แตงกวา นิยมบริโภคผลแตงกวาเป็นอาหาร ต้นแตงกวาเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงผิวพรรณ แก้กระหายน้ำ โทษของแตงกวามีอะไรบ้าง คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวาแตกวา สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นแตงกวา ( Cucumber ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของแตงกวา คือ Cucumis sativus L. ชื่อเรียกอื่นๆ ของแตงกวา คือ แตงขี้ไก่ แตงขี้ควาย แตกช้าง แตงปี แตงร้าน เป็นต้น ต้นแตงกวา เป็นพืชเศรษฐกิจ ผลแตงกวา นิยมนำมารับปรทานผลสดอย่างแพร่หลาย ถิ่นกำเนิดของแตงกวามาจากประเทศอินเดีย เป็นพืชปลูกง่าย ให้ผลเร็ว การเก็บรักษาง่าย

แตงกวาในประเทศไทย

สำหรับ แตงกวาในประเทศไทย จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ มีการปลูกแตงกวาเชิงพาณิชย์มากมาก สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยข้อมูลพื้นที่ปลูกแตงกวาในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2542-2543 มีพื้นที่ปลูกแตงกวา ประมาณ 123,163 ไร่ และ การส่งออกแตงกวา พบว่ามีการส่งออกผลสด และ เมล็ดพันธ์แตงกวา ในปี พศ 2541 มีการส่งออก ผลแตงกวาสด 25 เมตริกตัน มูลค่า 2.10 ล้านบาท และส่งออกเมล็ดพันธุ์แตงกวา 27.06 ล้านตัน มูลค่า 82.88 ล้านบาท และ การมีการนำเข้าแตงกวา 3.88 ตัน มูลค่า 4.87 ล้านบาท ปัจจุบัน แตงกวา เป็นผักที่นิยมบริโภคทั่วโลก

ลักษณะของต้นแตงกวา

ต้นแตงกวา เป็นพืชล้มลุก ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว ใช้เวลา 60 วันก็สามารถเก็บผลแตงกวารับประทานได้แล้ว การขยายพันธ์แตงกวาใช้ การเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นแตงกวา มีลักษณะ ดังนี้

  • ลำต้นแตงกวา ลักษณะเป็นเถา ลำต้นยาว เลื้อยตามหลักหรือพื้น ความยาวของลำต้นประมาณ 2 เมตร ลำต้นมีสีเขียว อวบน้ำ มีขนอ่อนๆปกคลุม
  • ใบแตงกวา เป็นใบเดียว ออกมาตามข้อของลำต้น ปลายใบแหลม มีขนหยาบทั่วใบ
  • ดอกแตงกวา ออกดอกเป็นช่อ ตามซอกใบ ดอกแตงกวามีสีเหลือง
  • ผลแตงกวา เจริญเติบโตมาจากดอกแตงกวา ลักษณะกลมยาว สีเขียว ภายในอวบน้ำ มีเมล็ดจำนวนมาก
  • เมล็ดแตงกวา อยู่ในผลแตงกวา ลักษณะทรงรีปลายเมล็ดแหลม สีขาวอมเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวา

สำหรับการศึกษาคุณประโยชน์ทางโภชนาการของแตงกวา นักโภชนาการได้ศึกษา คุณค่าทางโภชนาการของผลแตงกวา ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 16 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 3.63 กรัม น้ำตาล 1.67 กรัม กากใยอาหาร 0.5 กรัม ไขมัน 0.11 กรัม โปรตีน 0.65 กรัม น้ำ 95.23 กรัม วิตามินบี1 0.027 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.033 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.098 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.259 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.04 มิลลิกรัม วิตามินบี9 7 ไมโครกรัม วิตามินซี 2.8 มิลลิกรัม วิตามินเค 16.4 ไมโครกรัม ธาตุแคลเซียม 16 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.28 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 13 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.079 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 147 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 2 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.2 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 1.3 ไมโครกรัม

ในแตงกวา มีแร่ธาตุสำคัญชื่อ ” ซิลิกา ” คือ แร่ธาตุที่เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กระดูกอ่อน และ เส้นเอ็น

สรรพคุณของแตงกวา

สำหรับประโยชน์ของแตงกวา ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งต้นแตงกวา ตั้งแต่ ผลสด ใบ เมล็ด และ ลำต้น โดยรายละเอียดของ สรรพคุณของแตงกวา มีดังนี้

  • ผลแตงกวา สรรพคุณช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยกระชับรูขุมขน ทำให้ผิวพรรณเรียบตึง ทำให้ผิวพรรณอ่อนนุ่ม เป็นยาเย็น ลดความร้อนในร่างกาย ช่วยลดไข้ แก้กระหายน้ำ แก้เจ็บคอ แก้ตาแดง รักษาแผลไฟไหม้ แก้ผดผื่นคัน
  • ใบแตงกวา สรรพคุณแก้ท้องเสีย
  • เมล็ดแตงกวา สรรพคุณเป็นยาถ่ายพยาธิ
  • ลำตันแตงกวา สรรพคุณช่วยลดความดันโลหิต แก้ปวดท้อง รักษาหนองใน ช่วยขับปัสสาวะ

โทษของแตงกวา

สำหรับการรับประทานแตงกวา มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่หากบริโภคในปริมาณที่ไม่เหมาะสม หรือ บริโภคอย่างไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดโทษได้ โดยโทษของแตงกวา มีรายละเอียด ดังนี้

  • การปลูกแตงกวาเชิงพาณิชย์ มีการใช้สารเคมีบางชนิด เพื่อป้องกันการกัดทำลายจากศัตรูพืช ดังนั้น การนำแตงกวามารับประทานต้องทำความสะอาดให้สารตกค้างในแตงกวาเจือจางลง
  • แตงกวามีกรดยูริกสูง ผู้ป่วยโรคเกาต์ไม่ควรทานแตงกวาในปริมาณมากเกินไป

แตงกวา ผักสวนครัว นิยมบริโภคผลแตงกวา เป็นอาหาร ลักษณะของต้นแตงกวาเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของแตงกวา เช่น บำรุงผิวพรรณ แก้กระหายน้ำ โทษของแตงกวามีอะไรบ้าง คุณค่าทางโภชนาการของแตงกวา

แครอท ( Carrot ) นิยมรับประทานหัวแครอทเป็นอาหาร ต้นแครอทเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ เป็นต้น โทษของแครอท มีอะไรบ้าง

แครอท สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นแครอท ภาษาอังกฤษ เรียก Carrot ชื่อวิทยาศาสตร์ของแครอท คือ Daucus carota L. แครอทจัดเป็นพืชล้มลุก ตระกูลเดียวกับผักชี มีต้นกำเนิดในประเทศแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง ต้นแครอมมีหัวอยู่ใต้ดิน หัวแครอทมีหลายสี เช่น สีเหลือง สีม่วง สีส้ม เป็นต้น นิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร

หัวแครอท มีสารอาหารมากมาย อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุ เช่น เบตาแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินซี วิตามินอี แคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น ที่สำคัญมี สารฟอลคารินอล ( falcarinol ) ช่วยต้านเซลล์มะเร็งได้เป็นอย่างดี สรรพคุณของแครอท ใช้รักษาโรคได้อย่างหลากหลาย

ลักษณะของต้นแครอท

ต้นแครอท คือ พืชล้มลุกตระกูลผักชี สามารถขยายพันธ์โดยการแยกหน่อและการเพาะเมล็ดพันธ์ แครอทสามารถเจริญเติบโตได้ดีใน ดินร่วนปนทรายที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ระบายนํ้าได้ดี หน้าดินลึก และ ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับปลูกแครอท คือ ระหว่างเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ของทุกปี ต้นแครอทมีหัวอยู่ใต้ดิน โดยลักษณะของต้นแครอท มีรายละเอียด ดังนี้

  • หัวแครอท เป็นส่วนที่อยู่ใต้ดิน ลักษณะยาว ประมาณ 15 เซ็นติเมตร ลักษณะอ้วน ปลายแหลม ผิวเรียบ มีต่างๆ เช่น สีส้ม สีเหลือง สีม่วง หัวแครอทคือส่วนที่นิยมนำมารับประทานได้ ที่หัวของแครอทมีราก
  • ใบแครอท ใบแครอทมีสีเขียว อยู่ตามก้านใบ ซึ่งก้านใบแครอทออกมาจากหัวแครอท ก้านใบแครอท ลักษณะยาว สีเขียว  ความสูงของก้านใบประมาณ 20 เซนติเมตร ใบแครอท มีสีเขียว เป็นลักษณะฝอยๆ เหมือนในผักชี

สายพันธุ์ของแครอท

สำหรับแครอทไม่ใช่พืชพื้นเมืองของประเทศไทย ซึ่งแครอทมีหลายสายพันธ์ ซึ่งแต่ละสาพันธ์มีสีของหัวแครอทที่แตกต่างกันออกไป โดย สายพันธ์แครอทที่น่าสนใจ มีดังนี้

  • แครอทพันธุ์เบบี้แครอท ( Baby carrot ) หัวขนาดเล็ก สีส้ม ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์แนนเทส ( Nantes ) หัวขนาดปานกลาง สีส้ม ความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์แชนทีเน่ ( Chantenay ) หัวขนาดปานกลาง สีส้ม ความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์แดนเวอร์ ( Danvers ) หัวขนาดเล็ด สั้น และ เรียว มีสีส้ม ความยาวประมาณ 20 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์อิมเพอเรเตอร์ ( Imperater ) หัวขนาดใหญ่ สีส้ม ความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์หงส์แดง ( New Kuruda ) เป็นแครอทสายพันธ์ไทย
  • แครอทพันธุ์มินิเอ็กซ์เพรส ( Mini Express ) หัวขนาดเล็ก เรียวยาว ปลูกได้ตลอดทั้งปี
  • แครอทพันธุ์ทัมบีลีนา ( Thumbelina ) หัวกลม และ สั้น สีส้ม ความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
  • แครอทพันธุ์ทัวริโนเอฟวัน ( Tourino F1 ) หัวอ้วนเตี้ย สีส้ม

คุณค่าทางโภชนาการของแครอท

สำหรับการศึกษาแครอท นักโภชนาการไค้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของหัวแครอท โดยคุณค่าทางโภชนาการของหัวแครอท มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของหัวแครอท ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงานมากถึง 41 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 9.6 กรัม น้ำตาล 4.7 กรัม กากใยอาหาร 2.8 กรัม ไขมัน 0.24 กรัม โปรตีน 0.93 กรัม วิตามินเอ 835 ไมโครกรัม  เบตาแคโรทีน 8,285 ไมโครกรัม ลูทีนและซีแซนทีน 256 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.066 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.058 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.983 มิลลิกรัม วิตามินบี5 0.273 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.138 มิลลิกรัม วิตามินบี9 19 ไมโครกรัม วิตามินซี 5.9 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.66 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 33 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.3 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม ธาตุแมงกานีส 0.143 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 320 มิลลิกรัม ธาตุโซเดียม 69 มิลลิกรัม ธาตุสังกะสี 0.24 มิลลิกรัม และ ธาตุฟลูออไรด์ 3.2 ไมโครกรัม

ซึ่งในหัวแครอท มีสารสำคัญ คือ ฟอลคารินอล ( falcarinol ) สารชนิดนี้มีคุณสมบัติช่วยต้านการเจริญเติบโตของเซล์มะเร็ง

สรรพคุณของแครอท

สำหรับประโยชน์ของแครอทด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค นั้นมีมากมาย โดย สรรพคุณของแครอท มีรายละเอียดดังนี้

  • บำรุงสายตา แครอทมีวิตามินเอสูง ช่วยถนอมดวงตา และ สายตา
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง แครอทมีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
  • บำรุงเลือด แครอทช่วยให้ระบบไหลเวียนของเลือดดี ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยลดไขมันในเลือด ช่วยรักษาสมดุลของน้ำตาลในเลือด
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยให้ปรับการระบบย่อยอาหารมีประสิทธิภาพ
  • บำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวเปล่งปลั่งอยู่เสมอ ลดรอยเหี่ยวย่น ช่วยชะลอวัย ลดริ้วรอยก่อนวัยอันควร ช่วยรักษาแผล ช่วยสมานแผล
  • บำรุงเส้นผม แครอทช่วยรักษาความชุ่มชื้นของเส้นผม ทำให้เส้นผมแข็งแรง
  • บำรุงร่างกาย ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค
  • ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย ทำให้แผลหายเร็วขึ้น
  • ช่วยขับพยาธิ
  • ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน

โทษของแครอท

สำหรับการรับประทานแครอทอย่างปลอดภัย ต้องรับประทานแครอทในปริมาณที่เหมาะสม ข้อควรระวังในการรับประทานแครอทมีดังนี้

  • สำหรับคนบางคนอาจแพ้แครอท หากพบว่าเกิดอาการแพ้หลังจากกินแครอท ให้หยุดกินและพบแพทย์เพื่อรักษาด่วน
  • สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่กินยาลดน้ำตาลในเลือดอยู่แล้ว การกินแครอทในปริมาณมากอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลง สำหรับผุ้ป่วยโรคเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด
  • หัวแครอทสดๆ ที่ไม่ผ่านความร้อน อาจมีกลิ่นเหม็นเขียว อาจทำให้อาเจียนได้ การรับประทานแครอท ควรทำให้ผ่านความร้อนก่อน หรือ ทำให้หัวแครอทมีขนาดเล็กลงก่อน

แครอท ( Carrot ) ผักสวนครัว หัวแครอท นิยมรับประทานเป็นอาหาร ลักษณะของต้นแครอทเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของแครอท ประโยชน์และสรรพคุณของแครอท เช่น บำรุงสายตา บำรุงผิวพรรณ เป็นต้น โทษของแครอท มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย