มะตูม สมุนไพร สังคมไทยเชื่อว่ามะตูมเป็นพืชมงคล นิยมรับประทานผล สรรพคุณบำรุงทางเดินอาหาร แก้ท้องเสีย รับประทานได้ทั้งผลสดและผลแห้ง โทษของมะตูมเป็นอย่างไร

มะตูม สมุนไพร สรรพคุณของมะตูม

มะตูม ภาษาอังกฤษ เรียก Beal ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะตูม คือ Aegle marmelos (L.) Corrêa สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะตูมเช่น มะปิน ตูม ตุ่มตัง กะทันตาเถร เป็นต้น มะตูมมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย ใบมะตูมยังเป็นส่วนประกอบในพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์หรือครอบครู เป็นต้น

มะตูมกับสังคมไทย

มะตูมเป็นผลไม้ที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน ผลมะตูมตากแห้งนิยมนำมาต้มเป็นน้ำมะตูมดื่มแก้กระหาย นอกจากนั้นมะตูมยังเป็นพันธุ์ไม้มงคลในศาสนาฮินดู ประเทศไทยนิยมปลูกมะตูมไว้ในบ้าน ปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้าน เนื่องจากเชื่อว่า ต้นมะตูมสามารถขจัดสิ่งชั่วร้ายออกจากบ้านเรือน ป้องกันสัมภเวสีภูตผีต่างๆได้ นอกจากนี้มะตูมยังเป็นพันธุ์ไม้มงคลประจำจังหวัดชัยนาท

ประโยชน์ของมะตูม ผลมะตูม สามารถนำมารับประทานได้ทั้งแบบสดและแบบแห้ง นำมาทำน้ำมะตูม ดื่มแก้กระหาย ใบอ่อนของมะตูม สามารถรับประทานเป็นผักสดได้ นิยมทานกับน้ำพริกหรือลาบ ผลแก่มะตูมนำมาทำขนมมะตูมเชื่อม นอกจากนั้นมะตูมนำมาเป็นส่วนผสมของขนมหลายชนิด

ลักษณะของต้นมะตูม

มะตูมจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เป็นไม้มงคล สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะตูม มีดังนี้

  • ลำต้นมะตูม ลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 10-20 เมตร เปลือกของลำต้นมีสีเทา ลักษณะเรียบเป็นร่องตื้น เนื้อไม้แข็งมีสีขาวแกมเหลือง ไม้มะตูมมีกลิ่นหอม โคนต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมยาวและแข็ง
  • ใบมะตูม ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ ใบหนา สีเขียว
  • ดอกมะตูม ดอกมีสีขาวหรือสีขาวอมเขียว ดอกมีกลิ่นหอม
  • ผลมะตูม ลักษณะผลกลม ผลมีเปลือกแข็งเรียบ เนื้อผลเหนียวข้น มีกลิ่นหอม มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมะตูมจะมีขนหนาปกคลุม

คุณค่าทางโภชนาการของมะตูม

มะตูมนิยมบริโภคผลและใบเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผลมะตูมสุก ขนาด 100 กรัม พบว่าในผลมะตูมสุกมีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 61.4 กรัม กากใยอาหาร 2.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 34.7 กรัม โปรตีน 1.8 กรัม ไนอะซีน 1.1 มิลลิกรัม แคลเซียม 85 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม และในผลมะตูมสุก มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินเอ 92 มิลลิกรัม วิตามินบี1 1.3 มิลลิกรัม และ วิตามินบี2 1.19 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะตูม

สำหรับการใช้ประโชน์จากมะตูมด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากเปลือกลำต้น ราก ผลดิย ผลสุก และ ใบมะตูม สรรพคุณของมะตูม มีดังนี้

