โรคเกี่ยวกับสมอง ไขสันหลัง เซลล์ประสาท ทำให้การควบคุมร่างกายผิดปรกติ ความรุนแรงของโรคสูง โรคประสาทและสมองมีอะไรบ้าง สาเหตุ อาการ การรักษาและป้องกันโรค
โรคระบบประสาทและสมอง ( Nervous system disease ) คือ ภาวะการเกิดโรคที่ ระบบประสาทและสมองของมนุษย์ ซึ่งทำให้การทำหน้าที่ควบคุมและส่งการอวัยวะต่างๆของร่างกายผิดปรกติ โรคเกี่ยวกับระบบประสาท และ โรคเกี่ยวกับสมอง จัดเป็นโรคร้ายแรงส่งผลต่อการดำรงค์ชีวิตเป็นอย่างมาก
โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง
โรคเกี่ยวกับสมอง ไขสันหลัง และ เซลล์ประสาท ทำหน้าที่ในการ
- โรคบาดทะยัก
- โรคฉี่หนู
- โรคพิษสุนัขบ้า
- อัมพาต
- โรคอัมพฤกษ์
- โรคสมองฝ่อ
- โรคเนื้องอกในสมอง
- โรคบ้านหมุน
- โรคระบบประสาทถูกทำลาย
- โรคไฮเปอร์
- โรคอัลไซเมอร์
- โรคหลอดเลือดในสมองแตก
- โรคงูสวัด
- โรคสมองพิการ
- โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- โรคกระดูกทับเส้นประสาท
- โรคปากเบี้ยว
- ลมบ้าหมู
- โรคเหน็บชา
- โรคลมชัก
- โรควัวบ้า
- โรคออทิสติก
- โรคฝีในสมอง
- โรคไมเกรน
- โรคไบโพล่าร์
ระบบประสาท คือ ส่วนประกอบของร่างกาย ที่มีหน้าที่ในการออกคำสั่งการทำงานของกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย และ ประมวลข้อมูลที่รับมาจากประสาทสัมผัสต่างๆ และ สร้างคำสั่งต่าง ๆ (action) ให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน ระบบประสาทของมนุษย์ มีความคิด และ อารมณ์ จึงเป็นส่วนของร่างกายที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว
ชนิดของระบบประสาท
ระบบประสาท สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ ระบบประสาทส่วนกลาง และ ระบบประสาทส่วนกลาง มีรายละเอียด ดังนี้
ระบบประสาทส่วนกลาง ( Central nervous system ) คือ ระบบประสาทที่เป็นศูนย์กลาง การควบคุมการทำงานของร่างกาย ซึ่งประกอบด้วย สมอง ไขสันหลัง และ เซลล์ประสาท รายละเอียด ดังนี้
- สมอง ( Brain ) คือ ส่วนที่สำคัญที่สุดของร่างกาย ทำหน้าที่การจดจำ คิดคำนวน และ แสดงความรู้สึกต่างๆ สมองของมนุษย์ มี 3 ส่วน คือ สมองส่วนหน้า สมองส่วนกลาง และ สมองส่วนท้าย โดยรายละเอียดมี ดังนี้
- สมองส่วนหน้า ( Forebrain ) เป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของสมอง สามารถแบ่งได้เป็น 4 ส่วน คือ ออลเฟกทอรีบัลบ์ ( Olfactory bulb ) ซีรีบรัม ( Cerebrum ) ทาลามัส ( Thalamus ) และ ไฮโปทาลามัส ( Hypothalamus )
- สมองส่วนกลาง ( Midbrain ) ทำหน้าที่เป็นสถานีรับ และส่งการทำงานไปยังสมองส่วนหน้าและส่วนท้าย เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากสมองส่วนหน้า ส่วนนี้จะทำหน้าที่เกี่ยวกับดวงตา
- สมองส่วนท้าย ( Hindbrain ) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆของร่างกาย มี 3 ส่วน ประกอบด้วย พอนส์ ( Pons ) เมดัลลา ( Medulla ) ซีรีเบลลัม ( Cerebellum )
- ไขสันหลัง ( Spinal cord ) คือ เนื้อเยื่อประสาทที่อยู่ในโพรงกระดูกสันหลัง ที่กระดูกสันหลังของมนุษย์ มีเส้นประสาทไขสันหลัง ( Spinal nerve ) 31 คู่ มีรากประสาท เส้นประสาทไขสันหลังที่สำคัญ เช่น เส้นประสาทไขสันหลังบริเวณคอ มี 8 คู่ เส้นประสาทไขสันหลังบริเวณอก มี 12 คู่ เส้นประสาทไขสันหลังบริเวณเอว มี 5 คู่ เส้นประสาทไขสันหลังบริเวณกระเบนเหน็บ มี 5 คู่ และ เส้นประสาทไขหลังสันบริเวณกระดูกก้นกบ มี 1 คู่
- เซลล์ประสาท ( Neuron ) คือ เซลล์ประสาทส่วนที่เล็กที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วย เซลล์ประสาทรับความรู้สึก ( Sensory neuron ) เซลล์ประสาทสั่งการ ( Motor neuron ) และ เซลล์ประสาทประสานงาน ( Interneuron )
ระบบประสาทส่วนปลาย ( Peripheral nervous system ) คือ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลจากร่างกาย และ ส่งข้อมูลไปยังระบบประสาทส่วนกลาง เรียกอีกช่ื่อหนึ่ง ว่า เซลล์ประสาทส่วนนำเข้าคำสั่ง ( Afferent neurons ) ระบบประสาทส่วนปลาย มี 2 แบบ โดยรายละเอียด มีดังนี้
- ระบบประสาทภายใต้อำนาจจิตใจ ( Voluntary nervous system ) ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อ รับการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอก
- ระบบประสาทนอกอำนาจจิตใจ ( Involuntary nervous system ) ทำหน้าที่เป็นระบบประสาทที่ทำงานอัตโนมัติ เมื่อถูกกระตุ้นจากสื่งเร้าภายนอก
สาเหตุการเกิดจากโรคระบบประสาทและสมอง
โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง เป็นโรคอันตราย หากเกิดขึ้นแล้วจะทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำรงค์ชีวิตอย่างรุนแรง โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง มีดังนี้
- ความเสื่อมของเซลล์สมองตามวัย เซลล์สมองและระบบประสาทจะเสื่อมลงไปเรื่อยๆหากอายุเพิ่มขึ้น
- ภาพวะสุขภาพของเลือดและหลอดเลือด การสะสมของไขมัน และ คอเรสเตอรัล ทำให้กระตุ้นการเกิดโรคต่างๆเกี่ยวกับสมอง และ ระบบประสาท
- ภาวะการถูกระทบกระเทือนทางสมอง และ ระบบประสาท อย่างรุนแรง
- ภาวะการติดเชื้อโรคต่างๆ
- การเกิดเนื้องอกในสมอง หรือ มะเร็งที่สมอง
- การได้รับสารพิษที่ระบบสมอง
- ความผิดปกติของร่างกายตั้งแต่กำเนิด
ลักษณะของอาการโรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง
โรคเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง จะแสดงอาการ 2 ลักษณะที่เกิดจากสมอง และ ระบบประสาทของร่างกาย โดยลักษณะของอาการที่สามารถสังเกตุได้ มีดังนี้
- มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
- มีอาการปวดหัว และ ปวดหัวอย่างรุนแรง
- มีอาการมึนๆงงๆ เซื้องซึม
- กล้ามเนื้อของใบหน้าไม่ปรกติ เช่น ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด สายตาพร่ามัว เป็นต้น
- การทรงตัวของร่างกายไม่ดี
- มีอาการชา ซึ่งชาตามมือ เท้า และ ใบหน้า
- ไม่มีแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้
- อาจมีอาการชัก
- มีอาการโคม่า หลับสนิทไม่รู่สึกตัว
การตรวจวินิจฉัยโรคระบบประสาทและสมอง
สำหรับโรคระบบประสาทและสมอง นั้น หากเกิดขึ้นแล้ว แพทยต้องมีการวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด ทั้ง การตรวจประวัติการรักษา ประวัติการใช้ยา ประวัติการประสบอุบัติเหตุ ตรวจการตอบสนองของร่างกาย ตรวจเลือด ตรวจคลื่นสมอง เอกซ์เรยย์คอมพิวเตอร์เอมอาร์ไอ ตรวจไขสันหลัง และ ตัดชิ้นเนื้อสมองตรวจทางพยาธิวิทยา
การป้องกันการเกิดโรคระบบประสาทและสมอง
โรคระบบประสาทและสมอง นั้นโรคหากปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ คือ การดูแลร่างกาย และ การป้องกันปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดโรค โดย แนวทางการป้องกัน การเกิดโรคระบบประสาทและสมอง มีดังนี้
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
- รักษาสุขภาพจิต โดยให้ผ่อนคลาย ไม่ให้เครียดมากเกินไป
- ไม่สูบบุหรี่
- ไม่ดื่มสุรา และ เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุก
- หมั่นบริหารสมอง หากิจกรรมที่ได้ฝึกสมองบ่อยๆ
- ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุกระแทกร่างกายอย่างรุนแรง
โรคเกี่ยวกับสมอง ไขสันหลัง และ เซลล์ประสาท ทำให้การควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆของร่างกายผิดปรกติ ความผิดปรกติของประสาทและสมองมีอะไรบ้าง สาเหตุ อาการและการรักษา
Last Updated on November 7, 2024