ภูมิแพ้ผิวหนัง ผดผื่น คันแสบแดง เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร

ภูมิแพ้ผิวหนัง ( Atopic dermatitis ) ความผิดปรกติของผิวหนัง เกิดจากอาการแพ้สิ่งระคายเคืองต่างๆ ทำให้เกิดผดผื่น คันตามผิวหนัง ภูมิต้านทาน สาเหตุ อาการ การรักษา

ภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้

ภูมิแพ้ผิวหนัง คือ โรคอะไร ทำไมถึงเป็นโรคนี้ อาการที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง การตรวจวินิจฉัยโรคทำอย่างไร การรักษาทำอย่างไร สามารถป้องกันโรคนี้ได้ไหม บทความนี้จะเสนอให้ทราบ

ภูมิแพ้ผิวหนัง ( Atopic dermatitis ) คือ ภาวะความผิดปรกติของผิวหนัง เกิดจากอาการแพ้สิ่งระคายเคืองต่างๆรอบตัว ส่งผลให้เกิดอาการ ผดผื่น คันตามผิวหนัง โรคเกี่ยวกับภูมิตานทาน และ โรคผิวหนัง เป็นโรคที่ เกิดโดยไม่รู้ตัว และ ไม่ทราบสาเหตุ สามารถเกิดได้ทั้งบริเวณ ผิวของใบหน้า และ ลำตัว มักจะเกิดรวมกับ

โรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ เช่น แพ้อากาศ โรคหอบหืด ซึ่ง โรคเหล่านี้ จะมีความเกี่ยวข้องกับ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่ตอบสนองต่อ สิ่งเร้าต่างๆ ที่อยู่ในอากาศ ได้ไวกว่าปกติ จะทำให้เกิด อาการแพ้ ขึ้นทันที เนื่องจาก ผิวหนัง เป็นด่านแรก ที่สำคัญ ของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ทำหน้าที่ปกป้อง ร่างกานทั้งหมด  จากเชื้อโรค ความร้อน ความเย็น พิษของสัตว์ ผิวหนังทำงานร่วมกับ ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ระบบประสาทรับความรู้สึก จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ผู้ป่วยต้อง จะนิ่งนอนใจไม่ได้ หากเกิดอาการผิดปกติใดๆ

สาเหตุการเกิดโรคภูมิแพ้ผิวหนังมีอะไรบ้าง?

  • อากาศ มลภาวะ สารโหละหนัก ในอากาศ โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง อากาศที่เย็นขึ้น จะทำให้ผื่นกำเริบ
  • พันธุกรรม เป็นสาเหตุ ที่สำคัญ ขอโรคระบบภูมิแพ้ทั้งหมด เพราะ เป็นตัวกำหนด ระบบภูมิต้านทานภายในร่างกาย ให้มีความมากน้อยแตกต่างกันในแต่บุคคล พบว่า หากคนในครอบครัว เป็นภูมิแพ้ผิวหนัง โอกาสที่จะเป็นมีมากถึง 70%
  • ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เมื่ออายุมากแล้ว 35 ปีขึ้นไป พบว่า มีโอกาสสูงที่ลูกในครรภ์ จะเป็น โรคภูมิแพ้ผิวหนัง
  • ได้รับสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ หลายชนิด ในอากาศ อย่างเช่น ละอองของเกสรดอกไม้ หรือ ไรฝุ่น
  • การซักเสื้อผ้าไม่สะอาด เพราะ เสื้อผ้าสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง หากซักไม่สะอาด ก็จะมีสิ่งสกปรก หรือ สิ่งเร้าต่อระบบภูมิต้านทาน เป็นเหตุให้เกิดโรคภูมิแพ้ผิวหนังได้ อีกทั้ง หากผงซักฟอกตกค้าง คนที่แพ้ผงซักฟอก ก็อาจจะเป็นโรคนี้ได้
  • เกิดจากเหงื่อ เพราะ ในเหงื่อ มีไขมัน เกลือแร่ ปะปนอยู่ หาก ไม่ทำความสะอาดร่างกาย เสื้อผ้า ก็จะทำให้เกิด เชื้อรา เชื้อโรคต่างๆ ที่เป็นโทษต่อผิวหนังสะสม เกิดการแพ้ที่ผิวหนังได้
  • อาหารและเครื่องดื่ม อย่างเช่น ถั่ว แอลกอฮอล์ นมวัว ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ควรหมั่นสังเกตุตนเอง ว่ารับประทานอะไรแล้วเกิด อาการระคายเคืองที่ผิวหนัง
  • การพักผ่อนน้อย ไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย ส่งผลให้ ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และ ไม่มีแรงต้านทาน ต่อ สิ่งเร้ากระตุ้นระบบภูมิต้านทาน
  • การเกา เมื่อเจอสิ่งระคายเคือง ผู้ป่วยมักจะเกา เป็นการทำลายผิวหนังชั้นนอก ทำให้สิ่งระคายเคือง ฝังตัวในผิวหนังขั้น กลาง หรือ ชั้นใน กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิด อาการแพ้ มากยิ่งขึ้น

ลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังเป็นอย่างไร?

  • มีผื่นขึ้นขึ้นบริเวณมือ หลังมือ ปลายมือ เกิดง่าย และ เป็นบ่อยจนผิดปกติ
  • ใต้ตาคล้ำ เพราะ เกิดจากการเป็นรอยพับ ที่มาจากตาที่ และ จะขยี้ตาบ่อยๆ จนเกิดริ้วรอยใต้ตา
  • ผื่นขึ้นตาม ง่ามแขน ง่ามขา ข้อพับต่างๆ
  • บริเวณหน้าจะเป็นผื่นสีอ่อนกว่าสีผิวจริง มักพบบ่อยบริเวณแก้ม สีจะแตกต่างจากสีผิวหน้า อย่างเห็นได้ชัด
  • ผิวเกิดการอักเสบ และ จะคันมาก เพราะ ว่าผิวสูญเสียความชุ่มชื่น มีขุยสีขาว คล้ายๆรังแค แต่จะหนากว่า และ ใหญ่หว่า
  • ในบางราย ผิวอักเสบ และ คัน ถ้าเกาบริเวณที่คัน อาจจะเลือดไหลได้ แสบ แดง เพราะ ผิวไม่แข็งแรง
  • เกิดเป็นผื่นคัน เป็นตุ่มน้ำ จะเป็นจุดแดงๆ เกิดขึ้นบริเวณต่างๆ ตามลำตัว อาการนี้แสดง ว่าเกิดการแพ้ขั้นรุนแรง

เราวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ผิวหนังอย่างไร?

  • แพทย์จะซักประวัติการรักษา โรคประจำตัว ประัติการแพ้อาหาร และ สอบถามอาการผิวหนังอย่างละเอียด
  • สอบถามประวัติ คนในครอบครัวว่ามีประวัติ อาการทางผิวหนัง
  • ตรวจร่างกาย ผิวหนัง ตรวจแบบ Patch Test เพื่อ ที่จะตรวจหา สารโลหะ หรือ สารเคมี ที่แพ้
  • ประเมินการรักษา ดูจาก สาเหตุ ระดับความรุนแรง และ สิ่งเร้าที่แพ้

เรารักษาโรคภูมแพ้ผิวหนังอย่างไร?

  • ผิวหนังที่อักเสบเรื้อรังนั้น แพทย์จะใช้ยาที่ไม่มีสเตียรอยด์ในการทา และ จะให้กินยาแก้แพ้ เพื่อควบคุมอาการแพ้ เบื้องต้น
  • หากมีอาการอักเสบแบบรุนแรง แพทย์จะใช้วิธี การฉายแสงอัลตร้าไวโอเลต เพื่อ ที่จะเข้าไปกดภูมิในร่างกาย ไม่ให้ไวต่อสภาพสิ่งแวดล้อม โดยจะคอยดูอาการตอบสนอง สามารถใช้วิธีนี้ร่วมกับยาแก้แพ้
  • ระยะที่เฉียบพลันนั้น ที่มีตุ่มน้ำ และ น้ำเหลือง ควรจะใช้ผ้าพันแผลชุบกับน้ำเกลือที่สะอาด จากนั้นเอาไปประกบแผล ให้น้ำเหลืองแห้ง แล้ว ทายาสเตียรอยด์ เมื่อหายแล้ว ควรหยุดยา ไม่ควรซื้อยามาทาเอง ควรปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกรก่อน เพราะยานั้นอาจจะมีผลข้างเคียง

เราสามารถป้องกันและรักษาโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้อย่างไร ?

  • หลังอาบน้ำควรจะปล่อยตัวให้แห้ง หรือ ใช้ผ้าขนหนูเช็ด ห้ามถูแรง หรือ ขัดเป็นอันขาด
  • ควรดูแลสุขอนามัย ใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ซักล้างให้สะอาด อย่าให้มีผงซักฟอกตกค้าง
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 140 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ 3 วัน ต่อสัปดาห์ แต่ละครั้งที่ออกกำลังกาย รู้สึกว่าหอบแฮกๆ จากนั้น หยุดพัก และ ทำใหม่ไปเรื่อยๆ อย่างน้อย 30 นาที
  • ตัดเล็บให้สั้น เพื่อ ป้องกันการเกา ไม่ให้เป็นแผล และ ติดเชื้อ เพราะ จะทำให้การรักษายากยิ่งขึ้น
  • ป้องกันไรฝุ่นในที่นอน ควรจะซักผ้าปูที่นอนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  • ทาโลชั่นให้ความชุ่มชื่นแก่ผิว เป็นประจำหลังอาบน้ำ
  • ไม่รับประทานอาหารที่รู้ตนเองแพ้ หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้แพ้
  • หากอยู่ใกล้แหล่งมลพิษต่างๆ ควรออกจากพื้นที่นั้น

แหล่งอ้างอิง

  • allergy ใน พจนานุกรมศัพท์การแพทย์ดอร์แลนด์
  • Overview of ‘allergy and allergic diseases: with a view to the future’

Last Updated on February 2, 2024