ภาวะความดันตาสูง ทำให้อุดกลั้นทางเดินน้ำหล่อเลี้ยงตา การมองเห็นจะค่อยๆเสื่อม ไม่รักษาตาบอดได้ ผู้ป่วยจะปวดตา ปวดหัว ตาแดง และ อาเจียน การรักษาและป้องกันอย่างไรโรคต้อหิน โรคตา โรคไม่ติดต่อ ทำให้ตาบอด

โรคต้อหิน โรคอันตรายต่อระบบประสาทตา เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ตาบอด สามารถเกิดได้กับทุกคน โรคนี้ไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น รวมถึงไม่แสดงอาการในระยะลุกลามของโรคด้วย รู้ตัวอีกทีคือสูญเสียการมองเห็นไปแล้ว และ ไม่สามารถรักษาให้กลับดีขึ้นได้ ดังนั้นการตวรสุขภาพดวงตาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

โรคต้อหิน คือ ภาวะความผิดปรติของดวงตาเกิดจากความดันของตาที่สูงมากผิดปกติ ซึ่งความดันตาสูง สามารถเกิดได้เนื่องจากของเหลวที่มีหน้าที่หล่อเลี้ยงตาตามธรรมชาติผิดปรกติ ทำให้เกิดการทำลายเซลล์ประสาทตา ความดันตาที่เหมาะสมสำหรับของเหลวในตาจะต้องไม่เกิน 22 มม.ปรอท หากมากกว่านี้จะเป็นอัตรายมาก เสี่ยงมากที่เกิดต้อหินตามมา

สถาณการณ์โรคต้อหินในปัจจุบัน

องค์กรอนามัยโลก ( WHO ) ระบุว่า โรคต้อหินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนทั้งโลกตาบอด เป็นอันดับ 2 รองจากโรคต้อกระจก ซึ่งผู้ป่วยทั่วโลกที่ป่วยโรคต้อหินทั้งชนิดมุมปิดและต้อหินชนิดมุมเปิดประมาณ 4.5 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งร้อยละ 12 ของผุ้ป่วยทั้งหมดตาบอด สำหรับสถาณการ์โรคต้อหินในประเทศไทย พบว่าประชากรไทยป่วยเป็นโรคต้อหินมากถึงร้อยละ 36 ประชากรทั่วประเทศ คาดว่าในปี 2563 จะมีประชากรไทยป่วยเป็นโรคต้อหินเพิ่มขึ้นประมาณ 7 แสนคน อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าโรคต้อหินจะรักษาไม่หายขาด แต่ก็สามารถป้องกันและควบคุมการสูญเสียของการมองเห็นได้

ประเภทของโรคต้อหิน

โรคต้อหินสามารถแบ่งประเภทของโรคนี้ได้ 4 ประเภท ประกอบด้วย ต้อหินโดยกำเนิด ต้อหินชั้นสอง ต้อหินมุมเปิด และ ต้อหินมุมปิด ซึ่งรายละเอียดของต้อหินแต่ละประเภท มีดังนี้

  • ต้อหินโดยกำเนิด สาเหตุหลักจะมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ลักษณะอาการรุนแรงมาก ควบคุมอาการยาก เนื่องจากเกิดกับเด็กอ่อน หากไม่รักษาอาจจะตาบวดได้ มารดาต้องสังเกตุอาการตอบสนองต่อการมองเห็นของเด็กอย่างใกล้ชิด
  • ต้อหินขั้นสอง เกิดจากภาวะแทรกซ้อนของโรคตาชนิดอื่นๆ เช่น โรคต้อกระจก โรคเนื้องอกที่ตา โรคตาอักเสบ รวมถึงทั้งการเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตา และ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน
  • ต้อหินมุมเปิด ต้อหินชนิดนี้พบมากที่สุดเกิดจากการอุดตันของท่อระบายน้ำเลี้ยงของดวงตา ทำให้ความดันในตาสูงขึ้น ทำให้ระบบประสาทการรับรู้การมองเห็นถูกทำลาย ซึ่งในระยะแรกจะมองเห็นไม่ชัด หากไม่ได้รับการรักษาการมองเห็นจะค่อยๆเสื่อมลงจนตาบอดสนิท
  • ต้อหินมุมปิด เกิดจากการมุมของลูกตาถูกม่านตาปิดกั้น ทำให้ความดันเปลี่ยนแปลง เนื่องจากของเหลวในตาไม่สามารถไหลเวียนออกได้ ทำให้ความดันตาสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะปวดหัว และ ปวดลูกตาอย่างรุนแรง เยื่อบุตาแดงจัด มีอาการคลื่นไส้อาเจียน

สาเหตุการเกิดโรคต้อหิน

โรคต้อหิน คือ ภาวะจอประสาทตาถูกทำลายและเกิดจุดบอดขึ้นที่ลานสายตา โดยสาเหตุมาจากความดันในตาสูง จากสาหตุการไหลเวียนเข้าและออกของน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตาไม่สมดุล ทำให้เกิดการอุดตันบริเวณทางออกของช่องระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาที่ทำให้มีการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ทำให้ความดันในตาสูงขึ้น โดยอาการผิดปรกตินี้จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆหรือเฉียบพลันก็ได้ ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคต้อหิน

ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ความดันตาสูงมีหลายปัจจัย ซึ่งสามารถรวบรวมปัจจัยที่ทำให้ความดันตาสูงจนส่งผลต่อการเกิดโรคต้อหิน มีดังนี้

  • อายุ ความเสื่อมสภาพของเซลล์ต่างๆมีผลต่อภาวะความดันตา
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม สำหรับคนที่มีประวัติพ่อแม่หรือพี่น้องญาติป่วยโรคต้อหินมีความเสี่ยงมากกว่าบุคคลทั่วไป
  • การกระแทกหรือกระทบกระเทือนที่ดวงตาอย่างรุนแรง
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • การใช้ยาบางประเภท โดยเฉพาะยากลุ่มยาสเตียรอนด์
  • ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เรียกว่า เบาหวานขึ้นตา
  • ความผิดปกติของสายตาตามธรรมชาติ เช่น สายตาสั้น สายตายาว

อาการของโรคต้อหิน

สำหรับโรคต้อหินจะแสดงอาการผิดปรกติของสายตาแบบช้าๆ ค่อยๆเสื่อมลงโดยไม่รู้ตัว ผู้ป่วยโรคต้อหินไม่มีอาการเจ็บปวดหรืออาการใดๆนอกจากความสามารถการมองเห้นค่อยๆลดลง แต่สำหรับอาการโรคต้อหินแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ ปวดตาอย่างรุนแรง และ ปวดแบบเฉียบพลัน เยื่อบุตาแดง น้ำตาไหล ไม่สามารถสู้แสงได้ สายตาพล่ามัว มองเห็นเหมือนมีแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ และ คลื่นไส้อาเจียน

การตรวจวินิจฉัยโรคต้อหิน

สำหรับแนวทางการวินิจฉัยโรคต้องทำโดยจักษุแพทย์ผู้เชียวชาญเฉพาะทาง และ ใช้เครื่องมือตรวจที่ทันสมัย แนวทางการวินิจฉัยโรค คือ ตรวจเพื่อดูลักษณะมุมตา ตรวจขั้วประสาทตา ดูความเสียหาย การตอบสนองต่อแสง ตรวจวัดความดันภายในตา และ ตรวจลานสายตา

การรักษาโรคต้อหิน

แนวทางการรักษาโรคต้อหิน เนื่องจากโรคต้อหินทำให้เส้นประสาทตาถูกทำลายอย่างถาวร การรักษาโรคต้อหินต้องประคับประคองเพื่อบรรเทาความเสื่อมของประสาทตา เพื่อรักษาการมองเห็นให้นานที่สุด การรักษาใช้ยา การทำเลเซอร์ และ การผ่าตัด ขึ้นอยู่กับดุลย์พินิจของแพทย์ รายละเอียด ดังนี้

  • การใช้ยารักษาโรค  ให้ยาเพื่อลดความดันของดวงตาเพื่อให้ประสาทตาไม่ถูกทำลายมากขึ้น ในปัจจุบันมียารักษาต้อหินหลายกลุ่ม ซึ่งการรักษาด้วยยาจำเป็นทำอย่างสม่ำเสมอตามคำสั่งของแพทย์
  • การรักษาด้วยเลเซอร์  ขึ้นอยู่กับชนิดของต้อหินและระยะของโรค เช่น Selective laser trabeculoplasty ( SLT ) ใช้รักษาต้อหินมุมเปิดในกรณีที่รักษาด้วยยาหยอดตาไม่ได้ผล Laser peripheral iridotomyLPI) รักษาต้อหินมุมปิด Argon laser peripheral iridoplastyALPI ) ใช้รักษาร่วมกับ LPI
  • การผ่าตัด เพื่อรักษาผู้ป่วยที่การรักษาด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่ได้ผล การผ่าตัดตัดทำทางระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตาเพื่อลดความดันตา

การป้องกันโรคต้อหิน

สาเหตุของการเกิดโรคต้อหินเกิดจากหลายสาเหตุทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้ และ ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งการรักษาระดับความดัยตาให้ปรกติ เป็นแนวทางการป้องกันโรคที่ดีที่สุดที่สามารถทำได้ ซึ่งแนวทางการป้องกันโรคต้อหิน มีดังนี้

  • เข้ารับการตรวจสายตาอย่างสม่ำเสมอ
  • ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • สวมแว่นตาหรืออุปกรณ์ป้องกันดวงตา เมื่อต้องทำกิจกรรมเสี่ยงกระทบต่อดวงตา
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่อาจเกิดอุบัติเหตุที่ดวงตาทั้งหมด

โรคต้อหิน ภาวะความดันตาสูง ทำให้เกิดการอุดกลั้นทางเดินน้ำหล่อเลี้ยงตา การมองเห็นจะค่อยๆเสื่อม หากไม่รักษาทำให้ตาบอดได้ อาการของโรคต้อหินแบบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะปวดตา ปวดหัว ตาแดง และ อาเจียน แนวทางการรักษาและป้องกันโรคทำอย่างไร

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย