ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคเก๊าท์ อาจเกิดกับกลุ่มบุคคลต่างๆที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเก๊าท์ มีดังนี้
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักพบว่ามีพ่อแม่ญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
ผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง มะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคเลือด โรคทาลัสซีเมีย โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง มักจะมีโรคเก๊าท์ร่วมด้วย
เป็นโรคไต ภาวะไตวาย ตะกั่วเป็นพิษ ทำให้ไตขับกรดยูริคออกจากเลือดได้น้อย
ผู้ป่วยโรคไฮโปไทรอยด์ ส่งผลให้ยูริคในเลือดสูง
พบโรคนี้ได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
ผู้ที่ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์
ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีกรดยูริก (สารพิวรีน) สูงอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ เช่น เนื้อสัตว์ปีก ยอดอ่อนของผักบางชนิด
ผู้ป่วยโรคอ้วน น้ำหนักตัวเกิน
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ผู้ป่วยจะปวดตามข้อต่างๆในเวลาอากาศเย็นมากกว่า
ผู้ใช้ยา เลโวโดปา ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ แอสไพริน ไซโคลสปอริน จะส่งผลต่อการขับกรดยูริคในเลือดของไต
โรคเก๊าท์ อาการบวดบวมที่ข้อกระดูกหัวแม่เท้า ปวดเท้ามาก มีอาการบวมแดง สาเหตุของโรคเก๊าท์เกิดจากอะไร ผู้ป่วยโรคเก๊าท์สามารถกินอะไรได้บ้าง ห้ามกินอะไร โรคเก๊าท์ ( Gout ) คือ โรคที่ข้อกระดูก เกิดจากการตะกอนของยูริคที่ข้อกระดูกหัวแม่เท้า ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อกระดูก บริเวณนิ้วหัวแม่เท้า หัวแม่เท้าบวมแดง ปวดแบบฉับพลัน มักเกิดกับคนอายุ 40…