โรคหัวใจและหลอดเลือด ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง อาการ สาเหตุ และ การรักษา

โรคหัวใจและหลอดเลือด Cardiovascular disease ความผิดปรกติของอวัยวะหัวใจ และ หลอดเลือด โรคอันตรายเสียชีวิตกระทันหันได้ สาเหตุ อาการ การรักษาและการป้องกันอย่างไร

โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด

หัวใจเต้นผิดปรกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด
เยื่อบุหัวใจอักเสบ โรคหัวใจอักเสบ ติดเชื้อในกระแสเลือด เยื่อบุหัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจรั่ว โรคหัวใจ โรคไม่ติดต่อ โรคลิ้นหัวใจรั่ว
หัวใจพิการโดยกำเนิด โรคเด็ก โรคหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหัวใจพิการโดยกำเนิด โรคหัวใจรูมาติก ไข้รูมาติก ลิ้นหัวใจอักเสบ โรคหัวใจ โรคหัวใจรูมาติก
โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไม้ติดต่อ การรักษาโรคความดัน โรคความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคหัวใจ โรคติดเชื้อ โรคหัวใจอักเสบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  • โรคหัวใจวาย
  • โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • โรคโลหิตจาง

หัวใจ ( Heart ) คือ อวัยวะสำคัญของร่างกาย โดยหน้าที่ของหัวใจ คือ สูบฉีดเลือด เพื่อนำออกซิเจนและธาตุอาหารไปเลืี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ อยู่บริเวณใต้กระดูกหน้าอก ค่อนไปทางซ้าย หัวใจมี 4 ห้อง หัวใจซีกขวาจะทำหน้าที่รับเลือด ที่ใช้แล้ว และ สูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ ออกทางด้านซ้าย

หลอดเลือดหัวใจ คือ เส้นเลือดที่ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดไปส่วนต่างๆของร่างกาย หลอดเลือดหัวใจ อยู่บริเวณพื้นผิวของหัวใจ และแยกเส้นเลือดตามกล้ามเนื้อหัวใจ

โรคหัวใจ ( Heart disease ) คือ ภาวะความผิดปรกติของการทำงานของหัวใจ โรคหัวใจเกิดจากหลายสาเหตุ เป็นความผิดปรกติของหัวใจเอง หรือ ความผิดปรกติของหลอดเลือดหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ ( Coronary artery disease ) คือ ภาวะความผิดปรกติของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อ กล้ามเนื้อหัวใจให้ทำงานผิดปกติ และเกิดอาการต่างๆมาอีกมากมาย ซึ่งหลอดเลือดหัวใจตีบและหลอดเลือดหัวใจแตก มักเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจ

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

สำหรับสิ่งที่ทำให้มีโอกาสเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ มีดังนี้

  • ภาวะไขมันในเลือดสูง
  • การเกิดโรคเบาหวาน
  • ภาวะความดันโลหิตสูง
  • การสูบบุหรี่
  • โรคอ้วน
  • ร่างกายที่ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พฟติกรรมการกินที่ชอบกินอาหารไขมันสูง และ อาหารหวานจัด
  • ภาวะความเครียด
  • การถ่ายทอดทางพันธุกรรม

สาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด นั้นมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น นอกจาก การเกิดโรคหัวใจ นั้นเกิดที่ กล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ การสะสมของไขมัน พฤติกรรมส่วนตัวทั้งการบริโภคและความเครียด เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจมากที่สุด

อาการของโรคหัวใจและหลอดเลือด

สำหรับอาการของโรคหลอดเลือดและหัวใจ นั้นจะมีอาการแสดงออกหลักๆ คือ อาการเขียวคล้ำ อาการบวม อาการความดันเลือด ซึ่งรายละเอียดของอาการต่างๆมีดังนี้

  • อาการเขียวคล้ำ คือ อาการนี้เกิดจากระดับของเฮโมโกลบินในเลือดมากเกินไป ทำให้ผิวหนังและเนื้อเยื่อเป็นสีเขียวคล้ำ  ซึ่งอาการเขียวคล้ำ แบ่งได้ 2 ชนิด คือ อาการเขียวค้ำส่วนกลาง และ อาการเขียวคล้ำส่วนปลาย
  • อาการบวม คือ อาการนี้เกิดจากการคั่งของน้ำในเนื้อเยื่อ มักพบในบริเวณ เท้า ก้นกบ เนื่องจากเนื้อเยื่อบริเวณนี้อ่อน
  • อาการความดันเลือด คือ อาการสูบฉีดเลือดของหัวใจผิดปรกติ ส่งผลให้เกิดความดันเลือดสูง หรือ ความดันเลือดต่ำ
  • เหนื่อยง่าย
  • เจ็บแน่นหน้าอก

การรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด

สำหรับแนวทางการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งการเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย และ การผ่อนคลายความเครียด และ รักษาอาการเพื่อลดความเสี่ของการเกิดโรค เช่น การให้กินยาขยายหลอดเลือดหัวใจ การให้กินยาต้านการแข็งตัวของเลือด การให้กินยาลดไขมันในเลือด ในกรณีที่หนักๆต้องเข้ารับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจ

การป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ

  • ปรับพฤติกรรมการกิน โดยให้จำกัดการกินอาหารไขมันสูง
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้สูงเกินเกินปรกติ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี
  • ผ่อนคลาย ไม่ให้เครียด

การดูแลตนเองเมื่อป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ

สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด จำกัดการกินอาหารที่มีไขมัน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดความเครียด

โรคหัวใจและหลอดเลือด ( Cardiovascular disease ) คือ ความผิดปรกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ความดันโลหิต และ หลอดเลือด สาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด อาการของโรค การรักษาโรค และการป้องกันโรค

Last Updated on October 30, 2020