ฝีในสมอง Brain abscess การติดเชื้อที่สมองจนเกิดฝี เกิดจากการสำลักหรือรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ความรุนแรงสูง ปวดหัว มีอาการชัก หมดสติ สูญเสียการควบคุมร่างกายโรคฝีที่สมอง โรคฝีในสมอง โรคติดเชื้อ โรคสมอง

โรคฝีสมอง ( Brain abscess ) คือ ภาวะการติดเชื้อในสมองจนทำให้เกิดฝี โรคชนิดนี้เป็นโรคอันตรายมีความรุนแรงของโรคสูง การติดเชื้อภายในสมองและเนื้อเยื่อใกล้เคียง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้ารุกรานร่างกายทั้งทางตรงและทางอ้อม เข้าสู่สมองทางช่องทางต่างๆ ซึ่งเชื้อที่พบบ่อยสุด คือ สเตรปโตคอคคัส เป็นเชื้อโรคที่ไม่ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิต โรครุนแรงพบในเด็กได้มากกว่าผู้ใหญ่ เด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหูน้ำหนวก โรคหัวใจพิการ ส่วนผู้ใหญ่มักป่วยจากการที่สมองได้รับการกระทบกระเทือน จากการเกิดอุบัติเหตุ ทำให้เกิดการติดเชื้อที่สมองและเกิดเป็นฝี โรคนี้ลักษณะการใกล้เคียงกับโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

สาเหตุการเกิดโรคฝีในสมอง

สำหรับสาเหตุของการติดเชื้อที่สมองจนทำให้เกิดฝี มาจากการติดเชื้อ ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อมีหลายช่องทาง โดยรายละเอียด ดังนี้

  • ติดเชื้อโดยตรงจากการเกิดอุบัติเหตุ หรือ เกิดการติดเชื้อหลังจากที่ผ่าตัด
  • ติดเชื้อจากอวัยวะอื่นและลามเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่สมองจึงทำให้เกิดฝีที่สมอง
  • อาการป่วยจากภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ภาวะภูมิต้านทานร่างกายต่ำ
  • ภาวะโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

อาการของโรคฝีในสมอง

สำหรับการแสดงอาการของฝีในสมอง จะแสดงอาการผิดปรกติที่หัวและการทำงานของร่างกายโดยรวม เช่น มีไข้ ปวดหัวอย่างรุนแรง มีหนองออกจากหู ชัด คลื่นไส้อาเจียน สายตาพร่ามัว แขนขาอ่อนแรง ซึ่งอาการของโรคนี้ แบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ การแสดงอาการจากการติดเชื้อที่ศรีษะ และ อาการจากการติดเชื้อจากเนื้อสมองถูกกดทับ โดยรายละเอียด ดังนี้

อาการฝีในสมองจากการติดเชื้อในศีรษะ ผู้ป่วยจะมีไข้ และเพิ่มอัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง

อาการฝีในสมองจากการถูกกดทับของเนื้อสมอง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน การรับรู้ลดลง ชา และ ชัก ตลอดจนการติดต่อสื่อสาร ความจำเสื่อม ความแจ่มชัดของสายตาลดลง สายตาแคบ ตามัว เดินเซ และ สมองเสื่อม

การตรวจวินิจฉัยโรคฝีในสมอง

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรค แพทย์จะตรวจดูจากอาการ ตรวจประวัติการรักษา สังเกตุอาการ ตรวจร่างกาย เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ ทำเอ็มอาร์ไอ เจาะนํ้าไขสันหลังส่งตรวจเพาะเชื้อ และส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองบริเวณที่เป็นฝี

การรักษาโรคฝีในสมอง

แนวทางการรักษาโรคฝีในสมอง ต้องตรวจหาตำแหน่งของฝี และ ขนาด จากนั้นจะกำจัดเอาก้อนฝี หรือ ระบายออกหนองออก โดยการใช้ยาปฏิชีวนะตามที่พบในก้อนฝีนั้น การให้ยาต้านเชื้อที่ติดจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน จนฝีหายโดยจะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ตลอดเวลา แต่หากฝีไม่หาย ต้องใช้การผ่าตัดเพื่อเอาฝีออก และ ต้องรักษาด้วยการควบคุมเชื้อโรค เพื่อยับยั้งไม่ให้กลับมาเกิดโรคฝีในสมองซ้ำอีกครั้ง

การป้องกันการเกิดโรคฝีในสมอง

สำหรับโรคฝีในสมองเกิดจากการติดเชื้อที่สมอง ดังนั้นแนวทางการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การป้องกันภาวะการติดเชื้อโรคทั้งหมด โดยให้รักษาความสะอาดขั้นพื้นฐาน เพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ รวมถึงระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่กระทบกระเทือนต่อศีรษะ

 

โรคฝีในสมอง ( Brain abscess ) ภาวะการติดเชื้อที่สมองจนเกิดฝี เกิดจากการสำลักหรือรับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ความรุนแรงของโรคสูง ผู้ป่วยมักปวดหัว มีอาการชัก หมดสติ สูญเสียการควบคุมร่างกาย แนวทางการรักษาโรคทำอย่างไร 

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ทำให้เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อยง่าย เวียนหัว เสี่ยงหัวใจวายตายได้ การรักษาและป้องกันได้หรือไม่หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจ

โรคหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คือ ความผิดปรกติของหัวใจจากการขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ จากหลอดเลือดหัวใจถูกปิดกั้นจากคราบพลัค (Plaque) จนทำให้กล้ามเนื้อที่หัวใจเสื่อมสภาพและตายลง โรคนี้พบมากกลุ่มผู้สูงอายุ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบฉับพลัน ก็คือ ภาวะหัวใจวาย ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ

ประเภทของโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับภาวะหัวใจขาดเลือด สามารถแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดไม่พบ ST Segment Elevation และ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รายละเอียด ดังนี้

  • หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน จนทำให้การทำงานของหัวใจผิดปรกติ มีความอันตรายสูงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทำให้หัวใจวายตายได้
  • หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดไม่พบ ST Segment Elevation ( Non-ST Segment Elevation Myocardial Infarction – NSTEMI) เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจติดต่อกันนานเกิน 30 นาที ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ ลักษณะอาการไม่รุนแรงเพียงภาวะเจ็บหน้าอกเท่านั้น

สาเหตุการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับสาเหตุของภาวะหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากเลือดที่จะไหลเวียนไปยังหัวใจถูกขัดขวาง ทำให้หัวใจไม่ได้รับเลือดและออกซิเจนอย่างเหมาะสม ส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการเสื่อมสภาพ หรือ หยุดทำงาน ซึ่งสาเหตุของเลือดที่เลี้ยงหัวไจไม่เพียงพอ เกิดจากหลายสาเหตุ สามารถสรุปได้ดังนี้

  • การสะสมของไขมันในเลือด ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  • ภาวะความเครียดสะสม
  • ภาวะการหยุดหายใจระหว่างการนอนหลับ การนอนกรน
  • น้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ปรกติ โรคอ้วน
  • ความเสืื่อมสภาพตามอายุ
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  • การขาดการออกกำลังกาย

อาการโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจขาดเลือดจะแสดงอาการให้เห็นหลายส่วนท่วนร่างกาย เช่น เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วมาก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกแต่ร่างกายเย็น เหนื่อยมากผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุ

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด แพทย์จะทำการซักประวัติรวมถึงลักษณะของอาการที่แสดงออกมา จากนั้นแพทย์จะทำการ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจเลือด การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ และ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ( Echocardiogram )

การรักษาโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้สามารถทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต รวมกับการใช้ยารักษาโรค ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหนัก จำเป็นต้องผ่าตัดหัวใจ สามารถสรุปแนวทางการรักษาโรคหัวใจขาดเลือด ได้ดังนี้

  • แนวทางการปรับพฤติกรรม คือ ลดภาวะความเครียดต่างๆ เลิกสูบบุหรี่ เลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ควบคุมคอเลสเตอรอลในเลือด ความคุมระดับความดันโลหิตสูง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ควบคุมน้ำหนักตัว
  • การใช้ยารักษาโรค ซึ่งต้องใช้ยาหลายตัวร่วมกัน ซึ่งยาต่างๆที่ใช้รักษาโรคหัวใจขาดเลือด เช่น ยาแอสไพริน ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ยาระงับอาการปวด ยาไนโตรไกลเซริน ยาปิดกั้นการทำงานของเบต้า และ ยาเอซีอีอินฮิบิเตอร์
  • การผ่าตัด เป็นการรักษาเพื่อช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนเข้าสู่หัวใจได้อย่างเพียงพอ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจ และ การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ

การป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด สามารถป้องกันได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชิวิต เพื่อให้สุขภาพของหัวใจแข็งแรง โดยแนวทางการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หวานจัด และ หลีกเลี่ยงอาหารมัน
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และ สม่ำเสมอ
  • ลดภาวะความเครียดต่างๆ
  • เลิกสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอร์

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อยง่าย เวียนหัว มีความเสี่ยงหัวใจวายตายได้ การรักษาโรคหัวใจขาดเลือดทำอย่างไร สามารถป้องกันได้หรือไม่

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย