กระเจี๊ยบเขียว สมุนไพร มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นอย่างไร

กระเจี๊ยบเขียว Lady’s finger รับประทานได้ ต้นกระเจี๊ยบเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงสมอง ลดความดัน ลดคอเรสเตอรัล โทษของกระเจี๊ยบเขียวมีอะไรบ้าง

กระเจี๊ยบเขียว ( Lady’s finger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบเขียว คือ Abelmoschus esculentus (L.) Moench สำหรับชื่อเรียกอ่อนๆของกระเจี๊ยบเขียว เช่น ถั่วเละ (ภาคอีสาน)  กระต้าด (สมุทรปราการ) มะเขือมอญ กระเจี๊ยบมอญ ทวาย มะเขือทะวาย  (ภาคกลาง) มะเขือพม่า มะเขือมอญ มะเขือขื่น มะเขือละโว้ มะเขือมื่น (ภาคเหนือ) เป็นต้น

กระเจี๊ยบเขียวในประเทศไทย

สำหรับกระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ โดยแหล่งปลูกกระเจี๊ยบเขียวในประเทศไทย คือ เขตหนองแขม กทม นครปฐม ปทุมธานี สุพรรณบุรีราชบุรี จันทบุรี ตราด สระแก้ว และ สมุทรสาคร มีพื้นที่ปลูกรวมกัน 2000 ไร่ โดยส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น มากถึง ร้อยละ 95 ปริมาณการส่งออกในปี 2535 ส่งออกกระเจี๊ยบเขียวสด 2436 ตัน มูลค่ารวม 113 ล้านบาท สำหรับตลาดส่งออกรองจากญี่ปุ่น คือ ยุโรป ส่งออกไปยัง เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส และ มีการส่งออกเป็นกระเจี๊ยบเขียวกระป๋อง ด้วย

ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว

กระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น นิยมรับประทานฝักอ่อน โดยนำมาลวก และ รับประทานเป็นผัก ต้นกระเจี๊ยบเขียว มีถิ่นกำเนิดในแถบแอฟริกาตะวันตก ประเทศซูดาน และ สันนิษฐานว่านำเข้ามาในประเทศไทยหลังปี พ.ศ.2416 สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว มีดังนี้

  • รากกระเจี๊ยบเขียวมีระบบรากแก้ว และ รากฝอย ลึกลงใต้ดิน 30 เซ็นติเมตร
  • ลำต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นไม้เนื้ออ่อน ตังตรง สูงประมาณ 1 เมตร เปลือกลำต้นบาง แตกกิ่งน้อย และมีกิ่งสั้นๆ
  • ใบกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเป็นชนิดใบเดี่ยว สีเขียว ใบทรงกลม เป็นแฉกๆ ปลายใบแหลม ใบหยักคล้ายฟันเลื่อย โคนใบเป็นรูเว้าเหมือนหัวใจ ผิวใบหยาบ และ สากมือ
  • ดอกกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเป็นช่อ ดอกเดี่ยว ออกดอกบริเวณซอกใบ ดอกมีสีม่วง และดอกจะพัฒนาเป็นฝักอ่อนในเวลาต่อมา
  • ฝักและเมล็ดของกระเจี๊ยบเขียว เจริญเติบโตมาจากดอก ลักษณะของฝักยาวเรียว ปลายฝักแหลม มีสีเขียว ภายในฝักมีเมล็ด สีขาว

สายพันธุ์กระเจี๊ยบเขียว

ต้นกระเจี๊ยบเขียว มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธ์มีความแตกต่างกัน สายพันธ์กระเจี๊ยบที่นิยมปลูกในปัจจุบัน มี 3 สายพันธ์ ประกอบด้วย

  • กระเจี๊ยบเขียวสายพันธ์ของไทย เป็นสายพันธ์ที่ปรับปรุงโดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลักษณะเด่น คือ ต้นแข็งแรง ผลผลิตสูง
  • กระเจี๊ยบเขียวสายพันธ์ลูกผสมจากประเทศญี่ปุ่น เป็นสายพันธ์ที่ตลาดญี่ปุ่นต้องการ ลักษณะเด่น ฝักสีเขียวเข้ม ปลายฝักไม่มีงอยยาว สายพันธ์นี้ราคาเมล็ดพันธุ์แพงมาก
  • กระเจี๊ยบเขียวพันธุ์ผสมจากต่างประเทศ เช่น สายพันธ์เคลมสัน สายพันธ์สปายน์เลส ลักษณะเด่น คือ ฝักกลมป้อม ใช้ในการแปรรูปบรรจุกระป๋อง

คุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว

สำหรับการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว มีการนำฝักอ่อน และ เมล็ดของกระเจี๊ยบเขียวมาศึกษา โดยผลการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกระเจี๊ยบเขียว พบว่า

คุณค่าทางโภชนาการของฝักอ่อนกระเจี๊ยบเขียว ขนาด 100 กรัม พลังงานมากถึง 33 กิโลแคลอรี มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย  คาร์โบไฮเดรต 7.45 กรัม น้ำตาล 1.48 กรัม กากใยอาหาร 3.2 กรัม ไขมัน 0.19 กรัม โปรตีน 1.93 กรัม น้ำ 89.58 กรัม วิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ 36 ไมโครกรัม วิตามินบี1 0.2 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.06 มิลลิกรัม วิตามินบี3 1 มิลลิกรัม วิตามินบี6 0.215 มิลลิกรัม
วิตามินซี 23 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.27 มิลลิกรัม และ วิตามินเค 31.3 ไมโครกรัม แร่ธาตุต่างๆ เช่น ธาตุแคลเซียม 82 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 0.62 มิลลิกรัม ธาตุแมกนีเซียม 57 มิลลิกรัม ธาตุโพแทสเซียม 299 มิลลิกรัม และ ธาตุสังกะสี 0.58 มิลลิกรัม

คุณค่าทางโภชนาการของเมล็ดแห้งกระเจี๊ยบเขียว ขนาด 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประกอบด้วย กากใยอาหาร 21.18% ไขมัน 33.53% โปรตีน 25.28% โพแทสเซียม 328.01 มิลลิกรัม แคลเซียม 152.42 มิลลิกรัม และ ฟอสฟอรัส 323.67 มิลลิกรัม

สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว

สำหรับการใช้ประโยชน์จากกระเจีี๊ยบเขียว ด้านการบำรุงร่างกายและการรักษาโรค สามารถใช้ประโยชน์จาก ราก ใบ เมล็ด และ ผล สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว มีดังนี้

  • ใบกระเจี๊ยบเขียว สรรคุณช่วยขับเหงื่อ รักษาโรคปากนกกระจอก
  • รากกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณรักษาแผล รักษาแผลพุพอง รักษาโรคซิฟิริส ช่วยขับปัสสาวะ
  • ดอกกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณใช้พอกแผลรักษาฝี ช่วยขับปัสสาวะ
  • เมล็ดกระเจี๊ยเขียว นำมาตากแห้งบดผสมนม ใช้รักษาอาการคัน
  • ผลกระเจี๊ยบเขียว สรรพคุณช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน บำรุงสมอง ลดความดัน รักษาไข้หวัด ป้องกันหลอดเลือดตีบ ช่วยลดคอเลสเตอรอล ช่วยล้างสารพิษตกค้างในลำไส้ เป็นยาระบาย รักษาโรคกระเพาะอาหาร ป้องกันอาการท้องผูก ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ช่วยแก้อาการกรดไหลย้อน ช่วยขับพยาธิตัวจี๊ด รักษาโรคหนองใน ช่วยบำรุงตับ รักษาแผลสด ทำให้แผลหายเร็วขึ้น ลดอาการอักเสบปวดบวม ช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์

โทษของกระเจี๊ยบเขียว

ในเมล็ดแก่ของกระเจี๊ยบเขียว มีสารพิษที่มีผลต่อระบบประสาท คือ gossypol จึงไม่ควรรับประทานเมล็ดจากฝักกระเจี๊ยบเขียวแก่

กระเจี๊ยบเขียว ( Lady’s finger ) พืชมหัศจรรย์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณของกระเจี๊ยบเขียว เช่น บำรุงสมอง ลดความดัน ลดคอเรสเตอรัล โทษของกระเจี๊ยบเขียว มีอะไรบ้าง

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

Published by
Mr.Fongza