กระเจี๊ยบ ดอกนำมารับประทานได้ ต้นกระเจี๊ยบเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคกระเพาะอาหาร โทษของกระเจี๊ยบมีอะไรบ้างกระเจี๊ยบ สมุนไพร พืชสวนครัว สรรพคุณของกระเจี๊ยบ

กระเจี๊ยบ ภาษาอังกฤษ เรียก Rosella พืชตระกูลชบา ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบ คือ Hibiscus sabdariffa Linn. ชื่อเรียกอื่นๆของกระเจี๊ยบ เช่น ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง ใบส้มม่า แกงแคง ส้มปู แบลมีฉี่ แต่เพะฉ่าเหมาะ ปร่างจำบู้ ส้มเก็ง ส้มพอเหมาะ ส้มพอดี กระเจี๊ยบเปรี้ยว ส้มพอ เป็นต้น

ต้นกระเจี๊ยบ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ซูดาน มาเลเซีย และ ประเทศไทย สำหรับแหล่งปลูกกระเจี๊ยบในประเทศไทย คือปทุมธานี สมุทรสาคร นนทบุรี นครปฐม กาญจนบุรี พิจิตร  ราชบุรี สุพรรณบุรี ระยอง และ นครนายก กระเจี๊ยบ อุดมไปด้วยสารอาหารหลากหลาย เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และสารต้านอนุมูลอิสระ สรรพคุณทางยาของกระเจี๊ยบ เช่น รักษาอาการอักเสบ ต้านเชื้อโรค ลดความดันโลหิต รักษาโรคหัวใจและระบบประสาท

ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบ

ต้นกระเจี๊ยบ พืชล้มลุก สามารถเจริญเติบโตได้ดีในเขตอากาศกึ่งร้อน สามารถขยายพันธุ์ ได้ด้วยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบ มีดังนี้

  • ลำต้นกระเจี๊ยบ ลำต้นและกิ่งมีสีม่วงแดง ความสูงประมาณ 100 เซนติเมตร เนื้อลำต้นอ่อน อวบน้ำ
  • ใบกระเจี๊ยบ ลักษณะเป็นใบเดี่ยว ลักษณะรูปฝ่ามือ มี 3 แฉก ใบเว้าลึก ขอบใบเป็นฟันเลื่อย ใบสีเขียว ใบสากมือ
  • ดอกกระเจี๊ยบ ลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ดอกออกตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีชมพู กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยายติดกัน สีแดงเข้ม กลีบเลี้ยงหักง่าย เมื่อดอกบานเต็มที่ เส้นผ่านศูนย์กลางจะประมาณ 6 เซนติเมตร
  • ผลกระเจี๊ยบ ลักษณะเป็นผลรีปลายแหลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีแดง และจะปลายดอกจะแตกเป็นแฉกๆ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล กลีบผลหนาสีแดงฉ่ำน้ำ

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบ

สำหรับการบริโภคกระเจี๊ยบ นิยมรับประทานผลกระเจี๊ยบ นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภขนาการของกระเจี๊ยบ มีดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของผลกระเจี๊ยบแดง ขนาด 100 กรัม ให้พลังงานมากถึง 49 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 11.31 กรัม ไขมัน 0.64 กรัม โปรตีน 0.96 กรัม วิตามินเอ 14 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.011 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.028 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.31 มิลลิกรัม วิตามินซี 12 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 215 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 1.48 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 51 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 37 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 208 มิลลิกรัม และ ธาตุโซเดียม 6 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระเจี๊ยบ

กระเจี๊ยบ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ได้หลายส่วน ทั้ง ผล เมล็ด ดอก ใบ และ น้ำคั้นจากดอกกระเจี๊ยบ สรรพคุณของกระเจี๊ยบ มีดังนี้

  • ผลกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดคอเลสเตอรัล รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท แก้กระหายน้ำ ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด
  • เมล็ดกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดคอเลสเตอรัล บำรุงกำลัง รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ
  • น้ำกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดน้ำหนัก ลดคอเลสเตอรัล บำรุงกำลัง ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยรักษาโรคเส้นเลือดแข็งเปราะ รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน ช่วยลดไข้ ช่วยแก้ไอ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะ
  • ดอกกระเจี๊ยบ สรรพคุณช่วบลดไขมันในเส้นเลือด รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท ช่วยแก้ไอ ช่วยขับเสมหะ
  • ใบกระเจี๊ยบ สรรพคุณบำรุงกำลัง รักษาโรคหัวใจและโรคประสาท ช่วยขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด ช่วยขับปัสสาวะ ใช้ล้างแผล

โทษของกระเจี๊ยบ

สำหรับข้อควรระวังในการบริโภค และ ใช้ประโยชน์จากกระเจี๊ยบ ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย มีดังนี้

  • กระเจี๊ยบ สรรพคุณเป็นยาระบาย การกินกระเจี๊ยบมากเกินไปทำให้ท้องเสียได้ สำหรับผู้ป่วยที่พึ่งพักฟื้นจากอาการท้องเสีย ไม่ควรกินกระเจี๊ยบ
  • น้ำกระเจี๊ยบที่ปรุงรสด้วยน้ำตาล อาจมีความหวานมากเกินไป ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรกินน้ำกระเจี๊ยบที่หวาน
  • กระเจี๊ยบสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดการบริโภคกระเจี๊ยบ เพื่อลดความเสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

ข่อย กิ่งข่อยในสมัยโบราณในเป็นแปรงสีฟัน ต้นข่อยเป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงเหงือกและฟัน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม เป็นยาระบายอ่อนๆ โทษของข่อย มีอะไรบ้างข่อย สมุนไพร สมุนไพรไทย

ต้นข่อย ( Tooth brush tree ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่อย คือ Streblus asper Lour. ชื่อเรียกอื่นๆของข่อย เช่น ตองขะแหน่  , ส้มพอ  , ซะโยเส่ , กักไม้ฝอย , สะนาย , สมนาย เป็นต้น ต้นข่อย เป็น พืชตระกูลเดียวกับขนุน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง นิยมนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย เช่น นำมาใช้เป็นไม้ประดับ ยารักษาโรค และ ของใช้ต่างๆ ปัจจุบันข่อยนิยมปลูกเพื่อเป็นไม้ประดับ

ลักษณะของต้นข่อย

ต้นข่อย มีถิ่นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย ตั้งแต่ ประเทศอินเดีย จีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเชีย มาเลเซีย พม่า ลาว เวียดนาม และ ไทย การขยายพันธ์ข่อยใช้การปักชำ การทาบกิ่ง ลักษณะของต้นข่อย มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นข่อย ลักษณะลำต้นตั้งตรง ความสูงประมาณ 5 ถึง 15 เมตร เปลือกข่อยสีเทานวล ต้นข่อยเป็นทรงพุ่ม มีกิ่งอ่อน กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ลำต้นข่อยมีน้ำยาง น้ำยางสีขาว
  • ใบข่อย เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ตามกิ่งอ่อน ลักษณะของใบเป็นทรงรี ปลายใบแหลม ใบมีสีเขียวอ่อน ใบมีขนอ่อนปกคลุม ขอบใบเป็นรอยหยัก
  • ดอกข่อย ดอกเป็นช่อ ออกดอกตามซอกใบ ดอกลักษณะกลม สีเหลืองแกมเขียว
  • ผลข่อย เจริญเติบโตจากดอก ลักษณะผลข่อยเหมือนไข่ สีเขียวอ่อนออกขาว ผลสุกมีสีเหลือง เนื้อด้านในผลมีรสหวาน ภายในผลมีเมล็ด ลักษณะคล้ายพริกไทย

สรรพคุณของข่อย

ต้นข่อย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค ตั้งแต่ เปลือกข่อย กิ่งข่อย ผลข่อย เมล็ดข่อย และ รากข่อย สรรพคุณของข่อยมีรายละเอียด ดังนี้

  • เปลือกข่อย สรรพคุณแก้ปวดท้อง แก้ท้องร่วง รักษาไซนัส มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส ใช้รักษาแผล รักษาฝี รักษาโรคผิวหนัง เป็นยาสีฟัน รักษาโรคเหงือกอักเสบ
  • เนื้อไม้ข่อย มีฤทธิ์ต้านเชื้อเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส รักษาแผล รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคเหงือกอักเสบ รักษาแผลสด แผลติดเชื้อ
  • ใบข่อย สรรพคุณแก้ท้องร่วง แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ
  • ดอกข่อย สรรพคุณเป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ ช่วยเจริญอาหาร บำรุงหัวใจ
  • ผลข่อย สรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร
  • เมล็ดข่อย สรรพคุณแก้ท้องเสีย แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม ช่วยเจริญอาหาร
  • รากข่อย สรรพคุณรักษาโรคบ้าหมู รักษาบาดแผล แผลติดเชื้อ แผลเป็นหนอง

โทษของข่อย

สำหรับ โทษของข่อย การนำข่อยมาปรุงยาเพื่อรับประทาน ไม่ควรรับประทานมากเกินไป และ ไม่ควรรับประทานอย่างต่อนเนื่อง เพราะ ข่อยความเป็นพิษ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ระบบหัวใจ และ ความดันโลหิต

ข่อย คือ พืชพื้นเมือง กิ่งข่อย ในสมัยโบราณในเป็นแปรงสีฟัน ลักษณะของต้นข่อย ประโยชน์และสรรพคุณของข่อย เช่น บำรุงเหงือกและฟัน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม เป็นยาระบายอ่อนๆ โทษของข่อย มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย