มะตูม สมุนไพร สังคมไทยเชื่อว่ามะตูมเป็นพืชมงคล นิยมรับประทานผล สรรพคุณบำรุงทางเดินอาหาร แก้ท้องเสีย รับประทานได้ทั้งผลสดและผลแห้ง โทษของมะตูมเป็นอย่างไร

มะตูม สมุนไพร สรรพคุณของมะตูม

มะตูม ภาษาอังกฤษ เรียก Beal ชื่อวิทยาศาสตร์ของมะตูม คือ Aegle marmelos (L.) Corrêa สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของมะตูมเช่น มะปิน ตูม ตุ่มตัง กะทันตาเถร เป็นต้น มะตูมมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย ใบมะตูมยังเป็นส่วนประกอบในพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์หรือครอบครู เป็นต้น

มะตูมกับสังคมไทย

มะตูมเป็นผลไม้ที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน ผลมะตูมตากแห้งนิยมนำมาต้มเป็นน้ำมะตูมดื่มแก้กระหาย นอกจากนั้นมะตูมยังเป็นพันธุ์ไม้มงคลในศาสนาฮินดู ประเทศไทยนิยมปลูกมะตูมไว้ในบ้าน ปลูกทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้าน เนื่องจากเชื่อว่า ต้นมะตูมสามารถขจัดสิ่งชั่วร้ายออกจากบ้านเรือน ป้องกันสัมภเวสีภูตผีต่างๆได้ นอกจากนี้มะตูมยังเป็นพันธุ์ไม้มงคลประจำจังหวัดชัยนาท

ประโยชน์ของมะตูม ผลมะตูม สามารถนำมารับประทานได้ทั้งแบบสดและแบบแห้ง นำมาทำน้ำมะตูม ดื่มแก้กระหาย ใบอ่อนของมะตูม สามารถรับประทานเป็นผักสดได้ นิยมทานกับน้ำพริกหรือลาบ ผลแก่มะตูมนำมาทำขนมมะตูมเชื่อม นอกจากนั้นมะตูมนำมาเป็นส่วนผสมของขนมหลายชนิด

ลักษณะของต้นมะตูม

มะตูมจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เป็นไม้มงคล สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นมะตูม มีดังนี้

  • ลำต้นมะตูม ลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 10-20 เมตร เปลือกของลำต้นมีสีเทา ลักษณะเรียบเป็นร่องตื้น เนื้อไม้แข็งมีสีขาวแกมเหลือง ไม้มะตูมมีกลิ่นหอม โคนต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลมยาวและแข็ง
  • ใบมะตูม ลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปไข่ ใบหนา สีเขียว
  • ดอกมะตูม ดอกมีสีขาวหรือสีขาวอมเขียว ดอกมีกลิ่นหอม
  • ผลมะตูม ลักษณะผลกลม ผลมีเปลือกแข็งเรียบ เนื้อผลเหนียวข้น มีกลิ่นหอม มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดมะตูมจะมีขนหนาปกคลุม

คุณค่าทางโภชนาการของมะตูม

มะตูมนิยมบริโภคผลและใบเป็นอาหาร ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางอาหารของผลมะตูมสุก ขนาด 100 กรัม พบว่าในผลมะตูมสุกมีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 61.4 กรัม กากใยอาหาร 2.9 กรัม คาร์โบไฮเดรต 34.7 กรัม โปรตีน 1.8 กรัม ไนอะซีน 1.1 มิลลิกรัม แคลเซียม 85 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม และ ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม และในผลมะตูมสุก มีวิตามินต่างๆ ประกอบด้วย วิตามินเอ 92 มิลลิกรัม วิตามินบี1 1.3 มิลลิกรัม และ วิตามินบี2 1.19 มิลลิกรัม

สรรพคุณของมะตูม

สำหรับการใช้ประโชน์จากมะตูมด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จากเปลือกลำต้น ราก ผลดิย ผลสุก และ ใบมะตูม สรรพคุณของมะตูม มีดังนี้

  • รากมะตูม สรรพคุณสำหรับสตรีหลังคลอด ลดอาการตกเลือดในสตรีหลังคลอด ช่วยรักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ รักษาอาการปัสสาวะเป็นเลือด ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
  • เปลือกลำต้นมะตูม สรรพคุณแก้ท้องเสีย รักษาอาการลำไส้อักเสบ
  • ใบมะตูม สามารถใช้ประโยชน์จากใบมะตูมอ่อน สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องเสีย ช่วยลดไข้ บำรุงดวงตา รักษาอาการตาอักเสบ ลดอาการตาบวม
  • ผลดิบมะตูม สรรพคุณป้องกันโรคเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงลำไส้ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยขับลม แก้กระหายน้ำ ทำให้ให้ชุ่มคอ รักษาโรคหวัด ช่วยขับปัสสาวะ รักษาหอบหืด รักษาหลอดลมอักเสบ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำดี แก้ไข้ทรพิษ แก้ปวดฝี รักษาเยื่อบุตาอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยเจริญอาหาร รักษาอาการแผลอักเสบ ฆ่าพยาธิ ต้านเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการท้องเสีย ลดกรดในกระเพาะอาหาร
  • ผลสุกมะตูม สรรพคุณช่วยบำรุงระบบทางเดินอาหาร บำรุงลำไส้ รักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยในการขับถ่าย เป็นยาระบายอ่อนๆ ชับลม ลดจุกเสียดแน่นท้อง ลดไขมันในเส้นเลือด แก้ท้องเสีย บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจ บำรุงผิว ป้องกันมะเร็ง บำรุงสมอง รักษาอัลไซล์เมอร์ ช่วยขับพยาธิ

