ไขมันทรานส์ น้ำมันใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ

ไขมันทรานส์ เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือด เพิ่มไลโพโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL) ลดระดับไลโพโปรตีน (HDL) เพิ่มไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดเพิ่มการอักเสบทั่วร่างกาย

ไขมันทรานส์ คือ ไขมันประเภทหนึ่ง ได้จากการสังเคราะห์จากกระบวนการผลิตโดยการเติมไฮโดรเจนเข้าไปในน้ำมันพืช ซึ่งทำให้น้ำมันพืชแข็งตัวมากขึ้น สมารถยืดอายุของอาหาร ทำให้รสชาติของอาหารอยู่นานขึ้น ต้นทุนน้ำมันราคาถูก ลดกลิ่นหืนของอาหาร ไขัมนชนิดนี้นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร

คุณสมบัติของไขมันทราน์

สำหรับไขมันทรานส์ มีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อการทำอาหาร คุณสมบัติของไขมันทรานส์ ประกอบด้วย ทำให้สามารถเก็บอาหารไว้ได้นานขึ้น ลดกลิ่นหืนของอาหาร ทนทานต่อความร้อน มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับไขมันจากสัตว์ ไขมันทรานส์จึงเป็นส่วนประกอบของอาหารฟาสต์ฟู๊ดต่างๆ เช่น โดนัท ไก่ทอด ขนมเค้ก เป็นต้น

ไขมันทรานส์ในประเทศไทย

กระทรวงสาธารณะสุข ประเทศไทย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ห้ามผลิต นำเข้า และ จำหน่าย นำมันที่ผ่านกระบวนการผลิตไฮโดรเจนบางส่วน อาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการผลิตไฮโดรเจนเป็นบางส่วน ( ไขมันทรานส์ ) ส่วนองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดว่า อาหารทุกประเภทที่จัดจำหน่ายภายในประเทศ ต้องระบุปริมาณของกรดไขมันทรานส์ บนฉลากผลิตภัณฑ์ ซึ่งต้องมีปริมาณกรดไขมันทรานส์ไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

ประโยชน์ของไขมันทรานส์

ไขมันทรานส์ นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารและเป็นส่วนประกอบของอาหารกลุ่มอาหารฟาสต์ฟู้ด เช่น ทอดไก่ มันฝรั่งทอด โดนัท เบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว ครีมเทียม และ วิปปิ้งครีม เป็นต้น  ประโยชน์ของไขมันทรานส์ ที่มีต่อร่างกายและอาหาร มีดังต่อไปนี้

  • ราคาถูก
  • คุณสมบัติใกล้เคียงไขมันจากสัตว์
  • ทำให้สามารถเก็บอาหารได้นานขึ้น
  • ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ลดความเหม็นหืนของอาหารได้
  • ช่วยเพิ่มการสะสมไขมันในร่างกาย
  • ทำให้ร่างกายอบอุ่น
  • ทำให้อยู่ท้อง ทำให้อิิ่มท้องได้นานขึ้น

โทษของไขมันทรานส์

การบริโภคอาหารที่ใช้ไขมันทารส์ เป็นส่วนประกอบของอาหาร และ นำมาใช้ทำอาหาร หากบริโภคไขมันทรานส์ในปริมาณที่ไม่มากเกินไป จะส่งผลกระทบต่อร่างกาย ดังนี้

  • ทำให้คอเลสเตอรอลเพิ่ม การบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์มากเกินไปทำให้กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ Cholesterol Acyltranferase มากขึ้น
  • ไขมันทรานส์ย่อยสลายยาก ทำให้ตับทำงานหนักขึ้น อาจส่งผลต่อโรคที่เกี่ยวกับตับ เช่น นิ่วในถุงน้ำดี
  • สำหรับผู้ป่วยโรคตับ อาจทำให้ตับวายได้
  • ทำให้เกิดการสะสมไขมันในร่างกายมากขึ้น มีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆเกี่ยวกับหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด เป็นต้น

ไขมันทรานส์ มักใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารและใช้ในการผลิตอาหาร ประเภทโดนัท ขนมขบเคี้ยวต่างๆ เฟรนซ์ฟรายส์ คุกกี้ เนยขาว เนยเทียม ครีมเทียม เค้ก แคร็กเกอร์ วิปครีม นักเก็ต ไก่ทอด หมูทอด อาหารประเภททอดๆ ที่ต้องใช้น้ำมันหรือไขมันทั้งหลาย

ไขมันทรานส์ ( trans fat ) คือ ไขมันที่ได้จากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน เป็นไขมันประเภทหนึ่ง นิยมนำมาใช้ทำอาหาร ในอุตสาหกรรมอาหาร ราคาถูก ทนความร้อน ไม่เหม็นหืน ใกล้เคียงกับไขมันสัตว์ ประโยชน์ของไขมันทรานส์ โทษของไขมันทรานส์ มีอะไรบ้าง

แหล่งอ้างอิง

  • Clayton A. Martin; Maria C. Milinsk; Jesuí V. Visentainer; Makoto Matsushita; Nilson E. de-Souza (June 2007). “Trans fatty acid-forming processes in foods: a review”. Anais da Academia Brasileira de Ciencias. 79 (2): 343–50. doi:10.1590/s0001-37652007000200015. PMID 17625687.
  • Food and nutrition board, institute of medicine of the national academies (2005). Dietary reference intakes for energy, carbohydrate, fiber, fat, fatty acids, cholesterol, protein, and amino acids (macronutrients). National Academies Press. p. 423. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-25. สืบค้นเมื่อ 2014-05-10.
  • Food and nutrition board, institute of medicine of the national academies (2005). Dietary reference intakes for energy, carbohydrate, fiber, fat, fatty acids, cholesterol, protein, and amino acids (macronutrients). National Academies Press. p. 504.
  • “Trans fat: Avoid this cholesterol double whammy”. Mayo Foundation for Medical Education and Research (MFMER). สืบค้นเมื่อ 2007-12-10.
  • Flora Wang; Spencer Proctor (2008-04-02). “Natural trans fats have health benefits, University of Alberta study shows” (Press release). University of Alberta.
  • Wang Y, Jacome-Sosa MM, Vine DF, Proctor SD (May 20, 2010). “Beneficial effects of vaccenic acid on postprandial lipid metabolism and dyslipidemia: Impact of natural trans-fats to improve CVD risk”. Lipid Technology. 22 (5): 103–106. doi:10.1002/lite.201000016.
  • Bassett C, Edel AL, Patenaude AF, McCullough RS, Blackwood DP, Chouinard PY, Paquin P, Lamarche B, Pierce GN (2010). “Dietary Vaccenic Acid Has Antiatherogenic Effects in LDLr−/− Mice”. The Journal of Nutrition. 140 (1): 18–24. doi:10.3945/jn.109.105163. PMID 19923390.

Fongza.com เว็บไซต์ที่ทำเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านสุขภาพ โดยเราเชื่อว่าสุขภาพที่ดีต้องดีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ เนื้อหาของเราจึงประกอบด้วย โรคต่างๆ การรักษาโรค สมุนไพร การเลี้ยงลูก แม่และเด็ก การออกกำลังกาย ความสวยความงาม โหงวเฮ้ง และ อาหารสุขภาพ โดยเน้นการให้ความรู้ ไม่ได้มีเจตนาให้คำวินิจฉัยการรักษาโรค การที่ท่านนำเนื้อหาของเราไปใช้ประโยชน์ให้ปรึกษาผู้เชียวชาญก่อน หากป่วยให้เข้ารับการรักษากับแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณท่านผู้สนับสนุนการทำเนื้อหา ทรัพทย์ทวี จำหน่ายถุงกระสอบ ถุงกระสอบสำหรับงานขนย้ายต่างๆ ถุงสายรุ้ง ถุงไนลอน ถุงการ์ตูน และ ถุงล้อลาก ถุงราคาถูกที่ใครๆก็จับต้องได้

Published by
Mr.Fongza