โรคหูคอจมูก โสตศอนาสิก สาเหตุ อาการ การรักษา มีอะไรบ้าง

โรคหูคอจมูก โรคเกี่ยวกับหู ลำคอ จมูก ไซนัส ต่อมน้ำลาย ต่อมไทรอยด์ ต่อมทอนซิล และ หลอดลม โรคหูคอจมูกมีอะไรบ้าง สาเหตุ อาการ การรักษาและการป้องกันโรคทำอย่างไรโรคหู โรคคอ โรคจมูก โรคหูคอจมูก

โรคหูคอจมูก ( Ear Throat Nose disease  ) เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดได้กับทุกคน ซึ่งแพทย์ทั่วไปสามารถรักษาผู้ป่วยโรคทางหูคอจมูก ได้บางโรค เช่น โรคหวัด เลือดกำเดา แต่หากกล่าวถึงโรคหูคอจมูกนั้นจะมีความซับซ้อนกว่าโรคทั่วไป การรักษาโรคหูคอจมูก ต้องใช้แพทย์เฉพาะทาง เรียก แพทย์หูคอจมูก ใน แผนกหูคอจมูก หรือ โสต ศอ นาสิก ที่โรงพบาบาล

โรคเกี่ยวกับหูคอจมูก

  • ไข้หวัด
  • โรคคางทูม
  • โรคคอตีบ
  • ไซนัสอักเสบ
  • โรคหูน้ำหนวก
  • โรคหูชั้นกลางอักเสบ
  • ต่อมทอนซิลอักเสบ
  • โรคไทรอยด์
  • โรคคอพอก
  • มะเร็งต่อมไทรอยด์
  • หลอดลมอักเสบ
  • โรคริดสีดวงจมูก
  • มะเร็งหลอดอาหาร
  • มะเร็งกล่องเสียง
  • โรคมะเร็งลำคอ
  • ไข้หวัดใหญ่
  • โรคหูดับฉับพลัน
  • โรคคออักเสบ
  • โรคเจ็บคอสเตรปโธรท
  • อาการโลกหมุน
  • ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ
  • นิ้วต่อมน้ำลาย
  • ท่อน้ำลายอุดตัน
  • โรคอะคาเลเซีย(Achalasia)
  • โรคกรดไหลย้อน
  • โรคหลอดอาหารอักเสบ
  • แก้วหูทะลุ
  • การนอนกรน
  • โรคหูด
  • โรคติดเชื้อเอชพีวี ( HPV )

อวัยวะในระบบหูคอจมูก

สำหรับอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับ โสต ศอ นาสิก นั้น ประกอบด้วย หู จมูก ไซนัส ลำคอ ต่อมไทรอยด์ ต่มน้ำลาย ต่อมทอนซิล และหลอดลม โดยรายละเอียดของอวัยวะต่างๆ มีดังนี้

  • หู คือ อวัยวะที่ใช้ในการรับเสียงและช่วยเรื่องการทรงตัวของร่างกาย
  • จมูก คือ  อวัยวะที่ทำหน้าที่รับกลิ่น และ ลำเลียงอากาศเข้าสู่ร่างกาย
  • ไซนัส คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่ช่วยปรับอุณหภูมิของอากาศให้เหมาะสมก่อนที่จะเข้าสู่ลำคอ
  • ลำคอ คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของอาหารและอากาศ เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ และ ระบบทางเดินอาหาร
  • ต่อมน้ำลาย คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่ผลิตน้ำลาย โดยน้ำลายมีหน้าที่ช่วยการย่อยอาหาร และ หล่อลื่น สร้างความชุ่มชื้นในช่องปากและในลำคอ
  • ต่อมทอนซิล คือ ต่อมไร้ท่ออยู่บริเวณลำคอ ทำหน้าที่สร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย และ สร้างฮอร์โมนของร่างกาย
  • ต่อมไทรอยด์ คือ ต่อมไทรอยด์ที่มีหน้าที่รักษาสมดุลย์ของการใช้พลังงานในร่างกาย ต่อมไทรอยด์จะสร้างฮอร์โมนไทรอยด์
  • หลอดลม คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่เป็นในการลำเลียงอาการเข้าสู่ปอด

สาเหตุของการเกิดโรคหูคอจมูก

สำหรับภาวะการเกิดโรคที่หูคอจะมูกนั้น มีสาเหตุหลักของการเกิดโรค ได้ดังนี้

  • เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • ภาวะการพิการโดยกำเนิด
  • ภาวะการการติดเชื้อโรคที่หูคอจมูก
  • ภาวะความผิดปรกติของฮอร์โมน ซึ่งเกิดจากต่อมไร้ท่อต่อมไร้ท่อ คือ ต่อมไทรอยด์ และ ต่อมพาราไทรอยด์
  • ภาวะการเกิดเนื้องอกที่หูคอจมูก
  • การสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  • การเกิดอุบัติเหตุกระแทกอย่างรุนแรงที่หุคอจมูก

อาการของโรคหูคอจมูก

สำหรับอาการของโรคเกี่ยวกับหูคอและจมูก มีความแตกต่างกัน แต่สามารถสังเกตุอาการพื้นฐานของโรคหูคอจมูก ได้ดังนี้

  • อาการมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดบวมที่อวัยวะหูคอจมูก เช่น จมูกบวม หูบวม เจ็บคอ เป็นต้น
  • มีสารคัดหลั่งผิดปกติ เช่น น้ำมูกจากจมูก เสมหะจากคอ มีหนองและของเหลวออกจากหู เป็นต้น
  • อาการยินเสียงลดลง
  • อาการไม่ได้กลิ่น
  • อาการเจ็บคอ
  • อาการมีแผลที่หูคอจมูก เช่น มีแผลในช่องปาก แผลที่ลิ้น เหงือกอักเสบ เป็นต้น
  • อาการมีก้อนเนื้อในหูคอจมูก เช่น มีก้อนที่เพดานปาก มีก้อนที่ต่อมน้ำลาย เป็นต้น
  • มีเลือดออกจากอวัยวะหูคอจมูก
  • อาการเสียงผิดปรกติ

การวินิจฉัยโรคหูคอจมูก

สำหรับการวินิจฉัยโรคหูคอจมูก ของแพทย์นั้น จะใช้การสังเกตุอาการต่างๆของผู้ป่วย ซักประวัติทางการแพทย์ การตรวจร่างกายทั่วไป และ การตรวจหูคอจมูก ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการช่วยการวินิจฉัย เช่น ตรวจเอกซเรย์ภาพไซนัส ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์กล่องเสียง การส่องกล้องตรวจ เป็นต้น

การรักษาโรคหูคอจมูก

สำหรับแนวทางการรักษาโรคเกี่ยวกับหูคอจมูก นั้นมี 2 แนวทางหลัก คือ การรักษาโรคที่สาเหตุของการเกิดโรค และ รักษาเพื่อประคับประคองตามอาการของโรค โดยรายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาตามสาเหตุของการเกิดโรค  เช่น หากเกิดจากการติดเชื้อโรค จะใช้การใหเนาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อโรค การผ่าตัดก้อนเนื้อออกจากอวัยวะหูคอจมูก เป็นต้น
  • การรักษาด้วยการประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาแก้ปวด การให้ยาลดไข้ การใช้ยาแก้อักเสบ เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคหูคอจมูก

สำหรับหลักการในการป้องการเกิดโรคเกี่ยวกับหูคอจมูก สามารถป้องกันการเกิดโรค ตามแนวทางดังต่อไปนี้

  • รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  • หลีกเลี่ยงการสูดฝุ่นละออง หากมีความจำเป็นควรใส่หน้ากากป้องกัน
  • หลีกเลี่ยงฟังเสียงดังมากๆ หากจำเป็นควรใส่เครื่องป้องกัน เช่น เอาสำลีอุดหูเพื่อลดเสียงที่เข้าหู เป็นต้น
  • ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ
  • ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  • รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆเกี่ยวกับหูคอจมูก เช่น วัคซีนโรคคางทูม วัคซีนโรคหัด เป็นต้น

โรคหูคอจมูก โสตศอนาสิก การเกิดโรคเกี่ยวกับหู ลำคอ จมูก ไซนัส ต่อมน้ำลาย ต่อมไทรอยด์ ต่อมทอนซิล และ หลอดลม สาเหตุของโรค อาการของโรค แนวทางการรักษาและการป้องกัน

Last Updated on November 7, 2024