีน ศรีลังกา ตลาดใบเตยหอม

คุณค่าทางโภชนาการของเตย

สำหรับการใช้เตยในการบริโภคนั้น ใช้ประโยชน์จากใบเตย โดยนักโภชนาการได้ศึกษาสารต่างๆในใบเตยและคุณค่าทางโภชนาการของใบโดย มีรายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบเตย ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน มากถึง 35 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย น้ำ 85.3 กรัม โปรตีน 1.9 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม กากใยอาหาร 5.2 กรัม แคลเซียม 124 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 2987 ไมโครกรัม วิตามินเอ 498 RE ไทอามีน 0.20 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 1.2 มิลลิกรัม และ ไนอาซีน 3 มิลลิกรัม

ใบเตยยังมีสารสำคัญ เป็นสารในกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ คือ anthocyanin , carotenoids , tocopherols , tocotrienols , quercetin , alkaloids , fatty acids , esters และ essential oils

สรรพคุณของเตย

สำหรับการใช้ประโยชน์จากเตย ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้น สามารถใช้ประโยชน์จาก ใบเตย น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย ลำต้นเตย และ รากเตย รายละเอียด ดังนี้

  • รากของเตย สรรพคุณบำรุงหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยละลายนิ่วในไต แก้หนองใน ช่วยผ่อนคลายล้ามเนื้อ
  • ใบเตย สรรพคุณช่วยลดไข้ บำรุงร่างกาย ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ช่วยเจริญอาหาร แก้ท้องอืด ลดอาการอาหารไม่ย่อย แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้โรคผิวหนัง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นให้หัวใจเต้นปกติ
  • น้ำมันหอมระเหยจากใบเตย สรรพคุณช่วยผ่อนคลาย แก้ปวดตามข้อและกระดูก แก้ปวดหัว แก้โรคลมชัก ลดอาการเจ็บคอ แก้อักเสบในลำคอ
  • ลำต้นของเตย สรรพคุณบำรุงหัวใจ ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน แก้กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยละลายนิ่วในไต แก้หนองใน ช่วยผ่อนคลายล้ามเนื้อ

โทษของเตย

สำหรับการบริโภคเตยให้ปลอดภัย มีข้อมูลทางการแพทย์น้อยมากว่าการบริโภคเตยมีอันตราย สำหรับการบริโภคเตยนั้น นิยมนำเตยมาต้ม หรือ นำมาสกัดเอาน้ำสีเขียวมาแต่งกลิ่นและสีของอาหาร โดยต้องใช้เตยในปริมาณที่เหมาะสม จึงจะไม่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย โดยข้อควรระวังในการบริโภคเตย มีดังนี้

  • ใบเตย มีกลิ่นหอม และ มีน้ำมันหอมระเหย การบริโภคใบเตยแบบสดๆ การกินใบสดๆ นำมาเคี้ยวรับประทาน กลิ่นที่หอมของใบเตย อาจทำให้เกิดอาหารอาเจียนได้ โดยการใช้ประโยชน์จากใบเตย ต้องนำไปต้มเพื่อให้ได้กลิ่นหอม หรือ การนำเอาใบเตยมาบดให้ละเอียด และ คั้นเอาน้ำสีเขียวจากใบเตยมาใช้ประโยชน์ในการรับประทาน
  • ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ได้จากใบเตย เช่น ชาใบเตย น้ำใบเตย หรือ ชาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของใบเตย ควรศึกษาฉลากผลิตภัณฑ์และ ฉลากขององค์การอาหารและยาให้ดีก่อน เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค

เตย พืชพื้นบ้าน สมุนไพรในครัวเรือน ใบเตย นิยมนำมาทำอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร และ แต่งสีอาหาร ลักษณะของต้นเตย เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภนาการของใบเตย ประโยชน์และสรรพคุณของเตย เช่น ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงหัวใจ โทษของใบเตยมีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย