หูฉลาม คลีบปลาฉลาม กระดูกอ่อนของปลาฉลาม มีประโยชน์อย่างไร

หูฉลาม คลีบของปลาฉลาม คือ กระดูกอ่อนของปลาฉลาม ประโยชน์และสรรพคุณของหูฉลามมีคอลลาเจน ช่วยให้ผิวพรรณดี บำรุงกำลัง บำรุงกระดูก ต้านทานโรค โทษของหูฉลาม

หูฉลาม คือ ส่วนของครีบปลาฉลาม เป็นกระดูกอ่อนของปลาฉลาม นิยมนำมาทำอาหาร เป็นยาบำรุงกำลังของชาวจีน วิธีการนำหูฉลามมาทำอาหาร คล้ายกับกระเพาะปลา นำมาเครื่องยาจีน รสชาติอร่อย

ครีบของปลาฉลาม มีลักษณะเป็นกระดูกอ่อน มี 2 ส่วน คอ ฐานครีบ และ ก้านครีบ คลีบปลาฉลามมีลักษณะเป็นเส้นๆ สำหรับส่วนที่นำมาทำอาหารเป็นส่วน ก้านครีบปลาฉลาม ก่อนนำมารับประทานอาหาร ต้องตากแห้งก่อน จากนั้นนำมาต้มจนเปื่อย และ ขูดหนังทิ้งให้เหลือแต่กระดูกอ่อน

หูฉลาม เป็นอาหารราคาแพง ชาวจีนนิยมรับประทาน ซึ่งจะรับประทานมางในเทศกาลต่างๆ เช่น ตรุษจีน งานแต่งงาน เป็นอาหารที่สามารถหารับประทานได้ตามภัตตาคารราคาแพง

คุณค่าทางโภชนากการของหูฉลาม

ส่วนของประดูกอ่อนปลาฉลาม มีการศึกษาคุณค่าทางโภชนากการของกระดูกอ่อนปลาฉลาม พบว่ามีสารอาหารสำคัญ คือ ธาตุแคลเซียม ( Calcium ) ฟอสฟอรัส ( Phosphorus ) โปรตีนคอลลาเจน ( Collagen ) และ สารอาหาร กลุ่มไกลโคสะมิโนไกลแคน ( Glycosaminoglycans ) มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ เสริมความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของร่างกาย มีส่วนสำคัญในการทำให้ผิวพรรณชุ่มชื้น ผิวพรรณเต่งตึงกระชับ ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง หูฉลามช่วยบำรุงกระดูก ช่วยบรรเทาอาการโรคข้อเสื่อม แก้ข้ออักเสบ บรรเทาอาการผิวหนังอักเสบ เป็นต้น

หูฉลามในประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการค้ขายาหูฉลาม ที่เยาวราช มีการบริโภคมากโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ก็มีภัตตาคารต่างๆที่ขายอาหาร และ มีหูฉลามขายมากกว่า 100 ร้านแล้ว หูฉลาม พบว่าร้อยละ 60 ของงานเลี้ยงสังสรรค์ งานแต่งงาน นิยมเสริฟ เมนูหูฉลาม

สรรพคุณของหูฉลาม

กระดูกอ่อนปลาฉลาม ของปลาฉลาม มี คอลลาเจน ( Collagen ) สารในกลุ่มไกลโคสะมิโนไกลแคน ( Glycosaminoglycans ) แคลเซียม และ ฟอสฟอรัส มีสรรพคุณการบำรุงร่างกายและรักษาโรค ดังนี้

  • ช่วยการบรรเทาหรือรักษาอาการข้อเสื่อม
  • มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบ
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ ทำให้ผิวชุ่มชื้น ผิวมีความยืดหยุ่น ผิวพรรณเต่งตึง กระชับ ลดการอักเสบของผิวหนัง
  • เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรง

หูฉลาม นั้นมีรายงานจากของกองทุนสัตว์ป่าโลก ( WWF ) ว่าในแต่ละปีปลาฉลามถูกฆ่าเพื่อเอาคลีบมากินจำนวนมากกว่า 73 ล้านตัว และในปัจจุบันมีการรณรงค์การลดการบริโภคหูฉลามมากขึ้น เพื่อป้องกันปลาฉลามสูญพันธ์

แหล่งอ้างอิง

  • “Man Bites Shark”. ไทม์ (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-05-28. สืบค้นเมื่อ 2012-03-12.
  • “ตำนานหูฉลาม”. คมชัดลึก. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-02-09. สืบค้นเมื่อ 2012-03-12.
  • “หูฉลาม มีประโยชน์ต่อร่างกายมากจริงหรือ”. สนุกดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-12. สืบค้นเมื่อ 2012-03-12.
  • “อนาคตหูฉลามในความต่างทางวัฒนธรรม”. กรุงเทพธุรกิจ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-04. สืบค้นเมื่อ 2019-12-04.
  • จุดประกาย 2 โลก คน เมือง, หากพรุ่งนี้ไร้ฉลาม. “กรุงเทพธุรกิจ เล่ารอบตัว” โดย กตตน์ ตติปาณิเทพ. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10533: วันอังคารที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

Published by
Mr.Fongza