การติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย มักติดเชื้อที่ช่องคลอด ปาก ทวารหนัก ท่อปัสสาวะ อวัยวะเพศ โรคติดต่อทางเพศมีอะไรบ้าง อาการ การรักษาและป้องกัน
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคส่งผ่านทางเพศสัมพันธ์ ( Sexually transmitted disease ) หมายถึง การเกิดโรคจากการติดต่อกันผ่านทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทาง ช่องคลอด ทางปาก หรือ ทวารหนัก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถเกิดได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย โดยมากพบในวัยรุ่น และกลุ่มรักรวมเพศ ชายรักชาย การขาดความรู้และความเข้าใจด้านการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย เป็นสาเหตุของการเกิดโรคมากที่สุด
รวมโรคที่เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ซิฟิลิสเทียม | พยาธิช่องคลอด |
โรคหนองใน | หูดหงอนไก่ |
- โรคติดเชื้อเอชพีวี ( HPV )
- โรคไวรัสตับอักเสบบี
- อุ้งเชิงกรานอักเสบ
- โรคฝีที่ทวารหนัก
- โลน
- หนองในเทียม
- โรคซิฟิลิส
- โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
- โรคข้ออักเสบจากการติดเชื้อหนองใน
- ตกขาวผิดปรกติ
- โรคฝีคัณฑสูตร
- โรคหิด
- ติดเชื้อราในช่องคลอด
- เริม
กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
สำหรับกลุ่มคนที่มีภาวะความเสี่ยงการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีดังนี้
- กลุ่มคนชอบซื้อบริการทางเพศ ทัั้งจากการซื้อบริการจากผู้ชายและผู้หญิง
- กลุ่มคนที่ชอบเปลี่ยนคู่นอน
- กลุ่มคนที่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีประวัติป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- กลุ่มเกย์ กลุ่มรักร่วมเพศ ชายรักชาย
อาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
สำหรับการแสดงอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แตกต่างกันในเพศชายและเพศหญิง และมีอาการบางอย่างที่เหมือนกัน โดยรายละเอียด ดังนี้
- มีหนองที่ท่อปัสสาวะหรือช่องคลอด
- มีแผลที่อวัยวะเพศและทวารหนัก เช่น ผื่น แผล ตุ่มน้ำ ที่เกิดบริเวณอวัยวะเพศ หรือ ทวารหนัก
- การปัสสาวะที่ผิดปรกติ เช่น ปัสสาวะขัด มีอาการเจ็บและปวดเวลาปัสสาวะ
- มีอาการคันหรือปวด บริเวณอวัยวะเพศหรือทวารหนัก
- ปวดที่อวัยวะเพศ
- ปวดท้องหรือปวดบริเวณช่องเชิงกราน
- ปวดเวลามีกิจกรรมทางเพศ
- มีอาการตกขาวผิดปรกติ
การรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จะเกิดจากการติดเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา การรักษานั้นสามารถใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อทำลายเชื้อโรค และงดมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรักษาหายขาด และ ต้องตรวจและติดตามการเกิดเกิดโรคภายหลังการรักษา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างใกล้ชิด
แนวทางการปฏิบัติตัวเองเมื่อเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ผู้ป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรปฏิบัติตน ดังนี้
- เข้ารับการรักษาโรคทันที เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรค
- แจ้งคู่นอนให้ทราบว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคให้คู่นอน
- ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในระหว่างการรักษาโรค
- งดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์
การป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
วิธีป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นั้นสามารถป้องกันจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย มีการป้องกันด้วยการใช้เครื่องป้องกันต่างๆ แนวทางการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีดังนี้
- สวมถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์
- รักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ
- ไม่เปลี่ยนคู่นอน
- ไม่มีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่แน่ใจว่ามีโอกาสติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ตรวจสุขภาพประจำทุกปี
- ไม่มีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน
- ไม่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
- ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ ภาวะการติดเชื้อโรคที่สาเหตุมาจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่ปลอดภัย เกิดโรคที่ ช่องคลอด ปาก ทวารหนัก ท่อปัสสาวะ และ อวัยวะเพศ โรคติดต่อทางเพศมีอะไรบ้าง อาการของโรค การรักษาโรค และ การป้องกันการเกิดโรค
Last Updated on November 7, 2024