  • รากมะตูม สรรพคุณสำหรับสตรีหลังคลอด ลดอาการตกเลือดในสตรีหลังคลอด ช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ รักษาอาการปัสสาวะเป็นเลือด ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • เปลือกลำต้นมะตูม สรรพคุณแก้ท้องเสีย รักษาอาการลำไส้อักเสบ
  • ใบมะตูม สามารถใช้ประโยชน์จากใบมะตูมอ่อน สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องเสีย ช่วยลดไข้ บำรุงดวงตา รักษาอาการตาอักเสบ ลดอาการตาบวม
  • ผลดิบมะตูม สรรพคุณป้องกันโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้กระหายน้ำ ทำให้ให้ชุ่มคอ รักษาโรคหวัด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหอบหืด รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี แก้ไข้ทรพิษ แก้ปวดฝี รักษาเยื่อบุตาอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร รักษาอาการแผลอักเสบ ฆ่าพยาธิ ต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการท้องเสีย ลดกรดในกระเพาะอาหาร
  • ผลสุกมะตูม สรรพคุณช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร บำรุงลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยในการขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ ชับลม ลดจุกเสียดแน่นท้อง ลดไขมันในเส้นเลือด แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงผิว ป้องกันมะเร็ง บำรุงสมอง รักษาอัลไซล์เมอร์ ช่วยขับพยาธิ

วิธีทำน้ำมะตูม เริ่มจากเลือกมะตูมลูกอ่อนเท่านั้น มาใช้หันด้วยมีดเป็นแว่น หรือ ฝานเป็นแผ่นบางๆ ก็ได้ แล้วนำไปตากแดดจนแห้ง เมื่อแห้งแล้ว จึงนำไปบรรจุในภาชนะที่แห้งสนิท สามารถเก็บไว้ใช้ได้นานมากขึ้น เมื่อต้องการจะใช้ให้ล้างน้ำจนสะอาด เตรียมสะอาดต้มจนน้ำเดือด แล้วจึงนำมะตูมแห้งที่เก็บไว้แล้ว มาปิ้งไฟอ่อนให้พอมีกลิ่นหอมๆ เล็กน้อย หรือ สามารถนำไปย่างไฟอ่อนๆก็ได้ แต่ระวังอย่าให้เกิดการไหม้ ซึ่งจะทำให้น้ำมะตูมแห้ง มีความหอมมากยิ่งขึ้น จากนั้นนำลงหม้อต้มประมาณ 10-15 นาทีพอ ใช้ไฟปานกลาง เติม หรือ เติมน้ำตาลทรายลงไปก็ได้ ตามความชอบ ( แนะนำให้ใส่หวานน้อย เพื่อสุขภาพผู้ดื่ม ) ต้มจนน้ำตาลละลาย จากนั้นปิดไฟ ตั้งทิ้งไว้จนเย็น เก็ยใส่ภาชนะแช่เย็นเก็บไว้ดื่มได้เป็นสัปดาห์ ดื่มได้ทั้งสองแบบ คือ ร้อนและเย็น เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรช่วยดับกระหายได้ดี เป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย

โทษของมะตูม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะตูมด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • มะตูมป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียใช้รักษาอาการท้องเสียได้ สำหรับคนที่ท้องผูก ไม่ควรกินมะตูม อาจทำให้ท้องผูกมากขึ้น
  • น้ำมะตูมไม่ผสมน้ำตาลช่วยลดน้ำตาลในเลือด แต่สำหรับคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอยู่แล้ว ไม่ควรกินน้ำมะตูมที่ไม่ผสมน้ำตาล

บัวบก ผักพื้นบ้าน สมุนไพร ต้นบัวบกมีสรรพคุณหลากหลาย แก้อาการปวดอักเสบ บำรุงผิวพรรณ บำรุงเส้นผมและหนังศรีษะ เป็นยาเย็น ช่วยให้ร่างกายสดชื่อ นำใบมาทำน้ำใบบัวบก

บัวบก ใบบัวบก สมุนไพร

ต้นบัวบก ภาษาอังกฤษ เรียก Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urb. สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของบัวบอก เช่น ผักหนอก ผักแว่น กะโต่ เป็นต้น ต้นบัวบก เป็นพื้ชท้องถิ่น นิยมนำมารับประทานเป็นผักสด อาหารที่นิยมกินบัวบกเป็นผัก เช่น ผัดไทย ผัดหมี่ หมี่กะทิ ขนมจีน ลาบ ยำ เป็นต้น ใบบัวบกนำมาคั้นทำน้ำใบบัวบก กินให้สดช่วย ช่วยแก้ช้ำใน ซึ่งบัวบกมีสรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยลดความร้อนในร่างกาย

ลักษณะของต้นบัวบก

ต้นบัวบก พืชคลุมดิน เป็นไม้เลื้อย ประเภทพืชล้มลุกขึ้นตามพื้นดิน สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ และ การแยกหน่อ ซึ่งลักษณะของต้นบัวบก มีดังนี้

  • ลำต้นของบัวบกลักษณะกลม เนื้ออ่อน มีน้ำมาก เลื้อยตามพื้นดิน
  • ใบของต้นบัวบก ใบบัวบกเป็นใบเดียว ใบออกตามข้อของลำต้นบัวบก ใบออกเป็นกระจุกๆ ลักษณะของใบคล้ายรูปไต ขอบใบมนๆ
  • ดอกบัวบก ลักษณะคล้ายร่ม ออกดอกเป็นช่อ สีม่วงอมแดง
  • ผลของบัวบก เป็นผลแห้ง ลักษณะแบนและแตก

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

สำหรับการใช้ประโยชน์การบริโภคบัวบกนิยมรับประทานใบและก้านใบเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก ขนาด 100 กรัม พบว่ามีสารอาหารหลายชนิด ประกอบด้วย  วิตามินบี 1 แคลเซียม 146 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 3.9 มิลลิกรัม เบตาแคโรทีน 2,428 ไมโครกรัม และวิตามินซี 15 มิลลิกรัม นอกจากนั้นยังมี สารบราโมซัยด์ สารบรามิโนซัยด์ สารไตรเตอพีนอยด์ สารมาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค  และกรดอะมิโน หลายตัว เช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

สรรพคุณของบัวบก

การใช้ประโยชน์จากบัวบก ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้นนิยมทั้งหมดของบัวบก ใบและก้านใบ ซึ่งสรรพคุณของบัวบก มีดังนี้

  • บำรุงผิวพรรณ ช่วยชะลอวัย คืนความอ่อนเยาว์ ทำให้หน้าตาสดใสเหมือนเป็นวัยรุ่น รักษาสิว ทำให้ผิวหน้าขาวสดใสกระจ่างใส ผิวหน้าเต่งตึงดีขึ้น
  • บำรุงสายตา ฟื้นฟูรอบดวงตา
  • บำรุงสมอง ช่วยให้ผ่อนคลาย ช่วยทำให้ความจำดีขึ้น และ ทำให้มีไหวพริบมากขึ้น คิดเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะ ในผู้สูงอายุ
  • แก้อาการปวดศีรษะ รักษาอาการช้ำใน รักษาอาการบาดเจ็บจากการกระแทก
  • บำรุงเลือดและหัวใจ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน ลดความดันเลือด
  • ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว
  • รักษาแผล ทำให้แผลหายเร็ว เร่งการสร้างเนื้อเยื่อใหม่
  • รักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคเรื้อน โรคหัด
  • บำรุงหนังศีรษะและผม ทำให้ผมดกดำ แก้ปัญหาผมร่วง ลดผมหงอกก่อนวัย

โทษของบัวบก
สำหรับการใช้ประโยชน์จากบัวบกนั้น มีข้อควรระวังในการใช้ ซึ่งหากใช้ไม่ถูกวิธีและใช้ในปริมาณที่ไม่เหมาะสมจะทำให้เกิดโทษ ซึ่งโทษของบัวบก มีดังนี้

  • ใบบัวบกมีสรรพคุณทำให้ตัวเย็น จึงไม่เหมาะสำหรับคนที่มีภาวะตัวเย็น

วิธีทำน้ำใบบัวบก เลือกใบบัวบกแก่ และสามารถใช่ส่วนรากผสมเข้ามาได้ หั่นออกเป็นสองท่อน ก่อนจะเข้าเครื่องบด เพราะ ใบบัวบกจะมีความเหนียว เติมน้ำผสมกับใบบัวบกที่บดคั้นน้ำ และ นำกากที่เหลือ มาคั้นน้ำที่สองอีกครั้ง เพื่อให้ตัวยาต่างๆ ยังมีสรรพคุณครับ ใช้ผ้าขาวบาง กรองน้ำบัวบก ใช้ตาห่าง ๆได้ เพราะ หากถี่มากจะกรองยาก ทิ้งกากไป ให้รินเฉพาะน้ำส่วนใส ๆ เพื่อนำมาเพื่อดื่มเป็นยาได้ น้ำที่คั้นได้ ไม่ควรเก็บไว้นาน แต่ควรแช่เย็นเก็บไว้ จะรักษาสรรพคุณนาน กรณีไม่ชินกับรสชาติ สามารถเติมน้ำเชื่อม ผสมน้ำต้มใบเตยได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย