โรคระบบทางเดินอาหาร โรคในช่องท้อง เกิดจากอะไร มีอะไรบ้าง

โรคทางเดินอาหาร Gastrointestinal tract diseases โรคที่เกี่ยวกับปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับ และ ทวารหนัก มีอะไรบ้าง สาเหตุ อาการและการรักษา

โรคทางเดินอาหาร โรคระบบลำไส้ โรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร

โรคระบบทางเดินอาหาร หมายถึง ความผิดปกติของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดโรคต่างๆ ซึ่งอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร เริ่มตั้งแต่ ช่องปาก ลำคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไปจนถึงทวารหนัก รวมถึง ตับ ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี และตับอ่อน

โรคในระบบทางเดินอาหาร เกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย อาการทั่วไปของโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการปวดท้อง อาการอาหารไม่ย่อย อาการท้องเสีย เป็นต้น

มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคทางเดินอาหาร โรคไม่ติดต่อ โรคมะเร็งโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร โรคมะเร็ง โรคไม่ติดต่อ โรคทางเดินอาหารโรคมะเร็งหลอดอาหาร
  • ไข้รากสาดน้อย
  • ไข้ไทฟอยด์
  • โรคติดเชื้ออีโคไล
  • โรคตับแข็ง
  • ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ
  • โรคอะคาเลเซีย (Achalasia)
  • ตับอ่อนอักเสบ
  • โรคแผลเพปติก
  • โรคไส้เลื่อน
  • โรคลำไส้ขาดเลือด
  • มะเร็งตับ(liver cancer)
  • โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง
  • โรคริดสีดวงทวาร
  • โรคท้องผูก (Constipation)
  • ตับวาย
  • ตับอักเสบ
  • มะเร็งท่อน้ำดี
  • โรคท้องมาน
  • มะเร็งกล่องเสียง
  • โรคเหน็บชา
  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  • โรคกาลี
  • โรคแอนแทรกซ์
  • ถุงน้ำดีอักเสบ
  • ช่องท้องอักเสบ
  • โรคคออักเสบ
  • โรคเจ็บคอสเตรปโธรท
  • โรคหลอดอาหารอักเสบ
  • โรคกรดไหลย้อน
  • โรคกระเพาะอาหาร
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร
  • โรคลำไส้อักเสบ
  • โรคลำไส้เล็กอุดตัน
  • ไส้ติ่งอักเสบ
  • โรคฝีที่ทวารหนัก
  • โรคฝีคัณฑสูตร
  • โรคมะเร็งลำไส้เล็ก
  • มะเร็งช่องปาก
  • ตกขาวผิดปรกติ
  • ฝีที่ตับ
  • โรคท้องร่วง
  • นิ่วในถุงน้ำดี
  • ไขมันพอกตับ
  • อหิวาตกโรค

อวัยวะในระบบทางเดินอาหาร คือ อวัยวะที่มีหน้าที่หลัก ในการขับเคลื่อนอาหาร ย่อยอาหาร ดูดซึมอาหาร หดรัด และ การขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย มาทำความรู้จักกับอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร มีรายละเอียด ดังนี้

  1. ปาก คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่บดอาหาร ซึ่งมีลิ้นคอยรับรสอาหาร
  2. หลอดอาหาร คืิอ อวัวะที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารเข้าสู้กระเพาอาหาร เพื่อทำการย่อยอาหาร หลอดอาการจะเป็นอวัยวะที่เชื่อมโยงปากกับกระเพาะอาหาร
  3. กระเพาะอาหาร คือ อวัยวะที่มีหน้าที่ย่อยอาหาร และ ฆ่าเชื้อโรคในระบบทางเดินอาหาร ทำหน้าที่พักอาหารเพื่อส่งต่อสู่ลำไส้เล็ก ในกระเพาะอาหารมีน้ำย่อยที่ีมีภาวะเป็นกรด
  4. ลำไส้เล็ก คือ อวัยวะส่วนนี้ทำหน้าที่รับอาหารจากกระเพาะอาหาร และ ดูดซึมสารอาหารต่างๆเข้าสู่ร่างกายทางเลือด และ เนื้อเยื่อของร่างกาย
  5. ลำไส้ใหญ่ คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับอาหารจากลำไส้เล็ก เพื่อดูดซึมน้ำและแร่ธาตุเข้าสู่ร่างกาย ลำไส้ใหญ๋เป็นอวัยวะที่พักอาหารที่ทำการย่อยก่อนจะถูกขับถ่ายออกจากร่างกายทางทวารหนัก
  6. ไส้ติ่ง คือ ติ่งที่อยู่ส่วนปลายของลำไส้ มีหน้าที่กระตุ้นระบบภูมิต้านทานเชื้อโรคในระบบทางเินอาการ ไส้ติ่ง อยู่ในช่องท้องด้านขวา
  7. ทวารหนัก คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่บีบรัดอาหาร และ ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร

โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร มีปัจจัยในการเกิดโรคมากมาย ทั้งปัจจัยจากตัวผู้ป่วยและปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม โดยสามารถสรุป ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค มีดังนี้

  • การกินอาหารที่ไม่ถูกสุขอนามัย เช่น อาหารไม่สะอาด อาหารปรุงดิบ อาหารปรุงสุกๆดิบๆ เป็นต้น
  • การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
  • การกินอาหารในปริมาณมากที่มากหรือน้อยเกินไป
  • การกินอาหารรสจัดเกินไป เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด หวานจัด เป็นต้น
  • การกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น อาหารที่มีกากใยอาหารน้อย
  • การดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์
  • การสูบบุหรี่

อาการของโรคระบบทางเดินอาหาร

สำหรับโรคในระบบทางเดินอาหาร จะแสดงอาการต่างๆที่เกิดขึ้นในช่องท้อง สามารถสังเกตุอาการต่างๆได้ ดังนี้

  • มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ
  • มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ท้องผูก
  • อาเจียนเป็นเลือด
  • อุจจาระเป็นเลือด
  • ตัวเหลือง และ ตาเหลือง
  • การไม่ผายลม
  • เจ็บใต้ชายโครงขวา

การตวรวินิจฉัยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

เนื่องจากโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร สาเหตุของโรคเกิดขึ้นในร่างกาย ที่ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างปรกติ การใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์จึงช่วยการตรวจรักษาโรคระบบทางเดินอาหารได้ โดยเทคโนโลยีการวินิจฉัยโรคระบบทางเดินอาหาร มีดังนี้

  • การอัลตราซาวด์ ( Ultrasound )
  • ส่องกล้องตรวจในระบบทางเดินอาหาร
  • ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ( Colonoscopy )
  • ตรวจลำไส้เล็กด้วยการกลืนแคปซูล ( Capsule Endoscopy )
  • ตรวจหาความผิดปกติของตับ ( Fibroscan )
  • ส่องกล้องตรวจท่อทางเดินน้ำดี ( ERCP )
  • ตรวจหาแบคทีเรีย Pylori ในกระเพาะอาหารจากลมหายใจ
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง ( CT Scan 64 Slices )
  • ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging ( MRI )
  • การผ่าตัดส่องกล้องเอ็นโดสโคป ( Endoscope )

การรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

แนวทางการรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร มีแนวทางการรักษาโรค โดยรักษาโรคจากสาเหตุของการเกิดโรค และ การรักษาโรคเพื่อประคับประครองอาการต่างๆที่เกิดขึ้น

การดูแลตนเองเมื่อเกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

แนวทางการดูแลตนเอง หากเกิดโรคระบบทางเดินอาหารนั้น มีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้

  • ให้รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อป้องกันภาวะการติดเชื้อโรค และ ป้องกันการแพร่เชื้อโรค
  • รับประทานอาหารและน้ำดื่มที่ความสะอาด
  • รับประทานอาหารอ่อน และ อาหารรสจืด
  • พักผ่อนให้เพียงพอ

โรคระบบทางเดินอาหาร ( Gastrointestinal tract diseases ) คือ ภาวะการเกิดโรค ที่เกิดกับอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร เช่น ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ตับ และ ทวารหนัก โรคระบบทางเดินอาหารมีอะไรบ้าง เกิดจากอะไร อาการของโรค รักษาอย่างไร

Last Updated on November 7, 2024