โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ถ่ายเป็นเลือด ท้องผูกบ่อย ท้องเสียบ่อย

มะเร็งลำไส้ใหญ่ หากมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกแบบเรื้อรัง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุและการรักษาทำอย่างไร

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ( colon cancer ) คือ ภาวะการเกิดเนื้อร้ายที่ลำไส้ใหญ่ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร และ อวัยวะเกี่ยวกับการดูดซึมสารอาหารเพื่อไปเลี้ยงร่างกายมีปัญหา โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆของประชากรไทย ซึ่งพบว่าอัตราการเกิดโรคเพศชายมากกว่าเพศหญิง และ พบมากในคนอายุ 55 ปีขึ้นไป

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ยังไม่สามารถทราบสาเหตุการเกิดโรคที่ชัดเจนได้ แต่เกิดจากปัจจัยต่างๆที่กระทบต่อลำไส้ใหญ่ ซึ่งเราสามารถสรุปปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้ดังนี้

  • ความผิดปรกติของเนื้อเยื่อร่างกาย การกลายพันธุ์ของยีนจนไม่สามารถควบคุมการทำงานของเซลล์ร่างกาย จนเกิดการเจริญเติบโตเป็นเซลล์มะเร็ง
  • พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ที่นิยมรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และ มีกากใยอาหารต่ำ
  • พันธุกรรม ในผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  • อายุ คนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีโอกาศเกิดโรคนี้สูง
  • การอักเสบของลำไส้แบบเรื้อรัง
  • การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะแสดงให้เห็นถึงความผิดปรกติภายในช่องท้อง และ ระบบขับถ่าย ซึ่งสามารถสรุปลักษณะของอาการผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้ดังนี้

  • ระบบขับถ่ายทำงานผิดปรกติ เช่น ท้องผูก หรือ ท้องเสีย ซึ่งเป็นแบบเรื้อรังไม่หายขาด
  • อุจจาระผิดปรกติ โดยอุจจาระเป็นเลือด และ รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด ปวดอุจจาระบ่ายๆ
  • มีอาการปวดท้อง แน่นอึดอัดเหมือนมีแก๊สในท้อง
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • น้ำหนักตัวลงโดยไม่มีสาเหตุ ทั้งๆที่รับประทานอาหารได้ปรกติ

ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะแสดงอาการของโรคเป็น 4 ระยะ และ จะเพิ่มความรุนแรงของโรคมากขึ้นเรื่อยๆ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 4 รายละเอียด ดังนี้

  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรก ในระยะนี้มีก้อนเนื้อขนาดเล็ก แต่ยังไม่ลุกลามที่ถึงผนังสำไส้ ซึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะนี้โอกาสหายได้ถึง ร้อยละ 75 ถึง 80
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่สอง ในระยะนี้จะมีก้อนเนื้อลุกลามออกมาถึงเยื่อหุ้มชั้นนอกผนังลำไส้ ซึึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะนี้ มีโอกาสการรักษาให้หายได้ถึง ร้อยละ 40 ถึง 70
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่สาม ในระยะนี้เซลล์มะเร็งลุกลามไปที่ระบบน้ำเหลือง ที่อยู่ใกล้ลำไส้ใหญ่ ซึึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะนี้ มีโอกาสการรักษาให้หายได้ถึง ร้อยละ 20 ถึง 60
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะสุดท้าย ในระยะนี้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายทั่วร่างกายผ่านระบบน้ำเหลืองและระบบเลือด ซึึ่งหากตรวจพบมะเร็งในระยะนี้ มีโอกาสการรักษาให้หายได้ถึง ร้อยละ 10

การวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับแนวทางการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สามารถตรวจได้โดยการตรวจชิ้นเนื้อ การส่องกล้องตรวจ และ การเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์เพื่อดูช่องท้อง

การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับแนวทางการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีหลายวิธีซึ่งสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากตรวจพบเซลล์มะเร็งเร็ว โดยการรักษาใช้การผ่าดัด ร่วมกับการทำเคมีบำบัด และ การฉายแสง รายละเอียด ดังนี้

  • การผ่าตัด เป็นวิธีการรักษาของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซี่งแพทย์จะตัดชื้นเนื้อส่วนที่เป็นมะเร็งออก
  • การรักษาด้วยเคมีบำบัด ( Chemotherapy ) หรือ คีโม เป็นการใช้ยารับประทานเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย ซึ่งการคีโมจะใช้รักษาหลังการผ่าตัด
  • การฉายรังสี ( Radiation Therapy ) โดยการฉายรังสีเข้าไปบริเวณที่มีก้อนมะเร็ง เพื่อช่วยลดขนาดของก้อนเนื้องอกเล็กลงวิธีนี้จะใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ควบคู่กับการรักษาด้วยเคมีบำบัด

ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

สำหรับการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาจส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีดังนี้

  • อาการผมร่วง ตัวซีด คลื่นไส้อาเจียน
  • มีภาวะเกร็ดเลือดต่ำ แผลจะหายช้า และ ติดเชื้อโรคได้ง่าย
  • เกิดการระคายเคืองผิวหนังบริเวณช่องท้อง
  • ส่งผลโดยตรงต่อการขับถ่าย เนื่องจากลำไส้ใหญ่ถูกตัดให้สั้นลง

การป้องกันการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทางการแพทย์ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่ชัดเจน ซึ่งสิ่งที่สามารถทำได้ คือ การหลีกเลี้ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคที่เราสามารถควบคุมได้ โดยแนวทางการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีดังนี้

  1. ขับถ่ายให้เป็นเวลา
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  4. พักผ่อนให้เพียงพอ
  5. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  6. พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด หากิจกรรมต่างๆเพื่อทำให้ไม่เครียด

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ หากมีอาการท้องเสียหรือท้องผูกแบบเรื้อรัง ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาจเป็นอาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ สาเหตุของโรคนี้เกิดจากอะไร แนวทางการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ มีอะไรบ้าง

Published by
Mr.Fongza