โรคข้อและกระดูกมีอะไรบ้าง สัญญานเตือนของโรคและการรักษา

โรคข้อและกระดูก ความผิดปรกติของกระดูก ไขข้อและเส้นเอ็น เกิดจากหลายสาเหตุ ผู้สูงวัยมีความเสี่ยงเกิดโรค ลักษณะอาการจะเจ็บปวด ทรมาน ต้องรักษาตามสาเหตุของโรค

โรคข้อ โรคกระดูก โรคข้อและกระดูก

โรคข้อและกระดูก มักจะเกิดขึ้นกับผู้สุงอายุ ด้วยความเสื่อมของแคลเซี่ยมในร่างกายและการใช้งานข้อหรือกระดูกมายาวนาน โรคเกี่ยวกับข้อมีอะไรบ้าง โรคเกี่ยวกับข้อเกิดจากอะไร โรคเกี่ยวกับข้อรักษาอย่างไร โรคเกี่ยวกับข้อต้องป้องกันอย่างไร 

โรคเกี่ยวกับข้อละกระดูก

หมอนรองกระดูกทับเ้นประสาท หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ระบบประสาทถูกทำลาย ระบบประสาทและสมอง ระบบประสาทถูกทำลาย
โรคเก๊าท์ โรคข้อกระดูก โรคต่างๆ การรักษาโรคเก๊าท์โรคเก๊าท์ มะเร็งเม็ดเลือดขาว ลูคีเมีย โรคมะเร็ง รักษาลูเคีเมียโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

กระดูก ( Bone ) คือ กลุ่มของเนื้อเยื่อในร่างกาย มีความแข็งแรงที่สุดในร่างกาย กระดูกในร่างกาย มีทั้งหมด 206 ชิ้น โดยมีหน้าที่ของกระดูก มีดังนี้

  • แสดงถึงการเจริญเติบโตของร่างกาย
  • ช่วยเรื่องการเคลื่อนไหวร่างกาย
  • คงรูปร่างๆของร่างกายให้เป็นไปตามปรกติ
  • ช่วยปกป้องอวัยวะภายในต่างๆ เช่น สมอง ปอด และ หัวใจ เป็นต้น
  • แหล่งสะสมแร่ธาตุสำคัญของร่างกาย คือ แคลเซียม และ ฟอสฟอรัส
  • ช่วยรักษาสมดุลของเกลือแร่ ภาวะความเป็นกรดด่างในร่างกาย
  • ช่วยกำจัดสารพิษออกจากเลือด

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระดูก

สำหรับโรคเกี่ยวกับข้อและกระดูกนั้นมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค คือ

  • อายุที่สูงขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไปกระดูกของร่างกายจะค่อยๆเสื่อมลง
  • การทำงานที่มีความเสียงการเกิดอุบัติเหตุ เช่น พนักงานขับรถ นักกีฬา เป็นต้น
  • ภาวะการขาดสารอาหาร โดยเฉพาะแคลเซียม และ ฟอสฟอรัส

สาเหตุของโรคข้อและกระดูก

สำหรับสาเหตุของโรคเกี่ยวกับไขข้อและกระดูก นั้นมีสาเหตุจากสิ่งต่างๆ ดังนี้

  • การเกิดอุบัติเหตุกระทบกระเทือนต่อกระดูกอย่างรุนแรง
  • การติดเชื้อโรคที่ส่งผลต่อข้อกระดูกและกระดูก
  • ความเสื่อมของข้อกระดูก ซึ่งเกิดจากความเสื่อมตามวัย และ ความเสื่อมจากการใช้งานข้อกระดูกอย่างหนักเป็นเวลานานๆ
  • การได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
  • ความผิดปรกติของร่างกายโดยกำเนิด
  • การขาดสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อข้อและกระดูก

อาการของโรคข้อและกระดูก

สำหรับอาการที่เกิดจากข้อและกระดูก นั้นสามารถสังเกตุได้ง่าย เพราะจะแสดงอาการด้วยความเจ็บปวดอย่างชัดเจน สำหรับอาการของโรคเกี่ยวกับข้อและกระดูก มีดังนี้

  • มีอาการเจ็บและปวด ข้อ แขน ขา คอ บ่า ไหล่ หลัง สะโพก
  • มีอาการชา บริเวณ แขน ขา ลำตัว
  • มีอาการอ่อนแรง ไม่สามารถขยับได้ตามปกติ
  • มีอาการบวมตามลำตัว แขน ขา
  • ร่างกายผิดรูปไม่ปรกติที่ แขน ขา คอ หลัง
  • การขยับตัวไม่ปรกติ ไม่สามารถขยับข้อได้ตามปกติ
  • เดินไม่ได้ ลงน้ำหนักตัวที่ขาไม่ได้

เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคข้อและกระดูก

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์มีเครื่องมือต่างๆในการตรวจวินิยฉัยโรคเกี่ยวกับข้อและกระดูก มีดังนี้

  • เอ็กซ์เรย์ระบบดิจิตอล ( Computed Radiography : CR )
  • เอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ ( Computed tomography : CT )
  • เอ็กซ์เรย์แม่เหล็กไฟฟ้า ( Magnetic resonance imaging : MRI )
  • การตรวจด้วยคลื่นไฟฟ้า ( Electrodiagnosis : EMG , NCV )
  • การส่องกล้อง ( Arthroscopic examination )
  • เครื่องเอ็กซ์เรย์ ( Examination under fluoroscopy )
  • การตรวจมวลกระดูก (Bone mineral density :  BMD ) เพื่อตรวจภาวะกระดูกพรุน
  • การตรวจเลือด

การรักษาโรคข้อและกระดูก

สำหรับแนวทางการรักษาโรคข้อและกระดูก มี 2 แนวทางหลัก คือ การรักษาโรคจากสาเหตุของการเกิดโรค และ การรักษาเพื่อประคับประครองอาการของโรค รายละเอียด ดังนี้

  • การรักษาโรคจากสาเหตุการเกิดโรค เช่น รักษากระดูกหัก ก้วยการเข้าเฝือก หรือ ใส่เหล็กดามกระดูกหัก เป็นต้น
  • การรักษาเพื่อประคับประครองตามอาการ เช่น การให้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการปวด เป็นต้น

การป้องการเกิดโรคข้อและกระดูก

สำหรับแนวทางการป้องกันการเกิดโรคข้อและกระดูก มีแนวทางการปฏิบัตตน ดังนี้

  • การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานอาหารมีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
  • ระมัดระวังการอุบัติเหตุต่างๆ
  • สวมเครื่องป้องกันตัวหากจำเป็นต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องกระแทกที่ร่างกายและกระดูก

โรคข้อและกระดูก โรคที่เกี่ยวกับกระดูก ไขข้อและเส้นเอ็น เกิดได้จากหลายสาเหตุ โรคเสี่ยงผู้สูงวัย ลักษณะอาการจะเจ็บปวด ทรมาน แนวทางการรักษาแตกต่างตามสาเหตุของโรค

Last Updated on April 9, 2023