สมุนไพรช่วยดูแลช่องปาก รักษาโรคเหงือกและฟัน มีอะไรบ้าง

สมุนไพรดูแลช่องปาก พืชที่ทำให้เหงือกและฟันแข็งแรง ลดการสะสมของเชื้อโรคในช่องปาก สมุนไพรลักษณะเหล่านี้มีอะไรบ้าง สมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพในช่องปาก

สมุนไพรสรรพคุณดูแลช่องปาก

สมุนไพรไทย สรรพคุณดูแลในช่องปาก แก้ปวดฟัน แก้ปวดเหงือก เหงือกบวม น้ำลายอุดตัน พืชสมุนไพร สมุนไพรพื้นบ้าน ทำให้เหงือกและฟัน แข็งแรง สมุนไพรดูแลปาก สมุนไพรดูแลเหงือก สมุนไพรดูแลฟัน ประโยชน์ของสมุนไพรไทย สุขภาพปากแข็งแรง

บอระเพ็ด
หญ้าขัดมอน ขิง
ดอกคำฝอย ว่านชักมดลูก
ผักชี ว่านโด่ไม่รู้ล้ม
ฝรั่ง แก้วมังกร
มะขาม เงาะ
มะกรูด ทุเรียนเทศ
มะละกอ ขมิ้น
เสลดพังพอน ดีปลี
ลำไย อะโวคาโด้
มังคุด เจตมูลเพลิงแดง
ผักชีฝรั่ง หนุมานประสานกาย
ผักตำลึง ฟักแม้ว
บัวหลวง เสาวรส
แคนา สับปะรด
มะเฟือง กระท้อน
แห้ว ทับทิม
เงาะ ส้มโอ
ถั่วเขียว ถั่วแดง
อินทนิล หญ้าขัด
คะน้า กระเจี๊ยบ
งาดำ แก้วมังกร
ยางนา อ้อย
มะเขือพวง ยอ
ดีปลี ผักกระเฉด
โด่ไม่รู้ล้ม สะเดา
หม่อน มะยม
มะเขือยาว ผักแพว
ดาวเรือง ข่อย
กระเทียม มะนาว
ผักบุ้ง ฝรั่ง
เผือก บอระเพ็ด
กานพลู ชะพลู
แครอท พริกไทย
มะเขือเทศ ชะอม
ตำลึง มะรุม
มังคุด มะขามป้อม
โหระพา อบเชย
มะระ มะละกอ
มะกรูด มะพร้าว
มะกอก กุยช่าย
สะระแหน่ กระชาย
หอมแดง ผักชีฝรั่ง
ข่า ย่านาง
ผักชี พิมเสน
ผักโขม ขิง
ม้ากระทืบโรง ชุมเห็ดเทศ
ขมิ้นชัน เกลือ
สารส้ม ดินท้องเรือจ้าง
น้ำตาล ดีเกลือ
จุนสี ว่านชักมดลูก
ขี้เหล็กเทศ มะขาม

ปัญหาเกี่ยวกับช่องปาก ส่งผลจากการดำรงชีวิตของมนุษย์ และ การพัฒนาบุคลิกภาพ เพื่อการเข้าสังคมโดยตรง ปัญหาเกิดกับช่องปาก เกี่ยวข้องกับ เหงือก ลิ้น ฟัน และ น้ำลาย

สุขภาพปากและฟัน

สำหรับปากและฟันที่ดี ต้องประกอบไปด้วย ฟันที่สะอาด เหงือกที่แข็งแรง ไม่มีอาการเจ็บ ไม่มีเลือดออก ที่สำคัญต้องไม่มีกลิ่นปาก เหม็นเน่า ซึ่งกลิ่นเหม็นที่ออกจากปาก เกิดจากการสะสมของเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก เหงือก และ ซอกฟัน

