กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ทำให้เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อยง่าย เวียนหัว เสี่ยงหัวใจวายตายได้ การรักษาและป้องกันได้หรือไม่หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจ

โรคหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด คือ ความผิดปรกติของหัวใจจากการขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ จากหลอดเลือดหัวใจถูกปิดกั้นจากคราบพลัค (Plaque) จนทำให้กล้ามเนื้อที่หัวใจเสื่อมสภาพและตายลง โรคนี้พบมากกลุ่มผู้สูงอายุ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแบบฉับพลัน ก็คือ ภาวะหัวใจวาย ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจ

ประเภทของโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับภาวะหัวใจขาดเลือด สามารถแบ่งได้ เป็น 2 ประเภท คือ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดไม่พบ ST Segment Elevation และ ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ รายละเอียด ดังนี้

  • หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน จนทำให้การทำงานของหัวใจผิดปรกติ มีความอันตรายสูงหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ทำให้หัวใจวายตายได้
  • หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิดไม่พบ ST Segment Elevation ( Non-ST Segment Elevation Myocardial Infarction – NSTEMI) เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจติดต่อกันนานเกิน 30 นาที ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจ ลักษณะอาการไม่รุนแรงเพียงภาวะเจ็บหน้าอกเท่านั้น

สาเหตุการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับสาเหตุของภาวะหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากเลือดที่จะไหลเวียนไปยังหัวใจถูกขัดขวาง ทำให้หัวใจไม่ได้รับเลือดและออกซิเจนอย่างเหมาะสม ส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการเสื่อมสภาพ หรือ หยุดทำงาน ซึ่งสาเหตุของเลือดที่เลี้ยงหัวไจไม่เพียงพอ เกิดจากหลายสาเหตุ สามารถสรุปได้ดังนี้

  • การสะสมของไขมันในเลือด ทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ
  • ภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
  • ภาวะความเครียดสะสม
  • ภาวะการหยุดหายใจระหว่างการนอนหลับ การนอนกรน
  • น้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ปรกติ โรคอ้วน
  • ความเสืื่อมสภาพตามอายุ
  • การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
  • การขาดการออกกำลังกาย

อาการโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจขาดเลือดจะแสดงอาการให้เห็นหลายส่วนท่วนร่างกาย เช่น เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็วมาก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกแต่ร่างกายเย็น เหนื่อยมากผิดปกติโดยไม่มีสาเหตุ

การตรวจวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด แพทย์จะทำการซักประวัติรวมถึงลักษณะของอาการที่แสดงออกมา จากนั้นแพทย์จะทำการ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจเลือด การใส่สายสวนหลอดเลือดหัวใจ และ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ( Echocardiogram )

การรักษาโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคนี้สามารถทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต รวมกับการใช้ยารักษาโรค ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการหนัก จำเป็นต้องผ่าตัดหัวใจ สามารถสรุปแนวทางการรักษาโรคหัวใจขาดเลือด ได้ดังนี้

  • แนวทางการปรับพฤติกรรม คือ ลดภาวะความเครียดต่างๆ เลิกสูบบุหรี่ เลิกดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ ควบคุมคอเลสเตอรอลในเลือด ความคุมระดับความดันโลหิตสูง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ควบคุมน้ำหนักตัว
  • การใช้ยารักษาโรค ซึ่งต้องใช้ยาหลายตัวร่วมกัน ซึ่งยาต่างๆที่ใช้รักษาโรคหัวใจขาดเลือด เช่น ยาแอสไพริน ยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านเกล็ดเลือด ยาระงับอาการปวด ยาไนโตรไกลเซริน ยาปิดกั้นการทำงานของเบต้า และ ยาเอซีอีอินฮิบิเตอร์
  • การผ่าตัด เป็นการรักษาเพื่อช่วยให้เลือดสามารถไหลเวียนเข้าสู่หัวใจได้อย่างเพียงพอ ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจ และ การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ

การป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด

สำหรับแนวทางการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด สามารถป้องกันได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชิวิต เพื่อให้สุขภาพของหัวใจแข็งแรง โดยแนวทางการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด มีดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หวานจัด และ หลีกเลี่ยงอาหารมัน
  • พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตราฐาน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และ สม่ำเสมอ
  • ลดภาวะความเครียดต่างๆ
  • เลิกสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอร์

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก เหนื่อยง่าย เวียนหัว มีความเสี่ยงหัวใจวายตายได้ การรักษาโรคหัวใจขาดเลือดทำอย่างไร สามารถป้องกันได้หรือไม่

การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ ทำให้เจ็บทรวงอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย แนวทางการรักษาและป้องกันโรค ทำอย่างไรกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคหัวใจ โรคติดเชื้อ โรคหัวใจอักเสบ
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ( myocarditis ) คือ ภาวะการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ สามารถเกิดได้ทุกเพศทุกวัย ส่วนมากพบว่าเกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ parvovirus B19 แต่สามารถเกิดจากการติดเชื้อโรคอื่นๆได้ ไม่ว่าจะ เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา เช่น Borrelia burgdorferi ( โรคไลม์ ) หรือ Trypanosoma cruzi  โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ทางการแพทย์ เรียก Myocarditis หรือ Inflammatory cardiomyopathy พบมากในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป มีอาการของโรครุนแรง เสียชีวิตได้

สาเหตุการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับภาวะการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดจากการติดเชื้อโรค เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือ พยาธิ เมื่อร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น โรคเอสแอลอี โรครูมาตอยด์ โรคไข้รูมาติก เป็นต้น ทำให้ร่างกายได้รับเชื้อโรคง่าย เชื้อโรคจะเข้าไปทำลายหัวใจ ทำให้เกิดการอักเสบ ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ ส่งผลต่อการทำงานของปอด ทำให้เกิดปอดบวมน้ำ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จะทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ซึ่งสามารถสรุปสาเหตุของการติดเชื้อได้ดังนี้

  • การได้รับสารพิษพวก สารหนู สารตะกั่ว ควันรถยนต์การกระทบกระเทือนโดยตรงที่กล้ามเนื้อหัวใจ
  • เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวทำร้าย เรียกว่า สารภูมิต้านทานร่างกาย หรือ แอนติบอดี้ ( Antibody )
  • การติดเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เป็นสาเหตุจากโรคต่างๆ เช่น ไวรัสไข้หวัดใญ่ ไวรัสหัดเยอรมัน ไวรัสเอชไอวี แบคทีเรียวัณโรค
  • การติดเชื้อโรคจากพยาธิ
  • การติดเชื้อรา
  • การแพ้ยาปฏิชีวนะ
  • ถูกสัตว์มีพิษกัด เช่น งู ผึ้ง หรือ แมลงต่างๆ

อาการของโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 

สำหรับอาการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จะเกิดอาการอักเสบทั่วร่างกายไม่ได้อักเสบเฉพาะหัวใจ ซึ่งเป็นผลจากการไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย สามารถสังเกตุอาการของโรค ได้ดังนี้

  • มีไข้สูงและหนาวสั่น
  • เหนื่อยล้า
  • ปวดหัว
  • ปวดกล้ามเนื้อ และ ปวดตามข้อกระดูก
  • เจ็บคอ
  • มีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว ท้องร่วง
  • เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว
  • มีอาการไอ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ริมฝีปาก และ เล็บมือ มีสีม่วง
  • มือ เท้า และ ข้อเท้าบวม

การตรวจวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคนอกจากดูลักษณะอาการของโรค แพทย์จะทำการซักประวัติการรักษาโรค จากนั้นตรวจโรค โดย การตรวจเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การทำเอมอาร์ไอ และ การตัดชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา

การรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ควรรีบส่งคนไข้ไปโรงพยาบาลทันทีเพ่ือรับการรักษา แพทย์วินิจฉัยได้โดยจะมีการฟังเสียงหัวใจเต้นผิดปกติ ( echocardiography ) เอกซเรย์พบหัวใจโต คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ และตรวจเลือดพร้อมกับให้การรักษาในทันที การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยเบื้องต้นแพทย์จะรักษาจากต้นแต่ของโรค คือ การให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุของโรค ร่วมกับประคับประครองอาการต่างๆ

การป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ คือ หลีกเลี่ยงปัจจัยจัยต่างๆที่ทำให้เกิดการติดเชื้อโรค แนวทางการป้องกันโรค มีดังนี้

  • เลิกสูบบุหรี่ และ ดื่มสุรา
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ใส่เครื่องมือป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เพือป้องกันการติดเชื้อโรค

โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ( Myocarditis ) การอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ ส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลต่อการเต้นของหัวใจ ทำให้เจ็บทรวงอก หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย แนวทางการรักษาและป้องกันโรค ทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย