ต้นมะตูม ไม้มงคล ช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้าย สมุนไพร สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ช่วยขับลม ต้นมะตูมเป็นอย่างไร ประโยชน์ของมะตูม โทษของมะตูม มีอะไรบ้างมะตูม สมุนไพร สมุนไพรไทย

มะตูม ( Beal ) พืชตระกูลส้ม ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะตูม คือ Aegle marmelos (L.) Corrêa ชื่อเรียกอื่นๆของมะตูม เช่น มะปิน ตูม ตุ่มตัง กะทันตาเถร เป็นต้น

ต้นมะตูม จัดเป็นไม้ยืนต้น ผลมะตูมนิยมบริโภคเป็นผลไม้ มะตูมมีต้นถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย ไม้มงคล พืชประจำจังหวัดชัยนาท สรรพคุณของมะตูม มากมาย เช่น ช่วยควบควบคุมน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคเบาหวาน รักษาลำไส้อักเสบ แก้ท้องเดิน แก้ท้องอืด ช่วยขับลม แก้กระหายน้ำ ทำให้ให้ชุ่มคอ รักษาหวัด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหอบหืด รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี แก้ไข้ทรพิษ แก้ปวดฝี รักษาเยื่อบุตาอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร รักษาอาการแผลอักเสบ ฆ่าพยาธิ ต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการท้องเสีย ลดกรดในกระเพาะอาหาร

ความเชื่อเกี่ยวับมะตูม

ต้นมะตูม ตามความเชื่อของคนไทย มะตูมเป็นไม้มงคล เชื่อว่าป้องกันสิ่งชั่วร้ายต่างๆ ใบมะตูม นำมาเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมทางศาสนา เช่น นำมาทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ ใช้ในการครอบครู เป็นต้น ต้นมะตูมนิยมปลูกตามบ้าน ให้ปลูกในทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวบ้าน

คุณค่าทางโภชนาการของมะตูม

สำหรับต้นมะตูม การบริโภคนิยมใช้ผลมะตูม โดยนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผลมะตูมสุก ขนาด 100 กรัม พบว่าในผลมะตูมสุกมีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 61.4 กรัม กากใยอาหาร 2.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 34.7 กรัม โปรตีน 1.8 กรัม ไนอะซีน 1.1 มิลลิกรัม แคลเซียม 85 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม และในผลมะตูมสุก มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินเอ 92 มิลลิกรัม วิตามินบี1 1.3 มิลลิกรัม และ วิตามินบี2 1.19 มิลลิกรัม

ลักษณะของต้นมะตูม

ต้นมะตูม เป็นไม้ยืนต้น สามารถเจรญเติบโตได้ดีในป่าดิบ และ ตามเนินเขา ถิ่นกำเนิดของมะตูมนั้นมาจากประเทศอินเดีย โดยลักษณะของต้นมะตูม มีดังนี้

  • ลำต้นมะตูม ลักษณะตรง เป็นไม้เนื้อแข็ง เนื้อไม้มะตูมมีกลิ่นหอม เปลือกลำต้นมะตูมลักษณะผิวเรียบ มีร่องตื้น สีเทา ความสูงประมาณ 18 เมตร
  • ใบมะตูม เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบคล้ายรูปขนนก ทรงไข ปลายใบแหลม โคนใบมน มีสีเขียวเข้ม ลักษณะมัน
  • ดอกมะตูม มีกลิ่นหอม สีขาว ขึ้นตามซอกใบ มีขนาดเล็ก
  • ผลมะตูม ออกมาจากดอกมะตูม ลักษณะกลม เปลือกของผลมะตูมผิวเรียบ ผลสดสีเขียว เปลือกแข็ง ส่วนผลมะตูมแก่มีสีเขียวอมเหลือง เนื้อในผลสุกมีสีส้ม รสหวาน เนื้อนิ่ม มียางเหนียวข้น ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ผลสุกสามารถนำมาตากแห้งและนำมาใช้ประโยชน์ต่างๆได้ เช่น นำมาต้มเป็นน้ำมะตูม เป็นต้น

สรรพคุณของมะตูม

มะตูม สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย หลากหลาย สามารถใช้ประโยชน์ได้จาก ผลมะตูมดิบ ผลมะตูมสุก ใบมะตูม เปลือกลำต้นมะตูม และ รากมะตูม โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของมะตูม มีดังนี้

  • เปลือกลำต้นมะตูม สรรพคุณแก้ท้องเสีย รักษาอาการลำไส้อักเสบ
  • รากมะตูม สรรพคุณสำหรับสตรีหลังคลอด ลดอาการตกเลือดในสตรีหลังคลอด ช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ รักษาอาการปัสสาวะเป็นเลือด ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • ผลดิบมะตูม สรรพคุณป้องกันโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้กระหายน้ำ ทำให้ให้ชุ่มคอ รักษาโรคหวัด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหอบหืด รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี แก้ไข้ทรพิษ แก้ปวดฝี รักษาเยื่อบุตาอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร รักษาอาการแผลอักเสบ ฆ่าพยาธิ ต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการท้องเสีย ลดกรดในกระเพาะอาหาร
  • ผลสุกมะตูม สรรพคุณช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร บำรุงลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยในการขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ ชับลม ลดจุกเสียดแน่นท้อง ลดไขมันในเส้นเลือด แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงผิว ป้องกันมะเร็ง บำรุงสมอง รักษาอัลไซล์เมอร์ ช่วยขับพยาธิ
  • ใบมะตูม สามารถใช้ประโยชน์จากใบมะตูมอ่อน สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องเสีย ช่วยลดไข้ บำรุงดวงตา รักษาอาการตาอักเสบ ลดอาการตาบวม

โทษของมะตูม

การใช้ประโยชน์จากมะตูม ต้องเลือกใช้อย่างเหมาะสม และ เลือกใช้ในปริมาณที่เหมาะสม หากใช้มากเกินไปหรือใช้ไม่ถูกวิธี โดยโทษของมะตูม มีดังนี้

  • มะตูมมีสรรพคุณป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการท้องเสียได้ สำหรับคนที่มีภาวะท้องผูกอยู่ ไม่ควรกินมะตูม เพราะจะทำให้ท้องผูกมากขึ้น
  • สำหรับสตรีมีครรภ์และสตรีหลังคลอดบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนนำมะตูมมาใช้รักษาอาการป่วย
  • ผลมะตูม น้ำมะตูม ช่วยลดน้ำตาลในเลือด สำหรับคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ไม่ควรกินน้ำมะตูม หรือ ผลมะตูม และ สำหรับคนที่ต้องผ่าตัด ควรงดการกินมะตูม น้อย 14 วัน ก่อนผ่าตัด เพราะ มะตูมอาจส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในช่วงระหว่างและหลังการผ่าตัด

ต้นมะตูม ไม้มงคล ช่วยป้องกันสิ่งชั่วร้าย ผลมะตูม เป็นสมุนไพร สรรพคุณมากมาย เช่น ลดน้ำตาลในเลือด รักษาเบาหวาน ช่วยขับลม ต้นมะตูมมีลักษณะเป็นอย่างไร ประโยชน์ของมะตูม โทษของมะตูม มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

บัวบก พืชน้ำ สมุนไพรไทย สมุนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณแก้ช้ำใน บำรุงสมอง แก้สมองเสื่อมได้ ลักษณะของต้นบัวบก คุณค่าทางโภชนากการของใบบัวบก ประโยชน์และโทษของใบบัวบก

บัวบก สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นบัวบก คือ สมุนไพร ชื่อคุ้นหู มาทำความรู้จักกับ ต้นบัวบก และ สรรพคุณของบัวบก บัวบก มีชื่อสามัญว่า Gotu kola ชื่อวิทยาศาสตร์ของบัวบก คือ Centella asiatica (L.) Urb. สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาแผล แก้ร้อน ใบบัวบก เหมาะสำหรับบริโภคในฟดูร้อน สมุนไพรไทยสรรพคุณยาเย็น บัวบก พืชตระกูลเดียวกันกับผักชี ชื่อเรียกอื่นๆของบัวบก เช่น ผักหนอก , ผักแว่น ,  กะโต่ เป็นต้น

ลักษณะของต้นบัวบก

ต้นบัวบก พืชคลุมดิน เป็นไม้เลื้อย ประเภทพืชล้มลุกขึ้นตามพื้นดิน ลำต้นของบัวบกลักษณะกลม เนื้ออ่อน มีน้ำมาก เลื้อยตามพื้นดิน ใบของต้นบัวบก ใบบัวบกเป็นใบเดียว ใบออกตามข้อของลำต้นบัวบก ใบออกเป็นกระจุกๆ ลักษณะของใบคล้ายรูปไต ขอบใบมนๆ ดอกบัวบก ลักษณะคล้ายร่ม ออกดอกเป็นช่อ สีม่วงอมแดง ส่วนผลของบัวบก เป็นผลแห้ง ลักษณะแบนและแตก

คุณค่าทางโภชนาการของบัวบก

การนำต้นบัวบกมาใช้ประโยชน์ เป็นอาหารจะใช้ประโยชน์ทั้งลำต้นและใบของบัวบก นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารต่างๆ ประกอบด้วย ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก สารเบตาแคโรทีน วิตามินบี1 และ วิตามินซี สารบราโมซัยด์ สารบรามิโนซัยด์ สารไตรเตอพีนอยด์ สารมาดิแคสโซซัยด์ กรดมาดิแคสซิค และ กรดอะมิโน หลายตัว เช่น แอสพาเรต กรดกลูตามิก เซรีน ทรีโอนีน อะลานีน ไลซีน ฮีสทีดิน เป็นต้น

สรรพคุณของบัวบก

สำหรับต้นบัวบก นิยมใช้ประโยชน์ทั้งลำต้นและใบ ซึ่งมีประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สรรพคุณของบัวบก มีดังนี้

  • ช่วยชะลอวัย เป็นยาอายุวัฒนะ ลดลอยเหี่ยวย่นของผิวพรรณ
  • กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายสำหรับคนป่วย
  • ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เนื่องจากมีสารช่วยชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง
  • บำรุงสายตา และ ฟื้นฟูสภาพรอบของดวงตา ช่วยรักษาอาการอักเสบของตา รักษาอาการบวมแดงของตา
  • ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง ทำให้ความจำดี เพิ่มความจำสำหรับผู้สูงวัย ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ และป้องกันสมองเสื่อม รักษาอาการปวดหัว รักษาอาการไมเกรน
  • ช่วยผ่อนคลาย ทำให้นอนหลับสบาย แก้อาการอ่อนเพลียเมื่อยล้า
  • ช่วยบำรุงเลือด และ ช่วยบำรุงหัวใจ ทำให้เลือดระบบเลือดทำงานได้ดีขึ้น กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อของร่างกาย ปรับสมดุลย์ความดันเลือด ช่วยลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคโลหิตจาง
  • ช่วยให้ความชุ่มชื่นของลำคอ บำรุงเสียง ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ช่วยแก้กระหายน้ำ ช่วยแก้อาการร้อนใน ช่วยลดไข้ ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ
  • ช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ทำให้เส้นผมดกดำ รักษาอาการผมร่วง
  • ช่วยรักษาแผล รักษาเต้านมอักเสบที่เป็นหนองในระยะแรก ใช้เป็นยาห้ามเลือด รักษาแผลสด ทำให้แผลหายเร็วขึ้น แก้ฟกช้ำ รักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคผิวหนัง ช่วยลดอาการอักเสบของแผล ใช้รักษาแผลน้ำร้อนลวก ลดอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้ เช่น รักษาโรคเรื้อน รักษาโรคสะเก็ดเงิน รักษาหิด รักษาหัด เป็นต้น
  • ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ใบบัวบกเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางค์ ช่วยบำรุงผิว และ ป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่ผิว ช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวขาว ใบหน้าเต่งตึง
  • ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน รักษานิ่ว ป้องกันการเกิดนิ่ว

ข้อควรระวังในการใช้บัวบก

การบริโภคบัวบก ต้องบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม หากกินมากเกินไป หรือ กินติต่อกันอย่างต่อเนื่อง อาจมีผลเสียได้ โดยโทษของบัวบก ข้อควรระวังในการบริโภคบัวบก มีดังนี้

  • ใบบัวบก ไม่เหมาะสำหรับคนที่มีภาวะตัวเย็น จะทำให้ร่างกายยเย็นขึ้นและท้องอืด
  • การกินบัวบกมากเกินไป ไม่ดี เนื่องจากใบบัวบกเป้นยาเย็น หากมีปริมาณมากเกินไปจะทำให้ ร่างกายเสียสมดุลถ้ากิน ใบสด ปริมาณครั้งละ 10 ถึง 20 ใบต่อสัปดาห์ ถือว่าอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม แต่ไม่ควรกินทุกวันอาจเป็นพิษต่อร่างกายได้
  • ไม่ควรนำใบบักบกมาตากแห้ง เพราะ จะเสียคุณค่าทางตัวยา ใบบัวบกจะนำมาสกัดให้อยู่ในรูปแบบน้ำมันหอมระเหย
  • น้ำใบบัวบก หากใส่น้ำตาลมากเกินไป จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้ อาจทำให้เป็นเบาหวานได้

บัวบก พืชน้ำ สมุนไพรไทย สมุนไพรพื้นบ้าน สรรพคุณแก้ช้ำใน บำรุงสมอง แก้สมองเสื่อมได้ ลักษณะของต้นบัวบก คุณค่าทางโภชนากการของใบบัวบก ประโยชน์ของใบบัวบก และ โทษของใบบัวบก

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย