ต้นแมงลัก เม็ดแมงลัก นิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร ใบแมงลักให้กลิ่นหอม สรรพคุณบำรุงระบบเลือด ช่วยขับลม รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคผิวหนัง โทษของต้นแมงลัก มีอะไรบ้างแมงลัก ใบแมงลัก สมุนไพร

ต้นแมงลัก ภาษาอังกฤษ เรียก Lemon basil ชื่อวิทยาศาสตร์ของแมงลัก คือ Ocimum × africanum Lour. จัดอยู่ในวงศ์เดียวกันกับต้นกะเพรา สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของต้นแมงลัก เช่น ก้อมก้อข้าว มังลัก อีตู่ เป็นต้น ใบแมงลัก มีกลิ่นหอม นิยมนำมาทำอาหาร ช่วยดับคาว และเพิ่มความหอมของอาหารได้ดี เมนูอาหารที่นำใบแมงลักมาทำอาหาร เช่น แกงเลียง แกงหน่อไม้ เป็นต้น

แมงลักในประเทศไทย

สำหรับแมงลักในประเทศไทย จัดว่าเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง มีการปลูกแมงลัก เพื่อผลิตใบสดและเมล็ดแมงลักในเชิงพาณิชย์ แหล่งเพาะปลูกแมงลักภายในประเทศไทย สามารถให้ผลผลิตได้เพียง 112 กิโลกรัม ต่อพื้นที่เพียง 148 ไร่เท่านั้น ซึ่งเป็นอัตราส่วนผลผลิตต่อไร่ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับการปลูกต้นกะเพราและต้นโหระพา เราสามารถพบเห็นต้นแมงลักได้ทั่วไปตามตลาด และ สายพันธุ์แมงลัก ที่นิยมปลูกในประเทศไทย คือ แมงลักสายพันธุ์ศรแดง เป็นสายพันธ์แมงลักที่ใบใหญ่

ลักษณะของต้นแมงลัก

ต้นแมงลัก จัดเป็นพืชล้มลุก ในกลุ่มพืชตระกูลเดียวกับต้นกะเพราและต้นโหระพา สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นแมงลัก มีดังนี้

  • ลำต้นของแมงลัก เนื้อไม้ของต้นแมงลักอ่อน อวบน้ำ ความสูงประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลักษณะลำต้นและกิ่งก้านค่อนข้างเป็นทรงเหลี่ยม เปลือกลำต้นสีเขียว มีระบบรากเป็นแก้วและรากฝอย รากของต้นแมงลักสามารถลึกได้ถึง 30 เซ็นติเมตร
  • ใบแมงลัก ลักษณะเป็นใบเดี่ยว สีเขียว ออกตามกิ่งของต้นแมงลัก ใบเป็นทรงรี ปลายใบแหลม โคนใบโค้งมน มีขนอ่อนปกคลุมทั่วใบ
  • ดอกแมงลัก ลักษณะของดอกออกเป็นช่อ ดอกออกเป็นกระจุก กลีบดอกสีเขียว
  • เมล็ดแมงลัก อยู่ภายในดอกแก่ของต้นแมงลัก เมล็ดแมงลักมีลักษณะรีแบน สีดำ สามารถนำมาขยายพันธ์ได้

คุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก

ต้นแมงลัก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านการรักษาโรคและการบำรุงร่างกาย จากใบแมงลักสดและเมล็ดแมงลัก ซึ่งนักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของแมงลัก มีรายละเอียดดังนี้

คุณค่าทางโภชนาการของใบแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 32 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย แคลเซียม 350 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 86 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.9 มิลลิกรัม วิตามินเอ 10,666 มิลลิกรัม ไทอามีน 0.30 มิลลิกรัม ไรโบเฟลวิล 0.14 มิลลิกรัม ไนอะซิน 1.0 มิลลิกรัม วิตามินซี 78 มิลลิกรัม กากใยอาหาร 2.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 11.1 กรัม ไขมัน 0.8 กรัม และโปรตีน 2.9 กรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดแมงลัก ขนาด 100 กรัม พบว่าให้พลังงาน 420 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต 54 กรัม โปรตีน 15 กรัม ไขมัน 16 กรัม กากใยอาหาร 54 กรัม

น้ำมันหอมระเหยจากใบแมงลัก ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด มี 3 ชนิด ประกอบด้วย methyl cinnamate , d-camphor และ polyuronide

สรรพคุณของแมงลัก

การใช้ประโยชน์จากต้นแมงลักด้านสมุนไพร เพื่อการรักษาโรคและบำรุงร่างกาย เราใช้ประโยชน์จาก ใบแมงลัก และ เม็ดแมงลัก ซึ่งสรรพคุณของต้นแมงลัก มีดังนี้

  • เมล็ดแมงลัก สรรพคุณยาระบายอ่อนๆ ลดอาการท้องผูก ช่วยย่อยอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น เสริมการสร้างกระดูก ป้องกันโรคกระดูกเสื่อม ช่วยอาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดน้ำหนัก
  • ใบแมงลัก สรรพคุณช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา ป้องกันโรคมะเร็ง แก้เจ็บคอ แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ รักษาไข้หวัด แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ท้องผูก ป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยรักษากลากน้ำนม

ข้อควรระวังการบริโภคเม็ดแมงลัก

เม็ดแมงลักมีสรรพคุณด้านสมุนไพรมากมาย แต่การรับประทานเม็ดแมงลัก มีข้อควรระวังในการรับประทาน ดังนี้

  • ไม่ควรรับประทานมากเกินไป เนื่องจาก เมล็ดแมงลักจะพองตัวในกระเพาะ ทำให้แน่นท้องมากเกินไป
  • เมล็ดแมงลักหากรับประทานในขณะที่เมล็ดยังพองตัวไม่สุด เมล็ดแมงลักจะดูดน้ำในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำได้ หรือ ภาวะลำไส้อุดตันได้
  • ขณะระหว่างที่รับประทานยา ควรงดการกินเม็ดแมงลัก เนื่องจากเมล็ดแมงลักจะดูดซึมยาที่ใช้รักษาร่างกาย ทำให้ฤทธิ์ของยาไม่มีประสิทธิภาพ
  • หากต้องการลดความอ้วนด้วยการรับประทานเม็ดแมงลัก ควรเป็นมื้อเย็นแทนการรับประทานอาหาร และ ไม่ควรรับประทานทุกมื้อ เพราะ อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • เม็ดแมงลักที่ขายตามท้องตลาด อาจมีเชื้อราปะปน เมื่อนำมารับประทาน อาจทำให้ท้องเสีย และ เป็นพิษต่อร่างกายได้

ต้นแมงลัก เม็ดแมงลัก สมุนไพร นิยมนำมาใช้ประกอบอาหาร ใบแมงลักให้กลิ่นหอมช่วยดับคาวอาหารได้ สรรพคุณของแมงลัก เช่น บำรุงระบบเลือด ช่วยขับลม รักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคผิวหนัง โทษของต้นแมงลัก มีอะไรบ้าง

ต้นสะระแหน่ มินต์ สมุนไพรกลิ่นหอม นิยมใช้ประโยชน์จากใบสะระแหน่ ต้นสะระแหน่เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณบำรุงสายตา บำรุงผิว บำรุงเหงือกและฟัน โทษของสะระแหน่สะระแหน่ สมุนไพร สมุนไพรไทย

สะระแหน่ ( Kitchen Mint ) พืชตระกูลกระเพรา ชื่อวิทยาศาสตร์ของสะระแหน่ คือ Mentha villosa Huds. ชื่อเรียกอื่นๆของสะระแหน่ เช่น หอมด่วน หอมเดือน ขะแยะ สะระแหน่สวน มักเงาะ สะแน่ เป็นต้น ต้นสะระแหน่ มีแหล่งกำเนิดในแถบประเทศยุโรปทางตอนใต้ ใบคล้ายกับพืชตระกูลมิ้นต์ กลิ่นหอม รสชาติจะคล้าย ๆ ตะไคร้หอม

ลักษณะของต้นสะระแหน่

ต้นสะระแหน่ มีลักษณะพิเศษ คือ ความหอมของใบ ซึ่งนิยมนำมาใช้ในการแต่งกลิ่นให้ความหอม ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ทำยาสีฟัน สะระแหน่เป็นพืชล้มลุก สามารถขยายพันธ์โดยการปักชำหรือแตกกอ ลักษณะของต้นสะระแหน่ มีดังนี้

  • รากและลำต้นของสะระแหน่ ลำต้นของสะระแหน่จะเลื้อยตามดิน ลักษณะของลำต้นกลมเป็นเหลี่ยมๆ ยาวประมาณ 30 เซ็นติเมตร ผิวของลำต้นมีสีแดงอมม่วง ลำต้นจะเลื้อยแผ่ไปตามดิน มีกิ่งก้านมากมาย
  • ใบสะระแหน่ เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ผิวในขรุขระ กลิ่นหอมฉุน ผิวใบย่นเป็นลูกคลื่น ขอบใบหยัก
  • ดอกสะระแหน่ ออกดอกเป็นช่อ ซึ่งจะออกดอกเหนือซอกใบบริเวณปลายยอดของต้นสะระแหน่ ดอกมีสีชมพูอมม่วง
  • ผลของสะระแหน่ มีขนาดเล็ก สีดำ ลักษณะเป็นรูปกระสวย ผิวของผลมันเกลี้ยง

คุณค่าทางโภชนาการของสะระแหน่

สำหรับสะระเหน่ นิยมนำมาใช้ประโยชน์หลากหลาย โดยหลักๆนำมารับประทานในและนำมาสกัดเอาน้ำมันหอมระเหยจากสะระเหน่นำมาแต่งกลิ่นหอม ซี่งสะระแหน่ อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลากหลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินซี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เป็นต้น นักโภชนาการได้ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของใบสดสะระเหน่ พบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของใบสะระเหน่ขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 47 แคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย โปรตีน 3.7 กรัม ไขมัน 0.6 กรัม คาร์โบไฮเดรต 6.8 กรัม แคลเซียม 40 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 7 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.8 มิลลิกรัม วิตามินบี1 0.13 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.29 มิลลิกรัม วิตามินเอ  วิตามินซี 88 มิลลิกรัม เป็นต้น

น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ มีสารเคมีสำคัญ คือ ยูเจนอล สรรพคุณช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรีย เป็นยาเย็น จากการศึกษาสารเคมีสำคัญจากน้ำมันหอมระเหยของสะระแน่ ประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด คือ menthol 63.5 % p-menthone 19.5 % pluegone 42.9-45.4 % isomenthone 12.9 % piperitone 12.2 % Menthone 15-32 % Menthyl acetate 3-10 % piperitone 38.0 % – piperitenone 33.0 % α-terpeneol 4.7% limonene hexenolphenylacetate enthyl amylcarbinal neo methol

สรรพคุณของสะระแหน่

สำหรับการใช้ประโยชน์ของสะระแหน่ จะใช้ประโยชน์ลักษณะของใบสดของสะระเหน่ และ น้ำมันหอมระเหยจากสะระแหน่ โดย สรรพคุณของสะรแหน่ มีดังนี้

  • ช่วยบำรุงผิว ทำให้ผิวชุ่มชื้น ช่วยทำให้ลดลอยเหี่ยวย่นก่อนวัยอันครว
  • สรรพคุรเป็นยาเย็น ช่วยดับร้อนในร่างกาน ช่วยขับเหงื่อ ขับของเสียออกทางผิวหนัง
  • ช่วยบำรุงสายตา ลดรอยคล้ำใต้ตา
  • กลิ่นหอมของสะระแหน่ ช่วยบรรเทาอาการเครียด รักษาอาการปวดศีรษะ รักษาไมเกรน ทำให้สมองปลอดโปร่ง รักษาอาการหน้ามืดตาลาย
  • ช่วยรักษาไข้หวัด รักษาอาการไอ ลดน้ำมูก รักษาโรคหอบหืด รักษาโรคหลอดลมอักเสบ
  • บำรุงหัวใจ ทำให้หัวใจแข็งแรง ทำให้กระปรี่กระเปร่า รักษาอาการอ่อนเพลียของร่างกาย
  • บำรุงเหงือกและฟัน ระงับกลิ่นปาก บรรเทาอาการปวดฟัน รักษาอาหารเจ็บปาก แก้เจ็บลิ้น รักษาแผลในปาก
  • ช่วยรักษาอาการปวดหู ด้วยการใช้น้ำคั้นจากใบสะระแหน่มาหยอดที่รูหู
  • บำรุงระบบทางเดินอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการท้องร่วง แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้จุกเสียด
  • ใช้ไล่ยุงและแมลงต่างๆ รักษาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย
  • แก้อักเสบ แก้ปวด
  • มีฤทธิืช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย

โทษของสะระแหน่

สำหรับข้อควรระวังในการรับประทานสะระแหน่ มีข้อควรระวังในกลุ่มคนต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • สตรีมีครรภ์ และ สตรีหลังคลอดบุตร ไม่ควรรับประทานสะระแหน่ในปริมาณที่มากเกินไป
  • สำหรับคนที่มีภาวะไม่มีกรดในกระเพาะอาหาร ไม่ควรรับประทานน้ำมันสะระแหน่ เพราะ อาจเกิดการแตกตัวก่อนในระหว่างการย่อยอาหาร
  • สำหรับคนที่มีอาการท้องเสีย ไม่ควรกินน้ำมันสะระแหน่ เพราะ อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่บริเวณทวารหนัก

ต้นสะระแหน่ หรือ มินต์ สมุนไพร กลิ่นหอม นิยมใช้ประโยชน์จากใบสะระแหน่ ลักษณะของต้นสะระแหน่เป็นอย่างไร ประโยชน์และสรรพคุณของสะระแหน่ เช่น บำรุงสายตา บำรุงผิว บำรุงเหงือกและฟัน โทษของสะระแหน่ มีอะไรบ้าง

ถุงกระสอบ ถุงล้อลาก ถุงสายรุ้ง ถุงการ์ตูน
ขายถุงกระสอบ ถุงสายรุ้ง ย้ายหอ ย้ายบ้าน ต้องการถุงกระสอบ ถุงกระสอบราคาโรงงาน
ติดต่อ ทรัพย์ทวี Line Id : nongnlove

สมุนไพรน่ารู้

คนทั่วไปมักเข้าใจว่าสมุนไพร คือ พืชที่สามารถนำมาทำเป็นยาเท่านั้น แต่จริงๆแล้ว สมุนไพรนั้นหมายรวมถึง สัตว์ หรือ แร่ธาตุจากธรรมชาติด้วย เราได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมุนไพรไทยที่สามารถใช้รักษาโรคและบำรุงร่างกาย เพื่อประโยชน์กับทุกคน
ดอกคำฝอย สมุนไพร สรรพคุณของคำฝอย
ดอกคำฝอย
ว่านชักมดลูก สมุนไพร
ว่านชักมดลูก
โด่ไม่รู้ล้ม สมุนไพร สรรพคุณของโด่ไม่รู้ล้ม
ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
หมามุ่ย สมุนไพร สรรพคุณหมามุ่ย
หมามุ่ย