การดูแลสุขภาพปากและฟัน

สุขภาพปากและฟันที่ดีนั้น ต้องดูแลเหงือและฟัน รวมถึงอวัยวะต่างๆในช่องปาก ที่ประกอบด้วย ลิ้น กระพุ้งแก้ม ระบบน้ำลาย เป็นต้น การดูแลช่องปาก ต้องแปรงฟัน เพื่อรักษาความสะอาด และ ลดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก โดยข้อควรปฏิบัติต่อการดูแลช่องปาก มีดังนี้

  • ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ทุกวันในช่วงเช้าและก่อนนอน
  • การดูแลช่องปาก และ ฟัน ให้ใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วย
  • อาหารที่เป็นอาหารของเชื้อแบคทีเรียน เช่น แป้ง และ น้ำตาล ไม่ควรกินมากเกินไป และ หลังจากกินอาหารประเภทนี้ ให้แปรงฟันเพื่อลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก
  • ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ ช่วยให้ปากสะอาดได้มากขึ้น
  • ควรใช้ยาบวนปาก เพื่อทำความสะอาดส่วนที่แปรงสีฟันเข้าไม่ถึง

สาเหตุของการเกิดปัญหามีกลิ่นปาก

สาเหตุของการมีปลิ่นปาก สามารถสรุปสาเหตุของกลิ่นปาก จากปัญหาภายในช่องปาก เพราะ เชื้อแบคทีเรียในปาก ทำให้เกิดการตกค้างในช่องปากและลำคอ ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น สาเหตุการเกิดกลิ่นเหม็นในช่องปาก เกิดจากสาเหตุ ดังนี้

  • การแปรงฟันไม่สะอาด การรักษาสุขภาพปากและฟันที่ไม่ดี เช่น การแปรงฟันไม่สะอาด การมีเศษอาหารตกค้างตามซอกฟัน  ร่องเหงือก ลิ้น หรือ กระพุ้งแก้ม เป็นสาเหตุทำให้มีกลิ่นปาก
  • ฟันผุ หลุ่มที่เกิดจากฟันผุ ทำให้เกิดการสะสมของเศษอาหารตกค้าง เมื่อเศษอาหารเน่าบูด ก็ทำให้เกิดกลิ่น ทำให้ส่งกลิ่นเน่าเหม็น
  • โรคเหงือกอักเสบ และ โรคปริทันต์ เศษอาหารตกค้างที่ผิวฟัน ที่ทำความสะอาดไม่ดีพอ ทำให้เกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย และ หินปูน จนทำให้เศษอาหารสะสมในร่องเหงือก ทำให้เกิดกลิ่นปาก
  • การมีแผลในช่องปาก แผลต่างๆในช่องปาก จะมีกลิ่นรุนแรงมาก เนื่องจาก แผลจะมีหนองและของเสียสะสมมากมาย เชื้อโรคในช่องปาก ทำให้เกิดการบูดเน่าของอาหารส่งกลิ่นเหม็น
  • การจัดฟัน เนื่องจากการจัดฟันทำให้การดูแลความสะอาดในช่องปากยาก เกิดคราบเศษอาหาร คราบแบคทีเรียตกค้าง ทำให้มีกลิ่นปากได้
  • ภาวะปากแห้ง ทำให้เกิดน้ำลายน้อย เมื่อน้ำลายน้อย เชื้อโรคต่างๆจะตกค้างอยู่ในช่องปากจำนวนมาก จึงทำให้เกิดกลิ่นปาก
  • การสูบบุหรี่ กลิ่นของบุหรี่ที่ตกค้างอยู่ในช่องปากผสมกับกลิ่นอื่น ๆ ทำให้เกิดกลิ่นปากเหม็น
  • โรคเกี่ยวกับระบบาทางเดินหายใจ เช่น โรคไซนัสอักเสบ โรคทอนซิลอักเสบ โรคมะเร็งที่โพรงกระดูก เกิดการอักเสบ เน่า ส่งผลต่อกลิ่นปาก และ กลิ่นลมหายใจ