วิธีทำน้ำมะตูม เริ่มจากเลือกมะตูมลูกอ่อนเท่านั้น มาใช้หันด้วยมีดเป็นแว่น หรือ ฝานเป็นแผ่นบางๆ ก็ได้ แล้วนำไปตากแดดจนแห้ง เมื่อแห้งแล้ว จึงนำไปบรรจุในภาชนะที่แห้งสนิท สามารถเก็บไว้ใช้ได้นานมากขึ้น เมื่อต้องการจะใช้ให้ล้างน้ำจนสะอาด เตรียมสะอาดต้มจนน้ำเดือด แล้วจึงนำมะตูมแห้งที่เก็บไว้แล้ว มาปิ้งไฟอ่อนให้พอมีกลิ่นหอมๆ เล็กน้อย หรือ สามารถนำไปย่างไฟอ่อนๆก็ได้ แต่ระวังอย่าให้เกิดการไหม้ ซึ่งจะทำให้น้ำมะตูมแห้ง มีความหอมมากยิ่งขึ้น จากนั้นนำลงหม้อต้มประมาณ 10-15 นาทีพอ ใช้ไฟปานกลาง เติม หรือ เติมน้ำตาลทรายลงไปก็ได้ ตามความชอบ ( แนะนำให้ใส่หวานน้อย เพื่อสุขภาพผู้ดื่ม ) ต้มจนน้ำตาลละลาย จากนั้นปิดไฟ ตั้งทิ้งไว้จนเย็น เก็ยใส่ภาชนะแช่เย็นเก็บไว้ดื่มได้เป็นสัปดาห์ ดื่มได้ทั้งสองแบบ คือ ร้อนและเย็น เป็นเครื่องดื่มสมุนไพรช่วยดับกระหายได้ดี เป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย

โทษของมะตูม

สำหรับการใช้ประโยชน์จากมะตูมด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคนั้น มีข้อควรระวัง ดังนี้

  • มะตูมป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียใช้รักษาอาการท้องเสียได้ สำหรับคนที่ท้องผูก ไม่ควรกินมะตูม อาจทำให้ท้องผูกมากขึ้น
  • น้ำมะตูมไม่ผสมน้ำตาลช่วยลดน้ำตาลในเลือด แต่สำหรับคนที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอยู่แล้ว ไม่ควรกินน้ำมะตูมที่ไม่ผสมน้ำตาล

ต้นมังคุด ราชินีแห่งผลไม้ ต้นมังคุดเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมังคุด ประโยชน์และสรรพคุณของมังคุด บำรุงกำลัง บำรุงผิวพรรณ รักษาสิว โทษของมังคุด มีอะไรบ้างมังคุด ราชินีแห่งผลไม้ ผลไม้ สรรพคุณของมังคุด

มังคุด ( Mangosteen ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของมังคุด คือ Garcinia × mangostana L.ชื่อเรียกอื่นของมังคุด เช่น แมงคุด เมงค็อฟ เป็นต้น ต้นมังคุด มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะซุนดา และ หมู่เกาะโมลุกกะ มีฉายาว่า “ ราชินีแห่งผลไม้ ” จัดเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์มาก มังคุดนั้น ไม่ได้นิยมเพียงรับประทานผลเท่านั้น เปลือกมังคุด ก็มีประโยชน์มากมาย เช่นกัน

ต้นมังคุด จัดเป็น ไม้ยืนต้น ไม้ผลเขตร้อน พบปลูกมากในประเทศไทย มาเลเซีย เวียดนาม กัมพูชา พม่า และ ฟิลิปปินส์ โดยประเทศที่มีผลผลิตจากมังคุดมากที่สุด คือ ประเทศไทย

มังคุดในประเทศไทย

ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีผลผลิตมังคุดมากที่สุดในโลก โดยแหล่งปลูกมังคุด ที่สำคัญของไทย คือ ภาคใต้ และ ภาคตะวันออก  โดยมูลค่าการส่งออกในแต่ละปี มากถึง 1,500 ล้านบาท ประเทศที่รับมังคุดของไทยไป คือ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และ เนเธอแลนด์ ประเทศไทยสามารถผลิตมังคุดที่มีคุณภาพดีที่สุด มีรสชาติดีมากกว่ามังคุดของประเทศอื่นๆ ด้วยความเหมาะสมของดิน และ อากาศ ทำให้มังคุดจากประเทศไทยเป็นมังคุดที่ดีที่สุดในโลก แนวโน้มอนาคุดมังคุดจะมีความสำคัญมาก สำหรับเป็นผลไม้ส่งออกของไทย เพราะ การขยายตลาดมังคุดสู่ประเทศจีน

ลักษณะของต้นมังคุด

มังคุด เป็นพืชเศรษฐกิจ ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สามารถเจริญเติบโตได้ดีในประเทศเขตร้อน ทนแล้งได้ดี สามารถขยายพันธ์ได้โดย การเพาะเมล็ดพันธ์ การเสียบยอด และ การทาบกิ่ง แต่วิธีที่นิยมในการขยายพันธ์มังคุดมากที่สุด คือ การเพาะเมล็ด เพราะ สะดวกและรวดเร็ว ลักษณะของต้นมังคุด มีดังนี้

  • รากของมังคุด เป็นรากแก้ว และ รากแขนง รากค่อนข้างลึก ประมาณ 120 เซนติเมตร
  • ลำต้นของมังคุด ลักษณะของลำต้น ทรงกลม ความสูงประมาณ 25 เมตร ทรงพุ่ม เปลือกของลำต้นมีสีดำ
  • ใบของมังคุด เป็นใบเดี่ยว ใบมีสีเขียว ใบแทงออกตามกิ่ง ลักษณะของใบเป็นทรงรี ใบค่อนข้างหนา ใบเป็นมัน เนื้อใบเหนียวใบมียางสีเหลือง
  • ดอกมังคุด ดอกออกเป็นดอกคู่หรือดอกเดี่ยว ดอกออกที่ปลายกิ่งแทงออกตามซอกใบ ดอกมีกลีบสีแดง
  • ผลมังคุด ลักษณะผลทรงกลม เปลือกผลมังคุด หนาประมาณ 1 เซนติเมตร ผลมังคุดอ่อนสีเขียว ผลมังคุดสุกมีสีม่วง เปลือกมังคุดลักษณะแข็ง ผิวมัน เปลือกด้านในอ่อน มีเนื้อสีขาว ชุ่มน้ำ รสเปรี้ยวอมหวาน ภายในผลมีเมล็ด

คุณค่าทางโภชนาการของมังคุด

สำหรับมังคุดนั้นนิยมรับประทานเนื้อผลมังคุด ให้รสหวาน อร่อย นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผลมังคุดสดๆ รายละเอียด ดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของเนื้อผลมังคุด สด ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 73 กิโลแคลอรี่ มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย น้ำ 80.94 โปรตีน 0.41 กรัม ไขมัน 0.58 กรัม คาร์โบไฮเดรต 17.91 กรัม กากใยอาหาร 1.8 กรัม แคลเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก  0.30 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 8 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 48 มิลลิกรัม โซเดียม 7 มิลลิกรัม สังกะสี 0.21 มิลลิกรัม วิตามินซี 2.9 มิลลิกรัม ไทอะมีน 0.054 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.054 มิลลิกรัม ไนอะซีน 0.286 มิลลิกรัม และ วิตามินบี6  0.018 มิลลิกรัม

สารเคมีสำคัญในมังคุด นั้น พบว่ามังคุดมีสารแซนโทน ( Xanthone ) สรรพคุณช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดการอักเสบ ลดความดันโลหิต ช่วยต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง นอกจาก ยังมีสารแทนนิน ( Tannin ) อยู่ในเปลือกของมังคุด

สรรพคุณของมังคุด

มังคุดนั้น นิยมใช้ประโยชน์กับผลมังคุด โดยนิยมรับประทางผล และ นำเปลือกผลมังคุดตากแห้งมาใช้ประดยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค โดยรายละเอียดของสรรพคุรของมังคุด มีดังนี้

  • ผลมังคุด เปรี้ยวอมหวาน สรรพคุณบำรุงกำลัง ทำให้กระปรี่กระเปร่า บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันท้องเสีย ช่วยให้ผ่อนคลาย บำรุงสมอง
  • เปลือกผลมังคุด สรรพคุณป้องกันโรคหวัด บำรุงผิว รักษาสิว ป้องกันมะเร็ง บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ  ลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ป้องกันโรคภูมิแพ้ ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย แก้ท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาอาการข้อเข่าอักเสบ

โทษของมังคุด 

  • เปลือกมังคุด มีสารออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง และ กดระบบการทำงานของประสาท ทำให้เพิ่มความดันเลือด ผู้ป่วยที่มีโรคความดันโลหิตสูง ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารสกัดที่ได้จากเปลือกมังคุด
  • มังคุด มีสารแทนนิน ( Tannin ) หากบริโภคมากเกินไป และ บริโภคต่อเนื่องนานๆ อาจเป็นพิษต่อตับ และไต ได้

ต้นมังคุด ผลไม้ รสหวาน ราชินีแห่งผลไม้ ลักษณะของต้นมังคุดเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของมังคุด ประโยชน์และสรรพคุณของมังคุด เช่น บำรุงกำลัง บำรุงผิวพรรณ รักษาสิว โทษของมังคุด มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย