ต้นข่า สมุนไพรพื้นบ้าน ข่านิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว ต้นข่าเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนากการของข่า สรรพคุณลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง ขับเสมหะ ขับลม โทษของข่า

ข่า สมุนไพร สมุนไพรไทย

ข่า ( Galanga ) พืชตระกลูขิง นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารต่าง ๆ เป็นเครื่องเทศ ช่วยแต่งกลิ่นอาหาร และ ดับกลิ่นคาวเนื้อสัตว์ ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. ประโยชน์ของข่า ด้านการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย เช่น ช่วยดับคาว ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันมะเร็ง รักษาหลอดลมอักเสบ ช่วยขับเสมหะ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลมในกระเพาะอาหาร

ข่าในประเทศไทย

พื้นที่ปลูกข่าของประเทศไทย นั้นสามารถปลูกได้ทั่วไป นิยมปลูกต้นข่าที่สวนบ้านทุกบ้าน จัดว่า ข่าเป็นพืชเศรษฐกิจ สามารถนำมาใช้ประโยชน์มากมาย ใช้เป็นยารักษาโรค และ ส่วนประกอบของอุตสาหกรรมต่างๆ ในข่า สามารถสกัด เอาน้ำมันหอมระเหยได้ ซึ่ง ในน้ำมันหอมระเหยของข่า มี สารสำคัญ 4 ชนิด คือ trans-p-Coumaryl diacetate , 4-Hydroxycinnamoylaldehyde , 1´-Acetoxychavicol acetate และ β–Sitosterol

ข่า ภาษาอังกฤษ เรียก Galanga ชื่อวิทยาศาสตร์ของข่า คือ Alpinia galanga (L.) Willd. พืชลักษณะเดียวกับ กระชาย กระชายดำ กระชายแดง กระวาน กระวานเทศ ขิง ขมิ้น เร่ว เปราะป่า เปราะหอม ว่านนางคำ และ ว่านรากราคะ ชื่อเรียกอื่นๆของข่า เช่น สะเอเชย เสะเออเคย ข่าหยวก ข่าหลวง กฎุกกโรหินี เป็นต้น

ชนิดของข่า

สำหรับสายพันธ์ข่าที่นิยมปลู มี 4 สายพันธ์ ประกอบด้วย

  • ข่าป่า พบได้ทั่วไปในป่าเบญจพรรณ และ ป่าดิบชื้น ลักษณะลำต้นสูง ใบคล้ายกับข่า ที่ปลูกทั่วไป หัวข่ามีกลิ่นฉุนไม่มาก
  • ข่าลิง หรือ ข่าน้อย ลักษณะลำต้นเล็ก
  • ข่าคม ลักษณะใบมน มีขนทั้งสองด้าน ดอกสีขาว
  • ข่าน้ำ ข่าพื้นบ้าน นิยมปลูกเพื่อจำหน่าย พบมากที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

ลักษณะของต้นข่า

ข่าเป็นพืชล้มลุก มีรสเผ็ด กลิ่นฉุน อายุหลายปี สามารถขยายพันธ์ โดยการแตกหน่อ ลักษณะของต้นข่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • เหง้าข่า อยู่ใต้ดิน เหง้าสีน้ำตาลอมแสด เลื้อยขนานกับผิวดิน มีข้อปล้องสั้น
  • ลำต้นของข่า เป็นลักษณะกาบ ตั้งตรง แทงออกมาจากเหง้า ลักษณะอวบน้ำ กลม สีเขียว
  • ใบข่า เป็นใบเดี่ยว ใบยาว เหมือนหอก เรียงสลับ รอบลำต้น กาบใบมีขน ปลายใบแหลม ฐานใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ
  • ดอกข่า เป็นลักษณะช่อ ออกที่ปลายยอด ช่อแยกแขนง ตั้งขึ้น มีขนาดใหญ่ สีเขียวปนเหลือง ดอกแก่เป็นสีขาวปนม่วงแดง
  • ผลแห้งแตก รูปกระสวย ทรงกลม มีเมล็ด เมล็ดข่าใช้เป็นเครื่องเทศ ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน

คุณค่าทางโภชนาการของข่า

ต้นข่ามีกลิ่นฉุน และ รสเผ็ดร้อนมาก นิยมนำมาประกอบอาหาร ข่ามีประโยชน์ในด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย นักโภชนากการำด้ศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของข่า โดยคุณค่าทางโภชนาการของเหง้าข่าอ่อน ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี่

ข่าอ่อนขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัฯ ประกอบด้วย กากใยอาหาร 1.1 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.1 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.15 กรัม และ วิตามินซี 23 มิลลิกรัม

สรรพคุณทางสมุนไพรของข่า

ต้นข่ามีกลิ่นฉุน และ รสเผ็ดร้อน นิยมมาประกอบอาหาร มีประโยชน์ด้านการรักษาโรค และ การบำรุงร่างกาย สรรพคุณของข่า นิยมใช้ เหง้าข่า รากข่า ดอกข่า ผลข่า และ ใบข่า ประโยชน์ทั้งหมดของข่า มีรายละเอียด ดังนี้

  • รากของข่า สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด ทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดี ช่วยขับเสมหะ
  • เหง้าของข่า สรรพคุณ ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดระดับน้ำตาลในเลือด รักษาหลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ปวดท้อง แก้อาหารเป็นพิษ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยเจริญอาหาร เป็นยาระบายอ่อน ๆ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยขับน้ำดี ช่วยขับเลือด ขับน้ำคาวปลา รักษาแผลสด ลดอาการอักเสบ แก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย รักษาโรคผิวหนัง ฆ่าเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา รักษากลากเกลื้อน แก้ฟกช้ำ แก้เหน็บชา บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  • ใบของข่า สรรพคุณช่วยฆ่าพยาธิ รักษากลากเกลื้อน
  • ดอกของข่า สรรพคุณแก้อาการท้องเสีย รักษาฝีดาษ
  • ผลของข่า สรรพคุณแก้ปวดฟัน รักษาโรคท้องร่วง ช่วยย่อยอาหาร

โทษของข่า

สำหรับข่า เป็นพืชที่มีรสเผ็ดร้อน การใช้ประโยชนืจากข่ามีข้อควรระวัง ดังนี้

  • น้ำมันหอมระเหยจากเหง้าข่า มีความเป็นพิษปานกลาง หากได้กินน้ำมันหอมระเหยจากข่ามากเกินขนาด เป็นพิษต่อร่างกาย
  • ข่า มีความเผ้ดร้อน ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง สำหรับคนที่ผิวหนังแพ้ข่า ทำให้มีอาการแสบร้อน

ต้นข่า คือ พืชล้มลุก สมุนไพรพื้นบ้าน พืชสวนครัว ข่า นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว เพิ่มรสชาติอาหาร ลักษณะของต้นข่า คุณค่าทางโภชนากการของข่า สรรพคุณของข่า เช่น ลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันมะเร็ง ขับเสมหะ ช่วยขับลม โทษของข่า

ม้ากระทืบโรง สมุนไพร นิยมนำมาทำเป็นส่วนผสมยาดอง ประโยชน์และสรรพคุณของม้ากระทืบโรง บำรุงร่างกาย บำรุงเลือด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกำหนัด

ม้ากระทืบโรง สมุนไพร สรรพคุณของม้ากระทืบโรง

ม้ากระทืบโรง ชื่อวิทยาศาสตร์ของม้ากระทืบโรง คือ Ficus sarmentosa Buch.-Ham. ex Sm. ชื่อเรียกอื่นๆของม้ากระทืบโรง เช่น ม้าคอกแตก คอกม้าแตก มันฤาษี กาโร พญานอนหลับ มาดพรายโรง เดื่อเครือ บ่าบ่วย เป็นต้น

ลักษณะของต้นม้ากระทืบโรง

ต้นม้ากระทืบโรง เป็นไม้เลื้อย ทรงไม้พุ่ม มักพบตามต้นไม้ขนาดใหญ่ในป่าดิบแล้งและป่าดิบเขา สามารถขยายพันธุ์ด้วย วิธีการปักชำ ลักษณะของต้นม้ากระทืบโรง มีรายละเอียด ดังนี้

  • ลำต้นม้ากระทืบโรง มีความสูงได้ประมาณ 25 เมตร เปลือกของลำต้นสีน้ำตาล ลักษณะสาก มีปุ่มคล้ายหนาม เนื้อไม้เป็นสีขาว  ลำต้นมีน้ำยาง สีขาว
  • ใบม้ากระทืบโรง เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกันตามเถา ลักษณะของใบรูปไข่
  • ดอกม้ากระทืบโรง ดอกออกตามซอกใบ ออกดอกเป็นช่อ ฐานรองดอกเป็นรูปทรงกลม
  • ผลม้ากระทืบโรง ผลเป็นรูปทรงกลม เปลือกของผลม้ากระทืบโรง มีสรรพคุณทางยา

คุณค่าทางโภชนากการของม้ากระทืบโรง

การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของม้ากระทืบโรง พบว่าเถาของม้าประทืบโรง มีสารเคมีต่างๆ ประกอบด้วย

  • สารเคมีกลุ่ม eudesmane sesquiterpene  ประกอบด้วย  foveolide A , foveoeudesmenone , 4(15)-eudesmene-1β,6α-diol , 4(15)-eudesmene-1β,5α-diol
  • สารเคมีกลุ่ม sesquiterpenoid dimer คือ foveolide B
  • สารเคมีกลุ่ม phenolic ได้แก่ foveospirolide, ethyl rosmarinate
  • สารเคมีกลุ่มไตรเทอร์ปีนอยด์ ได้แก่ friedelin, taraxerol และ betulin

สรรพคุณของม้ากระทืบโรง

สำหรับต้นม้ากระทืบโรง มีประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย โดยใช้ส่วน ทั้งต้น เถา เนื้อไม้ โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ทั้งต้นของม้ากระทืบโรง สรรพคุณช่วยบำรุงกำลัง  แก้ปวดแมื่อย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับเลือดเสีย รักษาริดสีดวงทวาร เพิ่มความต้องการทางเพศ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงธาตุ
  • เถาม้ากระทืบโรง มีรสเย็น สรรพคุณบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย บำรุงธาตุ บำรุงเลือด แก้ปวดฟัน ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย แก้ประดงลม รัักษาฮ้อเลือด  แก้ปวดหลังปวดเอว
  • เนื้อไม้ม้ากระทืบโรง สรรพคุณแก้ปวดหัว แก้ปวดหลัง แก้ปวดเอว

โทษของม้ากระทืบโรง

สารเคมี foveolide A ในลำต้นของม้ากระทืบโรง มีความเป็นพิษระดับปานกลางต่อเซลล์มะเร็งลำไส้ เซลล์มะเร็งตับ เซลล์มะเร็งเต้านม และเซลล์มะเร็งกระเพาะอาหาร และ มีฤทธิ์ต้านเชื้อวัณโรค Mycobacterium tuberculosis โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งเชื้อได้ คือ 200 ไมโครโมลาร์

ม้ากระทืบโรง คือ พืชประเภทไม้เลื้อย สมุนไพร นิยมนำมาทำเป็นส่วนผสมยาดอง ประโยชน์ของม้ากระทืบโรง สรรพคุณของม้ากระทืบโรค ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงเลือด แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ บำรุงกำหนัด

แหล่งอ้างอิง

  • ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, สถาบันวิจัยและพัฒนาที่สูง (องค์กรมหาชน), เว็บไซต์อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล, ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์)
  • “ไม้ดีมีประโยชน์ – “ม้ากระทืบโรง” บำรุงความกำหนัด”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-10. สืบค้นเมื่อ 2007-10-06.
ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย