โรคระบบต่อมไร้ท่อ ภาวะฮอร์โมนร่างกายผิดปรกติ เป็นอย่างไร

โรคต่อมไร้ท่อ Endocrine system disease เกี่ยวกับระบบฮอร์โมนร่างกายผิดปรกติ ทำให้ระบบการทำงานร่างกายแปรปรวน ลักษณะอาการของโรคเหล่านี้เป็นอย่างไร รักษาและป้องกันโรคต่อมไร้ท่อ โรคฮอร์โมน โรคน่ารู้

โรคระบบต่อมไร้ท่อ ( Endocrine system disease ) คือ ภาวะการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆผิดปรกติ โรคเกี่ยวกับฮอร์โมน โรคต่อมไร้ท่อมีอะไรบ้าง สาเหตุของการเกิดโรค อาการของโรคต่อมไร้ท่อ และ การป้องกันการเกิดโรค

ต่อมไร้ท่อ คือ ส่วนประกอบหนึ่งของอวัยวะร่างกาย ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน และ ส่งต่อฮอร์โมนไปส่วนต่างๆ ของร่างกาย ผ่านทางกระแสเลือด ฮอร์โมน จะช่วยควบคุมการทำงานของร่างกายให้ปรกติและสมดุลย์

โรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ

โรคที่เกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อและฮอร์โมนร่างกายผิดปรกติ มีดังนี้

โรคเบาหวาน โรค อาการโรคเบาหวาน เบาหวานโรคเบาหวาน ภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย โรคเด็ก สุขภาพ ลูกหยุดสูงภาวะเป็นหนุ่มสาวก่อนวัย
อาการคอบวม โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคฮอร์โมน โรคไม่ติดต่อโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แผลเริมอ่อน ซิฟิลิสเทียม โรคติดเชื้อ โรคติดต่อ ซิฟิลิสเทียม

ระบบต่อมไร้ท่อ ( Endocrine system ) เป็นอวัยวะหนึ่งของร่างกาย ที่กระจายอยู่ทั่วไปตามอวัยวะต่างๆ ต่อมไร้ท่อทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน เพื่อควบคุม และ กระตุ้นการทำงานของร่างกาย ให้เป็นไปตามปรกติ ต่อมไร้ท่อจะทำงานร่วมกับระบบประสาทและสมอง  โดยฮอร์โมนในร่างกายนี้ สามารถแบ่งได้ 3 ชนิด คือ ฮอร์โมนเปปไทด์ ฮอร์โมนอนุพันธ์โปรตีน และ ฮอร์โมนสเตอร์รอยด์ โดยรายละเอียด ดังนี้

  1. ฮอร์โมนเปปไทด์ ( peptides hormone ) คือ ฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง เป็น ฮอร์โมนโปรตีน สามารถละลายน้ำได้ดี และ มีโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่
  2. ฮอร์โมนอนุพันธ์โปรตีน ( protein derivative ) คือ ฮอร์โมนที่ผลิตจากต่อมไทรอยด์ เป็น ฮอร์โมนอนุพันธ์กรดอะมิโน
  3. ฮอร์โมนสเตอร์รอยด์ ( steroid hormone )  คือ ฮอร์โมนที่ผลิตจากรังไข่และอัณฑะ ฮอร์โมนชนิดนี้จะไม่ละลายน้ำ แต่สามารถละลายได้ในตัวทำละลาย

ต่อมไร้ท่อของร่างกายมนษย์ มี 8 อวัยวะ และ แต่ละต่อมไร้ท่อมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. ต่อมไพเนียล ( Pineal gland ) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนมาลาโทนิน ( malatonin ) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ ควบคุมการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์มนุษย์ ต่อมไพเนียลจะมีขนาดเล็กอยู่ด้านหลังของสมอง
  2. ต่อมพิทูอิทารี ( Pituitary gland ) ทำหน้าที่ การผลิตฮอร์โมนที่ใช้ใน การควบคุมการเจริญเติบโตของมนุษย์ เป็นต่อมใต้สมอง ขนาดเท่าผลองุ่น อยู่ใต้สมองส่วนไฮโปธาลามัส
  3. ต่อมพาราไทรอยด์ ( Parathyroid gland ) ทำหน้าที่ ควบคุมแคลเซียมและฟอสเฟตในเลือด ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อที่ฝังตัวอยู่ในต่อมไทรอยด์
  4. ต่อมไทรอยด์ ( Thyroid gland ) ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน เพื่อใช้ในการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ อยู่บริเวณหลอดลม
  5. ตับอ่อน ( Pancreas ) ทำหน้าที่ช่วยระบบการย่อยอาหาร และ ควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือด ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณลำไส้เล็ก
  6. ต่อมหมวกไต ( Adrenal gland ) ทำหน้าที่ ควบคุมการดูดโซเดียม และ โพแทสเซียม ในเลือด และ สร้างฮอร์โมนเพศบางชนิด ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บนไต
  7. ต่อมไทมัส ( Thymus gland ) ทำหน้าที่ สร้างฮอร์โมนสำหรับเป็นภูมิต้านทานโรค ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่ตรงขั้วปอด
  8. อัณฑะเพศชาย ( Testis ) ทำหน้าหน้าหลั่งฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่ตรงอวัยวะเพศ
  9. รังไข่ ( Ovary ) ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศหญิง และ สร้างไข่เพื่อการเจริญของตัวอ่อน ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อที่อวัยวะเพศของสตรี

สาเหตุของการเกิดโรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ

ความผิดปรกติของระบบต่อมไร้ท่อ และ ฮอร์โมนในร่างกายนั้น เกิดจากสาเหตุของความผิดปรกติของอัวยวะในการสร้างฮอร์โมนร่างกาย ซึ่งอาจจะเกิดจากการที่สร้างฮอร์โมนมากเกินไป หรือ การสร้างฮอร์โมนน้อยเกิดไปก็ได้ แต่ส่งผลกระทบต่อระบบการทำงาน และ ความสมดุลย์ของร่างกาย

อาการของโรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ

เราสามารถสรุป ลักษณะของอาการต่างๆที่พบในโรคที่เกี่ยวข้องกับ ระบบต่อมไร้ท่อทำงานผิดปรกติ มีรายละเอียด ดังนี้

  1. หมดความรู้สึกไม่มีอารมณ์ทางเพศ จะพบใน โรคอัณฑะฝ่อ และ โรคนกเขาไม่ขัน เป็นต้น
  2. ภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ
  3. ร่างกายอ่อนเพลีย
  4. แน่นหน้าอก
  5. หายใจลำบาก
  6. กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  7. มีอาการชัก
  8. การเจริญเติบโตของร่างกายผิดปรกติ เจริญเติบโตเร็วกว่าปรกติ เช่น เป็นวันรุ่นก่อนวัย มีหนวด นมตั้งเต้า เร็วกว่าวันที่ควรจะมี และ ร่างกายไม่เจริญเติบโตอย่างที่ควรจะเป็น
  9. ปวดศีรษะอย่างรุนแรง คลื่นไส้อาเจียน และ แขนขาอ่อนแรง
  10. ร่างกายบวมผิดปกติ

การรักษาโรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ

สำหรับการรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อนั้น ต้องอยู่ในการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งแพทย์ต้องตรวจร่างกายเราอย่างละเอียด เพื่อหาสาเหตุของความผิดปรกติ โดยแนวทางการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบฮอร์โมนนั้น รักษาโดย

  1. รักษาตามอาการ เพื่อประคับประคองอาการของโรค เช่น การให้ยาแก้ปวด การให้ยาลดความดันโลหิต เป็นต้น
  2. รักษาจากสาเหตุของโรค เช้น การเสริมร้างฮอร์โมนที่ขาด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรค การผ่าตัดเอาเนื้องอก การรักษาด้วยรังสีและเคมีบำบัด เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ

สำหรับการป้องกันการเกิดโรคระบบฮอร์โมนนั้น ทำยาก สิ่งที่ดีที่สุด คือ การรักษาสุขภาพ และ อนามัยพื้ฯฐาน ให้ดี ปราศจากโรค โดยแนวทางการป้องกันการเกิดโรคระบบต่อมไร้ท่อ มีแนวทาง ดังนี้

  1. ต้องเข้ารับการตรวจร่างกายประจำปี อย่างสม่ำเสมอ
  2.  รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยต้องทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  4. ผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงภาวะความเครียด
  5. พักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  6. ดื่มน้ำที่สะอาดและเพียงพอต่อความต้งการของร่างกาย

โรคระบบต่อมไร้ท่อ  ( Endocrine system disease ) คือ โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบฮอร์โมนร่างกาย ทำให้ระบบการทำงานร่างกายผิดปรกติ มีโรคอะไรบ้าง อาการและการป้องกันโรค

Last Updated on March 4, 2022