โรคติดต่อ ร่างกายติดเชื้อจากเชื้อโรค แนวทางการรักษาอย่างไร

โรคติดต่อ contagious diseases ภาวะการติดเชื้อโรค ซึ่งสามารถติดต่อกันได้ โรคติดต่อร่ายแรง โรคติดต่ออันตราย ลักษณะอาการของโรค การรักษาและแนวทางการป้องกัันโรค

โรคติดต่อ โรคต่างๆ โรคน่ารู้

โรคติดต่อ หมายถึง ภาวะการเกิดโรคที่เกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิต เกิดจากการถ่ายทอดจากคนสู่คน หรือ สัตว์สู่สัตว์ ซึ่งสาเหตุของการติดต่อเกิดจากเชื้อโรค สามารถแพร่กระจายไปสู่คน ได้ ทางช่องทางต่างๆ เช่น การหายใจ การกินอาหาร การสัมผัส เป็นต้น

โรคติดต่อในประเทศไทย

ประเทศไทย เป็นประเทศเขตร้อนชื้น สภาพแวดล้อมและภูมิอากาศเอื่ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี อีกทั้งภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจาก ร้อน ฝน หนาว ทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคได้ง่ายขึ้น สำหรับประเทศไทย มีพระราชบัญญัติโรคติดต่อ ปีพุทธศักราช 2523 กล่าวถึง โรคติดต่อ ว่า โรคติดต่อมีอะไรบ้าง โรคติดต่อโรคอะไรบ้างที่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ทราบ สำหรับ โรคติดต่อในประเทศไทย สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ

  • โรคติดต่ออันตราย
  • โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข
  • โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ

โรคติดต่ออันตราย คือ โรคติดต่อที่มีความอันตรายในการควบคุมการแพร่กระจายของโรค ต้องได้รับการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค โดยเร่งด่วน โรคติดต่ออันตราย ที่ประกาศไว้มีทั้งสิ้น 4 โรค คือ อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง และกาฬโรค

  • ไข้ทรพิษ
  • กาฬโรค
  • อหิวาตกโรค
  • ไข้เหลือง
  • โควิท-19

โรคติดต่อตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข คือ โรคติดต่อที่มีในประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2524 โรคติดต่อตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข มี 44 โรค ประกอบด้วย

  • อหิวาตกโรค
  • หนองใน
  • แผลริมอ่อน
  • โรคอุจจาระร่วง
  • โรคฉี่หนู
  • โปลิโอ
  • ไข้หัด
  • โรคแอนแทรกซ์
  • โรคคุดทะราด
  • โรคคางทูม
  • โรคเรื้อน
  • ไข้ทรพิษ
  • วัณโรค
  • ไข้เหลือง
  • โรคคอตีบ
  • อาหารเป็นพิษ
  • กามโรคของต่อมน้ำเหลือง
  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ไข้รากสาดใหญ่
  • โรคบิดบะซิลลารี
  • มูรีนไทฟัส ( murine typhus )
  • โรคแผลเรื้อรัง
  • ไข้หัดเยอรมัน
  • โรคพิษสุนัขบ้า
  • แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ
  • โรคไวรัสตับอักเสบบี
  • โรคเท้าช้าง
  • ไข้รากสาดน้อย
  • โรคกาฬโรค
  • ไข้รากสาดเทียม
  • โรคบาดทะยัก
  • ไอกรน
  • โรคไข้เลือดออก
  • โรคอีสุกอีใส
  • โรคบิดอะมีบา (amoebic dysentery)
  • ไข้หวัดใหญ่
  • โรคตาแดง
  • โรคซิฟิลิส
  • โรคทริคิโนซิส ( trichinosis )
  • สครับไทฟัส ( scrub typhus )
  • หนองในเทียม
  • ไข้จับสั่น
  • โรคไข้กลับซ้ำ

โรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ คือ โรคติดต่อที่ต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ เนื่องจากเป็นโรคติดต่อที่อันตราย และ ความคุมยาก โดยโรคติดต่อที่ต้องแจ้งความ มี 15 โรค ประกอบด้วย

ปัจจุบันความก้าวหน้าทางการแพทย์มีมาก การควบคุมโรคติดต่อง่ายและทำได้มีประสิทธิภาพ กว่าในอดีต โรคติดต่อบางโรคสามารถรักษาได้ และ ไม่อันตรายเหมือนในอดีต การป้องกันการเกิดโรค สามารถทำได้ไมยาก

การป้องกันการเกิดโรคติดต่อ

สำหรับโรคติดต่อ สาเหตุเกิดจากการได้รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย โดยการป้องกันมีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

  • ให้ใส่เครื่องมือป้องกันการติดเชื้อโรค เช่น ถุงมือ หน้ากากอนามัย ทุกครั้งที่ต้องเข้าใก้พื้นที่เสี่ยงติดโรค
  • เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการติดโรค หลังจากนั้นต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาด เพื่อป้องกกันการติดเชื้อโรค
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ของสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้สะอาด
  • การรับประทานอาหาร ต้องทานอาหารที่สะอาด ปรุงสุก
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ร่างกายจะได้มีภูมิต้านทานโรคได้ดี

โรคติดต่อ ( contagious diseases ) ภาวะการติดเชื้อโรคที่สามารถติดต่อสู่คนได้ โรคติดต่อร่ายแรง โรคติดต่ออันตราย สาเหตุของโรค การรักษาและการป้องกัันโรค

โรคติดต่ออื่นๆ

Last Updated on November 7, 2024