ต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น นิยมรับประทานฝักอ่อน โดยนำมาลวก และ รับประทานเป็นผัก ต้นกระเจี๊ยบเขียว มีถิ่นกำเนิดในแถบแอฟริกาตะวันตก ประเทศซูดาน และ สันนิษฐานว่านำเข้ามาในประเทศไทยหลังปี พ.ศ.2416 สามารถขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดพันธ์ ลักษณะของต้นกระเจี๊ยบเขียว มีดังนี้
รากกระเจี๊ยบเขียวมีระบบรากแก้ว และ รากฝอย ลึกลงใต้ดิน 30 เซ็นติเมตร
ลำต้นกระเจี๊ยบเขียว เป็นไม้เนื้ออ่อน ตังตรง สูงประมาณ 1 เมตร เปลือกลำต้นบาง แตกกิ่งน้อย และมีกิ่งสั้นๆ
ใบกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเป็นชนิดใบเดี่ยว สีเขียว ใบทรงกลม เป็นแฉกๆ ปลายใบแหลม ใบหยักคล้ายฟันเลื่อย โคนใบเป็นรูเว้าเหมือนหัวใจ ผิวใบหยาบ และ สากมือ
ดอกกระเจี๊ยบเขียว ลักษณะเป็นช่อ ดอกเดี่ยว ออกดอกบริเวณซอกใบ ดอกมีสีม่วง และดอกจะพัฒนาเป็นฝักอ่อนในเวลาต่อมา
ฝักและเมล็ดของกระเจี๊ยบเขียว เจริญเติบโตมาจากดอก ลักษณะของฝักยาวเรียว ปลายฝักแหลม มีสีเขียว ภายในฝักมีเมล็ด สีขาว
กระเจี๊ยบเขียว Lady's finger รับประทานได้ ต้นกระเจี๊ยบเขียวเป็นอย่างไร คุณค่าทางโภชนาการ สรรพคุณบำรุงสมอง ลดความดัน ลดคอเรสเตอรัล โทษของกระเจี๊ยบเขียวมีอะไรบ้าง กระเจี๊ยบเขียว ( Lady's finger ) ชื่อวิทยาศาสตร์ของกระเจี๊ยบเขียว คือ Abelmoschus esculentus (L.)…